100 ปี โรงเรียนบ้านนา กับวิวัฒนาการการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับชุมชน
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอขอความสันติและความจำเริญแด่ศาสนูตมุฮัมมัดและผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้ชมทุกท่าน
บทนำ
การศึกษามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อมวลมนุษยชาติ เพราะการศึกษาเปรียบเสมือนดวงประทีปส่องนำชีวิต เป็นประตูของความสำเร็จ และเป็นกุญแจแห่งอารยธรรม ดังนั้นจึงไม่มีประชาชาติใดในโลกอันกว้างใหญ่นี้ที่ปฏิเสธความสำคัญของการศึกษา เพราะต่างตระหนักดีว่า พวกเขามิอาจจะดำเนินชีวิตอยู่ได้อย่างสงบสุขหากปราศจากการศึกษา ความจริงการศึกษานั้นไม่เพียงแต่จะมีความจำเป็นต่อมนุษย์เท่านั้น หากแต่ยังมีความสำคัญทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อสรรพสิ่งทั้งมวลไม่ว่า สัตว์ สิ่งของรวมทั้งจักวาลด้วยเพราะอันเนื่องมาจากการศึกษาของมนุษย์นี้แหละทำให้โลกนี้สงบสุขหรือเกิดความหายนะ อัลลอฮฺได้ดำรัสความว่า “ความเสียหายได้เกิดขึ้นทั้งบนบกและในน้ำเป็นผลจากน้ำมือของมนุษย์ เพื่อพระองค์จะให้พวกเขาได้ลิ้มรสในบางส่วนที่พวกเขาได้ก่อไว้ โดยหวังที่จะให้พวกเขากลับเนื้อกลับตัว” (อัลกุรอาน ; 30 : 41)
สำหรับการศึกษาที่โรงเรียนบ้านนา อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชายแดนใต้นั้น มีวิวัฒนการตลอด หนึ่งร้อยปีผ่านการมีส่วนร่วมของชุมชนในแต่ละยุคแต่ละสมัยเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้โรงเรียนบ้านนาเป็นหนึ่งในโรงเรียนที่เป็นความหวังของชุมชน
การจัดการศึกษาของที่นี่มีวิวัฒนาการมาตั้งแต่สมัยโบราณเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ด้วยความเชื่อที่ว่าการศึกษาช่วยกำหนดทิศทางของชาติ เพื่อพัฒนาคนไทยให้มีความพร้อมที่จะเป็นกำลังสำคัญสำหรับการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า ความเป็นมาของการศึกษาที่นี่มีประวัติที่น่าสนใจแบ่งออกได้ 3 ช่วงดังนี้
1.การศึกษาของไทยก่อนสมัยและสมัยการปกครองระบอบรัฐธรรมนูญระยะแรก (พ.ศ. 2475 - พ.ศ. 2491)
2.การศึกษาไทยสมัยพัฒนาการศึกษา (พ.ศ. 2492 พ.ศ. 2534)
3.การศึกษาสมัยปัจจุบัน (พ.ศ. 2535 -ปัจจุบัน)
วิวัฒนาการการจัดการศึกษาโรงเรียนบ้านนามาโดยตลอด อาจจะเป็นเพราะมีปัจจัยทั้งภายในและภายนอกทำให้สังคมมีการเปลี่ยนแปลง กล่าวคือ ปัจจัยภายในเกิดจากความต้องการพัฒนาสังคมให้มีความเจริญและทันสมัย ส่วนปัจจัยภายนอกเกิดจากกระแสความเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก ทั้งด้านเศรษฐกิจและการเมือง ตลอดจนการติดต่อสื่อสารกันทำให้ต้องปรับตัวให้ทันสมัย เพื่อความอยู่รอดและประเทศได้เกิดการพัฒนาให้ทัดเทียมกับนานาประเทศ ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาทำให้การจัดการศึกษามีวิวัฒนาการเรื่อยมา ซึ่งเป็นปัจจัยที่ช่วยเสริมความเจริญก้าวหน้าทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจและการเมืองของชาติให้มั่นคงและเจริญก้าวหน้า
สำหรับระบบการศึกษาของโรงเรียนบ้านนาปัจจุบัน “มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้คนไทยเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและเน้นจุดเน้นที่หลากหลายของชุมชน” ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ ในมาตราที่ ๖
นอกจากโรงเรียนบ้านนาจัดเป็นระบบการศึกษาในระบบโรงเรียน และยังจัดการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างไม่เป็นทางการที่ชุมชนมาใช้บริการสวนสุขภาพ สนามกีฬา หอประชุม
การศึกษาที่นี่มีสองระดับคือ การศึกษาระดับปฐมวัย การศึกษาขั้นพื้นฐาน(ระดับประถมศึกษา)
การศึกษาระดับปฐมวัย
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยได้มีการประชุมพิจารณาปรับปรุงอย่างต่อเนื่องเพื่อให้หลักสูตรมีความสมบูรณ์ที่สุด ทั้งนี้ด้วยความร่วมมือจากคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรระดับก่อนประถมศึกษาและคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย ซึ่งประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้บริหาร นักวิชาการศึกษา ศึกษานิเทศก์ ครูและผู้เกี่ยวข้องจากหน่วยงานต่างๆ จนปัจจุบันได้หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๔๘
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยสำหรับเด็กอายุ ๔ – ๖ ปี มุ่งให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ที่เหมาะสมกับวัย ความสามารถและความแตกต่างระหว่างบุคคล จึงกำหนดจุดหมายซึ่งถือเป็นมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ดังนี้
1.ร่างกายเจริญเติบโตตามวัย และมีสุขนิสัยที่ดี
2.กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กแข็งแรง ใช้ได้อย่างคล่องแคล่วและประสานสัมพันธ์กัน
3.มีสุขภาพจิตดี และมีความสุข
4.มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตใจที่ดีงาม
5.ชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะ ดนตรี การเคลื่อนไหว และรักการออกกำลังกาย
6.ช่วยเหลือตนเองได้เหมาะสมกับวัย
7.รักธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และความเป็นไทย
8.อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรง เป็นประมุข
9.ใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย
10.มีความสามารถในการคิดและการแก้ปัญหาได้เหมาะสมกับวัย
11.มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
12.มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ และมีทักษะในการแสวงหาความรู้
การศึกษาขั้นพื้นฐาน นั้นมุ่งพัฒนาทุกคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
การเป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข มีศักยภาพในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพ จึงกำหนดจุดมุ่งหมายซึ่งถือเป็นมาตรฐานการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ดังต่อไปนี้
1. เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัยในตนเอง ปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ มีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมอันพึงประสงค์
2. มีความคิดสร้างสรรค์ ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน รักการอ่าน รักการเขียน และรักการค้นคว้า
3. มีความรู้อันเป็นสากล รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงและความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการ มีทักษะและศักยภาพในการจัดการ การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยี ปรับวิธีการคิด วิธีการทำงานได้เหมาะสมกับสถานะการณ์
4. มีทักษะและกระบวนการ โดยเฉพาะทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ทักษะการคิด การสร้างปัญญา และทักษะในการดำเนินชีวิต
5. รักการออกกำลังกาย ดูแลตนเอง ให้มีสุขภาพและบุคลิกภาพที่ดี
6. มีประสิทธิภาพในการผลิตและการบริโภค มีค่านิยมเป็นผู้ผลิตมากกว่าเป็นผู้บริโภค
7. เข้าใจในประวัติศาสตร์ของชาติไทย ภูมิใจในความเป็นไทย เป็นพลเมืองดี ยึดมั่นในวิถีชีวิตและการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
8. มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ภาษาไทย ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี กีฬา ภูมิปัญญาไทย
ทรัพยากรธรรมชาติและพัฒนาสิ่งแวดล้อม
9. รักประเทศชาติและท้องถิ่น มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงาม
จากข้อมูลการจัดการศึกษาในโรงเรียนบ้านนาจะเห็นได้ว่า ให้สำคัญกับการศึกษาด้านทั้งสามัญ-ศาสนา
โดยจัดให้มีการจัดการศึกษาหลักสูตรอิสลามศึกษาหลักสูตรเข้มข้น (พ.ศ.2551)ในโรงเรียนด้วย
ปัญหาหลักคือผลสัมฤทธิ์การศึกษาทั้งสามัญในจังหวัดชายแดนใต้แต่บ้านนามิใช่
ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาผลสัมฤทธิ์ทาง การศึกษา พบว่าคะแนนสอบโอเน็ต (การสอบวัดผลทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ใน 5 วิชาหลัก ปีการศึกษา 2554 พบว่านักเรียนจากโรงเรียนทั้งของรัฐและเอกชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้มีคะแนนต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยของทั้งประเทศทุกวิชาแต่จากการประเมินสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา เรียกโดยย่อว่า "สมศ."โรงเรียนบ้านนามีผลสัมฤทธิ์ผ่านทุกครั้ง”( 3 ครั้ง)ในขณะที่ปิ พ.ศ. 2557 นักเรียนหนึ่งคนมีคะแนนน ภาษาอังกฤษ อยู่ที่ 100 คะแนนในขณะเดียวกันศิษย์เก่าโรงเรียนบ้านนามีทุกสาขอาชีพ
แต่ข้อท้าทายของโรงเรียนบ้านนา ซึ่งเป็นโรงเรียนรัฐคือปัจจุบันปัจจัยหนึ่งที่อาจจะส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนกล่าวคือนจะพบนักเรียนที่ใช้สองหลักสูตรที่แยกส่วนคือการศึกษาขั้นพื้นฐานและอิสลามศึกแบบเข้มเพราะจะทำให้นักเรียนเรียนหนักเกินไป
จากการดำเนินโครงการปฏิรูปหลักสูตรโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้: ส่วนของประเทศไทย (CRP-Project)ซึ่งผู้เขียนเป็นคณะทำงานร่วมอยู่ด้วยตลอดระยะเวลา ๓ ปี(ตั้งแต่ปี ๒๕๕๐-๒๕๕๒) ได้สรุปผลต่อที่ประชุม ว่า“ สังคมมุสลิมยังมีความคิดแยกส่วนในการเรียนวิชาศาสนาและสามัญ โดยเฉพาะวิชาสามัญนั้นมุสลิมยังมองว่าเป็นวิชาการทางโลก ดังนั้นการแก้ปัญหาคือการใช้หลักสูตรบูรณาการอิสลามสำหรับมุสลิม
คำว่าบูรณาการอิสสลามไม่ใช่มีหลักสูตรอิสลามศึกษาในสถานศึกษาแต่ เป็นความพยายามการจัดการศึกษาที่นำเอาหลักการของศาสนาอิสลามมาใช้เป็นปรัชญาออกแบบการจัดการศึกษาและกำหนดวิธีการในกระบวนการจัดการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนเกิดศรัทธายึดมั่นและปฏิบัติตนตามหลักศาสนา โดยนำองค์ความรู้ต่างๆ ที่หลากหลายทุกสาระวิชา มาหลอมรวมเป็นเนื้อเดียวกันสอดคล้องตามหลักของศาสนาอิสลามและสำหรับประเทศไทยควรนำไปสู่การดำรงชีวิตในพหุสังคมได้อย่างเหมาะสม
สาเหตุที่ต้องจัดการศึกษาบูรณาการ รัฐมีนโยบายลดชั่วโมงเรียน ในขณะที่ปัจจุบันโรงเรียนบ้านนาใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน และอิสลามศึกษาแบบเข้มทำให้นักเรียนเรียนหนัก
อันเนื่องมาจากว่าการบูรณาการการศึกษาที่สมบูรณ์แบบค่อนข้างที่จะเป็นไปได้ยากในสังคมปัจจุบัน เพราะหลักสูตร หนังสือ แบบเรียน วิธีการสอน ตลอดจนบุคลากรทางการศึกษาจะต้องวางอยู่บนพื้นฐานของอิสลาม/หรือพุทธวิถี แม้ว่าจะสามารถปฏิบัติได้ในบางระดับ แต่ต้องได้รับการปฏิบัติอย่างรอบคอบ เพราะการบูรณาการที่หละหลวมจะก่อให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี อย่างไรก็ตาม เมื่อเราตระหนักว่าหลักสูตรการศึกษาในอิสลามเป็นหลักสูตรบูรณาการ ความพยายามที่จะต้องบูรณาการการศึกษาจึงควรได้รับการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
จากการจัดการศึกษานั้นควรมีจุดมุ่งหมายเพื่อการเจริญเติบโตอย่างสมดุลของบุคลิกภาพมนุษย์ โดยการฝึกฝนทางจิตวิญญาณ ความคิด เหตุผล ความรู้สึก และประสาทสัมผัส ควรมุ่งเน้นให้มนุษย์เจริญเติบโตไปในทุกๆ ด้าน เช่น ด้านจิตวิญญาณ สติปัญญา การจินตนาการ สรีระ วิทยาศาสตร์ ภาษาศาสตร์ ทั้งปัจเจกบุคคล และส่วนรวมแล้วโน้มน้าวด้านต่างๆ เหล่านี้ ไปสู่ความดีงาม และการบรรลุถึงความสมบูรณ์แบบ ซึ่งเป้าหมายสูงสุดของการศึกษาตามทัศนะอิสลามคือ การยอมจำนนต่ออัลลอฮฺอย่างสิ้นเชิง ทั้งในระดับปัจเจกบุคคล สังคม และ มนุษยชาติซึ่งสอดล้องกับจุดมุ่งหมายการศึกษาของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ ในมาตราที่ ๖ “การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อให้คนไทยเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข”
ความสมดุล และ ความสมบูรณ์ของมนุษย์เป็นประเด็นหลักของจุดมุ่งหมายทั้งสองนี้จะเกิดขึ้นได้นั้นควร มุ่งเน้นการจัดการศึกษาภายใต้แนวคิดอิสลามานุวัตรองค์ความรู้( Islamization of Knowledge) ซึ่งสามารถบูรณาการอิสลามในทุกองค์ความรู้ผ่านการทบทวนรายวิชาที่จัดสอนในหลักสูตร ปฏิรูปหลักสูตร โดยยึดหลักการข้างต้นพร้อมกับจะต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาตามแนวคิดดังกล่าว ในขณะเดียวกันทางโครงการได้เสนอรูปแบบหรือ Model ต้นร่าง การบูรณาการโครงสร้างหลักสูตร ตามแนวคิดของ CRP-PROJECT ดังนี้
บูรณาการอิสลามทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
- กลั่นกรองเนื้อหาทุกกลุ่มสาระ โดยครูผู้สอนสามารถกระตุ้นให้ผู้เรียนวิเคราะห์เนื้อหา และ แยกแยะได้ว่าส่วนใดที่ไม่ตรงกับหลักการศาสนาอิสลาม และความจริงที่ถูกต้องเป็นอย่างไร
- บูรณาการบรรยากาศในโรงเรียนและในห้องเรียนเป็นบรรยากาศแบบศาสนธรรมเต็มรูปแบบ
- บูรณาการโครงสร้างหลักสูตร
- บูรณาการเนื้อหาวิชา
- บูรณาการตำราเรียน/และสื่อการจัดการเรียนรู้
- บูรณาการกิจกรรมการจัดการเรียนรู้
ถ้าสามารถสร้างรูปแบบการศึกษาบูรณาการที่สมบูรณ์ได้จะทำให้ผู้เรียนที่เรียนสองหลักสูตร(คือการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 ซึ่งมี 8 สาระวิชา กับหลายวิชาที่เป็นสาระเพิ่มเติม กับ 8 สาระวิชาหลักกับอีกหลายวิชาในสาระเพิ่มเติมเช่นกันในหลักสูตรอิสลามศึกษา พ.ศ. 2551 ลดภาระการเรียนของผู้เรียนซึ่งจะมีผลต่อการสอบเข้าศึกษาต่อในสูงขึ้น ทั้งศาสนาหรือสามัญ
แนวคิดทางยุทธศาสตร์การศึกษาของโรงเรียน
การศึกษาที่นี่มีพื้นฐานสามหลักคิดคือหรือสามองค์ประกอบคือ บูรณาการการศึกษา การศึกษาเพื่อศีลธรรมและการศึกษาเพื่อพหุวัฒนธรรม (Integrational Education, Moral Character, and Multiculturalism)
ในกระบวนการศึกษา ตั้งอยู่บนฐานแนวคิดดังกล่าว การศึกษาทั้งในปฐมวัยละ ระดับประถมศึกษา ต้องทำให้เกิดการศึกษาทางศาสนา สามัญศึกษาและอาชีวะในระดับสูงขึ้นต่อไปซึ่งเน้นทั้งความเข้มข้น ในทางการศึกษาทั้งทางด้านศีลธรรม และความเข้มข้นทางวิชาการทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ (Intensive and Integrative Religious and Secular Educational Processes) เพื่อพัฒนาคนที่มีคุณธรรมตามคุณธรรมตามประเพณี และศาสนาและ มีความสามารถในการแข่งขันในการพัฒนา
เป้าหมายสูงสุดที่จะปรากฏในการศึกษาระดับอุดมศึกษาและสถาบันวิชาการชั้นสูงในจังหวัดชายแดนภาคใต้คือความเป็นเลิศในทางการวิจัยและองค์ความรู้ทางวิชาการ มีความเป็นสากลเพื่อรองรับประชาคมนานาชาติ อาเซียนและมีคุณธรรม (Exellence, Metropolitan, and Moral Charaaters
ในตัวแบบกระบวนการการทางการศึกษาที่นี่และในจังหวัดชายแดนภาคใต้จะมีกระบวนการย่อยๆที่รองรับทั้งสามระดับ คือปฐมวัย การศึกษาขั้นพื้นฐานเชื่อมต่อ อาชีวะศึกษา และในระดับสูงคือการศึกษาในระดับอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัย ทุกระดับจะเชื่อต่อกันเพื่อนำไปสู่การพัฒนา การศึกษาในสถานการร์ความขัดแย้ง แผนกลยุทธ์ แผนงาน โครงการจะสร้างขึ้นบนพื้นฐาน กระบวนการดังกล่าว
นโยบายสาธารณะ : ข้อเสนอแนะในการพัฒนาการศึกษาโรงเรียนบ้านนาเพื่อชุมชนอย่างยั่งยืน
จากการศึกษาเอกสาร ถอดบทเรียนเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับครูเมื่อผู้เขียนเข้าประเมินเพื่อรับรองมาตรฐานตาม และประเมินคุณภาพเรียกโดยย่อว่า "สมส”พบว่าการจัดการศึกษาที่นี่และภาพรวมของจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้นควรให้โรงเรียนเป็นแหล่งเรีนรู้ที่เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสอดคล้องกับวิถีชีวิตชุมชน ปรับปรนเข้ากับยุคโลกาภิวัตรและสามารถเปิดประสู่ประชาคมอาเซี่ยนอย่างเท่าทันโดยควรมีนโยบายการพัฒนานโยบายสาธารณะดังนี้
1. ใช้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง มุ่งให้คนทุกคนในเขตบริการของโรงเรียน ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง ตลอดชีพ และมีคุณภาพ ทั้งในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัยพร้อมทั้งสอดคล้องกับวิถีชุมชน มีความรู้ความสามารถ และสามารถใช้ภาษาไทยในการสื่อสารกันได้อย่างถูกต้องชัดเจน มีความรู้ภาษามลายูกลาง ท้องถิ่น ภาษาอังกฤษเพื่อสู่ประชาคมอาเซี่ยน(ซึ่งโรงเรียนได้เปิดแผนการเรียน MEP) และหากเป็นไปได้มีความรู้ภาษาภาษาจีนกลาง เพื่อต่อยอดการสื่อสาร ติดต่อและเจรจาธุรกิจ มีความสามารถในการประกอบอาชีพ เพิ่มรายได้ นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมบนพื้นฐานของศาสนาที่ถูกต้อง โดยสำรวจข้อมูลและความต้องการทางการศึกษาของประชาชนเป็นรายบุคคล และจัดทำแผนงาน โครงการในขณะเดียวกันมีการสร้างจิตสำนึกความเป็นพลเมืองโดยเฉพาะกรรมการสถานศึกษาระดับรากหญ้าให้เข้าใจบทบาทและหน้าที่ในการจัดการตนเองในการจัดการศึกษาของชุมชน
2 ใช้ตำบลเป็นพื้นที่เป้าหมาย มุ่งให้เกิดการบูรณาการการปฏิบัติงานร่วมกันในตำบล ทั้งหน่วยงานและบุคลากรของรัฐ เอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนทุกภาคส่วน โดยโรงเรียนอาจจะร่วมกันกับกระทรวงมหาดไทย เทศบาลจะนะ สำรวจทรัพยากรทางการศึกษา จัดทำแผนการศึกษาที่บูรณาการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมและกีฬาระดับตำบล และจัดให้มีคณะพัฒนาการศึกษาประสานงานการศึกษาระดับตำบลที่เชื่อมโยงทุกมิติ โดยมีสถาบันอุดมศึกษา วิทยาลัยชุมชน และสถาบันอาชีวศึกษาเป็นพี่เลี้ยงทางวิชาการ
3. มีกิจกรรมการสร้างสมานฉันท์เพื่อสันติสุขเช่นทักษะวัฒนธรรมแต่ต้องไม่ขัดหลักศาสนธรรม มุ่งให้ประชาชนทุกคนในพื้นที่บริการที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุขและยั่งยืน โดยสร้างความตระหนักและความเข้าใจในคุณค่าของความหลากหลายของเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม ส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจที่ดีต่อกัน ส่งเสริมให้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้และทำกิจกรรมร่วมกัน ทั้งระดับสถาบัน ครอบครัว และบุคคล ตลอดจนยกย่องและสร้างแรงจูงใจแก่ทุกภาคส่วนที่มีบุคลากรเป็นแบบอย่างการเรียนรู้สู่ความสมานฉันท์ จัดตั้งศูนย์เรียนรู้วิทยาศาสตร์บูรณาการศาสนธรรม จัดให้นักเรียนมีรายการเสียงตามสายเพื่อชุมชน เพื่อสื่อสารการประชาสัมพันธ์เป็นภาษาไทย มลายู อังกฤษและจีนกลาง
สรุป
การจัดการศึกษาในโรงเรียนบ้านนาได้ให้ความสำคัญต่อหลายเรื่องกับการบูรณาการการศึกษาให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต อัตลักษณ์ ความหลากหลายทางวัฒนธรรม และชุมชนเองจากทุกภาคส่วนของท้องถิ่นและขอให้ดำเนินความดีนี้ตลอดไป
ขอให้ขวัญกำลังใจของครู บุคลากรและผู้เรียนมีมากขึ้น เกิดการผนึกกำลังกันอย่างสมานฉันท์ ส่งผลให้เกิดสันติสุขในรอบชุมชนบ้านนาและเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับโรงเรียนและชุมชนอื่นด้วยเช่นกัน