“เกริ่น” รายงานข้อเสนอ เพื่อสื่อสารสันติภาพปาตานี ตอนที่ 3 (จบ)
ขณะที่ประเด็นสำคัญที่สื่อมักไม่ค่อยนำเสนอหรือที่เรียก ว่า “ข่าวที่ไม่เป็นข่าว” ในช่วงระหว่างปี พ.ศ.2547-2553 บทบาทการทำหน้าที่การเสนอข่าวของสื่อมวลชนในการนำ เสนอข่าวประเด็นจังหวัด ชายแดนภาคใต้ ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนใน พื้นที่อีกทั้งยังไม่สามารถทำ หน้าที่เป็นกระบอกเสียงของประชาชนในพื้นที่ได้เช่นกัน ทั้งนี้เป็นที่น่าสังเกตว่า ประเด็นข่าวจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ได้รับการนำ เสนอผ่านสื่อมวลชนเป็นเพียงข่าวประเด็นทั่วไปไม่ได้เจาะลึก อีกทั้งการนำ เสนอข่าวดังกล่าวยังเป็นการนำ เสนอข่าวเพื่อตอบสนอง ความต้องการของคนผู้เสพข่าวทั่วไปเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งทำ ให้ประเด็นข่าว ภาคใต้มีพื้นที่ในการนำ เสนอที่จำกัดมาก โดยเฉพาะประเด็นที่ประชาชน ในพื้นที่ต้องการให้นำ เสนอ (ดุษฎี เพ็ชรมงคล. 2555)
ขณะที่การนำ เสนอข่าวออนไลน์ของสื่อพื้นที่ห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) ทั้งกลุ่มองค์กรสื่อหนังสือพิมพ์ที่มีการผลิต สื่อออนไลน์ และกลุ่มองค์กรสื่อทางเลือกที่มีการผลิตสื่อออนไลน์โดย ไม่มีการผลิตหนังสือพิมพ์ ต่างมีวัตถุประสงค์ของการผลิตสื่อออนไลน์ ที่สอดคล้องต้องกัน กล่าวคือทั้งสองกลุ่มได้มีวัตถุประสงค์ในการนำ เสนอเนื้อหาของข่าวที่แตกต่างไปจากสื่อกระแสหลักอื่นๆโดยทั่วไป ทั้งนี้ นอกจากทั้งสองกลุ่มจะมีวัตถุประสงค์เพื่อนำ เสนอเนื้อหาข่าวที่แตกต่าง ไปจากสื่อหลักอื่นๆแล้ว สื่อท้องถิ่นทั้งสองกลุ่มดังกล่าวยังต้องการที่จะ สื่อสารแบบปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมายเพื่อรับฟังความคิดเห็นแบบทัน ท่วงที (ฐิติมา เทพญา และดุษฎี เพ็ชรมงคล. 2554)
กล่าวโดยสรุป ภาพรวมตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบเกิด ขึ้นช่วงต้นปี 2547 เป็นต้นมาทิศทางการนำ เสนอข่าวของสื่อกระแสหลัก กลับเปลี่ยนมุมมองไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง กล่าวคือกลายเป็นการนำ เสนอข่าวความไม่สงบในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจับกุมผู้ต้องสงสัย/ ผู้กระทำ ผิด ข่าวการวางระเบิดตามสถานที่ต่างๆ ซึ่งเนื้อหาของข่าว ส่วนใหญ่ เป็นการนำ เสนอในทิศทางที่มีผลเชิงลบต่อคนในพื้นที่ สร้าง ความคลาดเคลื่อนและบิดเบือนความจริง ส่งผลให้เกิดการสร้างภาพคนในพื้นที่ในมุมมองเชิงลบ ทว่าในทางกลับกันสื่อมวลชนกระแสหลัก เหล่านี้ มีการนำ เสนอข่าวเชิงบวกเกี่ยวกับบทบาทในเรื่องการแก้ปัญหา ของภาครัฐ
ทั้งนี้ก็สืบเนื่องมาจากการให้น้ำ หนักแหล่งข่าวของสื่อมวลชน กระแสหลักในช่วงระยะเวลาดังกล่าว ยังคงให้น้ำ หนักกับแหล่งข่าวที่เป็น เจ้าหน้าที่รัฐเป็นหลัก อีกทั้งยังขาดการเชื่อมต่อกับภาคประชาชนในพื้นที่ นอกจากนี้รูปแบบการนำ เสนอข่าวผ่านทางสื่อกระแสหลัก ไม่ว่าจะเป็นสื่อ สิ่งพิมพ์ เว็บไซต์ หรือโทรทัศน์ กลับเน้นถึงความรวดเร็วในการนำ เสนอข่าว ทันต่อเหตุการณ์และสถานการณ์ มากกว่าที่จะทำ ข่าวเชิงลึก ทว่านั่นก็เป็น ผลมาจากการที่สื่อกระแสหลักเหล่านี้ต้องการตอบสนองความต้องการ ของผู้รับสาร ที่กำลังสนใจประเด็นดังกล่าวอย่างทันท่วงที เมื่อมองใน ภาพรวม เห็นได้ว่า สื่อกระแสหลักไม่ได้เป็นสื่อทำหน้าที่ตอบสนองความ ต้องการของคนในพื้นที่ปาตานี/ชายแดนใต้ หากแต่เป็นเพียงการทำข่าวที่ สนองความต้องการของผู้รับสารทั่วไปและสนองต่อแนวทางความมั่นคงของภาครัฐเป็นหลัก
ทั้งนี้ต้องยอมรับว่าอุปสรรคสำคัญที่ทำ ให้สื่อกระแส หลักไม่สามารถตอบสนองความต้องการของคนในพื้นที่ได้ เนื่องจากสื่อ กระแสหลักเหล่านี้ยังขาดบุคลากรและผู้ที่มีความคุ้นเคยในพื้นที่ในการ ทำ ข่าว ทำ ให้ไม่สามารถที่จะรับข้อมูลรอบด้านในการนำ เสนอ อย่างไร ก็ตาม ยังมีพัฒนาการของสื่อกระแสหลักอย่างไทยพีบีเอส และช่อง 3 ที่ มีบางช่วงของข่าวและบางรายการได้มีการนำ เสนอข่าวที่แตกต่างออกไป จากสื่อกระแสหลักอื่นๆ ทั้งในประเด็นวิถีชีวิตวัฒนธรรมของในพื้นที่ปาตานี/ชายแดนใต้ ประเด็นการขับเคลื่อนสันติภาพในระดับภาคประชาชน มีการปรับเปลี่ยนท่าทีการใช้คำที่สร้างความเกลียดชังเช่นคำ ว่าโจรใต้ ก็ได้ หายไปจากสื่อในช่องดังกล่าว
กระนั้นก็ตามยังมีประเด็นอื่นๆดังที่กล่าวมา ข้างต้นที่สื่อกระแสหลักจะต้องพัฒนาต่อไป ในส่วนของกระบวนการสื่อสารในสื่อทางเลือกภายใต้บริบท สถานการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นในพื้นที่ปาตานี/ชายแดนใต้ นับตั้งปี 2547 เป็นต้นมา สื่อทางเลือกได้กลายเป็นพื้นที่ที่สามารถตอบสนองความ ต้องการสื่อสารของคนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเริ่มแผ่ ขยายขึ้นอย่างมากในรูปแบบของสื่อสิ่งพิมพ์ท้องถิ่น วิทยุชุมชน เว็บไซต์
โดยกระบวนการเกิดขึ้นของสื่อทางเลือกเหล่านี้ เห็น ได้ว่าวิทยุชุมชนพัฒนาขึ้นโดยผ่านการสื่อสารในระดับ บุคคล โดยปัจจัยสำคัญในการพัฒนาดังกล่าวอาทิ การ มีส่วนร่วมระดับกลุ่มผู้สนใจ ซึ่งเป็นการสื่อสารในแนว ระนาบไปมาระหว่างบุคคลที่มีความสนใจในประเด็น เดียวกัน การเข้ามามีส่วนร่วมในระดับชุมชน ซึ่งภายใต้ กระบวนการพัฒนานี้ ผู้นำ ท้องถิ่นและผู้นำ ศาสนา มี อิทธิพลในการชักชวนสมาชิกในชุมชนให้เข้ามาร่วมใน กระบวนการสื่อสารดังกล่าว ทั้งนี้การประมวลข้อเสนออันหลากหลาย จากงานวิจัยข้างต้นเพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำ เนิน การจัดเวทีนโยบายสาธารณะจึงเป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐาน สำหรับการจัดทำ สรุปประเด็นข้อเสนอเชิงนโยบายฯ
นอกจากนั้นแล้วการจัดเวทีนโยบายสาธารณะเพื่อ ตั้งคำถามต่อประชาชนในหลายกิจกรรมที่มีส่วนหนุน เสริมให้ข้อเสนอดังกล่าวได้รับการพิจารณาอย่าง ใคร่ครวญด้วยเช่นกัน โดยมีทั้งการจัดเวทีขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ในภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศไม่ว่าจะเป็น ภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดอุบลราชธานี ภาคกลางจังหวัดกรุงเทพมหานคร ภาคใต้ตอนกลางจังหวัดนครศรีธรรมราช และอีกหลาย เวทีในจังหวัดชายแดนภาคใต้ การจัดเวทีดังกล่าวได้ ส่งผล อย่างสำคัญต่อการสร้างบรรยากาศการถกเถียง แลกเปลี่ยนและนำ เสนอประเด็นการรายงานข่าวปาตานี/ชายแดนใต้ ของสื่อมวลชน
การมีโอกาสได้รับรู้ ความคืบหน้าและที่มาที่ไปของข้อเสนอดังกล่าวการ ใช้เหตุผลในการใคร่ครวญ ถกเถียง และแลกเปลี่ยน ระหว่างผู้เข้าร่วมด้วยกันเอง และระหว่างผู้เข้าร่วม กับวิทยากร ได้ส่งผลต่อการตื่นตัวของประชาชนและ ส่งเสริมบรรยากาศของการสร้างสันติภาพมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม สรุปประเด็นข้อเสนอเชิงนโยบายดัง กล่าวยังเปิดช่องให้ผู้เข้าร่วมเวทีสามารถจะอภิปราย และนำ เสนอแนวทางต่างๆที่นอกเหนือไปจากข้อเสนอ ต่างๆที่ได้หยิบยกมา รายงานนี้จึงเป็นข้อสรุปจากการสังเคราะห์ เสียงของประชาชนในภูมิภาคต่างๆ ที่เข้าร่วมเวที โดยพิจารณาจากเหตุผลการรับรู้ ติดตามข่าวสารที่รายงาน เกี่ยวกับปาตานี/ชายแดนใต้ และจากประสบการณ์ การทำ งานในพื้นที่ความขัดแย้งปาตานี/ชายแดนใต้ เป็นนัยสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความคิดเห็นของ ประชาชนในพื้นที่ ที่ข่าวสารจะเกี่ยวข้องและผูกโยงกับ ชีวิตของพวกเขาโดยตรง จบ..
อ่านต่อเนื่อง