“เกริ่น” รายงานข้อเสนอเพื่อสื่อสารสันติภาพปาตานี ตอนที่ 1
บทบรรณาธิการชิ้นนี้กำลังจะพาไปทำความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับเนื้อหา "รายงานข้อเสนอนโยบายสาธารณะเกี่ยวกับการสื่อสารสันติภาพปาตานี/ชายแดนใต้" โดยการขับเคลื่อนระหว่างปาตานี ฟอรั่มและองค์กรภาคี เครือข่ายในห้วงปี 47 ที่ผ่านมา ซึ่งประจวบเหมาะกับสถานการณ์ของการสื่อสารของสื่อกรณีเหตุการณ์ล่อแหล่มในพื้นที่ปาตานี ถูกกระตุกอีกครั้ง ไม่ว่าเหตุการณ์โศกนาฎกรรมทุ่งยางแดงโมเดล หรือเหตุการณ์คุกคามนักศึกษา และประชาสังคมในพื้นที่ปาตานี/ชายแดนใต้ ทั้งนี้จะนำเสนอเป็น 3 ตอน ด้วยกัน เพื่อความง่ายในการติดตามก่อนจะปล่อยฉบับเต็มให้ download เร็วๆนี้
อันจะขอเริ่มต้นเกริ่นด้วยการย้อนทำความเข้าใจว่าสถานการณ์ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ในรอบ ทศวรรษที่ผ่านมา ความเข้าใจต่อสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้มี ทั้งมากขึ้นและคาดเคลื่อนไปกว่าเดิม ซึ่งเกิดจากปัจจัยหลายประการ เช่น นโยบายของรัฐและความเปลี่ยนแปลงของโลกมุสลิม ทว่าปัจจัยที่สำคัญ มากที่สุดข้อหนึ่งได้แก่ “สื่อ” โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเติบโตของสื่อออนไลน์ ทำ ให้ข้อมูลข่าวสารได้แพร่กระจายกว้างขวางอย่างไม่เคยมีมาก่อน แม้ คนทำ งานทางด้านสื่อเอง หากไม่ปรับตัวให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงและ เข้าใจถึงสถานะของตนก็อาจจะทำ ให้หลงทิศทางได้ สภาพดังกล่าวมัก เกิดขึ้นกับสื่อกระแสหลักที่ยึดโยงการรายงานข่าวสถานการณ์สามจังหวัด ชายแดนภาคใต้ในรูปของข่าวอาชญากรรมทั่วไปโดยมิได้ทำ งานเชิงลึก มากเพียงพอ
แม้ว่าในช่วงสามถึงสี่ปีที่ผ่านมาจะมีการทำ งานข่าวหรือ สื่อสารในเชิงลึกอยู่บ้าง หากยังไม่สามารถก่อให้เกิดความต่อเนื่อง หรือ สร้างวาระข่าวเพื่อสันติภาพในสามจังหวัดภาคใต้ได้ ความรุนแรงในพื้นที่ปาตานี/ชายแดนใต้หนึ่งทศวรรษที่ผ่าน มาสร้างความสูญเสียโอกาสทางด้านเศรษฐกิจ สังคมโดยรวม โดยเฉพาะ ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับประชาชนในพื้นที่ ซึ่งสื่อมวลชนมีบทบาทสำ คัญ อย่างยิ่งในการนำ เสนอข่าวสารและเหตุการณ์ให้สังคมได้รับรู้ และปฏิเสธ ไม่ได้ว่าผลที่เกิดจากการนำ เสนอข่าวของสื่อมวลชนส่งผลกระทบทั้งด้าน บวกและด้านลบต่อสังคม โดยเฉพาะในพื้นที่ปาตานี/ชายแดนใต้ ที่ ข่าวสารมักจะสะท้อนให้สังคมโดยรวมเห็นแต่ภาพความรุนแรงในพื้นที่ สร้างภาพตีตราที่แข็งตัวและเกิดความไม่เข้าใจปัญหาที่ซับซ้อน ทั้งนี้ การนำ เสนอข่าวสารของสื่อจึงมีความสำ คัญอย่างยิ่งที่จะกระตุ้นหรือลด ความรุนแรง
ปาตานีฟอรั่ม มีความสนใจที่จะศึกษาการนำ เสนอข่าวสารหรือ บทบาทของ “สื่อกระแสหลัก” ในบริบทของสื่อที่เข้าถึงคนส่วนใหญ่ของ ประเทศในทุกระดับโดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อโทรทัศน์ โดยหวังจะเห็นการนำ เสนอข่าวสารที่ก่อให้เกิดความเข้าใจและนำ ไปสู่สันติภาพในปาตานี/ ชายแดนใต้ จึงได้จัดเวทีสาธารณะขึ้นในภูมิภาคต่างๆ เพื่อรับฟังข้อเสนอ แนะข้อคิดเห็นจากประชาชนทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่ปาตานี/ชายแดนใต้ ซึ่งหมายถึงทั้งเสียงจากคนในและคนนอก อีกทั้งได้หารือกับคนทำงานด้านสื่อมวลชน ที่มาจากการร่วมตัวกันเฉพาะกิจของสื่อในพื้นที่ปาตานี/ชายแดนใต้ จน ได้ข้อมูลเบื้องต้น เพื่อนำไปสู่การจัดทำ ข้อเสนอนโยบายสาธารณะการสื่อสารเพื่อหนุนเสริมสันติภาพปาตานี/ชายแดนใต้
ปาตานีฟอรั่ม ได้ดำเนินการจัดเวทีมาเป็นระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่เดือนมิถุนายน – พฤศจิกายน 2557 จากการจัดเวทีและศึกษา ข้อมูลดังกล่าวทำ ให้ทราบว่าในรอบทศวรรษที่ผ่านมาเกิดเสียงสะท้อนให้ มีการปรับเปลี่ยนท่าทีการนำ เสนอข่าวของสื่อกระแสหลัก จากการระดม ความคิดเห็นในเวทีสาธารณะของประชาชน ผู้นำ ทางความคิด และผู้นำ ทางการเมือง บทความ และรายงานการศึกษา ตลอดจนการหยิบยก ประเด็นดังกล่าวมานำ เสนอในสื่อมวลชนมาโดยตลอดเป็นระยะเวลา
หลายปี ไม่ว่าจะเป็นงานศึกษาเรื่อง “แบบแผนการสื่อสาร การเปิดรับสื่อและความต้องการข่าวสาร ของประชาชนเกี่ยวกับสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้” ของจารียา อรรถอนุชิต และอรุณีวรรณ บัวเนี่ยว (2550) ที่แสดงให้เห็นว่า ประชาชนส่วนใหญ่จะรับรู้ข่าวสารจากสื่อโทรทัศน์ สื่อวิทยุ และสื่อ หนังสือพิมพ์ตามลำ ดับ นอกจากนั้นแล้วก็ยังมีช่องทางอื่นๆได้แก่ การเปิดรับข่าวสารจากผู้นำ ชุมชน ผู้นำ ศาสนา และร้านน้ำ ชาฯลฯ
เหลียวหลังแลหน้า สื่อ กับ ชายแดนใต้
จากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้สื่อในพื้นที่ ปาตานี/ชายแดนใต้ ได้บ่งชี้ให้เห็นถึงปรากฏการณ์และพัฒนาการของสื่อ ที่เกิดขึ้นในปาตานี/ชายแดนใต้ ในช่วงเวลาของการเกิดเหตุการณ์ความ ไม่สงบ การทำ ความเข้าใจในกระบวนการดังกล่าว ผู้ศึกษาได้อธิบายผ่าน กระบวนการในสื่อกระแสหลัก สื่อทางเลือก องค์ประกอบของเนื้อหาสื่อ ควบคู่ไปกับมิติทางด้านเวลา กระบวนการการสื่อสารในสื่อกระแสหลัก ซึ่งประกอบไปด้วย สื่อมวลชนกระแสหลัก วิทยุที่ครอบครองพื้นที่ในสื่อโดยรวมและสื่อที่อยู่ ภายใต้สังกัดสำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดปัตตานี ยะลา และ นราธิวาส ซึ่งทั้งสองกลุ่มหลังถือว่าสามารถครอบครองพื้นที่ในการสื่อสารในระดับ เดียวกับสื่อกระแสหลัก
เมื่อพิจารณาถึงกระบวนการสื่อสารจะเห็นได้ชัด ว่าสื่อกระแสหลักใช้วิธีการในการสื่อสารผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ (หนังสือพิมพ์) และโทรทัศน์ ซึ่งประเด็นสำ คัญในการสื่อสารจากสื่อกระแสหลัก แสดงให้ เห็นว่ามีทิศทางการเปลี่ยนแปลงในการนำ เสนอข่าวที่แตกต่างจากอดีต โดยสิ้นเชิง กล่าวคือ รูปแบบการนำ เสนอข่าวเกี่ยวกับพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในช่วงตั้งแต่ก่อนหน้า พ.ศ. 2536 - 2546 ทิศทางการนำ เสนอข่าวเป็นการนำ เสนอข่าวในประเด็นด้านการพัฒนาของพื้นที่ วิถี ชีวิต วัฒนธรรม และประเพณี ซึ่งเนื้อหาข่าวไม่มีความโดดเด่น ดึงดูดผู้รับ สารแต่อย่างใด อีกทั้งด้านอัตลักษณ์และประวัติศาสตร์ของคนในพื้นที่ก็ ยังไม่มีการรายงานข่าวหรือพยายามสื่อสารให้แก่คนในสังคมไทยให้รับ ทราบ
คงมีแต่แวดวงวิชาการและกลุ่มคนกลุ่มเล็กๆที่ให้ความสนใจใน เรื่องเหล่านี้ ทั้งยังต้องคอยระมัดระวังเมื่อต้องศึกษาเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ ประวัติศาสตร์ปาตานี และยิ่งเป็นเรื่องที่ยากลำ บากมากขึ้น หากผู้ศึกษา เป็นคนมลายูในพื้นที่ เพราะมักจะถูกเพ่งเล็งจากรัฐว่าเป็นกลุ่มที่มีแนวคิดต้องการแบ่งแยกดินแดน กระทั่งเมื่อเริ่มมีเหตุการณ์ความไม่สงบเกิดขึ้นช่วงต้นปี 2547 เป็นต้นมา ทิศทางการนำ เสนอข่าว ของสื่อกระแสหลักกลับเปลี่ยนมุม มองไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง กล่าวคือ เป็นการนำ เสนอข่าวความไม่สงบ ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจับกุมผู้ต้องสงสัย/ผู้กระทำ ผิด ข่าวการ วางระเบิดตามสถานที่ต่างๆ ซึ่งเนื้อหาข่าวส่วนใหญ่เป็นการนำเสนอใน ทิศทางที่มีผลเชิงลบต่อคนในพื้นที่ สร้างความคลาดเคลื่อนและบิดเบือน ความจริง
ส่งผลให้เกิดการสร้างภาพคนในพื้นที่ในมุมมองเชิงลบ ทว่าใน ทางกลับกันสื่อมวลชนกระแสหลักเหล่านี้ มีการนำ เสนอข่าวเชิงบวกเกี่ยว กับบทบาทในเรื่องการแก้ปัญหาของภาครัฐ ทั้งนี้สืบเนื่องจากสื่อมวลชน กระแสหลักในช่วงเวลาดังกล่าวให้นำ น้ำหนักกับแหล่งข่าวที่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐ เป็นหลัก อีกทั้งยังขาดการเชื่อมต่อกับภาคประชาชนในพื้นที่ นอกจากนี้รูป แบบการนำ เสนอข่าวผ่านทางสื่อกระแสหลัก ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ เว็บไซต์ หรือ โทรทัศน์ กลับเน้นถึงความรวดเร็วในการนำเสนอข่าวให้ทันต่อเหตุการณ์ และสถานการณ์มากกว่าจะทำ ข่าวเชิงลึก ซึ่งเป็นผลจากการที่สื่อกระแสหลักต้องการตอบสนองความต้องการของผู้รับสารที่กำลังสนใจประเด็นดังกล่าวอย่างทันท่วงที
เมื่อมองในภาพรวมจะเห็นได้ว่า สื่อกระแสหลัก ไม่ได้ตอบสนองความต้องการของคนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาค ใต้ หากนำ เสนอข่าวที่สนองความต้องการของผู้รับสารทั่วไปและสนอง ต่อแนวทางความมั่นคงของภาครัฐเป็นหลัก ทั้งนี้ต้องยอมรับว่าอุปสรรค สำคัญที่ทำ ให้สื่อกระแสหลักไม่สามารถตอบสนองความต้องการของ คนในพื้นที่ได้ เนื่องจากสื่อกระแสหลักเหล่านี้ยังขาดบุคลากรและผู้ที่มี ความคุ้นเคยในพื้นที่ในการทำข่าว ทำให้ไม่สามารถที่จะรับข้อมูลรอบด้านในการนำ เสนอ นับตั้งปี พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา
สื่อทางเลือกในท้องถิ่นได้ กลายเป็นพื้นที่ที่สามารถตอบสนองความต้องการสื่อสารของคนในพื้นที่ สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และขยายตัวขึ้นอย่างมากในรูปแบบของสื่อ สิ่งพิมพ์ท้องถิ่น วิทยุชุมชน เว็บไซต์ โดยกระบวนการเกิดขึ้นของสื่อทางเลือกเหล่านี้ เห็นได้ว่าวิทยุชุมชนเป็นการพัฒนาขึ้นโดยผ่านการสื่อสารใน ระดับบุคคล โดยปัจจัยสำคัญในการพัฒนาดังกล่าวมีสามประการด้วย กันคือ (หนึ่ง) การมีส่วนร่วมระดับกลุ่มผู้สนใจ ซึ่งเป็นการสื่อสารในแนวระนาบไปมาระหว่างบุคคลที่มีความสนใจในประเด็นเดียวกัน (สอง) การเข้ามามีส่วนร่วมในระดับชุมชน ซึ่งภายใต้กระบวนการพัฒนานี้ผู้นำ ท้อง ถิ่นและผู้นำ ศาสนามีอิทธิพลในการชักชวนสมาชิกในชุมชนให้เข้ามาร่วม ในกระบวนการสื่อสารดังกล่าว และ (สาม) การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ในระดับท้องถิ่นและจังหวัดเพื่อเชื่อมโยงผู้ปกครองกับประชาชนในพื้นที่ และช่วยลดความระแวงต่อการสร้างสื่อของประชาชนในพื้นที่ ในสื่อสิ่งพิมพ์
เห็นได้ว่ามีการเสนอข่าวที่แตกต่างไปจากสื่อกระแสหลัก ซึ่งเป็นผล มาจากสื่อท้องถิ่นเหล่านี้ต้องการสื่อสารโดยมีกลุ่มเป้าหมายคือประชาชน ในพื้นสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นหลัก ดังนั้นสื่อท้องถิ่นจึงเลือกที่จะใช้วิธีการปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มเป้า หมายเพื่อรับฟังความคิดเห็นของคนในพื้นที่ประกอบการนำ เสนอข่าว ซึ่งการนำเสนอข่าวดังกล่าวเป็นการเน้นรายละเอียดที่เกิดขึ้นในพื้นที่สาม จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นสำคัญแต่อุปสรรคใหญ่ของสื่อสิ่งพิมพ์ใน พื้นที่เหล่านี้กลับอยู่ที่การตอบสนองของผู้บริโภคที่ยังไม่มากเท่าที่ควร ด้วยเหตุที่ในช่วงหลังได้หันมาใช้พื้นที่เว็บไซต์ในการนำ เสนอข่าว ซึ่งผู้บริโภคหลักในท้องถิ่นไม่รู้จักเว็บไซต์ของสื่อ ประกอบกับผู้บริโภคยังขาด ทักษะในการใช้อินเตอร์เน็ต กระนั้นสื่อทางเลือกกลุ่มนี้กลับมีจุดแข็งที่ บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในพื้นที่ ทั้งนี้ในส่วนของการสื่อสารในรูปแบบ ของเว็บไซต์ ภายใต้สถานการณ์ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเปรียบเสมือนปุ๋ย ชั้นดีที่เร่งให้มีการเปิดพื้นที่แลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่เน้นการสื่อสารแบบ มีส่วนร่วมของประชาชนมากขึ้น ทางเลือกหนึ่งในกระบวนการดังกล่าว คือการพัฒนารูปแบบการสื่อสารผ่านการเป็นผู้เล่นในพื้นที่สื่อประชาสังคม
อ่านต่อตอนที่ 2 http://www.pataniforum.com/single.php?id=501