พัฒนาการของภาพยนตร์ในมาเลเซียก่อนเอกราช

ภายในปี พ.ศ. 2558 ประเทศไทย รวมถึงเพื่อนบ้านประเทศต่างๆ ที่เป็นสมาชิกของอาเซียจะมีความร่วมมือ และการบริหารปกครองกลุ่มประเทศอาเซียนทั้ง 10 ให้เป็นหนึ่งเดียวกัน ภายใต้ประชาคมอาเซียน ที่เปรียบเสมือนว่าอาเซียนเป็นประเทศหนึ่งซึ่งทั้งหมด 10 ประเทศ  อย่างไรก็ตาม การเข้าสู่ความเป็นหนึ่งเดียวของอาเซียนนั้น การเข้าสู่การเป็นพลเมืองเดียวกันกับประชากรประเทศอื่นอีก 10 ประเทศ อาจเป็นปัญหาสำคัญให้กับประเทศไทย เนื่องด้วยสังคมไทยมีความรู้เกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างน้อยนิด ทั้งๆ ที่อยู่ร่วมกันในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาเป็นเวลากว่า 4 ทศวรรษ และกำลังที่จะก้าวไปสู่การเป็นพลเมืองเดียวกันในอีกไม่ช้า

ผู้คนสังคมไทยต้องเรียนรู้วัฒนธรรมของเพื่อนบ้าน โดยเครื่องมือจำนวนมากที่สามารถนำความรู้จัก ความเข้าใจ และสัมผัสประเทศเพื่อนบ้านได้อย่างใกล้ชิด คือ สื่อและความบันเทิง ที่นำมาจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยเครื่องมือนี้ เป็นสิ่งเครื่องมือจะทำให้ผู้ชมเข้าใจถึง วิถีวัฒนธรรมที่ถูกถ่ายทอดผ่านเนื้อเรื่องทั้งในรูปแบบของวรรณกรรม และสื่อภาพยนตร์

สำหรับสื่อภาพยนตร์ หากเป็นสื่อจากต่างประเทศแล้ว คนไทยมีความนิยมที่จะชมสื่อจากประเทศอินเดีย หรือที่รู้จักกันในชื่อของ บอลลี่วู้ด กระทั่งไปในปัจจุบัน บอลลี่วูดถูกแทนที่ด้วย ภาพยนตร์จากฮอลลี่วู้ด หรือแม้กระทั่งแต่ภาพยนตร์จีน, เกาหลีใต้ ก็เป็นที่นิยมอย่างสูงในสังคมไทย

ภาพยนตร์ของประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งของประเทศมาเลเซีย ที่มีพรมแดนติดอยู่กับประเทศไทย มีลักษณะร่วมทางวัฒนธรรม ศาสนา และภาษา คล้ายคลึงกับประชาชนในชายแดนภาคใต้ของไทย แต่ในขณะเดียวกัน “การรับรู้” เกี่ยวกับความเป็นไปในประเทศเพื่อนบ้านแห่งนี้ เป็นไปอย่างค่อนข้างน้อย การศึกษาประเทศเพื่อนบ้าน จึงกลายเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเข้าสู่เขตแดนเดียวกันในเร็วๆ นี้ โดยจุดเริ่มต้นการศึกษาเพื่อนบ้าน อาจจะใช้ภาพยนตร์เป็นภาพสะท้อนในการศึกษาความเป็นไปในประเทศเพื่อนบ้านต่อไป

วัฒนธรรมของภาพยนตร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะเห็นได้ว่าการทำภาพยนตร์ในภูมิภาคนี้เป็นศิลปะที่แพร่กระจายไปยังวัฒนธรรมและเชื่อมต่อไปยังวัฒนธรรมอินเดียในยุคแรก มลายาหรือมาเลเซียในปัจจุบันเป็นชาติที่มีความโดดเด่นในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 ซึ่งถือได้ว่าเป็นยุคทองของการผลิตภาพยนตร์ของมาเลเซียทีเดียว สำหรับช่วงเวลาดังกล่าว ได้รวมถึงสิงค์โปร์ ซึ่งในขณะนั้นก็เป็นส่วนหนึ่งของมลายา

สำหรับชาวมลายูได้รู้จักกับภาพยนตร์ครั้งแรก เมื่อช่วงปลายศตวรรษที่ 19 โดยคณะฉายหนังเร่ชาวอังกฤษ ได้นำหนังภาพข่าว ซึ่งบันทึกในงานเฉลิมฉลองครองราชย์ครบ 50 ปี ของสมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรีย พระมหากษัตริย์ของอังกฤษ ซึ่งเป็นประเทศอาณานิคมของมลายาในสมัยนั้น ด้วยสิ่งนี้เองก็เป็นจุดเริ่มต้นของภาพยนตร์ในมลายา

ต่อมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 มีนักธุรกิจเชื้อสายจีนในมลายาได้บุกเบิกธุรกิจโรงฉายภาพยนตร์เสียเอง จึงทำให้ภาพยนตร์แพร่หลายไปยังประชาชนทั่วไป ซึ่งแตกต่างจากช่วงแรกที่ผู้ได้รับภาพยนตร์จะเป็นพวกกระเป๋าหนักคือ บรรดาคหบดีชาวอังกฤษและกลุ่มนักธุรกิจระดับสูง ถัดไปจากนั้นอีกไม่นาน ชาวมลายาก็ได้รับชมภาพยนตร์จากฮอลลีวูด ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าฮอลลีวูด เป็นผู้ผลิตภาพยนตร์ที่ได้รับความสำเร็จอย่างมากจวบจนปัจจุบัน ภาพยนตร์ที่มาจากฮอลลีวู๊ดได้รับความนิยมอย่างมากในหมู่คนมลายา จนเกิดความวิตกกังวลให้แก่อังกฤษที่เป็นเจ้าอาณานิคม จะสร้างทัศนคติต่อชาวมลายาที่จะเกิดการก่อวินาศกรรม เพราะโดยส่วนใหญ่แล้ว ภาพยนตร์ของฮอลลีวู๊ดที่นำมาฉายในขณะนั้นจะแสดงให้เห็นถึงความอ่อนแอของชาวผิวขาว อีกทั้งยังมีภาพของกิริยาที่ไม่เหมาะสมของสตรีชาวตะวันตกปรากฏอยู่อีกด้วย

ด้วยเหตุนี้จึงมีการตรวจสอบภาพยนตร์อย่างเข้มงวดทั้งเนื้อหาของภาพยนตร์ รูปถ่ายต่าง ๆ และโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ กว่าจะมีภาพยนตร์แต่ละเรื่องที่ออกสู่สายตาผู้ชมต้องโดนกลั่นกรองอย่างดี ถ้าเรื่องไหนที่ได้รับการตรวจแล้ว พบเนื้อหาของเรื่องที่มีสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นปรากฏอยู่ก็จะถูกสั่งระงับโดยทันที โดยการตรวจสอบภาพยนตร์ได้ปฏิบัติอย่างเรื่อยมาตราบจนมลายาได้รับอิสรภาพในอีก 3 ทศวรรษต่อมา ในช่วงแรก ๆ ของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ในมลายา จะเห็นได้ว่าภาพยนตร์ที่ฉายทั้งหมดจะนำเข้าจากต่างประเทศ แล้วภาพยนตร์ที่มลายาได้ผลิตเองนั้นมีความเป็นมาอย่างไรในกลุ่มคนใดเป็นผู้เริ่มต้นในการผลิตภาพยนตร์ในมลายา

หลังที่ภาพยนตร์เรื่องแรกได้ฉายในมลายา เป็นการนำเข้ามาจากชาวอังกฤษ ต่อมาก็ได้มีภาพยนตร์จากฮอลลีวู๊ดได้เข้ามาฉาย และในช่วงเดียวกันนั้น มีผู้บุกเบิกการสร้างภาพยนตร์ในมลายา บุคคลผู้ที่ไม่ใช่ชาวมลายา เขาเป็นชาวอินเดียที่ย้ายถิ่นฐานเข้ามาตั้งรกรากในมลายา เขาผู้นี้มีชื่อว่า บี.เอส.ราชฮาน

 ในช่วงแรกของการสร้างภาพยนตร์ มีความหลากหลายในการสร้าง กล่าวคือ ชาวจีนจะเป็นผู้ที่จัดหาทุนในการผลิตหนัง และจะคอยสนับสนุน อีกทั้งยังเป็นผู้ส่งออก ชาวอินเดียจะจัดหาผู้กำกับหนังและช่างเทคนิค สำหรับคนมาเลย์เองนั้น เป็นผู้ที่มีพรสวรรค์ในด้านการแสดง เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า ชาวอินเดียเป็นผู้ที่ผลิตหนังของมลายา จึงทำให้ภาพยนตร์มลายาในยุคแรกเป็นไปในรูปแบบของวันธรรมอินเดีย แม้แต่ภาษาที่ใช้ในการแสดงนั้นยังเป็นภาษาอินเดียอีกด้วย ภาพยนตร์เรื่องแรกที่ทาง บี.เอส.ราชฮานได้สร้างขึ้นมาโดยร่วมมือกับเพื่อนอีกคนชื่อว่า ชิสตรี สร้างภาพยนตร์โดยได้ดัดแปลงนิทานพื้นฐานสันสฤต ภาพยนตร์เรื่องนี้ออกฉายในปี 1933 เป็นที่ได้รับความนิยมอย่างมาก

 จากความสำเร็จในการผลิตภาพยนตร์เรื่องแรกของมลายาสร้างความคึกคักให้กับอุตสาหกรรมภาพยนตร์ในมลายาเป็นอย่างมาก เมื่อมีนักลงทุนหลายคนเกิดความคิดที่จะสร้างภาพยนตร์ดูบ้าง จากบรรดานักแสดงทั้งหมดก็คงจะไม่มีใครที่มีความพร้อมและทะเยอทะยานไปกว่ารันรัน และรันบี สองพี่น้องตระกูลชอว์ พวกเขาทั้งสองอพยพถิ่นฐานมาจากเซี่ยงไฮ้ เนื่องจากภาวะสงครามกลางเมืองของฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายคอมมิวนิสต์ พวกเขาลงทุนสร้างภาพยนตร์โดยเริ่มแรกพวกเขาลงทุนสั่งซื้ออุปกรณ์ถ่ายทำภาพยนตร์มาจากเซี่ยงไฮ้ จากนั้นก็สร้างโรงถ่ายขนาดย่อมที่ถนนยาลัน อัมปัส และแล้วสิ่งที่พวกเขาคาดหวังไว้ก็ประสบผลสำเร็จ ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ภาพยนตร์เรื่องต่าง ๆ ที่พวกเขาได้สร้างขึ้นมีมากมาย ได้ว่าจะเป็น MUTIARA BERMADU, HANCHOR HARI, TOPENG SHAITAN, IBUTIRI, TERANG BULAN DI MALAYA TIGA KEKASIH, และ MATA HANTU

แต่แล้วธุรกิจอุตสาหกรรมภาพยนตร์ที่กำลังจะรุ่งเรืองต้องพบกับอุปสรรค อันเนื่องมาจากพิษของสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อญี่ปุ่นบุกยึดมลายาได้สำเร็จ เมื่อปี ค.ศ. 1942 โดยญี่ปุ่นได้โฆษณาชวนเชื่อขึ้นมาภายใต้ชื่อ BunkaEiga  Gekijjio โดยพวกญี่ปุ่นได้พยายามนำเสนอภาพยนตร์ เป็นไปตามแนวคิดของพวกเขา และการผลิตภาพยนตร์โฆษณาชวนเชื่อเพื่อออกนำไปฉายที่สาธารณะ โดยฐานผลิตที่สำคัญนั้นก็คือสตูดิโอของพี่น้องตระกูลชอร์ นั้นเอง

ในระยะเวลาที่ญี่ปุ่นเข้ามาครอบครองมลายาอยู่นั้น  ได้สร้างความเจ็บปวดอย่างมากกับชาวมลายา  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  พี่น้องตระกูลชอว์  ได้เล่าถึงความเจ็บปวดที่พวกญี่ปุ่นได้กระทำไว้กับพวกเราต่าง ๆ นานาไม่ว่าจะเป็นการทำลายสตูดโอ  พวกเขาทำลายโรงหนัง  ขโมยอุปกรณ์การถ่ายทำภาพยนตร์  มิหนำซ้ำพวกเขายังบังคับให้พวกเราผลิตภาพยนตร์เพื่อเผยแพร่โฆษณาชวนเชื่อเพื่อสนับสนุนแนวความคิดของพวกเขา  ต่อมาเมื่อสงครามสงบพี่น้องตระกูลชอว์ได้บูรณะโรงถ่ายภาพยนตร์ของตัวเองขึ้นมาใหม่และพวกเขาได้จัดซื้ออุปกรณ์ถ่ายภาพยนตร์ที่ทันสมัยมาจากต่างประเทศ  ทำให้การสร้างภาพยนตร์ของพวกเขานั้นมีมาตรฐานสากล

ในปี  ค.ศ.1947  หลังสงครามโลกสงบ  2  ปี  พี่น้องตระกูลชอว์ได้ก่อตั้งบริษัท  Malay Film Production  และพวกเขาได้ดำเนินการสร้างภาพยนตร์อย่างเต็มรูปแบบ  พวกเขาได้รีบเร่งในการทำธุรกิจนี้  พวกเขาได้จัดหาผู้กำกับที่มีฝีมือจำนวนมาก  เพื่อมาดูแลในด้านการถ่ายทำภาพยนตร์ของพวกเขา  และแล้วมากพวกเขาก็ได้ผู้กำกับที่มากด้วยฝีมือการกำกับ  เขาผู้นี้ไม่ใช่ชาวมลายา  เขามาจากอินเดีย  ซึ่งมีชื่อว่า  พานี มาจุมดาร์  สิ่งที่เป็นประกันในฝีมือของเขาก่อนที่จะย้ายเข้ามากำกับภาพยนตร์ในมลายา  นั่นก็คือ  ภาพยนตร์มากมายหลายเรื่องด้วยกัน  โดยผลงาน มีความโดดเด่นของเขาก็จะเป็นเรื่อง  Street singer ในปี ค.ศ.1938  และเขนายังได้รับการยกย่องว่าเป็นส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญในธุรกิจอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของอินเดียในช่วงทศวรรษที่  30  ซึ่งถือว่ายุคนี้เป็นยุคทองของภาพยนตร์อินเดียเลยทีเดียว  นอกจากจะมี พานี มาจุมดาร์ ที่เข้ามาเป็นผู้กำกับภาพยนตร์  ในการผลิตภาพยนตร์ของมลายายังมีผู้กำกับอีกคนหนึ่งซึ่งมีความสามารถไม่แพ้กัน  นั่นก็คือ  ลัมมาโต  อาเวลลานาร์  ชาวฟิลิปปินส์  เขามีประสบการณ์มา  ภาพยนตร์ที่เขาได้กำกับเรื่องแรกนั่นก็คือ  Sakay  (1930)  จากนั้นเขาก็มีผลงานอีกมากมายที่ผลิตขึ้นมาสู่สายตาประชาชนไม่ว่าจะเป็น  Inday  (1940)  Tiya  Juna  (1941) The End of Road (1947)  เป็นต้น  และยังมีผู้กำกับจากประเทศต่าง ๆ นอกเหนือจากสองประเทศข้างต้นแล้ว  นั่นก็คือ  ปากีสถาน  และ  ศรีลังกา

ไม่ใช่เพียงแต่  Malay Film Production ที่เป็นบริษัทที่ทำธุรกิจในด้านการผลิตภาพยนตร์เพียงบริษัทเดียว  พวกเขายังมีคู่แข่งนั่นก็คือ  Cathay-keris ของนักธุรกิจโรงหนังที่ประสบความสำเร็จอย่างมากมาย  นั่นก็คือ  ลก กวานโธร  โดยที่ทั้ง  2  บริษัทมีรูปแบบในการสร้างภาพยนตร์คล้าย ๆ กัน  การสร้างภาพยนตร์ในมลายาช่วงแรก ๆ  นอกจากผู้กำกับจะเป็นชาวต่างชาติแล้วยังมีช่างเทคนิคที่มาจากต่างประเทศด้วย  โดยส่วนใหญ่มาจากอินเดีย  ศรีลังกา  ฟิลิปปินส์  และปากีสถาน

จากบรรดาผู้ที่เข้ามากำกับภาพยนตร์ในมลายานั้นมีผู้ที่กำกับภาพยนตร์ที่มาจากอินเดียอีก 1 ท่าน  เขาเป็นผู้ที่มีความสามารถมากล้นเช่นกัน  นั่นคือ  ลักชมานา กริชนัน  ผู้เข้ามาบุกเบิกธุรกิจภาพยนตร์มลายาในยุคทศวรรษที่  50  ซึ่งถือได้ว่ายุคนี้เป็นยุคนี้เป็นยุคทองของภาพยนตร์มลายา

ในการสร้างภาพยนตร์มลายาได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียอย่างมาก  จะเห็นได้จากภาพยนตร์ของมลายาที่ถ่ายทอดออกมาในแต่ละเรื่องจะแสดงถึงวัฒนธรรมของอินเดีย  รวมถึงภาษาด้วย  ถึงแม้ว่าผู้กำกับ  ช่างเทคนิค  ส่วนใหญ่จะเป็นชาวต่างชาติแต่พวกเขาก็ได้ให้ความสำคัญกับชาวมลายา  โดยการให้เกียตริเป็นนักแสดง  เพราะชาวมลายามีพรสวรรค์ในการแสดงพวกเขามีความสามารถในการแสดงนาฏศิลป์พื้นเมือง  และพวกเขาได้นำสิ่งนี้เองมาผสมผสานประยุกต์ใช้ในการแสดงภาพยนตร์  แม้ว่ารูปแบบของการแสดงนาฏศิลป์ของชาวมลายูจะสร้างความสำเร็จของภาพยนตร์มลายาหลายต่อหลายเรื่องแต่หาได้สร้างความพึงพอใจกับบรรดาผู้สร้างงานภาพยนตร์เท่าใดนัก  เหตุผลสำคัญก็คือยุคลิกชยาเป็นภาพยนตร์เวทีที่ทำให้นักแสดงนั้นแสดงออกมากเกิน  จนหาความเป็นธรรมชาติไม่ได้เลย  ซึ่งมันไม่ใช่คุณสมบัติในการแสดงภาพยนตร์