กงจักรของความเกลียดชัง: การจัดตั้งการคุกคามทางศาสนาและภัยคุกคามต่อประชาธิปไตย

จาก Hate spin: The Manufacture of Religious Offense and Its Threats to Democracy 

กองบรรณาธิการปาตานีฟอรั่ม แปลและเรียบเรียง

ในแง่ทางวาทกรรมนั้น เราต่างใช้ชีวิตอยู่ในยุคที่ผู้คนเป็นโรคจิตกันมาก และโรคที่ว่าคือ schizophrenia (ปัญหาการรับรู้สิ่งต่าง ๆ ที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง-ผู้แปล) ข้อถกเถียงทางกฎหมายเกี่ยวกับการใช้คำพูดที่สร้างความเกลียดชังได้แพร่กระจายไปทั่วจากวาทกรรมที่ร้อนแรงอันมาจากข้อความของประธานาธิบดีของสหรัฐ ผู้หญิงและเด็กถูกคุกคามด้วยกับความตายด้วยข้อหาดูหมิ่น หรือแม้แต่ความเกลียดชังระหว่างนิกายยังกระจายออกอย่างรวดเร็ว ทั้งจากศาสนสถานและโลกออนไลน์ นอกจากนั้น นักข่าวก็ถูกเชือดโดยรัฐบาลเดียวกันที่เรียกร้องการรายงานข่าวที่มีความรับผิดชอบ รอยแยกทางสังคมกลายเป็นปัญหาใหญ่ ชาตินิยมได้กลายเป็นเหมือนโรคเกลียดกลัวชาวต่างชาติ ความผิดปกติเหล่านี้สามารถสืบสาวกลับไปได้ที่สื่อ (media)

 

เรามักเข้าใจผิดว่า "หมู่บ้านโลก" ที่เสนอโดย Marshall McLuhan เป็นเพียงมหานครแห่งความฝัน สถานที่ซึ่งประเทศอุตสาหกรรมที่พัฒนาแล้วกับประเทศด้อยพัฒนาสามารถอยู่ร่วมด้วยกันภายใต้โลกทัศน์ที่แชร์ร่วมกันและเป็นหนึ่งเดียวด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทั้งที่ความเป็นจริงนั้น นักอนาคตนิยมชาวแคนาดาผู้นี้เห็นว่า electronic media ไม่ได้ชี้ให้เห็นแค่โลกทัศน์ที่เราแชร์ร่วมกัน แต่ในทางกลับกัน มันกลับสร้างความนิยมในเผ่าพันธุ์ตัวเองขึ้นมาใหม่ ที่สามารถเปลี่ยน "ครอบครัวของคน ๆ หนึ่ง" ไปสู่รัฐใหม่ที่เต็มไปด้วยเผ่าต่าง ๆ นี่คือสภาพการณ์ที่แยกความจงรักภักดีแบบโบรานและเพิ่มความเสี่ยงในการสร้างความขัดแย้ง แทนการสร้างความเป็นหนึ่งเดียวและควาสงบสุข McLuhan บอกกับคนสัมภาษณ์เขาว่า "หมู่บ้านโลกคือสถานที่คนมากหน้าหลายตาต้องทนอยู่ด้วยกันและเป็นสถานการณ์ที่ไม่มีใครสนใจคนอื่น"

 

ครึ่งศตวรรษผ่านมา เมื่อเราเลื่อนหน้าฟีดใน โซเชี่ยลมีเดีย เรากลับพบว่า "ความขัดแย้งและไม่ลงรอยกัน" และ "สถานการณ์ที่ไม่มีใครสนใจคนอื่น" ได้กลายเป็นเรื่องปกติของสังคม ทั่วโลก เรื่องเล่าของสังคมถูกชักนำโดยกลุ่มสุดโต่งที่ทำสงครามอยู่บนโลกออนไลน์ electronic media คืออาวุธของพวกเขา ยกตัวอย่างเช่น ข้อความใน Whatsapp ในอินเดียที่ได้นำไปสู่ความรุนแรงและการสังหารโหดระหว่างม็อบ, A bogus anti-refugee YouTube video ที่แพร่กระจายในยุโรปที้ได้ปลุกเร้าให้เกิดความเกลียดชังต่อชาวต่างชาติ ขณะที่ในตะวันออกกลาง โซเชี่ยลมีเดียกระแสหลักได้ติดอาวุธเพื่อการเผชิญหน้าในโลกออนไลน์กระทั่งมันใด้แบ่งแยกโลกอาหรับออกจากกัน

 

ณ ทุก ๆ ที่ ดูเหมือนว่าคำโกหกถูกยอมรับว่าเป็นความจริง และความไม่พอใจที่ถูกสร้างโดยกลุ่มนักการเมืองสุดโต่งทั้งของฝ่ายซ้ายและขวา ผู้ซึ่งไม่มีอะไรจะเสีย แต่พวกเขากลับมีแต่จะได้จากการสร้างการเผชิญหน้ากันในโลกออนไลน์ด้วยกับคนอื่นที่มีอุดมการณ์อันตรายเป็นเครื่องมือ

 

นี่คือระเบียบโลกใหม่ที่ Cherian George นักวิชาการด้านมีเดียศึกษา ได้นำเสนอในหนังสือเล่มใหม่ของเขาที่ชื่อ "Hate Spin: The Manufacture of Religious Offense and its Threat to Democracy". โดย George จะพาเราไปพบกับกรณีศึกษาต่าง ๆ ที่น่าเชื่อถือทั้งกรณีจากสหรัฐ อินโดนีเซีย และอินเดีย โดยในแต่ละกรณี เขาพบว่า "offense-giving และ offense-taking คือเทคนิคสองด้านของความไม่ลงรอยทางการเมือง"

 

ภาพจาก https://ethicaljournalismnetwork.org/journalism-challenge-hate-spin

 

บางทีมันเป็นเรื่องที่ไม่น่าเชื่อว่าในศตวรรษที่ 21 หลายการเผชิญหน้ากันคือการแสดงที่เล่นโดยนักการเมืองเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจ การลิขิตคำว่า hate spin ของ George ดูจะเป็นคำใหญ่โตเหมือนกับคำว่า soft power และ clash of civilization สำหรับวงการวิชาการ คำ ๆ นี้หมายถึง "การสร้างข่าวเท็จและความโกรธแค้นโดยการจัดตั้ง ซึ่งถูกใช้เป็นยุทธศาสตร์ทางการเมืองในการใช้ประโยชน์จากอัตลักษณ์ของกลุ่มที่แตกต่างกันเพื่อปลุกระดมพลผู้สนับสนุนและขู่ฝ่ายตรงข้าม"  (manufactured vilification or indignation, used as a political strategy that exploits group identities to mobilize supporters and coerce opponents, p. 4) ในความหมายที่สั้นนั้น หมายถึงการเสนอประเด็นที่บิดเบือนแต่ผ่านการคิดคำนวนไว้แล้ว

 

จากองค์ความรู้ด้านการสื่อสาร รัฐศาสตร์ สังคมวิทยาการเมือง และนิติศาสตร์ George ไม่ได้วิเคราะห์ปรากฎการณ์เท่านั้น แต่รวมไปถึงความท้าทายแบบเฉพาะที่ประเทศประชาธิปไตยเต็มใบกำลังถือกำเนิดและเกิดใหม่กำลังเผชิญ เมื่อพิเคราะห์ถึงสหรัฐฯ อินเดีย และอินโดนีเซีย ปรากฏการณ์ในประเทศเหล่านั้นได้ชี้ให้เห็นว่าเหตุใดองค์ประกอบของกงจักรแห่งความเกลียดชังจึงมีระดับความสำเร็จที่แตกต่างกัน

 

George ถกเถียงว่า สื่อ (media) ต้องรับผิดชอบเป็นอย่างมากสำหรับการเติบโตของกงจักรของความเกลียดชังผ่านช่องทางการสื่อสารในงานต่าง ๆ ซึ่งมักผลิตประเด็นความขัดแย้งและสุ่มไฟความโกรธ "กงจักรของความเกลียดชัง" ดังเช่นการโฆษณาเพื่อโปรโมท (PR) ที่ได้ถูกไขรหัสและถูกเรียนรู้ (ในฐานะ-ผู้แปล) วิธีการกำกับการทำงานของสื่อ (media) เขาเขียนว่า "การกระทำและการถูกกระทำถูกกำกับในความคิดของเราโดยค่านิยมที่สื่อกำหนด"  (Performances of offense and offensiveness are choreographed with news values in mind)

ความล้มเหลวของนักข่าวผ่านการยอมรับหรือรายงานข่าวเกี่ยวกับแบบแผนที่จัดตั้งขึ้นเกี่ยวกับความโกรธแค้นนี้ทำให้กลุ่มสุดโต่งได้เปรียบกรณีดังกล่าวคือ เหตุการณ์ความรุนแรงในปี 2012 ที่เกิดจากการเปิดตัว Innocence of Muslims คลิปวิดีโอที่ลบหลู่ดูหมิ่นในอินเตอร์เน็ตที่ผลิตโดยกลุ่มคริสเตียนนิกายค็อปติกชาวอียิปต์  วิดีโอนี้ได้ถูกแพร่กระจายเป็นวงกว้างซึ่งเบื้องต้นยังคงไม่มีใครสังเกตเห็น กระทั่งหนึ่งในผู้มีบทบาทสำคัญทางศาสนาในซาอุฯ ได้นำวีดีโอดังกล่าวมาโชว์ในรายการของเขาและสร้างความโกธรแค้นให้กับชาวมุสลิม  การรายงานข่าวเกี่ยวกับความรุนแรงที่เกิดขึ้นดังกล่าวนั้นเอง ยังได้เกิดพาดหัวข่าวตามหัวข้อข่าวรายสัปดาห์โดยสื่อในโลกตะวันตกเกี่ยวกับความความโกรธแค้นของมุสลิมต่อคลิปวีดีโอนั้น

 

สื่อเหล่านี้ตกหลุมพรางของการให้น้ำหนักที่เท่าเทียมกัน ซึ่งทำให้ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างความขัดแย้ง เขาชี้ให้เห็นว่า "การยึดปฎิบัติวัตถุวิสัยในทางธรรมสามารถเป็นผลไปสู่การให้น้ำหนักที่ไม่สมดุลต่อแนวคิดของกลุ่มสุดโต่ง ไม่ว่าแนวคิดดังกล่าวจะดีหรือไม่อย่างไร และผู้กำกับกงจักรของความเกลียดชังได้ประโยชน์ก็ต่อเมื่อคนอื่นให้ค่าเขาว่าเป็นโฆษกตัวจริงของชุมชน

 

แต่การให้ความจับจ้องก็เหมือนยาชูกำลังให้กับกลุ่มสุดโต่งและนักข่าวก็ถกเถียงกันถึงคำถามที่ว่าจะรายงานข่าวเกี่ยวกับการยั่วยุและความรุนแรงได้อย่างไร อย่างน้อยก็ตั้งแต่กลุ่มกองกำลังติดอาวุธปาเลสไตน์สามารถเข้ายึดสำนักข่าวและฉายภาพการบุกโจมตีนักกีฬาชาวอิสราเอลในมหกรรมโอลิมปิกเมื่อปี 1972

 

เพื่อจะให้เครดิตกับบรรดาสื่อเหล่านั้น George ถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่จำเป็นต้องอ้อมค้อมเกี่ยวกับความท้าทายที่นักข่าวต้องเจอ "มันง่ายกว่าที่จะรู้สึกเป็นห่วง มากกว่าการมาระบุว่าอะไรคือสิ่งที่ต้องระมัดระวังในการรายงานข่าวเกี่ยวกับเหตุการณ์นั้น ๆ ว่าควรเป็นแบบใด" เขากล่าว

 

ในการเปิดเผยอุตสาหกรรมการสร้างความกลัวต่ออิสลามในสหรัฐ George แสดงให้เห็นว่าความเห็นส่วนน้อยได้สร้างมลพิษต่อพื้นที่สาธารณะอย่างไร ถึงแม้ว่าพวกเขาจะไม่ได้มีเป้าหมายที่ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นการต่อต้านการสร้างมัสยิดหรือการต่อต้านการออกกฎหมายชารีอะห์

 

หนังสือเล่มนี้ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญไปที่กงจักรของความเกลียดชังต่อชนกลุ่มน้อยทางศาสนา ไม่ว่าจะเป็นมุสลิมในสหรัฐฯ คนที่ไม่ใช่ฮินดูในอินเดีย หรือกลุ่มอะห์มาดิสต์ (Ahmadiyyah) และคริสเตียนในอินโดนีเซีย แต่กงจักรของความเกลียดชังคือใจกลางของการเมืองแห่งอัตลักษณ์ "ผู้คนที่กลัวความเปลี่ยนแปลงที่ไหลบ่ามากับกระแสโลกาภิวัตน์ที่มักจะสนับสนุนความคิดเรื่องของเสถียรภาพเป็นหลัก กงจักรของความเกลียดชังได้เปลี่ยนความกังวลที่มีเหตุผลและเชิงตั้งรับ ให้กลายเป็นการโจมตีที่เกิดจากความหวาดระแวง ซึ่งรวมไปถึงการใช้คำพูดที่สร้างความเกลียดชัง (hate speech) ต่อชนกลุ่มน้อย การสร้างความคับแค้นใจจากสัญลักษณ์ที่ไม่เป็นธรรม หรือทั้งสอง" ลองดูการเลือกตั้งของ Donald Trump การเติบโตของกลุ่มต่อต้านผู้อพยพในยุโรป หรือการเลือกของนายกรัฐมนตรีของอินเดีย เป็นตัวอย่าง

 

หากว่าจะมีอะไรเป็นข้อด้อยของงานชิ้นนี้ สิ่งนั้นคือการให้ความสนใจที่น้อยเกินไปต่อบทบาทของ social media ในการขับเคลื่อนกงจักรของความเกลียดชัง ซึ่งมีบทที่เกี่ยวกับ google ที่ให้ความสำคัญกับกฎระเบียบของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตและการยอมรับว่า "อินเทอร์เน็ตได้เสริมสร้างให้กงจักรของความเกลียดชังทำงานได้เร็วขึ้น"  อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาข้อถกเถียงของผู้บริหารของ Facebook และ Google ในเรื่องบทบาทของ social media ในการส่งเสริม hate speech ข้อถกเถียงของ George เกี่ยวกับการควบคุมดูแลในส่วนคอมเม้นบนสื่อสังคมออนไลน์เหล่านี้ยังถือว่าล้าสมัย แม้แต่คำว่า Twitter ยังไม่ปรากฏในดัชนีคำค้นหาของหนังสือ (Index) เลย ในขณะที่เราเรียนรู้ว่าการใช้วิทยุสามารถนำไปสู่การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในรวันดา แต่ไม่มีการพูดถึงบทบาทของห้องเสียงสะท้อนที่สร้างโดยบล็อกและเว็บไซต์ที่มีอุดมการณ์ หรือช่องทางที่เนื้อหาของพวกเขาที่ได้ไหลบ่าเข้าสู่การถกเถียงในสื่อกระแสหลัก

 

หากมองข้ามข้อด้อยเหล่านี้แล้ว หนังสือ Hate Spin ก็เป็นอีกเล่มสำหรับนักวิชาการที่ต้องอ่าน โดยเฉพาะคนที่สนใจเกี่ยวกับการเชื่อมโยงระหว่างสื่อและอุดมการณ์ในโลกที่เราที่มีการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายกันมากขึ้นทุกที

 

ที่มา https://journals.sagepub.com/doi/full/10.1177/0267323118824881