เผชิญหน้ากับโควิด 19 ที่ค่ายผู้ลี้ภัยที่ใหญ่ที่สุดในโลก เยาวชนโรฮิงญากับการช่วยเตรียมพร้อมกับรับมือกับการแพร่ระบาด
ทุกๆ วัน ก่อนที่แสงตะวันจะขึ้น มีนักเรียนคนหนึ่งชื่อว่าโรบีตื่ นขึ้นมาละหมาดในค่ายผู้ลี้ภัยที่ ใหญ่ที่สุดในโลก
จนกระทั่งเมื่อไม่กี่สัปดาห์ก่ อน พวกเขาสามารถละหมาดได้ที่มัสยิ ดท้องที่ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในสถานที่หลบภั ยจำนวนไม่มากสำหรับชาวโรฮิงญาที่ อาศัยอยู่ที่ค็อกบาซาร์ แต่มัสยิดและโรงเรียนถูกปิดเนื่ องจากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิ ด19 ไปสู่กลุ่มดังกล่าว ผู้ติดเชื้อกลุ่มแรกได้รับการยื นยันเมื่อเดือนที่แล้ว และจำนวนตัวเลขก็เพิ่มขึ้น
"เรากำลังอยู่แบบซื้อเวลา" เจ้าหน้าที่ท่านหนึ่งของ Save the Children กล่าว
มีผู้พลัดถิ่นจำนวนมากอยู่ที่นี่ และครึ่งหนึ่งเป็นเด็ก ส่วนใหญ่เป็นครอบครัวชาวโรฮิ งญาจากพม่าที่หนีตายออกมาจากบ้ านหลังจากถูกปราบอย่างหนั กจากทหาร ปฎิบัติที่เจ้าหน้าที่ของ UN เรียกว่า "การกวาดล้างชาติพันธุ์ให้ หมดไป" โรบี เด็กหนุ่มวัย 20 ปลายๆ ขอให้ผู้สัมภาษณ์เรียกเขากับเล่ นเรียกดังกล่าว
"ชีวิตยากลำบากมากในค่าย" เขาบอก
พื้นที่ที่เขาอาศัยกับพ่อแม่ และน้องสาววันสิบห้าขวบตอนนี้ถู กปิด โดยมีตำรวจควบคุมการเดิ นทางระหว่างหมู่บ้านต่างๆ "มันเป็นเรื่ องยากลำบากมากในการที่จะไปซื้ อผักที่ตลาด" เขากล่าว "ผู้คนกำลังอดตาย"
ในช่วงปลายเดือนมีนาคม รัฐบาลจำกัดการเข้าออกค่ ายขององค์กรที่ทำงานด้านมนุ ษยธรรมกว่า 100 องค์กรในการพยายามจะลดการแพร่ ระบาดของโควิด 19 ตอนนี้ เฉพาะคนทำงานด่านหน้าเท่านั้นที่ ถูกอนุญาตให้เข้าไปในพื้นที่ พวกเขาจัดหาอาหารและยารั กษาโรคให้คนในค่ายแต่งานดังกล่ าว "ยังไม่เพียงพอต่ อการระบาดของโรค" Rayburn เจ้าหน้าที่ Save the Children กล่าว
เด็กชาวโรฮิงญาเหมือนกับโรบี พยายามจะช่วยชุมชนของพวกเขาเพื่ อเตรียมพร้อมสิ่งที่กำลังจะเกิ ดขึ้น มีอยู่วันหนึ่งหลังจากที่ ละหมาดที่บ้านและทานอาหารเช้ าเสร็จ เขาเข้าไปร่วมจิตอาสากับคนอื่ นในการขนย้ายถุงยังชี พของสาธารสุข ซึ่งบรรจุหน้ากาก ถุงมือ สบู่ ยาฆ่าเชื้อ และยาแก้ไข้ พวกเขาซื้อสิ่งของเหล่านั้ นจากเงินบริจากที่ได้จากเพื่อน ญาติพี่น้อง และผู้มีจิตศรัทธาจากกลุ่ มคนทำงานด้านการช่วยเหลือ
โรบีและเด็กชายคนอื่นช่วยกั นแบกกล่องกระดาษแข็งที่บรรจุสิ่ งของผ่านตามตรอกซอกซอยที่อยู่ ระหว่างบ้านที่ทำด้วยไม้ไผ่ พวกเขาใส่ถุงมือยางและหน้ ากากหลากสีสันในการขนย้ายสิ่ งของต่าง ๆ
่การรณรงค์โดยคนหนุ่มสาวในเรื่ องการล้างมือและการรักษาระยะห่ างทางสังคมยังมีอยู่น้อยมาก "เราหวังว่าผู้คนจะเชื่ อเราและพวกเขาจะทำตามคำแนะนำของ เรา" โรบีกล่าว "มันคือช่วงเวลาที่สำคั ญและเรารู้ว่าสถานการณ์ฉุกเฉิ นแบบนี้คือช่วงเวลาที่เราต้ องออกมาช่วยกัน" ขณะนี้สิ่งที่เขามีคือข้อมูลต่ างๆ ในการบอกต่อ แต่สิ่งของ ถุงยังชีพ และเงินสนับสนุนนั้นหมดแล้ว
Loise Donovan เจ้าหน้าที่ของ UNHCR บอกว่า มีผู้อพยพหลายกลุ่มไม่น้อยกว่า 2000 อาสาสมัครกำลังทำงานเพื่อป้องกั นการแพร่ระบาดของโควิด19 "เราโชคดีที่สามารถทำงานได้อย่ างสามัคคีกับกลุ่มเยาวชนของผู้ อพยพ ซึ่งทำงานได้เป็นอย่างดีและน่ าชื่นชม" เขากล่าว "มันเป็นความร่วมมือที่สำคัญ"
ที่ค็อกบาซาร์ มันมีสิ่งที่เรียกว่าระยะห่ างทางสังคม ที่นี่ผู้คนอยู่แบบแออัดประมาณ 100,000 คนต่อตารางไมล์ ในพื้นที่แออัดแบบนี้ การเข้าถึงน้ำสะอาดและอาหารที่ ถูกสุขลักษณะเป็นเรื่องยาก "ผู้คนวิตกกังวลเป็นอย่างมาก" โรฮิงญาคนหนึ่งบอก "ผู้คนอาศัยอยู่ด้วยกัน ใช้ห้องน้ำด้วยกัน สายฉีดน้ำเดียวกัน ทุกอย่าง ถ้าคนหนึ่งติดเชื้อมา ทุกอย่างจะเป็นอันตราย"
โรคระบาดนี้ทำให้ชีวิตที่นี้ ยากลำบากมากขึ้น ความไม่แน่นอนก็เช่นกัน การพูดคุยในการส่งตัวกลับไปพม่ าหยุดชะงัก เนื่องจากประเทศต่าง ๆ เพ่งจัดการกับโควิด19 ศูนย์เรียนรู้ซึ่งถูกใช้สอนเด็ กๆ กลายเป็นสถานที่ร้าง
สิ่งที่น่ากังกลมากที่สุดสำหรั บโรฮิงญาตอนนี้คืออาหาร แม้ว่า World Food Program ได้จัดหาสิ่งของที่จำเป็นให้แล้ ว เช่น ข้าว น้ำมัน ถั่ว ชาวโรฮิงญาก็จำเป็นต้องซื้ อของเพิ่ม เช่น ปลา เนื้อ นม และผักด้วยกับเงินของตัวเอง "ที่ตลาด ทุกอย่างราคาก็ขึ้นเพราะโควิด" "ผู้อพยพไม่มีงานทำ พวกเขาจึงซื้อไม่ได้" Arafat บอก
สิ่งที่ทำให้ค่ายผู้ลี้ภั ยยากลำบากมากขึ้นคือการตั ดขาดพวกเขาจากโลกภายนอก เมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว รัฐบาลบังกลาเทศได้ตัดสั ญญานโทรศัพท์ในบริเวณค่าย โดยใช้เหตุผลทางความมั่นคง ซึ่งทำให้พวกเขาไม่สามารถติดต่ อกับญาติพี่น้องที่อยู่ที่อื่ นได้ ผู้คนส่วนใหญ่ที่นี้รับข่าวเรื่ องโควิดจากปากสู่ปากและข่าวลือ แม้ว่าจะมีความพยายามในการให้ ความรู้ แต่ก็ยังมีโรฮิงญาที่เชื่อว่ าพวกเขาจะติดโควิดเพราะว่าเป็ นมุสลิมที่ไม่ดี หรือไม่ก็เพราะพวกเขากินค้ างคาว
กลุ่มคนทำงานในการช่วยเหลือและ UNHCR พยายามกดดันเพื่อให้สัญญานสื่ อสารสามารถกลับมาใช้งานได้ การขาดสัญญานอินเตอร์เน็ตทำให้ ขาดการเข้าถึงข้อมูล พวกเขากำลังกดดันอย่างหนักกับรั ฐบาลบังกลาเทศเพื่อให้ปล่อยสั ญญานอินเตอร์เน็ต เจ้าหน้าที่คนหนึ่งกล่าว ในการรับมือกับการแพร่ระบาด การสื่อสารทางออนไลน์เป็นสิ่ งจำเป็นไม่ว่าสำหรับการค้ นหาและการต่อสู้กับข่าวปลอม
มันเป็นเรื่องที่ยากมากในการได้ รับความไว้เนื้อเชื่อใจจากโรฮิ งญา Daniel Coyle ผู้ประสานงานของ IOM กล่าว ข่าวลือที่ว่าเจ้าหน้าที่จะฆ่ าคนที่ติดไวรัสแพร่กระจายไปทั่ว "ลองนึกดูว่าพวกเขาต้องหนี ตายจากบ้านเพราะความรุ นแรงและบาดแผลทางจิตใจ ตอนนี้สถานที่กักกันกำลังสร้าง และถ้าคุณถูกนำตัวไปอยู่ที่นั้ นแยกจากครอบครัว ผมแน่ใจว่ามันต้องทำดูยิ่งน่ ากลัว"
ในส่วนของโรบี เขาพยายามจะสร้างขวัญและกำลั งใจใหักับเราและผู้คนรอบๆ เขา "เรายังมีความหวัง มนุษย์ทุกคนมความหวัง" เขาบอก "เราไม่ได้อยู่โลกนี้ตลอดไป เราอยู่แค่ชั่วคราว เราควรช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทำงานด้วยกัน เพื่อสันติภาพ มันคือบทเรียนที่สำคัญสำหรับทุ กๆ ชาติ"
เขียนโดย Karen Pinchin
แปลโดย ปาตานีฟอรั่ม