อาจารย์ มหา’ลัย ทั่วประเทศลงนาม ยื่นหนังสือถึงสกอ. กระทรวงศึกษาธิการ

 
 
เรื่อง หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติในการแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกและผู้เชี่ยวชาญตาม “ประกาศกระทรวงศึกษาธิการฯ พ.ศ. 2558”

เรียน รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
        เลขาธิการสานักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา

ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง “เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ.2558” มีข้อกำหนดเกี่ยวกับผลงานทางวิชาการของผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกที่จะมาเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม หรืออาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทว่าจะต้อง “มีผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารที่มีชื่ออยู่ในฐานข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับในระดับชาติ ซึ่งตรงหรือสัมพันธ์กับหัวข้อวิทยานิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระไม่น้อยกว่า 10 เรื่อง” ส่วนในระดับปริญญาเอกจะต้อง “มีผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารที่มีชื่ออยู่ในฐานข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติซึ่งตรงหรือสัมพันธ์กับหัวข้อวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 5 เรื่อง”

แม้ว่าประกาศกระทรวงศึกษาธิการข้างต้นนี้ จะเปิดโอกาสให้ผู้บริหารหลักสูตรต่างๆ สามารถขออนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยได้ในกรณีที่จำเป็นต้องแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิที่มีคุณสมบัติไม่ครบตามเกณฑ์ แต่ข้อกำหนดในเรื่องนี้ก็จะสร้างปัญหาอย่างยิ่งแก่การบริหารหลักสูตรของภาควิชาและนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ซึ่งอาจสรุปได้ดังนี้

1. นักวิชาการในหลายสาขาวิชาไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการในวารสารระดับนานาชาติ เนื่องจากต้องการให้ผลงานของตนตอบสนองความสนใจและความจำเป็นของคนไทยและสังคมไทย และนักวิชาการจำนวนมากก็ให้ความสำคัญแก่การเผยแพร่ผลงานในรูปแบบที่หลากหลาย มิใช่ในรูปแบบของบทความทางวิชาการเท่านั้น การหานักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญที่มีผลงานตีพิมพ์ตามเกณฑ์ที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดไว้ข้างต้นจึงเป็นเรื่องที่ยากมาก
ในประเด็นนี้จำเป็นต้องกล่าวด้วยว่า ในหลายทศวรรษที่ผ่านมาวงวิชาการสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ไทยได้สร้างองค์ความรู้เพื่อตอบสนองความจาเป็นของสังคมไทย แต่ได้กลายเป็นพลังที่ผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลงขององค์ความรู้ในระดับสากล โดยเฉพาะองค์ความรู้เกี่ยวกับประเทศไทย แต่ข้อกำหนดของกระทรวงศึกษาธิการและ สกอ. เท่ากับผลักดันให้วงวิชาการไทยละทิ้งสังคมไทย เพราะมุ่งให้ความสำคัญแก่ผู้มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ โดยคิดว่าเป็นผู้มีความรู้ระดับสูงและมีความน่าเชื่อถือทางวิชาการเหนือกว่า ทั้งกระทรวงศึกษาธิการและ สกอ. ขาดความตระหนักว่าการตีพิมพ์ในระดับนานาชาตินั้นเป็นการตอบสนองต่อกลุ่มผู้บริโภคความรู้อีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่ใช่คนไทย

2. ถ้ายึดข้อกำหนดตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการอย่างเคร่งครัด จะเกิดปัญหาตามมาหลายประการต่อการทำวิทยานิพนธ์ในสาขาสังคมศาสตร์-มนุษยศาสตร์ ที่สำคัญที่สุดก็คือ เมื่อกำหนดให้ผู้ทรงคุณวุฒิมีผลงานตรงหรือสัมพันธ์กับหัวข้อวิทยานิพนธ์ การศึกษาในประเด็นใหม่หรือศึกษาด้วยมุมมองใหม่ก็จะเกิดขึ้นแทบไม่ได้เลย ตรงกันข้าม การผลิตความรู้ของนักศึกษาปริญญาโทและปริญญาเอกจะต้องถูกตีกรอบให้อยู่ภายใต้กระบวนทัศน์ วิธีวิทยา หรือองค์ความรู้ที่มีผู้อื่นได้ศึกษาไว้มากแล้ว วิทยานิพนธ์ฉบับใดที่ต้องการจะเปลี่ยนแนวทางการอธิบายไปในทางโต้แย้งความรู้ที่ “ผู้รู้” เสนอไว้ ก็อาจจะไม่สามารถทำได้ ในที่สุดแล้วการเลือกประเด็นที่จะเขียนวิทยานิพนธ์ก็อาจถึงกับต้องเลือกเฉพาะประเด็นที่มั่นใจว่าจะหาผู้ทรงคุณวุฒิมาเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาร่วมหรือมาเป็นกรรมการสอบได้เท่านั้น ซึ่งถ้าหากเกิดสภาวะเช่นนี้ขึ้น มหาวิทยาลัยก็ไม่อาจทำหน้าที่สร้างองค์ความรู้ใหม่ที่สาคัญต่อความก้าวหน้าทางวิชาการได้เลย

3. ข้อกำหนดตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการข้างต้นจะสร้างภาระทางการเงินและทางเวลาให้แก่ผู้เกี่ยวข้องเป็นอย่างมาก ในกรณีที่ไม่สามารถหาผู้ทรงคุณวุฒิในจังหวัดเดียวกัน แต่จำเป็นต้องเชิญผู้ทรงคุณวุฒิจากต่างจังหวัดหรือต่างประเทศ

4. ข้อกำหนดเรื่องการขออนุมัติแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิจากสภามหาวิทยาลัย ในกรณีที่ภาควิชาไม่สามารถหาผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนมาเป็นผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญได้ เป็นข้อกำหนดที่สร้างความยุ่งยากแก่หลายฝ่าย เช่น ภาควิชาฯ ต้องดำเนินการล่วงหน้าเป็นเวลานานเนื่องจากต้องผ่านการอนุมัติหลายขั้นตอนกว่าจะถึงระดับสภามหาวิทยาลัย และเป็นการเพิ่มภาระงานแก่ฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องรวมทั้งแก่สภามหาวิทยาลัยโดยไม่เกิดผลดีอย่างคุ้มค่า

อนึ่ง สำนักงานงานคณะกรรมการอุดมศึกษา และกระทรวงศึกษาธิการ ควรกำหนดกฎระเบียบต่างๆ ในลักษณะที่มีความยืดหยุ่นและเกื้อหนุนให้เกิดความคล่องตัว ความสะดวก และประสิทธิภาพในการสร้าง การถ่ายทอด และการเผยแพร่องค์ความรู้ใหม่ ควรมีความเคารพและเชื่อมั่นในศักยภาพของมหาวิทยาลัยและชุมชนทางวิชาการมากขึ้น ไม่ควรออกกฎระเบียบหรือประกาศต่างๆ ที่เน้นการกำกับควบคุมเสมือนนักวิชาการและมหาวิทยาลัยเป็นเด็กทารก ซึ่งการกำหนดกฎระเบียบบางข้อในอดีตที่ผ่านมาก็ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อยู่เนืองๆ ว่าเป็นอุปสรรคในการทำงานหรือทำให้นักวิชาการต้องเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ นอกจากนี้ควรให้ความสำคัญแก่เสรีภาพในการบริหารจัดการหลักสูตร รวมทั้งเสรีภาพในทางวิชาการอย่างกว้างขวาง เพราะเป็นเงื่อนไขที่สำคัญของการสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ให้แก่โลกและสังคมไทย

ด้วยเหตุผลและหลักการทั้งหลายดังที่กล่าวข้างต้นนี้ คณาจารย์ผู้ลงนามข้างท้ายจดหมายนี้ใคร่ขอให้สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาเร่งพิจารณาทบทวนประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง “เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ.2558” โดยเปิดรับฟังความคิดเห็นจากคณาจารย์ในสาขาวิชาต่างๆ ทั้งวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ เพื่อกำหนดเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรฯ ที่สอดคล้องกับลักษณะเฉพาะของศาสตร์แต่ละกลุ่ม นอกจากนี้ ยังใคร่ขอเรียกร้องให้สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษายึดมั่นในหลักการ “รับฟังความคิดเห็น” จากคณาจารย์ผู้สอนและผู้บริหารหลักสูตรที่ปฏิบัติงานจริงในสถาบันการศึกษาต่างๆ ก่อนที่จะร่างกฎระเบียบใดๆ ออกมาบังคับใช้ในอนาคต

ลงนาม
 
1. เกษียร เตชะพีระ           ศาสตราจารย์ ดร.            ภาควิชาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
2. ไชยันต์ ไชยพร             ศาสตราจารย์                  ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณีมหาวิทยาลัย
3. เอนก เหล่าธรรมทัศน์    ศาสตราจารย์ ดร.            มหาวิทยาลัยรังสิต
4. ยศ สันตสมบัติ              ศาสตราจารย์ ระดับ 11    คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
5. ชวน เพชรแก้ว              ศาสตราจารย์                 มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
6. อานันท์ กาญจนพันธุ์     ศาสตราจารย์เกียรติคุณ  สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
7. อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์    ศาสตราจารย์                 ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
8. สายชล สัตยานุรักษ์      ศาสตราจารย์เกียรติคุณ   ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
9. นิติ ภวัครพันธุ์               รองศาสตราจารย์ ดร.      ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
10. กณิศา สัตยานุรักษ์                                          คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
11. กนกรัตน์ เลิศชูสกุล     ดร.                                คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
12. กมลพร ศิริโสภณ        อาจารย์                          คณะมนุษยศาสตร์ฯ ม.ราชภัฏวไลยอลงกรณ์
13. กรณ์ กรภัทร์ชัยกุล      ผู้ช่วยศาสตราจารย์          มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฏร์ธานี
14. กรพนัช ตั้งเขื่อนขันธ์  ผู๋ช่วยศาสตราจารย์           ปวศ/มธ
15. กฤชนนท์ บึงไกร        ผู๋ช่วยศาสตราจารย์ ดร.     บริหารธุรกิจ ม.ราชภัฏพระนคร
16. กฤตภัค งามวาสีนนท์  อาจารย์                           ประวัติศาสตร์ / มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
17. กฤติน เก้าเอี้ยน          นักวิชาการอิสระ               บริษัทโกลเบิลไวล์เลส
18. กฤษณ์พชร โสมณวัตร อาจารย์                          คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
19. กฤษดา พัฒนพงษ์ไพบูลย์ ดร.                           นักวิชาการอิสระ รอสังกัด
20. ก่อพงศ์ วิชญาปกรณ์                                         มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
21. กังวาฬ ฟองแก้ว         อาจารย์ ดร.                     ภาควิชานิเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
22. กันยารัตน์ พูลเพชร                                           เทคโนโลยีชีวภาพ/มหาวิทยาลัยศิลปากร
23. กัลย์วดี เรืองเดช                                               มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
24. กิติมา ขุนทอง                                                   มหาวิยาลัยราชภัฏสกลนคร
25. เก่งกิจ กิติเรียงลาภ     ผู๋ช่วยศาสตราจารย์           คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
26. เกรียงไกร เกิดศิริ        อาจารย์ ดร.                     ภาควิชาสถาปตัยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
27. เกรียงศักดิ์ เชษฐพัฒนวนชิ 
รองศาสตราจารย์ดร.  ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
28. เกศกนก ชุ่มประดิษฐ์   ผู๋ช่วยศาสตราจารย์           มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
29. โกเมนทร์ ชินวงศ์        
ผู๋ช่วยศาสตราจารย์           ปรัชญาและศาสนา ม.เกษตรศาสตร์
30. โกสุม โอมพรนุวัฒน์    ดร.                                  วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
31. ไกรวุฒิ จุลพงศธร      นักศึกษา ปริญญาเอก         Department of Film Studies, Queen Mary, University of London
32. ขนิษฐา สุขสง                                                    อาจารย์อิสระด้านรัฐศาสตร์
33. ขวัญชีวัน บัวแดง        ผู๋ช่วยศาสตราจารย์            ภาควิชาสังคมวิทยาและมานษุยวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
34. เข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง อาจารย์                         จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
35. โขมสี มีภักดี              
ผู๋ช่วยศาสตราจารย์ ดร.      วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง
36. งามศุกร์ รัตนเสถียร                                            สิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ม.มหิดล
37. จณิษฐ์ เฟื่องฟู            อาจารย์ ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลยัเชียงใหม่
38. จักรกริช สังขมณี         ผู้ช่วยศาสตรจารย์             ภาควิชาสังคมวิทยาและมานษุยวิทยา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
39. จักรพันธ์ ขัดชุ่มแสง     อาจารย์                           สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานษุยวิทยา มหาวิทยาลยัขอนแก่น
40. จัตวา ชุณหบุญญทิพย์ อาจารย์                            มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สาขาวิชามนุษยศาสตร์
41. จันทนี เจริญศรี           
ผู๋ช่วยศาสตราจารย์             คณะสังคมวิทยาและมานษุยวิทยา ม.ธรรมศาสตร์
42. จิตร์ทัศน์ ฝักเจริญผล 
ผู๋ช่วยศาสตราจารย์            วิศวกรรมคอมพิวเตอร์/มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
43. จิรภา พฤกษ์พาดี        อาจารย์ ดร.                       ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ 

44. จิรยุทธ์ สินธุพนัธุ์        อาจารย์                             จุฬาลงกรณ์มหาวทิยาลัย
45. จิราพร เหล่าเจริญวงศ์                                         คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
46. จิรายุทธ์ สีม่วง            อาจารย์                             ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
47. จุฑาศินี ธญัปราณตีกุล อาจารย์ ดร.                       สาขาสิ่งแวดล้อม ม.ธรรมศาสตร์
48. เจตน์ ตันติวณชิชานนท์ อาจารย์                            ศาสนาและปรัชญา ม.บูรพา
49. ฉลอง สุนทราวาณชิย์   รอง
ศาสตราจารย์                เกษียณอายุ) 
50. ฉันทนา หวันแก้ว         
รองศาสตราจารย์               ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
51. ชญานิศวร์ โคโนะ        ผู้ช่วย
ศาสตราจารย์            ภาควิชาสังคมวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มศว
52. ชนิกา พรหมมาศ         ผู้ช่วยศาสตราจารย์             สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์
                                                                                มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
53. ชมพูนุท รัตนเลิศนาวี                                           มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
54. ชยันต์ วรรธนะภูติ        อาจารย์                             คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
55. ชลลดา นาคใหญ่        อาจารย์                             ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์
56. ชัยณรงค์ เครือนวน      อาจารย์ ดร.                      ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
57. ชัยยนต์ ประดิษฐศลิป์  
รองศาสตราจารย์ ดร.         คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
58. ชัยยุทธ ถาวรานุรักษ์    อาจารย์                            มหาวิทยาลยัธรรมศาสตร์
59. ชาญณรงค์ บุญหนุน                                            ภาควิชาปรัชญา ม.ศิลปากร
60. ชาตรี ประกิตนนทการ  รองศาสตราจารย์               ภาควิชาศิลปสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
61. ไชยรัตน์ ปราณี           ผู้ช่วยศาสตราจารย์            วิจัยและประเมินผล
62. ซิมมี่ อุปรา                 อาจารย์                            ภาควิชาภาษาตะวันตก
63. ฌานิศ วงศส์ุวรรณ       อาจารย์                            มทร.ธัญบุรี
64. ฐานิดา บุญวรรโณ       อาจารย์ ดร.                      มหาวิทยาลัยเรศวร 

65. ฐิตินันทน์ ผิวนิล                                                 ภาควิชาสังคมวิทยาและมานษุยวิทยา มหาวิทยาลัยรามคำแหง
66. ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์      รศ.ดร.                              คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ทักษิณ
67. ณปรัชญ์ บุญุวาศ         ผศ.                                  มหาวิทยาลยัสงขลานครินทร์
68. ณพศิษฏ์ จักรพิทักษ์    ผศ.                                 วิทยาลัยนานาชาตินวัตกรรมดิจติอล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
69. ณัฏฐพงษ์ สกุลเลี่ยว    อาจารย์                            ประวัติศาสตร์ ม.นเรศวร
70. ณัฏฐ์ศศิ หมูแก้วเครือ                                          มหาวิทยาลยัเชียงใหม่
71. ณัฐจรี สุวรรณภัฏ         ผศ.ดร.                             คณะสังคมวิทยาและมานษุยวิทยา/ ม.ธรรมศาสตร์
72. ณัฐพล โสตถิรัตน์วิโรจน์ อาจารย์                          สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
73. ดนัย ปรีชาเพิ่มประสิทธิ์ รศ.                                 ปรัชญา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
74. ดารารัตน์ เมตตาริกานนท์ รศ.                              คณะมนุษยศาสตร์ ม.ขอนแก่น
75. โดม ไกรปกรณ์             ผศ.                                ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
76. ตวงทิพย์ พรมเขต                                              ภาควิชาประวัติศาสตร์ ม.ศิลปากร
77. ตะวัน วรรณรัตน์            ผศ.                                ภาควิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
78. ทนพร ตรีรัตน์สกุลชัย    ผศ.ดร.                            ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
79. ทรงชัย ทองปาน           ผศ. ดร.                           สาขาวิชาภูมิศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
80. ทรงสิริ พุทธงชัย           อาจารย์ ดร.                     คณะสังคมวิทยาและมานษุยวิทยา/ ม.ธรรมศาสตร์
81. ทวีลักษณ์ พลราชม                                             สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
82. ทอแสง เชาว์ชุติ            ผศ.                                ภาควิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ/จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย
83. ทัศไนย จารุวัฒนพันธ์    อ.ดร.                              ม.เกษตรศาสตร์
84. ทิสวัส ธา รงสานต์         ผศ.                                ภาควิชาศลิปศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์และ วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัย
                                                                               เกษตรศาสตร์ วิทยาเขต กำแพงแสน 
85. เทียมสูรย์ สิริศรีศักดิ์      ผศ.ดร.                            คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา/ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
86. ธนพฤกษ์ ชามะรัตน์      ผศ. ดร.                            สาขาวิชาสังคมศาสตร์ (พัฒนาสังคม)
                                                                               คณะ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลยัขอนแก่น
87. ธนศักดิ์ สายจำปา         ผศ.ดร.                            สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
88. ธนาพล ลิ่มอภิชาต        ผศ. ดร.                           ประวัติศาสตร์ อักษรศาสตร์ จฬุาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย
89. ธนาวิ โชตปิระดิษฐ       อ.ดร.                               ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
90. ธนิต โตอดิเทพย์          ดร.                                  สาขาวิชาไทยศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา
91. ธัชธรรม ศิลป์สุพรรณ                                           ภาควิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ คณะวิจิิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
92. ธัญณ์ณภัทร์ เจริญพานิช อาจารย์                         มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบิลสงคราม
93. ธีระ สินเดชารักษ์          ผศ.                                 คณะสังคมวิทยาและมานษุยวิทยา/ ม.ธรรมศาสตร์
94. นงเยาว์ เนาวัตน์           รศ. ดร.                            พื้นฐานและการพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
95. นพชัย ฟองอิสสระ        อาจารย์                           มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
96. นราวิทย์ ดาวเรือง         นักวิชาการศึกษา               มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
97. นรุตม์ เจริญศรี              อาจารย์                           คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
98. นฤมล ทับจุมพล           ผศ.                                 ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย
99. นัทมน คงเจริญ             อาจารย์                           คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คลิ๊ก หนังสือและลงนามแนบท้ายทั้งหมด

&nb