ชาวบ้านนักปกป้องสิทธิรวมตัวแสดงพลังยืนยันเจตนารมณ์ปกป้องชุมชน
วันนี้ 3 มกราคม 2561 ชาวบ้านนักปกป้องสิทธิได้รวมตัวกันหน้าศาลจังหวัดสงขลา เพื่อยืนยันเจตนารมณ์และแสดงพลังในการปกป้องชุมชนและทนายได้ชี้แจงกิจกรรมของวันนี้ และจากนั้นก็ได้เคลื่อนย้ายมาที่ สภอ.เมืองสงขลาเพื่อรับทราบข้อกล่าวหาเพิ่มเติมของผู้ปกป้องทั้ง 16 คน และอีก 1 คน ได้รายงานตัวและให้การต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ ระยะเวลา ตั้งแต่ 11 โมงจนถึง 15 น.ยังไม่แล้วเสร็จ จากนั้นได้มีการแถลงการณ์ที่หน้า สภอ.เมือง สงขลาและเคลื่อนย้ายไปสรุปผล ที่ มหาวิทยาลัยทักษิณ ดังแถลงการณ์ต่อไปนี้
ข้าพเจ้านักวิชาการผู้ที่ทำงานในฐานะนักปกป้องสิทธิ/ ขอให้ความเห็นเกี่ยวกับดำเนินคดีของกลุ่มแกนนาเทใจให้เทพา/ เกี่ยวกับประเด็นข้อกฎหมายในการดาเนินคดี/ เพื่อยับยั้งการมีส่วนร่วมกิจการสาธารณะ/ หรือ Strategic Lawsuit Against Public Participation (SLAPP)
อาจกล่าวได้ว่าการดำเนินคดีเพื่อยับยั้งการแสดงความคิดเห็นอย่างมีเสรีภาพ/หรือการโต้เถียงโดยมีจุดมุ่งหมาย/ เพื่อต่อสู้กับบุคคลที่พูดถึง/ และแสดงความเห็นต่อกิจการสาธารณะ/ ในเรื่องการใช้ประโยชน์สาธารณะ/ SLAPP จึงถูกนำมาเพื่อใช้ปิดปาก/ และข่มขู่การวิพากษ์วิจารณ์/ โดยการบังคับให้คนที่พูดหรือแสดงความคิดเห็นในเรื่องสาธารณะนั้น/ จะต้องใช้เงินมหาศาล/ หรือสร้างขั้นตอน/ ที่อาจก่อให้เกิดภาระอันมากเกินสมควร/ แก่ผู้ถูกกล่าวหาในการต่อสู่กับข้อกล่าวหา/ โดยที่ผู้ที่ดำเนินคดี/ ไม่ได้มีเจตนาที่จะมุ่งหวังต่อประโยชน์ของคดีในแง่ของการเป็นผู้ชนะ/ ในทางกลับกันเพียงแต่ดาเนินคดีเพื่อข่มขู่บุคคลที่ไม่เห็นด้วย/ กับตนหรือกิจการที่ตนได้กระทำ/ ทำให้ผู้ใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นที่ถูกดำเนินคดีจะต้องสูญเสียเงิน/ และก่อให้เกิดความยุ่งยากในกระบวนการต่างๆในการต่อสู้คดี/ ซึ่งผู้ที่ใช้กระบวนการดังกล่าวนั้น เช่น บริษัทใหญ่ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ/ ซึ่ง SLAPP นั้นจะทำให้คนที่ถูกดำเนินคดีไม่กล้าที่จะแสดงความคิดเห็นอีกต่อไป/ อีกทั้งยังเป็นการยับยั้งกระบวนการมีส่วนร่วมของชาวบ้าน/ ในการแสดงความคิดเห็นต่อกิจการสาธารณะอีกด้วย
ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา/ ผู้ที่แสดงความคิดเห็นหรือแสดงออกด้วยวิธีการใดๆ/ ไม่ว่าจะเป็นประเด็นทางการเมืองหรือไม่ก็ตามมักจะถูกฟ้องร้องดาเนินคดี/ ทั้งอาศัยฐานความผิดที่มีโทษทางอาญาตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่แล้ว/ หรือโดยอาศัยประกาศของที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติออกมาเอง/ ซึ่งการกระทำดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องไม่ให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลหรือการกระทำของรัฐ/ ซึ่งมาตรการข้างต้นนอกจากรัฐบาลแล้ว/ ในภาคธุรกิจที่ประกอบกิจการเกี่ยวกับโครงการพัฒนาต่างๆ/ ก็ยังใช้มาตรการเดียวกันเข้ามาจัดการยับยั้งขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมเช่นกัน/ ซึ่งประเด็นดังกล่าวถูกนามาใช้มากกับกลุ่มนักปกป้องสิทธิ/ ในประเด็นทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
อาจกล่าวได้ว่าการทำกิจกรรมเดินเท้าเพื่อเรียกร้องให้รัฐยุติโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา (เทใจให้เทพา) ของชาวบ้านเทพา จ.สงขลา/ ซึ่งกระทำเป็นการกระทำโดยสงบและปราศจากอาวุธ/ โดยเป็นการเดินเท้าเพื่อยื่นหนังสือร้องเรียนต่อนายกรัฐมนตรี/ ครั้งที่นายกรัฐมนตรีมาประชุม ครม.สัญจร/ ที่ จ.สงขลา เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2560/ ซึ่งการกระทำดังกล่าวส่งผลให้เจ้าหน้าที่ได้มีการสลายการชุมนุม/ และมีการดำเนินคดีกับแกนนาผู้ชุมนุมจานวน 17 คน/ ในข้อหา ร่วมกันเดินหรือแห่อันเป็นการกีดขวางการจราจร/ ปิดกั้นทางหลวง หรือกระทำการใด ๆ บนถนนหลวง/ ในลักษณะที่อาจเกิดอันตรายหรือเสียหายแก่ยานพาหนะหรือบุคคล/ ร่วมกันตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป/ ต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติตามหน้าที่โดยใช้กำลังประทุษร้าย/ และร่วมกันทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานซึ่งกระทำตามหน้าที่/ หรือเพราะเหตุที่จะกระทำหรือได้กระทำตามหน้าที่/ เป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่จิตใจ/ และพาอาวุธ (ไม่คันธงปลายแหลม) ไปในเมือง/ หมู่บ้าน/ ทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุอันสมควร
การกระทำดังกล่าวก็มีข้อสังเกตในทางวิชาการ/ กล่าวคือการที่กลุ่มชาวบ้านลุกขึ้นมาอนุรักษ์/ ปกป้อง/จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภายชุมชน/ รวมถึงการแสดงความคิดเห็น/ การพูด/ การเขียน/ / ซึ่งเป็นสิทธิและเสรีภาพที่รัฐไม่สามารถจำกัดได้/ ซึ่งก็สอดคล้องกับหลักกฎหมายระหว่างประเทศ/ ได้แก่ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน/ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน/ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ/ อีกทั้งหลักการดังกล่าวยังสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560/ การที่เจ้าหน้าที่สลายการชุมนุมดังกล่าวนั้น/ อาจกล่าวได้ว่า/ การสลายการชุมนุมดังกล่าวปราศจากมูลเหตุอันจะอ้างได้ตามกฎหมาย/ อีกทั้งถือว่าเป็นการกระทำที่ไม่ได้สัดส่วน/ เนื่องจากกลุ่มชาวบ้านเดินเท้า/ และมีเพียงแค่ธงสีเขียว/ เพื่อเป็นลักษณ์ในการเรียกร้องสิทธิในการปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม/ จากเหตุการณ์ดังกล่าวนาไปสู่การดำเนินคดีกับกลุ่มแกนนาทั้ง 17 คน/ ข้าพเจ้าจึงมีความเห็นว่าการปกป้องชุมชน/ หรือฐานทรัพยากรธรรมชาติของชุมชน/ ไม่ควรที่จะมองว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย
ด้วยเหตุนี้เอง/ ข้าพเจ้า/ ขอเรียกร้องให้รัฐยุติการใช้กระบวนการยุติธรรมเป็นเครื่องมือ/ ตอบโต้กลุ่มบุคคลที่ออกมาเคลื่อนไหว/ เพื่อประโยชน์สาธารณะ/ และเรียกร้องให้ประเทศไทย/ มีกฎหมายและกลไกเพื่อป้องกันการฟ้องร้องในลักษณะที่เป็น SLAPP/ เพื่อนำมาสู่กระบวนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง/ ของประชาชนผู้เป็นเจ้าของอานาจอธิปไตย
เสาวณี แก้วจุลกาญจน์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ผู้อ่านแถลงการณ์