วรรณกรรมมาเลเซีย กับ อัตลักษณ์ “ความเป็นมลายู”

แนวทางการเขียนวรรณกรรมสมัยใหม่ในมาเลเซียนั้นมีปฏิสัมพันธ์หรือมีความเกี่ยวข้องกับการเมืองร่วมสมัยในมาเลเซียร่วมสมัยเพราะแนวทางวรรณกรรมมาเลเซียสมัยใหม่ โดยเฉพาะกลุ่มนักเขียนชาวมลายู ใช้งานเขียนหรือวรรณกรรมของตนเองในการพยายามพูดถึงวิถีชีวิตของชาวมลายู หรือการพยายามสร้างอัตลักษณ์ความเป็นมลายู ในสังคมมาเลเซียซึ่งมีความหลากหลายทางชาติพันธ์และสังคม ซึ่งมีการโต้เถียงถึงประเด็นนี้เป็นอย่างมาก เพราะประเด็นเรื่องชาตินิยม ถูกพูดถึงเป็นอย่างมาก เพราะงานวรรณกรรมของกลุ่มนักเขียนมลายู จัดอยู่ในลักษณะของการที่ต้องการสะท้อนให้เห็นความตกต่ำของชาวมลายู และมุ่งเน้นที่จะเสริมสร้างอัตลักษณ์มลายูโดย มองว่าต้องสร้างความเป็นหนึ่งเดียวในสังคม โดยผ่านภาษาและวรรณกรรมที่เป็นภาษามลายู และผูกติดเข้าด้วยกับศาสนาอิสลาม  และเน้นให้ชาวมลายูต้องลุกขึ้นมาตอบโต้เพื่อแสดงถึงความเป็นกลุ่มคนส่วนใหญ่ของประเทศ เป็นบุตรของประเทศ(ภูมิบุตร) ซึ่งโต้เถียงกลับกลุ่มนักเขียนที่ไม่ใช่ชาวมลายู ที่มุ่งเน้นให้เห็นถึงความเป็นพหุสังคม ความเป็นเอกภาพร่วมกันของชาติ  และไม่ต้องการผูกมัดทางภาษาในงานวรรณกรรม หรือสื่อสิ่งพิมพ์

การเกิดขึ้นของการร่วมตัวของกลุ่มนักเขียนมลายู  ( The Generation of  50 Writere) หรือกลุ่ม Asas 50  ถึงแม้จะไม่เข้าไปมีส่วนร่วมหรือเป็นกระบอกเสียงทางการเมืองโดยตรง แต่ประเด็นหรือแนวความคิดที่กลุ่ม Asas 50  ทีมุ่งชูประเด็นเรื่องภาษามลายูในฐานะอัตลักษณ์ “ความเป็นมลายู” และสนับสนุนให้เป็นภาษาประจำชาติ และมีการใช้สอนในโรงเรียนและระบบการศึกษาทั่วประเทศ ทำให้มีปฏิกิริยาทางสังคมและการเมืองมาเลเซียที่กำลังต้องการหนทางที่จะต้องการเดินไปข้างหน้า และกลุ่มการเมืองของชาวมลายู (พรรค UMNO) ซึ่งชูประเด็นเรื่องการสร้างอัตลักษณ์ของชาวมลายูและต้องเสริมสร้างฐานะและสิทธิของชาวมลายูในฐานะเจ้าของประเทศหรือบุตรของแผ่นดิน (ภูมิบุตร) หรือแม้แต่กลุ่มคนมลายูเริ่มมีจิตสำนึกถึงความเป็นพวกเดียวกันจึงได้ร่วมกันต่อสู้ เพื่อสร้างสิทธิและฐานะของตนเองตามความคิดที่ว่ากลุ่มตนเป็นเจ้าของประเทศ การรณรงค์เชิงชู วัฒนธรรมมลายู หรือการที่ภาครัฐเข้ามาอุ้มชูหรือให้การสนับสนุนพวกนักเขียนชาวมลายูให้ทำงานในองค์กรด้านภาษา หรือองค์กรด้านวัฒนธรรม(สถาบันภาษาDBP เป็นต้น) มีส่วนที่ทำให้ไฟแห่งจิตสำนึกของความเป็นชาวมลายูร่วมกันลุกโชนขึ้นมาและร่วมกับปัญหาการกระทบกระทั่งกับกลุ่มชาติพันธ์อื่นในรัฐ เช่น กลุ่มชาวจีน ประเด็นเรื่องอัตลักษณ์ จึงกลายเป็นประเด็นใหญ่ ถึงขั้นกระทบกระทั่งเกิดปัญหากันขึ้นมา  กรณีที่เห็นได้ชัด ก็อย่างเหตุการณ์ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 1969 ที่กลุ่มนักกวีมาเลย์  จัดพิมพ์วารสารรวมเรื่องสั้น Kebangkritan เรียกร้องให้ชาวมลายูออกมาต่อสู้  และบานปลายเกิดเป็นเหตุการณ์ จลาจล ค.ศ. 1969 (May 1969)

การเข้ามามีบทบาททางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และอภิสิทธิ์ด้านต่างๆของชาวมลายู เช่น  นโยบายภูมิบุตรา , หรือนโยบายเศรษฐกิจใหม่หรือ NEP ในช่วงทวรรษ 1970 ซึ่งให้ความชอบธรรมทางเศรษฐกิจ,การศึกษา แก่ชาวมลายู  สรุปแนวทางการเขียนวรรณกรรมสมัยใหม่ในมาเลเซียมีปฏิสัมพันธ์เกี่ยวโยงกับการเมืองมาเลเซียและมีผลต่อแนวทางทางการเมืองของมาเลเซียอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้และส่งผลลัพธ์มหาศาลจนถึงปัจจุบัน   ประเด็นเรื่องอัตลักษณ์ความเป็นมลายูถูกแสดงออกมาในรูปแบบใดบ้างในพื้นที่วรรณกรรมมาเลเซีย  ประเด็นสำคัญเลยที่กลุ่มนักเขียนวรรณกรรมชาวมลายู (เช่น กลุ่ม Asas 50) เน้นมากอย่างเห็นได้ชัดคือ พื้นที่ทางวรรณกรรมต้องถูกแสดงออกด้วยตัวภาษาที่แสดงออกถึงอัตลักษณ์ก็คือ ภาษามลายู และต้องผูกติดเข้ากับศาสนาอิสลาม ซึ่งถือว่าเป็นตัวแสดงอัตลักษณ์ความเป็นมลายูอีกแนวทางหนึ่ง  และวรรณกรรมต้องแสดงให้ถึงวิถีชีวิตของชาวมลายู  สะท้อนปัญหาของชาวมลายูในสังคม และทำให้ประเด็นทางภาษา วัฒนธรรม  อัตลักษณ์ความเป็นมลายูกลายเป็นวัฒนธรรมของชาติ  และสิ่งเหล่านี้ต้องถูกนำไปพูดถึงหรือสั่งสอนให้กลุ่มคนใหม่ๆหรือเด็กรุ่นใหม่ได้ซึมซับและยอมรับมันเช่น การนำภาษามลายูไปใช้สอนในโรงเรียน และใช้เป็นภาษาราชการ 

งานวรรณกรรมมลายูถูกทำให้กลายเป็นวิชาหนึ่งที่ถูกเปิดสอนในโรงเรียนทั่วประเทศ ที่เด็กๆคนรุ่นใหม่ทุกคนต้องศึกษาและค้นคว้า ที่ทำให้ต้องยอมรับความเป็นมลายูอย่างที่กล่าวมาขั้นต้น  และมีส่วนทำให้วัฒนธรรมมลายูเข้มแข็ง(ซึ่งต่อมากลายเป็นประเด็นที่โต้เถียงกันอย่างมากระหว่างกลุ่มนักเขียนวรรณกรรมชาวมลายู กับกลุ่มนักเขียนที่ไม่ใช่ชาวมลายู ว่าจะให้วรรณกรรมมาเลเซียสมัยใหม่ผูกติด กับ ภาษา หรือ เนื้อหา  เพราะถ้าให้ผูกติดทางภาษาแบบที่กลุ่มนักเขียนชาวมลายูต้องการก็กลายเป็นการแสดงออกถึงวัฒนธรรมมลายูอย่างชัดเจน หรือการเผชิญหน้ากันระหว่างชาตินิยม กับ ประชาชาตินิยม) หรือที่เห็นได้อย่างเป็นรูปธรรม เช่น ในปี ค.ศ. 1970  การเกิดขึ้นของกลุ่ม Gapena ที่เป็นองค์กรที่ผลักดันให้วรรณกรรมภาษามลายูและวัฒนธรรมมลายูให้กลายเป็นพื้นฐานวัฒนธรรมแห่งชาติ   ร่วมถึงในปลายช่วงทศวรรษ 1950 ก็มีการจัดให้เกิดการประกวดการเขียนวรรณกรรมระดับชาติ  ซึ่งมีส่วนที่ทำให้อัตลักษณ์ความเป็นมลายู แพร่กระจายไปในสังคมและในระดับรากหญ้า ร่วมถึงแนวคิด เรื่องศิลปะเพื่อสังคม(Art  For  Society) ที่กลุ่ม Asas 50  ใช้เพื่อนิยามงานเขียนหรือวรรณกรรมของกลุ่มพวกเขาเอง ในการปลุกจิตสำนึกทางสังคมและการเมืองของประชาชน ( วรรณกรรมสะท้อนสังคม) ก็เพื่อเป็นการสร้างภาพให้เห็นสังคมที่ดีงามตามแบบอย่างของวัฒนธรรมมลายู และเน้นจรรโลงสังคมมลายู และกลายเป็นสร้างปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน  กลายเป็นคนกลุ่มเดียวกัน ที่มีอะไรร่วมกัน ซึ่งงานวรรณกรรมได้ทำให้เกิดความรู้สึกแบบนั้นตั้งแต่ประเด็นเรื่องภาษา  ซึ่งมันทำให้พื้นที่ทางวรรณกรรมกลายเป็นพื้นที่ที่แสดงถึงความเป็นอัตลักษณ์ร่วมกันอย่างเบ็ดเสร็จ  ซึ่งประเด็นนี้ไม่ได้เกิดในมาเลเซียที่เดียว หลายที่ในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ วรรณกรรมก็สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นหนึ่งเดียวกัน  ความเป็นชาติ  วัฒนธรรมเดียวกัน