"พื้นที่" ในห้วงยาม "ไร้พื้นที่" ของอดีตนักการเมืองชายแดนใต้

เป็นที่ทราบกันว่าในสถานการณ์ปกติของสังคมการเมืองระบอบประชาธิปไตย นักการเมืองจะทำหน้าที่เป็นตัวแทนของประชาชนเข้าไปมีบทบาทในพื้นที่ของรัฐสภาเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการบริหารและพัฒนาประเทศ แต่สถานการณ์ทางการเมืองไทยที่เป็นอยู่ ณ ขณะนี้อาจพูดได้ “ไม่ปกติ” หลังจากมีการรัฐประหารโดยกลุ่มทหารภายใต้การนำของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งมี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์เอชา ป็นหัวหน้าคณะ เมื่อปี 2557  นับแต่นั้นเป็นต้นมาบรรดานักการเมืองของไทยจำต้องยุติบทบาทในรัฐสภาชั่วคราวก่อนรัฐบาลทหารจะทำการปฏิรูปการเมืองจนกว่าจะมีการเลือกตั้งอีกครั้งซึ่งยังไม่แน่ชัดว่ามีเมื่อไหร่

อย่างไรก็ตามในห้วงสุญญากาศของประชาธิปไตย สำหรับบรรดาอดีตนักการเมืองชายแดนใต้แล้วแม้จะถูกยุติบทบาทในพื้นที่ของรัฐสภา แต่ก็มิได้หมายความว่าพื้นที่งานการเมืองเพื่อชายแดนใต้จะยุติไปด้วย พื้นที่ที่ว่านี้เป็นอย่างไร แล้วมีความสำคัญอย่างไร ทั้งนี้ต้องย้อนไปมองถึงโครงการ “สานเสวนาเพื่อแลกเปลี่ยนปัญหาและทางออกระหว่างนักการเมืองจังหวัดชายแดนใต้” โดย สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นโครงการที่สร้างพื้นที่การเรียนรู้กับนักการเมืองเพื่อลดความรุนแรงและส่งเสริมให้เกิดสันติสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยโครงการนี้ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องนับจากปี 54 เป็นต้นมา

พื้นที่การเมืองของกลุ่มการเมืองต่างพรรค ต่างระดับ

โครงการสานเสวนากลุ่มนักการเมืองนั้นเป็นการเชิญนักการเมืองที่มีความหลากหลายมารวมตัวกันพูดคุยเสวนาแสดงความคิดเห็นและทางออกร่วมกันในเวที ซึ่งมีกลุ่มคนที่มาจาก อดีต สส. และ สว. นักการเมืองท้องถิ่น สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ส่วนตำบล และ เทศบาล จึงสามารถมองเห็นภาพรวมการรวมตัวของคนทำงานพรรคต่าง ๆ เช่น เพื่อไทย , ชาติไทยพัฒนา , มาตุภูมิ , ประชาธิปัตย์ ฯลฯ ก็เข้ามามีส่วนร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการถกเถียงประเด็นของ 3 จังหวัดชายแดนใต้ และเห็นข้อเสนอแนะ ทางออก

ฆอซาลี  อาแว นักวิจัยสถาบันมหิดลและหัวหน้าโครงการสานเสวนาเพื่อแลกเปลี่ยนปัญหาและทางออกระหว่างนักการเมืองจังหวัดชายแดนใต้  กล่าวว่า การสานเสวนาระหว่านักการเมืองซึ่งทางเราสถาบันสิทธิมนุษย์ชนและสันติศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลได้จัดตั้งแต่ปลายปี 54 จนถึงวันนี้ 25 มกราคม 2560

“การจัดเวทีแต่ละครั้ง เราก็จะได้ข้อเสนอซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้มาจากนักการเมืองที่เข้ามาร่วมเสวนาทั้งสิ้นรวมไปถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งพื้นที่องและนอกพื้นที่และระดับนโยบายส่งถึงรัฐ เช่น ส่งไปถึง กอ.รมน. , อบต. หรือองค์กรย่อย ๆ ต่าง ๆ ที่อยู่ในพื้นที่แม้กระทั้งนโยบายระดับประเทศเอง คือ เป็นกระบวนการที่เราพูดคุยที่นี่ ในบางช่วงบางจังหวะเราก็จะเชิญนักการเมืองที่อยู่ในพื้นที่3จังหวัดชายแดนภาคใต้ไปพบปะพูดคุยถกเถียงในประเด็นเดียวกันกับนักการเมืองระดับชาติ พรรคใหญ่ ๆ มาร่วมพูดคุยในประเด็นเดียวกัน”

กลุ่มนักการเมืองทั้งหมดเป็นกลุ่มคนที่มีความใกล้ชิดกับประชาชนในพื้นที่ของพวกเขาโดยพื้นฐานการทำงานของพวกเขา คือ การทำงานกับประชาชน ซึ่งเชื่อว่าอาจจะได้รับเสียงสะท้อนของประชาชนโดยตรงในระดับหนึ่ง อีกทั้งพวกเขาเคยเป็นตัวแทนในสภาก็สามารถสะท้อนปัญหาของประชาชนได้ ดั่งนั่น ปัญหาต่าง ๆ


ก่อนหน้านี้เขาอาจเคยทำงานในสภาแต่พอไม่ได้อยู่ในสภาแล้ว เวทีเหล่านี้เปรียบเสมือนการทบทวนและการตื่นรู้อยู่สม่ำเสมอทำให้พวกเขายังคงได้ทำหน้าที่ของเขาแม้จะไม่มากแต่ก็ยังสามารถที่จะเอาความรู้ความเข้าใจต่าง ๆ ของบรรดานักการเมืองมาถกเถียงเรียบเรียงแลกเปลี่ยนกัน”

“ส่วนเรื่องของการคลี่คลายปัญหาได้มากน้อยเพียงใดคงเป็นเรื่องของอนาคตในระยาวซึ่งต้องใช้เวลาตอนนี้ข้อเสนอถูกหยิบนำมาใช้ปฏิบัติก็คิดว่านักการเมืองเหล่านี้พอไปถึงกระบวนการเลือกตั้งคงจะสามารถนำข้อเสนอต่าง ๆ นำเข้าระบบเพื่อนที่จะสะท้อนและอาจนำไปสู่การร่างนโยบายเพื่อนใช้ในการขับเคลื่อนประเด็นปัญหาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนบ้านเราในอนาคต 

พื้นที่ของการสานเสวนากลุ่มการเมือง อาจพูดได้ว่าเป็นการปูพื้นฐานบางอย่างให้กับกลุ่มการเมืองเพราะคนเหล่านี้ก็ยอมรับว่า ใช่จะรู้เรื่องราวและเข้าใจปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้หมดทุกอย่าง อย่างเช่น  เขาอาจจะรู้ปัญหาของชาวบ้าน แต่อาจจะไม่รู้ถึงกระบวนการสันติภาพ พื้นที่ตรงนี้ก็ได้สอดแทรกเนื้อหาความรู้เข้าไป และเป็นไปได้ในอนาคตเมื่อกลุ่มอดีตนักการเมืองเหล่านี้ได้เข้าสู่โหมดหลังการเลือกตั้ง อาจจะมีการพูดคุยรายละเอียดในเรื่องที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้มามากยิ่งขึ้น

อดีต สส.พรรคมาตุภูมิ จ.นราธิวาส นายนัจมุดดีน อูมา เล่าให้ฟังเกี่ยวกับผลลัพธ์ของการสานเสวนากลุ่มนักการเมืองว่าที่ผ่านมามีการประชุม 34  ครั้ง และทุกๆครั้งก็มีประเด็น ข้อเสนอ ต่อผู้ที่มีอำนาจโดยเฉพาะ กอ.รมน. ภาค 4 ส่วนหน้า และรัฐบาลมาตลอด เช่นมีการเสนอขอลดพื้นที่การบังคับใช้ พรบ. ฉุกเฉินปี 2548 ลงเพื่อมาใช้ พรบ.ความมั่นคงแทน

“ เราก็เสนอ เสนอมาตลอด แต่ผู้มีอำนาจก็ยังไม่ได้รับการปฏิบัติต่อสิ่งที่เสนอไปแต่อย่างใดแม้แต่ข้อเดียว และหลายครั้ง อาจารย์โคทม (โคทม อารียา นักวิชาการด้านสันติศึกษา) ไปเจอผู้มีอำนาจด้วยตัวเองและก็เสนอผ่านสื่อเกือบทุกครั้งอยู่แล้วซึ่งถ้าผู้ที่มีอำนาจอยากจะได้ข้อคิดก็สามารถนำไปใช้ได้เลย แต่เราก็มีข้อสังเกตว่าเวทีที่ผ่านรัฐทำนั้นก็เป็นเวทีที่ประชาชนมาจะพูดจะจายังไม่มีความกล้ามากพอ ยังคงต้องระมัดระวังพอสมควร แต่เวทีของเราเป็นเวทีเปิดสามารถจะแสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมาได้เพราะเราทำงานการเมืองมา 10 กว่าปีแล้ว เป็นบุคลากรที่ประชานสามารถเข้าถึงเราได้ สามารถบอกปัญหาของประชาชนต่อผู้มีอำนาจได้”

 ส่วนการร่วมกันของกลุ่มการเมืองในอนาคตจะก้าวต่อไปอย่างไรนั้น นายนัจมุดดีน ก็ยอมรับว่า กำหนดตัวเองไม่ได้เพราะกฎหมายรัฐธรรมนูญก็ยังไม่ค่อยใช้ แต่คิดว่าวันนี้นักการเมืองในระดับชาติหาย ๆ พรรคการเมืองต่างๆ ก็มีความคิดตรงกันว่าเราจะต้องรีบร่วมมือกันเพื่อสถาปนาประชาธิปไตยคืนกลับสู่สภาพเดิมและคืนสู่ประเทศชาติเราโดยเร็วซึ่งก็ต้องดูกันต่อไป

ทางด้าน  นายประเสริฐ พงษ์สุวรรณศิริ อดีต ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ จ.ยะลา สะท้อนให้ฟังว่า ต้องขอบคุณโครงการฯ เพราะเห็นการศึกษามีส่วนสำคัญ ซึ่งการที่ชวนคนเหล่านี้มาเจอกันทุก 2 เดือนต่อครั้ง เปรียบเหมือนการให้การศึกษา

“ ผมเองก็ศึกษาจากนายก ศึกษาจากทางเทศบาล ศึกษาจากนักวิชาการหลาย ๆ คนที่มาร่วมกันเสวนาได้มองเห็นมุมต่าง  ๆ ที่สำคัญที่สุดคือสมองมันจะปรับไปตามสถานการณ์ว่า 2 เดือนสถานการณ์ของ 3 จังหวัดมันเปลี่ยนไปในทิศทางไหนแล้ว ถ้าเราทิ้งเวทีร้างไปเลย พอมาเลือกตั้งเราก็มาจับหัวชนปลายไม่ถูกเพราะมันเปลี่ยนแปลงอยู่ ”

สำหรับประโยชน์ของการพื้นที่สานเสวนานั้น อดีต ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ ยืนยันคล้าย นายนัจมุดดีน ว่ากลุ่มนักการเมืองเป็นกลุ่มคนที่อยู่กับประชาชนอยู่กับสถานการณ์มากกว่าคนอื่น ๆ แม้นจะไม่มีอำนาจแล้วแต่ด้วยบทบาทก็ต้องเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาประชาชน

 “พวกไม่มีอำนาจทางกฎหมายที่จะไปสั่งให้ใครไปทำอะไร ที่ไหน เราทำไม่ได้ เรารู้แล้วเราก็ต้องมานั่งช่วยหาทางออกให้รัฐควรเดินได้ถูกทาง แต่รัฐจะเชื่อไม่เชื่อเป็นดุลพินิจเขา เราสั่งเขาไม่ได้ บทบาทพวกเราถูกจำกัดโดยกฎหมายและผู้ปกครองประเทศ เราเคลื่อนไหวมากกว่านี้ไม่ได้ จริง ๆ จะประชุมวันนี้ยังไม่ได้เลย แต่ที่ทำได้เพราะเราไม่ได้ใช้งบประมาณแผ่นดิน ”

เราใช้งบประมาณ ของ ม.มหิดล เราถึงมานั่งประชุมกันได้ แต่ถ้าถามอยากจะทำมากกว่านี้หรือไม่ อยากครับ ลองสภาฯ สนช. เปิดเวทีให้อดีต สส. 3 จังหวัดสักวันสิครับ เราจะอภิปรายทั้งวันทั้งคืนให้ดูแล้วจะรู้ว่าไม้จิ้มฟันขวดละล้านมีหรือไม่” นายประเสร็จให้สัมภาษณ์

เมื่อฟังเสียงสะท้อนจากคนเหล่านี้แล้ว คงจะน่าสนใจไม่น้อยหากมีการเปิดพื้นที่ปราศรัยให้พวกเขาสะท้อนประเด็นปัญหาในพื้นที่อย่างเสรี หรือ บางทีอาจจะต้องมีเวทีสานเสวนาระหว่างอดีตนักการเมืองกับคณะรัฐบาลทหาร จะได้สอดคล้องกับนโยบาย สร้างความปรองดอง กลุ่มการเมือง

พื้นที่การเมืองเช่นนี้ คงไม่ทำให้ประเทศวุ่นวาย หรอกนะครับท่านผู้ใหญ่