เปิดศักราช 2560 สนามความรู้ ทีปาตานี
การประชุมวิชาการนานาชาติ การเปลี่ยนผ่านทางการมือง การไม่ใช่ความรุนแรง และการสื่อสาร ในการแปลงเปลี่ยนขับเคลื่อนความขัดแย้ง
ตลอดระยะปี 2559 ที่ผ่านมา สถานการณ์การเมืองโลกที่เหมือนอยู่บนหน้าผาสูงชันและเกิดกระแสลม(ขวา)แรงพร้อมที่จะกระชากร่างกายลงเหวลึกได้ หากไม่มีหลัก(การ)ยึดอันเข้มแข็งเพียงพอ ที่จะพยุงให้ชีวิตผ่านคลื่นลมแรงนี้ได้
ย้อนมองสถานการณ์การเมืองโลก ตั้งแต่ผลการโหวตชนะอังกฤษออกจากสหภาพยุโรป ผลการเลือกตั้งในสหรัฐอเมริกาที่นายโดนัล ทรัมป์ชนะนางฮิลารี คลินตัน สงครามซีเรีย
ผลของสงครามในซีเรียได้ทำให้เกิดผลกระทบแพร่กระจายไปสู่ภูมิภาคของโลก ตั้งแต่เมือง อเลปโป เอเธนส์ อิสตันบลู ปารีส เบอร์ลิน ลอนดอน ฯลฯ
สถานการณ์ประเทศไทย ปีนี้นับว่าเป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของปวงชนชาวไทย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จสวรรคตเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม 2559 ที่ผ่านมา
สำหรับผลของประชามติรัฐธรรมนูญ ที่จะทำให้เกิดรัฐธรรมนูญ อันจะเป็นหมุดหมายความเป็นไปของสังคมการเมืองไทย พูดให้ชัดคือ จะได้เห็นหน้าตาใหม่ของการเมืองไทย สำหรับปี 2560 จะเป็นปีที่รัฐบาลประกาศใช้รัฐธรรมนูญใหม่เต็มฉบับ ถือได้ว่าเป็นหมุดหมาย “การเปลี่ยนผ่านการเมือง” ของสังคมไทย
สำหรับเรื่องจังหวัดชายแดนภาคใต้ รัฐบาลยังคงดำเนินการพูดคุยกับกลุ่มที่เห็นต่าง ที่เปลี่ยนชื่อจากลุ่มบีอาร์เอ็น มาเป็นกลุ่มมาราปาตานี และรัฐบาลมีการจัดตั้ง ครม.ส่วนหน้า ที่มาคอยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้
นับว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจยิ่ง สำหรับการประชุมวิชาการนานาชาติ ในหัวข้อที่สำคัญและเป็นเสมือนการรวมคำถามที่สำคัญสังคมไทยจนกระทั่งสังคมโลกเฝ้าถามหนทางจะแก้ไขปัญหาในแต่ละโจทย์ที่เกิดขึ้น
หากมองการเมืองระดับนานาชาติ ตั้งแต่การเมืองของมหาอำนาจของโลก สหรัฐอเมริกา ที่เพิ่งได้มีการเลือกตั้ง และได้ประธานาธิบดีคนใหม่ ที่ถือว่าช็อกโลก คือนายโดนัล ทรัพป์ และอีกปีข้างหน้า จะมีการเลือกตั้งใหม่ของประเทศเยอรมัน นั้นหมายความสังคมไทยและสังคมโลกอยู่ใน “ระยะเปลี่ยนผ่านการเมือง” (Political Transition)
สงครามในซีเรียถือว่าเหตุการณ์ที่ทำให้ทั่วโลกค้นหานวัตกรรมทางการเมืองชนิดใหม่ เพราะความรุนแรงที่เกิดจากสงครามครั้งนี้แพร่สะพัดไปทั่ภูมิภาคตะวันออกกลาง ผ่านกรุงอิสตันบลู เอเธนส์ และชั้นในของยุโรปที่กรุงปารีสและเบอร์ลิน ฯลฯ ในเวทีประชุมนานาชาติของเหล่าผู้นำประเทศของโลก ย่อมมีวาระเรื่องของสงครามซีเรีย ถูกหยิบยกพูดคุยเพื่อแก้ไขปัญหาทั้งระยะสั้นและระยะยาว เป็นการพยายามสื่อสารในการเแปลงเปลี่ยนขับเคลื่อนความขัดแย้ง (Communication in Conflict Transformation) ในระดับรัฐกับรัฐ
ภาพจากสื่อต่างๆทั่วโลก ได้แสดงให้เราเห็นถึงความพยายามมุ่งมั่นช่วยเหลือการช่วยเหลือผู้ลี้ภัยจากสงคราม องค์กรการช่วยเหลือต่างๆและในนามของปัจเจกชน เช่น
ภาพประชาชนชาวฮังการีได้นำรองเท้ามาวางที่สถานีรถไฟในกรุงบูดาเปสต์เพื่อรอรับผู้อพยพมาจากซีเรีย
แฟนกีฬาฟุตบอลในประเทศเยอรมัน ได้ถือป้ายส่งข้อความต้อนรับผู้อพยพระหว่างการแข่งขันฟุตบอล เช่น ทีมโบรุสเซียดอร์ทมุนด์
เด็กน้อยชื่อ บานา อลาเบด (Bana Alabed) ชาวซีเรีย อายุ 7 ขวบ อาศัยอยู่ในฝั่งตะวันออกของเมืองอเลปโป
แต่อีกนั้นแหละ ในอีกด้านหนึ่ง เราก็จะพบในสนามของการสื่อสารเกิดอนุสงครามย่อยๆในโซเซียลมีเดียที่อาจจะเรียกว่า “สงครามน้ำลาย” ที่ใช้วิธีการด่าท้อผ่านโลกออนไลน์ ตัดสินด้วยข้อมูลอันผิวเผินหรือแม้กระทั่งคิดว่าตนเองรู้เรื่องดีที่สุดแล้ว จนไม่ฟังเสียงหรือข้อมูลที่เห็นต่างและถกเถียงด้วยสติและปัญญา
คนที่กล่าวเตือนเรื่องนีได้แจ่มชัดคือ เสกสรรค์ ประเสริฐกุล "หลายคนถือโอกาสหว่านถ้อยคำหยาบคายใส่คนที่ไม่เห็นด้วยซึ่งบางทีเราสืบสาวต้นตอไม่ได้ว่ามาจากสภาพจิตส่วนตัวหรือปัญหาส่วนรวม" สภาพนี้เข้าใจได้บางสถานการณ์ แต่ถ้าเกิดขึ้นไม่มีขอบเขตจะไม่เป็นผลดีกับเสรีภาพ และมีแต่จะเพิ่มศัตรูให้ตัวเอง (เสกสรรค์ ประเสริฐกุล)
การด่าท้อผู้อื่นด้วยสูตรสำเร็จและการไม่พยายามเชื่อมสะพานความรู้ ความเข้าใจ ระหว่างคนที่มีความคิดแตกต่างกัน ท้ายสุดมีแต่สร้างความห่างเหินกับผู้คนและไม่เป็นประโยชน์ต่อการสร้างสันติภาพไม่ว่าที่ใด หรือแม้กระทั่งความสงบของจิตใจตัวเอง
การเปิดกว้างเพื่อให้ทุกฝ่ายได้เป็นหุ้นส่วนความคิดกันและกัน จะทำให้เกิดมิติการทำงานที่หลากหลายและเคารพกันมากขึ้น แข่งขันกันทำงานพร้อมๆกับแบ่งปันเกื้อกุลกันมากขึ้น
ในโลกผู้คนจำนวนมากที่ไม่ได้ถือครองอำนาจรัฐ แต่ถือยึดครองความเป็นมนุษย์มุ่งมั่นทำงานเพื่อให้เกิดสันติภาพและเสนอแนวคิด การไม่ใช่ความรุนแรง (Non-violence) อันเป็นนวัตกรรมอันสูงส่งของมนุษยชาติอาจถือได้ว่าเป็นมรดกอันล้ำค่าของทุกเผ่าพันธ์ ทุกสีผิว ทุกภาษา ฯลฯ
ที่กล่าวเช่นนี้เพื่อจะบอกว่าเรื่องราวของคนเล็กจำนวนมากที่น่าสนใจและเป็นกำลังจิตกำลังใจให้โลกนี้มีความหวังและจินนาการที่จะอยู่ร่วมกัน การด่าท้อและประณามฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดดั่งคำด่าสำเร็จรูป ก็มิอาจจะช่วยเหลือให้สันติภาพเกิดขึ้นได้
สำหรับการชวนพูดคุยและเสริมสร้างสติปัญญาในทางวิชาการ เพื่อไม่ให้เอียงไปแบบใดแบบหนึ่งอาจจะเป็นเรืองสำคัญสำหรับคนทำงานด้านสันติภาพ การเปิดพื้นที่วิชาการแบบนี้นับว่าเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่ง
กล่าวให้ถึงที่สุดแล้ว งานประชุมวิชาการนานาชาติครั้งนี้ อาจจะช่วยให้ขยายขอบเขตความคิดและจินตนาการของสังคมการเมืองไทยและแน่นอนสำหรับเรื่องปัญหาปาตานี อาจจะมีแนวทางการแก้ไขปัญหาแบบใหม่ๆ ก็อาจจะเป็นได้
สำหรับการประชุมวิชาการนานาชาติ “การเปลี่ยนผ่านการมือง การไม่ใช่ความรุนแรง และการสื่อสารในการแปลงเปลี่ยนขับเคลื่อนความขัดแย้ง” นับว่าเป็นการเปิดศักราชต้อนรับปีใหม่ 2560 ที่น่าติดตามอย่างย่ิง เพราะงานครั้งนี้ได้จัดขึ้นในดินแดนที่มีคนตายทุกวันตลอด 12 ปี คือ ชายแดนใต้/ปาตานี
องค์กรร่วมจัด
คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
ศูนย์ความร่วมมือทรัพยากรสันติภาพ
สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้
สามารถติดตามข้อมูลได้ที่ www.pnc2017.com การประชุมวิชาการนานาชาติ "การเปลี่ยนผ่านทางการเมือง, การไม่ใช้ความรุนแรง และการสื่อสาร ในการแปลงเปลี่ยนขับเคลื่อนความขัดแย้ง” Political Transition, Non-violence and Communication in Conflict Transformation (PNC2017)
วันที่ 24-26 มกราคม 2560 ณ. คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี