อินโดนีเซีย หลังเหตุการณ์ 911

ภายหลังเหตุการณ์วินาศกรรมตึกเวิร์ลเทรด เซ็นเตอร์ สัญลักษณ์ทางเศรษฐกิจในระบอบทุนนิยมของสหรัฐอเมริกา ในวันที่ 11 กันยายน 2001 ได้เกิดขึ้นได้ได้สร้างปรากฏการณ์ครั้งใหม่ของโลก ทันทีที่ความรุนแรงและการก่อการร้ายได้เกิดขึ้น ทางอเมริกาประเทศที่ได้รับความเสียหายจากการก่อร้ายในครั้งนี้โดยได้พุ่งเป้าไปยังอุซามะฮ บินลาดิน ว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังในเหตุการณ์ในครั้งนี้ แต่ผลที่เกิดจากเหตุการณ์ในครั้งนั้น ส่งผลให้เกิดปฏิบัติการไล่ล่า และเกิดสงครามในพื้นที่ของอัฟกานิสถานเพื่อการจับกุมตัวอุสามะฮ์ บินลาดิน ที่ถูกกล่าวอ้างว่าให้ประเทศนี้มีความสัมพันธ์กับองค์กรดังกล่าวและได้เป็นที่พักพิงของอุสามะฮ์ บินลาดิน ซึ่งหลังจากนั้นภารกิจในการไล่ล่า และการส่งกองทัพเข้าสู่ประเทศอัฟกานิสถานได้เริ่มต้นขึ้นในเดือนถัดมาหลังเหตุการณ์วินาศกรรม

ผลกระทบที่ได้เกิดจากเหตุการณ์ดังกล่าว ได้สร้างความสัมพันธ์ที่ร้านฉาวระหว่างประเทศตะวันตกโดยเฉพาะอเมริกากับมุสลิมทั่วโลก ซึ่งเหตุการณ์ในครั้งนั้น โลกไม่ได้จับตามองเพียงแต่ อุสามะฮ์ บินลาดินหรือ ตาลีบันเท่านั้น แต่มุสลิมทั่วโลกได้ถูกจับตามองจากประชากรอย่างกว้างขวาง และส่งผลต่อการเกิดวาทกรรมที่เรียกว่า มุสลิมหัวรุนแรง เกิดขึ้นในวงการของสื่อมวลชนทุกแขนง และมีการใช้คำนี้กันอย่างกว้างขวาง

จากสงครามดังกล่าวนั้นเองได้ปลุกกระแสอิสลามโดยเฉพาะในประเด็นของ “ความเป็นพี่น้องในอิสลาม” ของมุสลิมจำนวนมากให้มีการเรียกร้องออกมาต่อต้านสงครามดังกล่าวโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งมีประชากรมุสลิมมากที่สุดในโลก วิธีการหนึ่งที่ประชาชนอินโดนีเซียได้แสดงถึงท่าทีที่ต่อต้านสงครามในครั้งนี้ด้วยการรณรงค์คว่ำบาตรสินค้า และธุรกิจต่างๆ ที่เป็นของอเมริกาและพันธมิตรที่เข้าไปทำสงครามในประเทศอัฟกานิสถาน เช่น เครื่องดื่มโค้ก หรือเป็ปซี่ ร้านค้าอาหารฟาสต์ฟู้ด เคเอฟซี แมคโดนัลด์ รวมถึงยังมีการระบายความโกรธแค้นในกรณีในกรุงจาการ์ต้า เมืองหลวงของอินโดนีเซียที่ได้มีประชาชนชาวอินโดนีเซียได้มีการทำลายร้านค้า หรือธุรกิจต่างๆ ที่เป็นของอเมริกาในประเทศอินโดนีเซีย โดยวิธีการดังกล่าวนี้เป็นการทำลายฐานเศรษฐกิจของอเมริกา รวมถึงเป็นการแสดงออกถึงความรุนแรงต่อสัญลักษณ์ของลัทธิทุนนิยม (ที่นำโดยประเทศสหรัฐอเมริกา)

ในขณะที่ประเทศอินโดนีเซียอยู่ภายใต้อำนาจของประธานาธิบดีซูฮาร์โต หรือการปกครองที่เรียกกันว่ายุคระเบียบใหม่ ได้นำการปกครองที่มีความเข้มงวดเพื่อควบคุมการเคลื่อนไหวของกลุ่มการเมืองฝ่ายตรงกันข้าม ทั้งพรรคคอมมิวนิสต์ของอินโดนีเซีย กลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ ที่พยายามเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราช และรวมไปถึงพรรคหรือองค์กรอิสลามอื่นๆ ที่ถูกควบคุมจากทางรัฐบาล แต่อย่างไรก็ตามภายหลังจากการลาออกจากประธานาธิบดีอันเนื่องมาจากไม่สามารถแก้ปัญหาทางวิกฤติการณ์ทางการเงินเมื่อปี ค.ศ.1998 ส่งผลให้เกิดการประท้วง และการลงจากอำนาจของซูฮาร์โต ทำให้กลุ่มต่างๆ ที่เคยถูกกดไว้ ได้มีการปะทุขึ้นมาทั้ง กลุ่มแบ่งแยกดินแดนต่างๆ และกลุ่มของมุสลิมที่ต้องการสร้างรัฐอิสลามขึ้นในประเทศอินโดนีเซีย

ญามาอะห์ อิสลามมียะห์ ซึ่งได้มีการกล่าวอ้างว่ามีการก่อตั้งกันขึ้นมาได้ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการวันที่ 1 มกราคม 1993 ภายใต้ผู้นำที่มีชื่อว่า Abu Bakar Bashir ซึ่งในขณะที่ซูฮาร์โตยังอยู่ในตำแหน่งนั้น ได้หลบซ่อนอยู่ในประเทศมาเลเซีย โดยหลังจากเหตุการณ์วินาศกรรมตึกเวิร์ลเทรดได้ไม่นานได้เกิดเหตุการณ์ลอบวางระเบิดในเกาะบาหลี และหลังจากนั้นสถานการณ์ของประเทศอินโดนีเซียเริ่มย่ำแย่ มีการปรากฏขึ้นของขบวนการ ญามะอะฮ์ อิสลามียะห์ หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อของ ขบวนการเจไอซึ่งเป็นองค์กรที่ต้องการต่อต้านอำนาจรัฐที่เน้นการปกครองประเทศแบบฆราวาส มีความต้องการสถาปนารัฐอิสลามแบบบริสุทธิ์ในประเทศอินโดนีเซียและพื้นที่ใกล้เคียงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บริเวณที่มีมุสลิมอาศัยอยู่ แม้อาจมีการตั้งข้อสงสัยในตัวตนขององค์กรดังกล่าวนี้ว่ามีจริงหรือไม่ หรือเป็นเพียงแค่การอุปโลกน์ขึ้นมาเพื่อก่อความไม่สงบในประเทศอินโดนีเซียแล้วกระจายไปสู่ประเทศใกล้เคียง

เหตุการณ์คาร์บอมบ์บนเกาะบาหลี เป็นการลอบวางระเบิดไนท์คลับ ที่เกาะบาหลี เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2545 ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิต 202 คน ซึ่งผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวจากออสเตรเลียเสียชีวิตมากที่สุดเป็นจำนวนมากถึง 88 คน และประชาชานชาวอินโดนีเซียเสียชีวิตเป็นจำนวน 38 คนประเทศอื่น ๆ ซึ่งมีชาวตะวันตก ที่ถูกมองว่าเป็นอริต่อโลกมุสลิม คาร์บอมในครั้งก็ดูคล้ายกับว่า การตอบโต้ต่อชาวตะวันตกต่อการเข้าไปทำสงครามในอัฟกานิสถาน เป็นการเกิดขึ้นของความรุนแรงอีกครั้งในประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งในขณะนั้นประธานาธิบดีเมกาวาตีร์ ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในขณะนั้น มีการยอมรับว่าเป็นการยากที่จะดำเนินการและมีและการจัดการกับกลุ่มที่อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์คาร์บอมในครั้งนี้ ซึ่งในขณะนี้รัฐบาลอินโดนีเซียได้นำการปกครองแบบรัฐฆราวาส มาเป็นรูปแบบในการปกครองประเทศ ซึ่งขัดกับความต้องการของกลุ่มองค์กรมุสลิมที่พยายามเปลี่ยนแปลง และนำอินโดนีเซียเข้าสู่การปกครองแบบรัฐอิสลาม

หลังจากที่เหตุการณ์วินาศกรรมในสหรัฐอเมริกา และต่อเนื่องด้วยสงครามที่เกิดขึ้นในอัฟกานิสถานเดือนถัดมา ได้สร้างเอกภาพให้กับกลุ่มองค์กรมุสลิมที่ไม่ใช่กลุ่มติดอาวุธเช่น มูฮัมมาดียะห์ และนะฮ์ฎอตุล อุลามาอ์ ได้ออกมาคัดค้าน และแสดงความไม่เห็นด้วยจากกรณีที่สหรัฐอเมริกาและพันธมิตรเข้ายึดประเทศอัฟกานิสถาน นับว่าเป็นการแสดงความคิดเห็นที่ไปในทางเดียวกันของกลุ่มมุสลิม ที่เกิดความขัดแย้งกันบ่อยครั้ง

จากความรุนแรงที่เกิดขึ้นรอบใหม่ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นการเผชิญหน้าอย่างตึงเครียด และความรุนแรงที่เกิดขึ้นจากพื้นที่ส่วนอื่นของโลก ได้กลับมาสร้างผลกระทบอีกครั้งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเคยเกิดขึ้นมาแล้วในช่วงสงครามเย็น การปะทะกันของสองความคิด ที่ได้ก่อให้เกิดความรุนแรง รวมถึงสงครามกลางเมือง ระหว่างรัฐบาลและกลุ่มต่อต้าน หรือความรุนแรงในครั้งนี้อาจจะเป็นเพียงแค่ฉากหนึ่ง เพื่อใช้ในการจัดการกับกลุ่มที่เคลื่อนไหวในการต่อต้านอำนาจรัฐมาเป็นเวลาช้านาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นรัฐที่เต็มไปด้วยความขัดแย้ง และมีกองกำลังที่ต่อต้านอำนาจการปกครองของรัฐบาลกลาง