3 มีนาครบรอบ 92 ปี การล่มสลายอาณาจักรออตโตมัน
ภาพจาก www.utusan.com
วันที่ 3 มีนาคม 2016 นี้ ถือเป็นวันครบรอบ 92 ปี การล่มสลายของอาณาจักรสุดท้ายของอิสลาม ที่เคยมีอิทธิพลในแถบทวีปเอเชีย ยุโรป และแอฟริกาเหนือ
พื้นที่ที่เคยตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของอาณาจักรอิสลามแห่งออตโตมันที่มีศูนย์กลางอยู่ในประเทศตุรกีนั้น ส่วนใหญ่อยู่ในบริเวณเอเชียตะวันตก ซึ่งครอบคลุมไปถึงปาเลสไตน์ อิสราเอล คูเวต อิรัก เลบานอน จอร์แดน และอิหร่าน
อาณาอิสลามแห่งออตโตมันยังเคยยึดครองประเทศในแถบยุโรปและแอฟริกาเหนืออีกด้วย ซึ่งประกอบไปด้วยประเทศกรีก ฮังการี อัลบาเนีย อาร์เมเนีย บอสเนีย เฮอร์เซโกวีนา บัลแกเรีย เซอร์เบีย โคโซโว อาร์เซอร์ไบจาน โครเอเตีย ตูนีเซีย ลิเบีย อิยิปต์ แอลจีเรีย และรวมไปถึงอีกหลายๆ ประเทศ
ซึ่งอาณาจักรแห่งนี้ดำรงอยู่นานถึง 600 ปีด้วยกัน จนในที่สุดต้องถึงกาลล่มสลายลงด้วยเหตุปัจจัยหลายๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยจากภายในที่เป็นเหตุให้ปัจจัยภายนอกสามารถแทรกซึมเข้ามาได้อย่างง่ายดาย และได้ทำลายความยิ่งใหญ่ของอาณาจักรอิสลามดังกล่าวให้ต้องพังราบลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป
อาณาจักรออตโตมันถือได้ว่าเป็นมหาอำนาจของรัฐอิสลามแห่งสุดท้าย ที่ปกครองโดยระบบของคอลีฟะฮ์ถัดจากราชวงศ์อูมัยยะฮ์ (ค.ศ.611 – ค.ศ. 750) และราชวงศ์อับบาซียะฮ์ (ค.ศ.752 – ค.ศ. 1258)
ที่ถูกสถาปนาขึ้นโดยท่านอุษมาน เออร์โตริล (Uthman Ertugrul) หรือที่รู้จักกันในนาม อุษมาน ฆอซี และอุษมานที่หนึ่ง เมื่อปี 1299 ซึ่งอาณาจักรดังกล่าวได้ผ่านพ้นมาหลายยุคด้วยกัน นั่นก็คือ ยุคของการสถาปนา ยุคของการแผ่อิทธิพล และยุคของการล่มสลาย ซึ่งระหว่างช่วง ค.ศ. 1683 จนถึง ค.ศ. 1908 จวบกระทั่งสมัยการปกครองของท่านคอลีฟะฮ์องค์สุดท้ายของอับดุลมายิดที่สอง ที่สิ้นสุดลงเมื่อปี 1924
นอกจากความสำเร็จในการยึดครองเมืองต่างๆ จนถึงสู่ยุคสงครามโคโซโวและสงครามครูเสด และที่เป็นที่สุดของความสำเร็จแห่งราชวงศ์อุษมานียะฮ์คือการได้ยึดครองเมืองคอนสแตนติโนเปิลหรือเมืองอิสตันบูล ภายใต้การนำของสุลต่านมูฮัมหมัด ที่สอง หรือสุลต่านอัลฟาติฮ
อย่างไรก็ตาม เมื่อท้องฟ้ามิอาจสดใสตลอดไปไม่ และนั่นก็คือสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากสงครามเวียนนาเมื่อปี 1683 ที่ได้มองเห็นความแข็งแกร่งของอาณาจักรอุษมานียะฮ์ ที่นับวันยิ่งลดน้อยถอยลง และเมืองที่เคยอยู่ภายใต้อิทธิพล ได้ตกอยู่ภายใต้ของชาติยุโรปที่ละเมืองสองเมือง รวมไปถึงสหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และรัสเซีย
ในขณะเดียวกันเมืองอื่นๆ ก็ต่างลุกขึ้นมาต่อสู้ในนามชาติพันธ์ ที่เรียกร้องอิสรภาพจากอาณาจักรออตโตมัน รวมไปถึงบางประเทศในโลกอาหรับ ที่ได้ลุกขึ้นมาต่อต้านในเรื่องความเป็นเจ้าของแห่งตำแน่งคอลีฟะฮ์ที่เป็นของคนตรุกี
ส่วนปัจจัยภายในนั้นเช่น การแย่งชิงอำนาจ ความขัดแย้งทางการเมือง การฉ้อฉล และการใช้ชีวิตอย่างสุรุ่ยสุร่าย ที่ล้วนเอื้อต่อการล่มสลายของอาณาจักรดังกล่าว จนในที่สุดมีเมืองต่างๆ ที่พยายามจะโค่นล้มอำนาจของพวกเขาอยู่ตลอดเวลา
ส่วนปัจจัยอื่นๆ นั้นคือ การเข้าไปเกี่ยวข้องกับสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสงครามรัสเซียของตุรกี จนเป็นเหตุให้ผู้นำของอาณาจักรอิสลามออตโตมัน ณ ขณะนั้น ถูกขนานนามว่า ผู้ป่วยแห่งยุโรป (The Sick People of Europe)
หลังจากนั้นขบวนการเคลื่อนไหวลูกใหม่ได้อุบัติขึ้น ที่ได้เผยแพร่แนวคิดปฏิรูปสมัยใหม่ในสังคมตุรกี ที่นำโดยบรรดาแกนนำหัวก้าวหน้าต่างๆ รวมไปถึงเจ้าหน้าที่ระดับสูงของออตโตมันเอง ในฐานะเป็นผู้วางรากฐานของตุรกีสมัยใหม่ในปัจจุบันอีกด้วย นั่นก็คือ มุสตาฟา กามาล อตาเติร์ก
มุสตาฟา กามาล ในฐานะเป็นหัวหน้าขบวนการเคลื่อนไหวที่รู้จักกันดีในชื่อ The Young Turks (ปัญญาชนแห่งเติร์ก) ที่กล่าวกันว่าเป็นความพยายามหนึ่งที่จะลดถอนอำนาจของกษัตริย์ลง ด้วยกันก่อตั้งระบบรัฐสภาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ตุรกีเป็นประเทศเสรีนิยม ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงด้านนโยบายของประเทศอย่างขนานใหญ่ตามการชี้นำของชาติตะวันตก
ในขณะเดียวกัน คงไม่แปลกนักหากว่าประเทศตุรกีนั้นจะยังคงถือว่าพวกเขายังเป็นประเทศมหาอำนาจ ถึงแม้นว่าในความเป็นจริงแล้วไม่ได้มีอำนาจแต่อย่างใด ซึ่งความปรารถนาอันแน่วแน่ของพวกเขาที่จะเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพยุโรป(EU) ยังไม่ได้รับการยอมรับจนถึงวันนี้
สำหรับในสถานการณ์วันนี้ พอจะกล่าวได้ว่า เมืองที่เคยตกอยู่ภายใต้อาณาจักรออตโตมันในแถบเอเชียตะวันตกปัจจุบัน ส่วนใหญ่ยังคงมีความขัดแย้งเกิดขึ้น
ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ที่ได้ยืดเยื้อจนคร่าชีวิตไปแล้วหลายแสนคน ในขณะที่ประเทศอื่นๆ อย่างเช่น อิรัค ลิเบีย และอิยิปต์ ก็ยังคงเผชิญกับการลุกหือต่อต้านของประชาชนของตน จนเอื้อต่อการการเข้ามาแทรกแซงของชาติมหาอำนาจ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาที่ยังคงเสาะหาโอกาสอยู่ตลอดเวลา
ประเทศกรีกเช่นกัน ที่ต้องเผชิญกับความยุ่งเหยิงทางเศรษฐกิจที่สาหัส จนต้องเป็นหนี้มูลค่าจำนวนมหาศาล ในขณะที่ความรุนแรงที่กำลังเกิดขึ้นอย่างประปรายในตุรกียังคงเป็นสิ่งที่ยังคงมีอยู่ และสงครามระหว่างพี่น้องที่ปะทุขึ้นที่ซีเรียจนทำให้พลเรือนเสียชีวิตนับแสนคน
การล่มสลายของอาณาจัดรออตโตมัน ได้เปิดทางให้กับอำนาจใหม่ในแถบเอเชียตะวันตก อย่างเช่น อิรัค ภายใต้การนำของซัดดัม ฮุซเซ็น และ ลิเบีย ภายใต้การนำของมูฮัมหมัด กัดดาร์ฟี่ และอิยิปต์ ภายใต้การนำของฮอสนีย์ มูบารัค และรวมไปถึงซีเรีย อย่างไรก็ตามการขึ้นสู่อำนาจของประเทศอาหรับดังกล่าวได้ถึงกาลสิ้นสุดลง ภายหลังการเข้าไปของสหรัฐอเมริกาในประเทศอิรัค ที่ทำให้ซัดดัม ฮุซเซ็น ถูกโค่นอำนาจลง และการเสียชีวิตของมูฮัมหมัด กัดดาร์ฟี่ ภายหลังการแทรกแซงของชาติตะวันตกในลิเบีย และสงครามระหว่างนิกายในซีเรีย
วันนี้ ในเอเชียตะวันตกได้เกิดสุญญากาศและตุรกีเริ่มสำแดงอิทธิพลขึ้นอีกครั้ง ในฐานะเป็นหนึ่งในมหาอำนาจของเอเชีย ตะวันตก และเช่นเดียวกันกับประเทศซาอุดีอาระเบียและอิหร่าน
หมายเหตุ:บทความแปลจาก 22 Februari 2016 รูปภาพและเนื้อหาต้นฉบับโดย www.utusan.com.my/berita/luar-negara/genap-92-tahun-empayar-uthmaniyyah-runtuh-1.193073