ย้อนบทวิเคราะห์เชิงลึกกับ “ดอน ปาทาน” และโต๊ะเจรจาที่มีการรบขีดคั่น

 

นับตั้งแต่สาธารณะได้รับรู้เกี่ยวกับเวที พูดคุย(เจรจา)สันติภาพ เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556 ภายใต้สถานการณ์การเมืองที่ไม่มีเสถียรภาพในขณะนั้น ประกอบกับกระแสท่าทีต่อเงื่อนไข 5 ข้อที่ตัวแทน BRN จุดพลุขึ้นมาแล้ว หากย้อนกลับไปสังคมไทยได้มองเห็นปรากฏการณ์ และบทเรียนอะไรที่ต้องมา ขบคิดบ้าง ทั้งนี้อาจจะเริ่มต้นทำความเข้าใจจากความคิดของ ดอน ปาทาน ผู้อำนวยการปาตานี ฟอรั่ม ฝ่ายต่างประเทศ ซึ่งเกาะติดข้อมูลเชิงลึกมาอย่างต่อเนื่อง ได้กล่าวไว้ในเวทีเสวนา “วงรอบ 2 ปี 28 กุมภา จะเจรจา หรือว่า พูดคุย (ภายใต้รัฐบาลเบ็ดเสร็จ)” ณ ห้องประชุมมูลนิธิ 14 ตุลา ถนนราชดำเนิน กรุงเทพฯ โดยมีองค์กรร่วมจัดคือ ปาตานี ฟอรั่ม  LEMPAR และกลุ่มนักกิจกรรมสภาหน้าโดม  เพราะจากบทสัมภาษณ์บนเวทีครั้งนั้น ก็ไปสัมพันธ์กับสถานการณ์ที่เหตุการณ์ระเบิดครั้งใหญ่ อีกหลายเหตุการณ์ และมีแง่คิดต่อการเปิดตัวกลุ่มโต๊ะพูดคุยสันติสุขที่กำลังขับเคลื่อนอยู่ในขณะนี้

คำถาม : ท้าวความเข้าใจ 28 กุมภา 56 อะไรที่เรารู้ และไม่รู้ มาก่อน ?

ดอน ปาทาน กล่าวว่า เวทีครั้งนั้นสำคัญมากถ้าดูจากประวัติศาสตร์ การพูดคุยระหว่างรัฐไทยกับขบวนการ มีมาตลอดตั้งแต่สมัยยุค 70 80 และ 90 ถึงใต้ร่มเย็น ยุคคอมมิวนิสต์และกลุ่มขบวนการปาตานีก็วางอาวุธพร้อมๆกัน  แต่เราไปเข้าใจผิดว่ากบฏคือกบฏ แต่ความจริงไม่ใช่ ถ้าดูคอมมิวนิสต์ก็คือคนไทยเขาอยู่ภายใต้อำนาจรัฐ แต่ขบวนการมาลายูเขาไม่ได้ต้องการ take over กรุงเทพฯ เขาอยากจะได้พื้นที่กลับคืน เป็นเรืองของชาติพันธ์ุ เราไม่เคยทำความเขาใจกับมันแล้วไปassumeว่าเหตุการณ์จบก็ดี ก็มีสันติ

“พอมันเริ่ม 2004 ความจริงมันเริ่ม 2002 แต่ตอนนั้นคุณทักษิณมองว่าเป็นโจรกระจอก พอเกิดเหตุการณ์ปล้นปืนก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ามันเกิดรุ่นใหม่ขึ้นมาแล้ว หลังประมาณ 9 ปีที่เงียบไป ก็มีการคุยกันอีกแบบเงียบๆ พอมาวันที่ 28 กุมภาพันธ์ เมื่อรัฐบาลออกมาเปิดว่าจะมีการคุยกัน มันก็ทำให้คนหลาย shock ว่ารัฐไทยกล้าขนาดนี้หรือ แต่สำหรับผมตอนที่ไปอยู่ใต้(สองอาทิตย์)ในปี 97 ตอนนั้นผมฟังธงเลยว่าอีกไม่กี่ปีจะมีรุ่นใหม่เกิดขึ้นมาอีก(แต่ไม่มีใครเชื่อ) ต่อมาภายใน 4-5 ปีก็เกิดขึ้นมาจริง”

“ทำไมผมสรุปอย่างนั้น? เพราะว่า เรื่องเล่า(narrative) ฮีโร่ ประวัติศาสตร์ของเขา นิทานของเขามันคนละชุดกับของไทย ซึ่งสอดคล้องกับคำอธิบายของ อ.ธเนศ(ธรรมศาสตร์) และแกก็เสนอทางออกดี คือ ขยายเรื่องเล่าให้รวมกันทั้งหมด ถ้าจากอเมริกาพวกกบฏก็เป็นฮีโร่กันหมดซึ่งเฮลิคอปเตอร์ทุกลำก็ตั้งชื่อจากพวกนี้ (เฮลิคอปเตอร์โจมตีรุ่น อาปาเช่ มาจากชื่อของชนเผ่าอินเดียนแดงเผ่าหนึ่ง)  ซึ่งเป็นผู้ที่ต่อต้านอำนาจรัฐมาก่อน เพราะฉะนั้นการเจรจาไม่ควรจะเป็นแค่ระหว่างรัฐกับฝ่ายติดอาวุธแต่มันควรเป็นรัฐ(Thai State)กับคนสามจังหวัดที่เป็นมลายูว่าจะอยู่ด้วยกันอย่างไร”

อย่างไรก็ดี ดอน ปาทาน ชี้ว่า พอถึงวันที่ 28 กุมภา เมื่อบอกว่าฝ่ายรัฐกับฝ่ายติดอาวุธจะคุยกันคนก็ดีใจ แต่ผมก็ออกมาcriticize มากว่า ฮัสซัน ตอยิบ เป็นใคร ทำไมถึงออกมา เพราะแหล่งข่าวของผมในขบวนการ รัฐบาลมาเลเซีย และรัฐบาลไทยด้วย บอกว่าแก่ไม่มีอำนาจกับพวก “จูแว”  จากการสอบถามแหล่งข่าวในขบวนการของกลุ่มต่างๆ รวมถึงแหล่งข่าวในรัฐบาลมาเลเซีย ว่ามีการตีความสิ่งนี้อย่างไรเขาพูดคล้ายๆกันว่า มันเป็นเรื่องความต้องการของกรุงเทพฯ กับ KL(กัวร์ลาลัมเปอร์) มากกว่าความต้องการของคนปาตานี ความต้องการของกรุงเทพคือ ทักษิณ โดย “บิ๊กบัง” เอาออกสามข้อ 1.ไม่เคารพวัง 2.คอรัปชั่น และ3.เรื่องสามจังหวัด  สองข้อแรกพวกเขาคิดว่าสามารถจัดการได้คือ 1.ส่งน้องสาวไปหาป๋าเปรม 2.พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เหลือเรื่องที่ 3.เรื่องสามจังหวัดจะทำอย่างไร ภาพจะต้องออกมาว่าเขายื่นมือให้คนมลายูแล้ว เขาไม่ตอบสนองเอง “ผมทำอะไรได้” ในส่วนของมาเลเซียเองขณะนั้นมีเลือกตั้ง แล้วโพลต์ออกมา นาจิบ แพ้ popular vote ประกอบกับการที่คนมาเลเซียมีญาติพี่น้องอยู่สามจังหวัดจำนวนมาก ฉะนั้นจึงต้องเอาประเด็นนี้มาหากินที่การเมือง ยุทธศาสตร์คือ เมื่อเกิดการเจรจา 28 กุมภาฯ ก็หวังว่าจะสามารถดึงกลุ่มอื่นๆ หรือ faction อื่นๆใน BRN มาเข้าร่วม (ประเด็นของผมคือผู้ที่มาเจรจามีอำนาจมาแค่ไหมกับจูแวในพื้นที่)ประเด็นคือไม่มีใครมา(มาบ้างแต่ไม่เท่าไหร่)ผู้นำหรือผู้ที่มีอำนาจต่อจูแวในพื้นที่ก็ไม่มีใครมา มันก็พัง

ประเด็นที่สอง คือ ถ้าดูตัวอย่างจากต่างประเทศ อย่างเช่น IRA กับอังกฤษเขาคุยกันเงียบๆมา 10 กว่าปี ก่อนเขาจะมาเปิดอย่างนี้ (อินโดฯ ฟิลิปปินส์ก็เหมือนกัน) แต่ของเรามาเปิด แล้วมาถ่มน้ำลายใส่กันผ่านYouTube อย่างนี้ ซึ่งมันแปลก ยิ่งลักษณ์ก็ไม่สามารถอธิบายได้ว่า limitation ของ ฮัสซัน ตอยิบ มาอะไรบ้าง เมื่อเจรจากันแล้วเหตุการณ์ไม่สงบ คนไทยก็ถามว่าตัวจริงหรือเปล่า ผมว่าเป็นความผิดพลาดของรัฐไทยที่สร้าง expectationสูงเกินไปแล้วไปบอกว่าตัวจริงๆ ประเด็นไม่ใช่ตัวจริงตัวปลอม แต่ประเด็นคือ ฝ่าย/กลุ่มของเขาที่มาที่โต๊ะมีอำนาจมากแค่ไหน

เมื่อออกมาอย่างนั้นคนก็หวัง ดีกว่าไม่คุยกัน หวังว่าคนอื่นจะมา แต่ปรากฏว่าไม่มีใครมา แต่มันเป็นเรื่องสำคัญมากเพราะมันเป็นครั้งแรกของรัฐไทย จริงๆผมไม่ใช่คำว่ารัฐไทยผมใช้คำว่า “ทีมทักษิณ” เพราะมันเป็น initiative ของคุณทักษิณกับยิ่งลักษณ์มากกว่า ทำไมถึงเป็นอย่างนั้นจากที่ถามแหล่งข่าวที่เป็นฝ่ายไทย(ประมาณ 10 วันก่อนเจรจาวันนั้น)ได้ข้อมูลว่าทหารไม่เกี่ยวข้อง มันเป็นการทำของทีมทักษิณ ดังนั้นทหารจึงไม่พิศวาสเท่าไหร่กระบวนการนี้ พวกเขาจึงแหย่ๆ เช่นเอาอดีตหัวหน้า Bersatu กลับประเทศไทย ก็ยืมปากแกมาด่าขบวนการฯนี้ พอมีรัฐประหารจะทำอย่างไร จะบอกว่าไม่คุยก็ไม่ดี ดังนั้นทหารจำเป็นต้องคุย แต่เขาจะไม่ทำตัวแบบอดีตนายกฯยิ่งลักษณ์ ที่เอาแต่ตั้งรับอย่างเดียว ตอนนี้ประยุทธ์บอกว่าเงื่อนไข คือ 1) ถ้ากลุ่มเคลื่อนไหวต่างๆอยากจะคุยก็ต้องมาทำ Platform  อันเดียวกัน 2)ต้องมีการหยุดยิงก่อน

คำถาม : การเจรจาจะเป็นไปได้ ต้องมีบรรยากาศที่เป็นประชาธิปไตยก่อน ฉะนั้นการเจรจารอบใหม่ภายใต้รัฐบาลทหาร รูปแบบการเจรจาเป็นอย่างไรบ้าง มีความแตกต่างจากรัฐบาลที่แล้วอย่างไร และคำว่าปีกการเมืองคืออะไร?

ตอบ  ถ้าดูประเทศเพื่อนบ้านไม่ว่าจะเป็น MILF ในมินดาเนา หรือ Free aceh movement ใน GAM เขาก็จะมีทีมเจรจาหรือว่าทีมการเมืองของเขา เช่น ทีมการเมืองของฝ่าย GAMหรือ MILFเขาก็อยู่ในเมืองหลวงเวลาเขาจะคุยกับรัฐบาลเขาก็บินไปประเทศ แล้วกลับมาเขาก็เข้าเมืองหลวง ถ้าเปรียบเทียบกับไทยก็คือ หมายความว่า ฮัสซัน ตอยิบ  จะอยู่ปัตตานีถ้าจะคุยกันก็บินไปประเทศที่สาม แต่ไทยกับอินโดเขาก็ใจกว้างพอสมควรที่จะยอมรับสถานะฝ่ายการเมืองปีกเจรจา พอมันมีปีกการเมืองมัน identify ได้ คล้ายๆเป็นconceptหนึ่งที่ว่ารัฐบาลก็ไม่อยากบอกว่าผมคุยกับโจรอยู่เพราะเขาเป็นผู้ใช้กฎหมายบ้านเมือง ดังนั้นจึงมีการสร้างคำว่าปีกการเมืองขึ้นมา คือ รัฐบาลไม่ได้คุยกับฝ่ายติดอาวุธแต่คุยกับฝ่ายการเมืองมันก็จะเป็นbufferอีกอย่างหนึ่งให้รัฐอธิบายกับประชาชนได้

ส่วนคำถามที่สองศักยภาพทางการเมืองเราต้องเข้าใจภาษาทางเทคนิค concept ผมได้ไปคุยกับพวก Free aceh movement หนึ่งในนั้นมีหนึ่งในทีมเจรจาด้วย ผมก็ได้นั่งคุยกับบอกว่าภาษาทางเทคนิคมันยากมาก ต้องอาศัยรัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์เป็นผู้ trainให้ คือรัฐบาลอินโดฯ เขาเข้าใจเขาบอกว่าเชิญพวกสวิสเข้ามาหน่อยเพราะว่าคุยกันไม่รู้เรื่อง(เหมือนนักเลงบอลกับนักเลงไก่ชนมาคุยกัน มันคนละภาษาคนละ wave link กัน) ดังนั้นจึงต้องสร้างศักยภาพโดยวิธีการดังกล่าว ดังนั้นพวกเราก็เหมือนกันถ้าอยากจะคุยกับพวกนี้ให้รู้เรื่องก็ให้พวก expert มาสอนเรื่องเทคนิค

ดูง่ายๆอย่างตอนที่ไทยกับเขมรเจรจากันในเรื่องเขาพระวิหาร ฝ่ายทนายของไทยพูดได้ 5-6 ภาษา มัน technical มาก บาง issue ดังนั้นศักยภาพของปีกการเมืองมันสำคัญมากแต่ประเด็นในตอนนี้ก็คือว่าถ้าพวกฝรั่งหรือ expert จากนอกไม่ว่าจะเป็น UN สวิตเซอร์แลนด์ หรือ EU จะเข้ามาฝ่ายไทยก็ต้องให้ไฟเขียวด้วยเพราะมันเป็นเรื่อง protocol แต่ไทยก็ไม่ค่อยยอมให้พวกนี้เข้ามาเท่าไร ก็ยังคิดอยู่ว่าพวกนี้มันโง่ มันดีกับกู ทำไมพวกฟิลิปปินส์ อินโดฯ ถึงคิดไม่ต่างๆ บอกว่าถ้าคุยกันไม่รู้เรื่องก็ไม่จบสักที นี่คือประเด็นของปีกการเมือง สรุปคือ หนึ่งเรื่อง technical อีกเรื่องคือเรื่องการป้องกันทางด้านการเมืองระหว่างรัฐ กำลังจะอธิบาย สองพวกนี้จะได้มีปีกการเมืองพวกเขาจะได้ออกหน้าออกตาได้ ไม่ว่าจะเป็น IRA พวกซินเฟนก็ คล้ายๆ ปีกการเมืองของ IRA ก็เป็นฝ่ายสู้รบ พวกซินเฟนก็บินไป Washington แถลงข่าวที่นั้นที่นี่ BRN เขาเห็นเข้า เขาก็อยากได้ตรงนี้ด้วยไม่อย่างนั้นเขาก็ไม่โผล่ขึ้น แต่จะมีคำหนึ่งที่เขาเรียกว่า track ลับอันนี้ก็คือว่าใน official track ก็จะมีหลายๆกลุ่มมาร่วมด้วยเว้นแต่ BRN ยังไม่มา Pulo หนึ่ง สอง สาม BIPP ก็อยากจะมา Patani mala consultative congress ของ แวอาหะมะ ยูโซะ ก็อยากจะมา

แต่คำถามพวกที่อยากจะมาผมไม่แน่ใจว่าเขามี ไอ้พวกที่ติดอาวุธ มีอะไรกับพลังเจรจามากน้อยขนาดไหน แต่เรืองที่ sexy ของชุดนี้คือ secret track ก็จะมีทีมของฝ่ายไทย คุยกับแต่ละกลุ่มที่ผมพูดถึง one on one อันหนึ่งจะอยู่ใต้ดิน  อีกอันหนึ่งจะโผล่บนดินก็ได้ อันนี้จะมีความแตกต่างตรงที่ ที่คุยมากับสองฝ่าย ฝ่ายกบฏ(ในความหมายของรัฐไทย)เขาจะมองว่าโอกาสที่เขาจะโชว์ว่าศักยภาพของเขาคืออะไร

มีกลุ่มหนึ่ง(ผมเอ่ยชื่อไม่ได้)เขาบอกเขาพร้อมที่จะบอกว่าเขาจะทำอะไร นี้ very IRA นะซึ่งจะโผล่ที่London เขาก็จะโทรไปบอกBBC ก่อนนะเขาก็จะมี code word บอกก่อนซึ่งจะเป็นตัวบอกว่าตัวจริงหรือไม่จริง พอวางหูปุ๊บก็ บึ้มเข้ามา ก็รู้ว่าตัวจริงแล้ว และอื่นๆก็จะเป็นโอกาสว่าเขาจะโชว์ต่อไทยว่าเขามีศักยภาพอะไร ส่วนฝ่ายไทยก็จะได้ประเมินถูกว่าใครมีศักยภาพอะไรบ้างตรงนี้ก็จะเป็นโอกาสที่ได้แลกหมูแลกแมวกัน

ก็มีการพยายามปฏิบัติกันแล้วสองครั้งที่เดือนธันวาคม แต่พอข่าวมาถึงคุณอัสสรา แต่เขาก็ไม่ได้รับรู้นะ นี่คือลักษณ์ของรัฐไทยก็คือว่ามันไม่ค่อยมีคอนดิเนชั่นกัน กำลังจะตั้งทีมกันอยู่ไอ้นี่ก็ทำไป ไอ้นั้นก็ทำไปไม่ค่อยมีการประสานกันเท่าไร กลุ่มอัสราเขาก็ไม่รับผิดชอบนะเพราะเขาไม่ได้รู้ล่วงหน้าก่อน ฝ่ายภาค 4 ก็ส่งคนไปหาสองกลุ่มที่อินโดฯ ตรงนี้มันเป็นประเด็นที่บอกว่ามัน sexy หน่อยแตกต่างจาก initiative อื่นๆระหว่าง secret track กับ official track

คำถาม : สถานการณ์ตอนนี้ภายใต้รัฐบาลทหาร สถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ลดน้อยลง หรือรุนแรงขึ้นอย่างไรบ้าง?

ตอบ รัฐบาลชุดนี้ตัวเลขลดลงไปเยอะถ้าดูสถานการณ์ภาพกว้าง 40% ได้ถ้าเปรียบเทียบกับปีก่อนๆ แต่อย่าลืมว่ารัฐบาลไทยไม่ได้อยู่ในสงครามภาษาอังกฤษเขาเรียกว่า conventional warfare คือ สงครามรูปแบบที่จะวัดได้ เช่น พม่ามาไทยแล้วบอกว่าผมยึดสุพรรณบุรีได้แล้ว ผมยึดอยุธยาได้แล้วกำลังจะเขากรุงเทพ ซึ่งมันเห็นภาพชัดเจน เพราะฉะนั้นเรื่องเขียวเรื่องแดงมัน base on จำนวนเหตุการณ์ ถ้าตรงนี้ไม่มีเหตุการณ์จะหมายความว่าไม่มีเหตุการณ์อีกแล้วหรือ บางทีที่ไม่มีเหตุการณ์อาจเป็นเพราะเขาอยู่ตรงนั้นก็ได้เขาไม่อยากหาเหาใส่หัว เขาไม่อยากดึงทหารเข้ามา ฉะนั้นพื้นที่เขียวกับแดงมันใช้ไม่ได้ในตอนนี้ มันใช้ได้กับการรบในชุดก่อนที่เป็นคอมมิวนิสต์ ยุค 60 ยุค 70 ยุค 80 เพราะว่าตอนนั้น Pulo BRN เขาก็มีพื้นที่ของเขา แต่ในตอนนี้อยู่ตรงไหนก็ไม่รู้ ดังนั้นมันจึงไม่ใช่สงครามรูปแบบ เพราะฉะนั้นการที่รัฐบาลออกมาบอกว่าเรามีพื้นที่สีเขียวมากขึ้นมันใช้ไม่ได้ ใช้ได้กับยุคก่อนแต่ตอนนี้ไม่ได้

สองคือ ฝ่ายขบวนการที่ติดอาวุธ เขาโชว์แม้ตัวเลขลดลง ฝ่ายจูแวโชว์ว่า เวลาเขาทำเขาตีหนักได้และเขาขยายพื้นที่ได้ เช่น เหตุการณ์สะเดาในปี 2013 เป็นต้น วันเดียวกันรถที่ขโมยมาจากสายบุรีไปจอดที่ภูเก็ตหลังโรงพัก แหล่งข่าวของผมเขาก็บอกว่าประกอบสมบรูณ์มากรัศมี 500 แต่ไม่ได้กดสวิต  เหตุการณ์ดังกล่าวส่งสัญญาณว่าตอนนี้เรารบในพื้นที่ ซึ่งเรามีความชอบธรรมในพื้นที่ที่เรียกว่าปาตานี (สิทธิความเป็นเจ้าของ) แต่ถ้าจำเป็นต้องขยายพื้นที่เขาก็ทำได้ จากกรณีนี้แม้สื่อจะไม่เล่น แต่ในฝ่ายความมั่นคงขี้แตกกันหมด เพราะฉะนั้น claim ของรัฐบาลว่าเรามาถูกทางแล้ว แล้วใช้ตัวเลขตรงนี้ผมว่าไม่ค่อยตรงเท่าไร

คำถาม : แล้วสุดท้ายทางออกของปาตานี แนวทางในการแก้ไขปัญหาจริงๆแล้วคืออะไร?

ตอบ หากรัฐจะปราบ ปราบแค่ไหนก็ไม่หมด เพราะอย่างที่ผมบอกว่าปี 97 ที่ผมลง มันเป็นเรื่อง narrative เรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เรื่องวิญญาณของเขา ถ้าไม่ยอมรับความแตกต่างของความเป็นมลายูเรื่องนี้ก็จะไม่หายไป อย่างกรณีตากใบนี้ ผมถ้าว่าเคยมีเจ้าหน้าที่รัฐคนไหนเคยโดนทำโทษบ้าง เพราะฉะนั้นมันเป็นเรื่องความเท่าเทียม ความยุติธรรม เรื่องเท่าเทียมเพื่อฐานเสียงทุกพรรค บอกว่าถ้าได้เป็นรัฐบาลจะให้ autonomyโดยเฉพาะยิงลักษณ์ แต่พอเป็นรัฐบาลจริงทหารบอกว่าไม่ได้นะมึง ยิ่งลักษณ์ก็ทำเป็นว่าฉันพูดอย่างนั้นหรือ ทุกพรรคพูดแบบนี้ แต่ไม่ได้สักที่นั่ง ประชาธิปัตย์เอาไป 11 ส่วนบิ๊กบังเอาไปที่หนึ่ง แล้วผมว่าเรื่อง autonomy มันผิดประเด็นผมว่าเรื่องเท่าเทียม ยุติธรรม ผมว่าเป็นสิ่งจำเป็นผมว่าเรื่องสภาไทยจะเป็นความหวังให้กับสามจังหวัดมันหมดไปตั้งแต่ตากใบแล้ว

ดังนั้นในระยะสั้นปีกการเมืองต้องยอมรับต้องช่วยเขาเพื่อจะต้องช่วยตัวเอง (รัฐ) คือเปิดให้องค์กรระหว่างประเทศเข้ามามีบทบาทดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น ส่วนในระดับสังคมเรื่องความเท่าเทียมเป็นประเด็นสำคัญ ตัวอย่าง ตอนที่ผมเรียนที่ Texas ในช่วงปี 93 law school ดังมากแต่ทางมหาวิทยาลัยมีโปรแกรม Affirmative action คือ 25% ของLaw school เก็บไว้ให้คนผิวดำอีก 75% แข่งกันเอง มหาวิทยาลัยก็โดยเอาขึ้นศาลแต่บางคนบอกว่าฉันคะแนนดีกว่าคนผิวดำคนนั้นทำไมไม่ได้ มหาวิทยาลัยก็สู้ว่านี่เป็นทิศทางของเราที่จะยกฐานะคนกลุ่มน้อยขึ้นมา ผมบอกทวี สอดส่อง นั่นเป็นทางออกของคุณ affirmative action ทำให้เป็นยุทธศาสตร์ไปเลย บอกไปเลย 5 ปี10 ปี คุณจะมี professional ที่เป็นคนมลายู มี doctor กี่คนให้เขารู้สึกว่าเขาเป็น ownership

แล้วก็อันที่สามพื้นที่ทางวัฒนธรรม ขยาย narrative อย่างที่ผมพูดไปตอนต้น ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย ถ้าดูรัฐไทยก่อนได้ถนนปรีดี พนมยงค์ ก็ต้องสู้กันพอสมควร ถ้ามองกรณีสามจังหวัดเช่น ถนนหะยีสุหลง เป็นต้น นี้คือการยอมรับว่ารัฐทำอะไรผิด มันไม่ต้องคุกเขาขอโทษหรอก ถ้าดูตัวอย่างอเมริกา เกือบทุกเมืองจะมีถนนชื่อ Martin Luther King avenue ซึ่งเป็นผู้ที่เคยท้ายทายอำนาจรัฐมาก่อน เป็นต้น นี่เป็นวิธีที่จะบอกว่า narrative ของรัฐขยายรวมกับคุณแล้วนะ

แต่วิธีคิดเช่นนี้ยังคงห่างไกลจากรัฐไทย เพราะ ดอน ปาทาน ปิดท้ายว่า ยังมี logic อันหนึ่งจากคนของรัฐ เขาจะพาเด็กสามจังหวัดมาดูวัด ดูของโบราณ แล้วบอกว่านี่ก็ของคุณด้วยนะ แต่ไม่เคยพาไปดูพญาตานี ?