ใครครอบครองความยุติธรรม ท่ามกลางความแตกต่างทางชาติพันธุ์

ภาพโดย: Piyasak Ausap

คำว่า “ยุติธรรม” ตามราชบัณฑิตยสถาน หมายถึง ความเที่ยงธรรม ความชอบธรรม ความชอบด้วยเหตุผล ซึ่งนั่นคือเนื้อแท้ของคำว่ายุติธรรม ที่ล้วนอยู่ในกรอบของความคิดและความรู้สึกแห่งนามธรรม ทว่าในทางปฏิบัตินั้นคงมิอาจสวยเลิศหรูหราเหมือนความหมายนั้นไม่แต่อย่างใด

ประเด็นนี้ค่อนข้างมีความลำบากใจอย่างยิ่ง สำหรับสังคมที่มีความหลากทางเชื้อชาติ ความเชื่อ ศาสนา และวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระหว่างประชาชนกับรัฐบาลส่วนกลาง ที่โดยปกติส่วนใหญ่แล้วมันย่อมมีความลำเอียงในทางกฎหมายอยู่แล้ว โดยอาศัยใช้กลไกอำนาจรัฐเข้ามาจัดระเบียบจัดการระบบการปกครองอีกครั้งหนึ่ง ไม่ว่าราชรัฐนั้นจะปกครองโดยอิงหลักการใดก็ตาม ล้วนมีความกดทับบังคับกลไกการปกครองภายในตัว ซึ่งสิ่งสำคัญยิ่งนั้น ก็เพื่อรักษาไว้ซึ่งความเสถียรภาพในการดูแลความสงบสุขของบ้านเมือง ที่อาจปิดช่องโหวของการก่อความวุ่นวายอย่างรัดกุมได้อย่างดี

บรรดาประเทศที่ปกครองด้วยหลักการใดๆ ก็ตาม ก็ล้วนเกิดมาจากการวิวัฒนาการทางความคิดของผู้คนในสังคมนั้นๆ อาจด้วยเพราะความกดดันจากอดีต ถูกรังแกจากผู้มีอำนาจ ที่ใช้อำนาจโดยมิชอบ ที่ตรากฎหมายเพื่อพรรคพวกเพื่อผลประโยชน์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เอง ที่ได้ก่อกำเนิดนักต่อต้านโดยปริยาย ที่อาจกลายเป็นนักปฏิวัติ ซึ่งทั้งหมดนั้น กว่าจะได้มาซึ่งการเปลี่ยนแปลงการปกตรองอย่างขนานใหญ่ ก็ล้วนมาจากการต่อยอดของความคิด ที่มาจากหลายๆ ปัจจัยเข้าด้วยกัน

ตามหัวข้อกระทู้ข้างต้นนั้น ผู้เขียนพยายามจะตั้งคำถามให้กับสังคมว่า ความยุติธรรมในสังคมที่แตกต่างทางกรรมพันธุ์นั้น มีจริงหรือ? และคำถามนี้หากไปโยนสู่ห้วงการเมืองของรัฐไทยก็คงอาจกระทบในด้านการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชน ที่มีความแตกต่างทางด้านต่างๆ กับส่วนกลาง ซึ่งต่างกันอย่างสิ้นเชิงกับการพยายามนำกลไกแห่งรัฐในการกีดกันคู่ต่อสู้ที่มีอุดมการณ์และความแตกต่างในด้านการเมืองก็มิเว้น

ถึงแม้ว่าคำตอบนั้น อาจไม่สามารถเปล่งออกมาเป็นเสียงอันชัดแจ้งได้ แต่เราเชื่อว่าทุกคนย่อมมีคำตอบเป็นของตัวเองอยู่แล้ว ยิ่งเมื่อเรามองย้อนกลับมายังปัญหาปาตานี ที่ถึงแม้ว่าปฐมภูมิของปัญหานั้นจะมาจากรากเหง้าทางประวัติศาสตร์ ที่มีความข่มขืนในอดีต แต่ใช่ว่าการละเมิดชีวิตและทรัพย์สินของผู้คนในพื้นที่ ก็ยังคงมีให้เห็นอยู่เนืองๆ เพราะอะไรหรือ?

นั่นคือเพียงบางมุมมองของปรากฏการณ์ที่ยังคงดำเนินและมีอยู่ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้หรือปาตานี ที่อาจคงอยู่ต่อไปในอนาคต มิใช่ว่าผู้เขียนจะป้อนสิ่งร้ายๆ ให้กับรัฐ ด้วยการการันตีถึงความมีอยู่ของเรื่องราวเหล่านั้น แต่ด้วยปรากฏการณ์ที่ผ่านพ้นมานั้น เสมือนเป็นดั่งภาพสามมิติ ที่ต่างฝ่ายต่างใช้และยึดหลักตรรกะของแต่ละฝ่าย เพื่อสนับสนุนความถูกต้องของตน ด้วยการอ้างถึงความเป็นเหตุและผล ซึ่งเมื่อเราใคร่ครวญถึงการที่ต่างฝ่ายต่างยึดตรรกะของตนในการดำเนินการและต่อสู้เพื่อความชอบธรรมของตนในการดำเนินการที่อาจกระทบต่อความรู้สึกของประชาชน ทั้งในระดับจุลภาคและมหาภาค สุดท้ายมักจะลงเอยด้วยความผิดหวังของประชาชนมาโดยตลอด

ยกตัวอย่างเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ซึ่งก็คงมิได้นานไกลเสียเท่าใดไม่ ซึ่งอยู่ในวงรอบของเหตุการณ์ความรุนแรงระลอกใหม่นี้ ซึ่งจะยกตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพอย่างคร่าวๆ หากใครที่ต้องการลงลึกในรายละเอียดนั้น ก็ไปค้นหาตรวจสอบเอาเอง ปรากฏการณ์ที่ลงเอยด้วยความผิดหวังของประชาชน เช่น เหตุการณ์การกราดยิงเด็กที่กำลังเล่นซ่อนหาริมทางหลวง แถวบ้าน บานา อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี เมื่อหลายปีก่อน สุดท้ายประชาชนมิอาจรับรู้ความคืบหน้าของคดี ถึงแม้ทางฝ่ายเจ้าหน้าที่ทั้งฝ่ายความมั่นคงและฝ่ายปกครอง จะออกมายอมรับผิด ที่กระทำเกินกว่าเหตุ ซึ่งในท่ามความเนื้อหาของการยอมรับผิดนั้น ก็ยังมีช่องว่างให้กับเจ้าหน้าที่ในการปลดล๊อกความผิดทางกฏหมายเสมอ นั่นก็คือสาเหตุเกิดจากความมึนเมาของเจ้าหน้าที่ ที่กระทำการโดยไม่ได้สติ (เพื่อสนับสนุนเหตุผลในการถูกดำเนินคดี) และอย่างเหตุการณ์ที่ปุโละปุโย และล่าสุดที่ทุ่งยางแดง ที่ในสภาวการณ์ของการประกาศใช้ทุ่งอย่างแดงโมเดล

หากจะว่าไปแล้วในด้านความรู้สึก ทุกคนล้วนมีความเจ็บแค้น ซึ่งสิ่งนี้มันเป็นความรู้สึก ที่มิมีใครสามารถหักห้ามได้ ทว่าหลังม่านของความผิดพลาดนั้น ที่คนสามัญทั่วไปมิอาจให้อภัยได้นั้นก็คือ การพยายามใส่ร้าย ด้วยการหยัดอาวุธในที่เกิดเหตุ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการณ์ที่ผิดพลาดของตน คำถามในที่นี้ก็คือ เหตุใดเจ้าหน้าที่ต้องกระทำการเช่นนั้นด้วยหรือ?

สุดท้ายความยุติธรรม มิอาจเป็นจริงได้ดั่งความหมายของมัน เมื่อผู้มีอำนาจล้วนอาศัยกลไกอำนาจที่มีทุกองคาพยพ ล้วนพ่ายเรือแห่งคดีความนั้น มุ่งสู่ในทิศทางเดียวกัน ด้วยการอาศัยสรรพเสียงที่มีความศักดิ์สิทธิ์ ด้วยการพยายามอธิบายเหตุผลต่างๆ นานาๆ ที่กฎหมายมิอาจเอาผิดได้

เหตุใดเมื่อรัฐทำผิด(อาจจะพลาดจริงหรือไม่อย่างไร) แต่การดำเนินการในด้านคลี่คลายคดี มิได้อาศัยกลไกระบบความยุติธรรมแต่อย่างใด นอกจากขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของศาล ซึ่งถือเป็นผู้มีอำนาจในการชี้ผิดเป็นถูกหรือถูกเป็นผิด

ซึ่งตราบใดที่กลไกอำนาจการตรวจสอบมิได้โปร่งใสปราศจากแรงถ่วงจากกรมกองต่างๆ เชื่อว่าความยุติธรรมอาจเป็นจริงดั่งความหมายที่แท้จริงก็เป็นได้ โดยเฉพาะในสังคมที่จ่มอยู่กับเรื่องราวเหล่านั้นมาโดยตลอด

เสมือนความยุติธรรมเป็นเรื่องไกลห่าง ความอยุติธรรมกลับเป็นสิ่งควบคู่สังคม(ปาตานี)แห่งนี้ตลอดไป...

 

หมายเหตุ: งานเขียนชิ้นนี้ เป็นมุมมอง  ความเห็น ความรู้ ส่วนบุคคล ไม่ได้เกี่ยวข้องกับองค์กรแต่อย่างใด ปาตานี ฟอรั่ม เป็นเพียง "พื้นที่สาธารณะ พื้นที่แห่งการตื่นรู้" เพื่อหวังสร้างสรรค์สังคมแห่งปัญญา