ควันหลงเดินสันติ กับ เรื่องที่ถกเถียงในปาตานี
ความรุนแรงในพื้นที่ปาตานี/ชายแดนภาคใต้ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 47 จนถึงปัจจุบัน มีผู้เสียชีวิตกว่า 6,000 คน และมีผู้ได้รับบาทเจ็บ กว่า 10,000 คน ทำให้กลุ่มบุคคล องค์กรภาครัฐ ภาคประชาชนและภาคประชาสังคม มีความพยายามในการเสาะหากระบวนการ และวิธีการในการสร้างความสงบสุข และสันติภาพในพื้นที่มาโดยตลอด เพราะมีความตระหนักรู้ถึงความสูญเสียและบรรยายกาสของความสัมพันธ์ที่เป็นอยู่ และถือเป็นหน้าที่และบทบาทที่กลุ่มบุคคล องค์กรภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคประชาสังคม ต้องมีการร่วมมือกันสานความสัมพันธ์ของสังคมท่ามกลางความแตกต่างหลากหลาย และมีความพยายามที่จะสื่อให้สังคมรับรู้ว่าความขัดแย้งที่เป็นความรุนแรงตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนั้น ยังมีหนทางที่จะคลี่คลายให้ความสงบ และสันติเกิดขึ้นได้ ด้วยความร่วมมือของภาคส่วนต่างๆ
ทั้งนี้ตลอดระยะหลายปีมานี้เราก็จะพบกิจกรรมความเคลื่อนไหวรณรงค์สาธารณะของกลุ่มต่างๆ หรือแม้นการออกแถลงการณ์แสดงจุดยืนต่อเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อสาธารณะ อย่างเมื่อไม่นานมานี้โดยเครือข่ายชาวพุทธเพื่อสันติภาพ ศูนย์เยาวชนฟ้าใสยะลา กลุ่มเยาวชนลูกเหรียง สมาคมผู้หญิงเพื่อสันติภาพ เครือข่ายชุมชนศรัทธา-กัมปงตักวา สมาคมลุ่มน้ำสายบุรีเครือข่ายประชาสังคมนราธิวาส และศูนย์สันติวิธีชายแดนใต้-สสมศ. มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งจัดกิจกรรม “เดินสานใจสู่สันติชายแดนใต้” ซึ่งเป็นอีกความพยายามหนึ่งที่คาดหวังให้สังคมเพิ่มความตระหนักรู้และเสริมสร้างความร่วมมือ เพื่อรณรงค์ให้คนในพื้นที่และนอกพื้นที่ได้มีส่วนร่วมในการแสดงออกถึงความปรารถนาที่จะให้ความรุนแรงยุติหรือบรรเทาลง หรืออาจจะมีส่วนกระตุ้นเพื่อสร้างความร่วมมือของคนในพื้นที่ ในอันที่จะร่วมสร้างสายสัมพันธ์ เพื่อสันติภาพท่ามกลางความแตกต่างหลากหลาย และประการสุดท้ายคือเพื่อให้ผู้เข้าร่วมการเดินได้ตระหนักถึงความรู้สึก และความต้องการในฐานะปัจเจกบุคคล ต่อสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ และเข้าใจความหมายของสันติภาพจากภายในของแต่ละบุคคล
ถือเป็นการเดินรณรงค์ในพื้นที่และแสดงออกถึงความเป็นห่วงเป็นใยซึ่งกันและกันระหว่างประชาชนด้วยกันเอง โดยกิจกรรมครั้งนั้นดำเนิน ระหว่างวันที่ 15-18 กุมภาฯ 58 ในเส้นทางจากอำเภอเมืองจังวัดยะลา จังหวัดปัตตานี และสิ้นสุดที่อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส โดยจุดเริ่มการเดินรณรงค์ตั้งแต่ วันที่แรก หอนาฬิกาเทศบาลยะลา ปลายทางที่พักโรงเรียนบราโอ บ.บราโอ อ.ยะรัง จ.ปัตตานี ต่อมาวันที่สองจุดเริ่มที่โรงเรียนบ้านบราโอ ปลายทางที่พักโรงเรียนสวรรณไพบูลย์ต.ยามู อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี พอมาถึง วันทีสาม จุดเริ่มต้น โรงเรียนสวรรณไพบูลย์ ต.ยามู อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี ปลายทางที่พักโรงเรียนกะลาพอ ต.เตราะบอน อ.สายบุรี จ.ปัตตานี ก่อนจะเข้าวันที่สี่จุดเริ่มที่โรงเรียนกะลาพอ ต.เตราะบอน อ.สายบุรี จ.ปัตตานี ปลายทางที่พักโรเรียนบาเจาะ ม.2 ถ.พิพิธปาโจ อ.บาเจาะ จ.นราธิว และวันที่ห้าจุดเริ่มที่โรงเรียนบาเจาะ ม.2 ถ.พิพิธปาโจ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส ปลายทาง ที่พัก กศน. นราธิวาส อ.เมือง จ.นราธิวาส ตามด้วยวันที่หก จุดเริ่มที่ กศน. นราธิวาส อ.เมือง จ.นราธิวาส ปลายทางที่พัก โรงเรียนบ้านศาลาใหม่ ต.ศาลาใหม่ อ.ตากใบ จ.นราธิวาส สิ้นสุดวันที่เจ็ด ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของกำหนดการมีจุดเริ่มต้นโรงเรียนบ้านศาลาใหม่ ต.ศาลาใหม่ อ.ตากใบ จ.นราธิวาส ปลายทาง โรงเรียนตากใบ
ทั้งนี้ระหว่างการเดินรณรงค์นั้น ปาตานี ฟอรั่ม หนึ่งในองค์กรที่ร่วมเกาะติดกิจกรรมของภาคประชาชนในครั้งนี้ ปาตานี ฟอรั่ม อันจะเกริ่นว่า เรามองเห็น สายลม แสงแดด ถนน ความเหนื่อย ความหิว ความเมื่อย ความล้า นี้เป็นอากัปกิริยาของผู้คนจากหลากหลายที่ได้สัมผัสจากการเดินขบวนสู่สันติภาพ ที่ต้องการสร้างแสดงการท้าทายต่อความรู้ ความเข้าใจต่อพื้นที่ปาตานีที่มีเพียงแค่มิติเดียว นั่นคือเป็นพื้นของความรุนแรง ด้วยการขับเคลื่อนถ่ายทอด วิธีการแบบสามัญที่สุดที่มนุษย์มี คือ “การเดิน” เพื่อสร้างความเข้าใจใหม่แก่สังคม ว่าพื้นที่ปาตานีก็มีเป็นพื้นที่ปลอดภัย ที่ไม่ใช่แค่ถูกปกคลุมด้วยหม่าหมอกของความรุนแรงทั้งหมด
จากหลากหลายคน กลุ่ม สังกัด ที่ร่วมกันเป็นกระบอกเสียงให้คนในพื้นที่ ในการต่อสู้ทางความคิด เพื่อให้เกิดพื้นที่ปลอดภัยสำหรับคนทั่วไปที่ไม่ใช่คู่ต่อสู้หลัก และเป็นการส่งสัญญาณแก่คู่ต่อสู้หลักให้ร่วมกันคิดไตร่ตรอง ถึงวิธีการ กระบวนการในการต่อสู้ระหว่างกัน ให้มีขอบเขตที่จำกัดซึ่งไม่ต้องเข้ามาล่วงละเมิดสิทธิ และความเป็นอยู่ตามวิถีชีวิตของประชาชน ความรุนแรงที่เกิดขึ้นมาอย่างยาวนาน อาจจะก่อให้เกิดความชินชา และเป็นสภาวะปกติของการดำรงชีวิตของประชาชนในพื้นที่ เป็นความอันตรายที่จะไม่สร้างความคิดที่สร้างสรรค์ให้เกิดการเปลี่ยน ในทางที่ดีขึ้นในพื้นที่
โดยผู้ร่วมเดินแต่ละคนอาจมีเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน เช่น เพื่อเป็นเสียงสะท้อนต่อฝ่ายขบวนการฯและกองทัพ เพื่อเตือนสติคนในพื้นที่และสังคม เพื่อจุดประกายให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น เพื่อเชื่อมคนในกับคนนอกให้มีความเข้าใหม่ต่อพื้นที่ เพื่อก้าวข้ามความขัดแย้งและความรุนแรง ฯลฯ แต่สิ่งที่เป็นเป้าหมายร่วม คือเป็นการส่งเสียง/สร้างความหมายให้แก่คนในพื้นที่ยังว่า “มีตัวตน” และทุกฝ่ายปรารถนาใน “สันติภาพที่ยั่งยืน” ให้เกิดขึ้นในพื้นที่
ต่อไปนี้จะเป็นบทสัมภาษณ์พิเศษ รอมละ แซเยะ ภรรยาคู่ชีวิตของผู้ต้องขังคดีความมั่นคงคนหนึ่ง อีกทั้งเป็นผู้หญิงนักกิจกรรมในพื้นที่ปาตานี คนสำคัญ ซึ่งมีส่วนร่วมกิจกรรม เดินสันติชายแดนใต้ ในครั้งนี้
เป้าหมายของการเดินคืออะไร?
ก็เป็นไปตามชื่อคือ เดินเพื่อสันติภาพและสร้างฝันกำลังใจในกับคนทั้งในและนอกพื้นที่ อย่างไรก็ดีการเดินครั้งนี้เป็นเพียงกิจกรรมส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนสู่สันติภาพเท่านั้น ฉะนั้นการเดินจึงไม่ใช่คำตอบเดียวที่นำไปสู่ความสำเร็จ หากแต่ต้องอาศัยอีกหลายกิจกรรม หลายส่วน หลายด้าน เพื่อจะนำไปสู่เป้าหมายที่ทุกคนหวังไว้
ความรู้สึกจากการเดิน และหวังผลที่จะเกิดขึ้นอย่างไร มีวิธีการอื่นอีกหรือไม่
เดินเพื่อให้ระลึกถึง เตือนสติสังคม กับเหตุการณ์ตากใบ หรืออื่นๆที่เคยเกิดขึ้น มิให้มันหายไปจากการรับรู้ของคนในสังคม และโดยเฉพาะคนในพื้นที่ การเดินทำให้รู้จักวิธีการเดิน เป็นการเตือนสติบางอย่าง ได้ความรู้ภูมิปัญญาชาวบ้าน การเดิน ถ้าไม่ทำอะไรสักอย่าง มันก็จะอยู่ในลักษณะนี้ ไม่อย่างนั้นจะถูกความกลัว ความรุนแรงกดไว้ การออกมาเสี่ยงของเราเพื่อชาวบ้านอาจจะคุ้มค่ากว่าการที่เราไม่ทำอะไรเลย
เราเห็นการมีส่วนร่วมแสดงออกได้หลายอย่างในกิจกรรมเดียวกัน เช่น ชาวบ้านยกนิ้วให้ บริจาคของให้ อันนี้เป็นกระบวนการเข้ามีส่วนร่วม การเดินเข้าถึงชาวบ้าน สามารถพูดคุยได้ การเดินเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ ทำให้คนอื่นๆ หรือสังคมรู้สึกมีความเป็นห่วงเป็นใย การเดินเป็นสะพานเชื่อมความสัมพันธ์หลายๆของคนในกับคนนอก เพราะที่ผ่านมาภาพของคนในพื้นที่ถูกมองว่ามีแต่ความรุนแรง แต่การดำเนินวิธีการเดินเชื่อว่าวิธีนี้จะทำให้คนในพื้นที่ตื่นตัวขึ้นมา แล้วพลิกสถานการณ์ หากไม่เสียสละ ชัยชนะไม่เกิด
เสียงสะท้อนจากที่สัมผัส โดยไม่ถอดบทบาท การเดินสันติภาพอาจจะไม่ขาวสะอาด
การขับเคลื่อนพื้นที่ปลอดภัย เพื่อคนพุทธและมุสลิม ก้าวข้ามความขัดแย้ง ที่เกิดจากความรู้สึกแปลกแยก ต้องใจกว้างให้ได้ ก้าวข้ามการแบ่งแยก ถ้าใจกว้างเราก็จะก้าวข้ามความขัดแย้งได้
มีวิธีอะไรที่จะดึงคนในพื้นให้มีส่วนร่วมจากกิจกรรม
คนในพื้นที่มีความกลัวจากความรุนแรง คนธรรมดาไม่มีวิธีที่จะส่งเสียง/พูด การเดินเป็นวิธีอย่างหนึ่งที่ส่งเสียง ของผู้ที่ถูกกระทำ การเดินเป็นวิธีหนึ่งในการส่งเสียง เดินที่วิธีสามัญแต่คนที่เดินเป็นคนมาจากที่ไกล การเดินอาจกลายเป็นเป้านิ่ง แต่ความกล้าที่จะเดิน เป็นผลให้สามารถพิทักษ์สิทธิ มีความหมายส่วนหนึ่งของสังคม การกระทำที่สามัญ แต่ทำด้วยหัวใจที่มีความกล้าหาญ ทำให้เรามีตัวตนถึงมาได้ อาจต้องมีแนวหน้าในการแสดงออก คนเหล่านี้ไม่ได้ทำร้ายใคร แต่ลุกขึ้นมาบอกว่าอย่าทำร้ายเรา เรามีข้อคิด 4 ข้อของจอห์น พอลแรคเดอร์แรค 1.การถักทอสายสัมพันธ์ส่วนกัน คนมลายูมุสลิมถูกนิยามว่าเป็นผู้ชอบใช้ความรุนแรง ได้ยินเสียงจากคนไทยพุทธ เชื่อว่าคนมุลายูมุสลิมแค่ 10% เท่านั้น ที่เชื่อความรุนแรงจะเป็นพลังในการเปลี่ยนแปลงได้ แล้วคน 90% นั้นไปไหน เราคนที่เดินเป็นส่วนหนึ่งในนั้น 2.การสร้างความเข้าใจที่ย้อนแย้ง เราต้องการความเห็นที่หลากหลาย 3.ความคิดสร้างสรรค์ การทำให้ความรุนแรงเป็นเรื่องชินชา เป็นเรื่องปกติ จะเป็นตัวกัดกร่อนความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ไขปัญหา สิ่งที่เราเดิน 4. การยอมรับความเสี่ยง อย่างน้อยการเดินเป็นการลุกขึ้นมายอมรับความเสี่ยง ที่เป็นความคิดสร้างสรรค์ ให้คนในพื้นที่เกิดการกระตุ้นความคิดบาง เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง
การเดินสันติชายแดนใต้ มีผู้เข้าร่วมจากหลายภาคส่วน รวมทั้งเจ้าหน้าที่ทหารด้วย แล้วจะอธิบายว่าเป็นกิจกรรมของภาคของประชาชนได้อย่างไร
เนื่องจากการเดินสันติภาพครั้งนี้มีระยะทางที่ยาวไกล ภายใต้แสงแดดอันร้อนแรง และปัญหาความไม่ปลอดภัย ฉะนั้น ผู้เข้าร่วมจะต้องสละเวลาจากงาน ครอบครัว และมีความตั้งใจอย่างแน่วแน่น คณะเดินทางต้องการเปิดพื้นที่ให้ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมไม่ว่าจะมีบทบาท สถานภาพอย่างไร แต่เพื่อจะทำให้การเดินครั้งนี้สะท้อนถึงพลังประชาชนที่ปราศจากการจัดตั้งจากหน่วยงานใด คณะเดินสันติภาพจึงกำหนดกติกาบางอย่างขึ้นมา กล่าวคือ ไม่ว่าคุณจะมีบทบาท หน้าที่อย่างไร หากคุณต้องการร่วมเดิน คุณจะต้องถอดเครื่องแบบทั้งหมดเป็นสามัญชน
อะไรคือสิ่งที่ประทับใจในการเดินบ้าง
การเดินในครั้งนี้ทำให้เราได้รับมิตรภาพที่สวยงามมากมาย เนื่องจากมีการเปิดพื้นที่ให้ประชาชนทั่วไปได้มีส่วนร่วม ทำให้การเดินในครั้งนี้เต็มไปด้วยคนแปลกหน้ามากมาย ระยะทางที่ยาวไกลจึงทำให้ผู้ร่วมเดินทางได้มีเวลาพูดคุยทำความรู้จักกัน และกลายเป็นเพื่อนกัน ยิ่งไปกว่านั้นขณะเดินทางคณะเดินทางยังได้ส่ง/รับรอยยิ้มและคำอวยพรพบเจอตลอดการเดินทาง