บทสนทนาว่าด้วยสื่อเรื่องปาตานี จากล้านนา

อีกไม่นานก็จะเข้าสู่หน้าหนาวที่ภาคเหนือ ซึ่งจะตรงกับหน้าฝนในภาคใต้ ทำให้อดใจไม่ได้ที่จะใคร่คิดถึงมิตรสหายนักกิจกรรมทำงานเพื่อสังคม กับบทสนทนาที่โอบล้อมด้วยความหวังอันอยากเห็นสังคมที่ดีขึ้น ซึ่งครั้งหนึ่งก่อนเข้าสู่หน้าหนาว ปาตานี ฟอรั่ม พร้อมคนทำสื่อปาตานี ขึ้นสู่เชียงใหม่โดยมีหมายนัดพบปะเครือข่าย มิตรสหาย และผองเพื่อน ที่ร้านหนังสือชื่อดังในแวดวงนักกิจกรรมคือ ร้าน Book Re:public ใกล้ชานเมืองเชียงใหม่ ที่ไม่ไกลจากย่านสังคมเมือง

นัดหมายครั้งนี้มีโจทย์หลักของการสนทนา คือ  “ห้วงแห่งการตื่นตัวของสื่อทางเลือกปาตานี/ชายแดนใต้ อะไรคือความท้าทายที่สำคัญในการสร้างการเรียนรู้ ขยายความเข้าใจ ระหว่างคนในและคนนอก” ภายใต้ชื่องานเสวนา หยั่งเสียงพลเมือง สื่อสาร (น) สันติภาพ ปาตานี/ชายแดนใต้ ในบรรยากาศที่เป็นกันเองของวงเสวนาเล็กๆ ผู้คนเดินเข้า เดินออก ทั้งที่เป็นเครือข่ายหน้าใหม่ และมิตรสหายหน้าเก่า โดยไม่ต้องสนใจว่าผู้สนทนาจะเป็นใคร มาจากไหน แต่สิ่งสำคัญ คือ เนื้อหาสาระจะนำมาสรุปเล่าสู่กันฟัง หวังเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยผู้อ่านเห็นแง่มุมใหม่ยิ่งขึ้น

เริ่มบทสนทนา ปูพื้นทำความเข้าใจสถานการณ์

Mediator ปาตานี: ยุคทองของการสื่อสารสันติภาพปาตานี คือสมัยการเมืองเปลี่ยนเมื่อ 22 พฤษภาคม 57  การพัฒนาการสื่อสารมีการตื้นตัวและมีอิสรภาพในการคุยประกอบกับนโยบายของรัฐที่มีการพูดคุยสันติภาพ 2 กุมภาพันธ์ 56 เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้สื่อต้องสื่อสารต่อสาธารณะมากยิ่งขึ้น

Mediator ปาตานี : สื่อทางเลือกในพื้นที่อยู่ในสถานการณ์ที่อ่อนไหว เพราะกังวลว่าจะถูกมองจากฝ่ายความมั่นคงว่าเป็นกระบอกเสียงของกลุ่มที่เห็นต่างจากรัฐ ในขณะที่กลุ่มที่เห็นต่างจากรัฐก็มองอีกอย่างหนึ่ง ดังนั้นกลุ่มสื่อทางเลือกในพื้นที่ต้องพิสูจน์ว่าจำเป็นต้องเป็นพื้นที่กลางจริงๆ และสำหรับภาครัฐการส่งเสริมนโยบายในการพูดคุยสันติสุข หรือสันติภาพปาตานี/ชายแดนใต้นั้น สำหรับคนในพื้นที่ การมีพื้นที่สาธารณะมีความจำเป็นอย่างมาก

Mediator ปาตานี : การอยู่รอดขององค์กรในสถานการณ์แบบนี้ ถ้ามองในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้กำลังมีพัฒนาการที่ขยายเติบโตที่น่าสนใจ กลุ่มคนในพื้นที่ที่ออกมาขยับและสร้างสรรค์ ไม่ใช่แค่มีเดียสลาตันแต่ยังมีกลุ่มนักศึกษาแต่กลุ่มมีเดียสลาตันมาจุดพลุ เรื่องการพูดคุยสันติภาพที่มาเลเซีย มาสัมภาษณ์ได้กลายเป็นประเด็น ที่สามารถเอาเรื่องราวในการพูดคุยระหว่างรัฐ กับ BRN มาสู่เวทีของการคุยต่อในเวทีสาธารณะ

สื่อรอง-สื่อหลัก กับ ความเห็นที่จะเป็นเหมือนคำถาม และข้อสงสัย

Activists ภาคเหนือ : ดูเหมือนว่าสื่อในพื้นที่ค่อนข้างจะให้เกียรติทาง ทวี สอดส่อง ซึ่งเป็นบุคคลที่มีส่วนช่วยให้พื้นที่สาธารณะในการพูดเรื่องสันติภาพได้อย่างตรงไปตรงมา ซึ่งไม่แน่ใจว่าเป็นนโยบายที่สอดคล้องกับอำนาจรัฐส่วนกลางมากแค่ไหน แต่คนในพื้นที่มีพื้นที่กลางตรงนี้เป็นปรากฎการที่น่าสนใจมาก

Activists ภาคเหนือ : ถึงกระนั้น หากจะสะท้อนการทำงานของสื่อกระแสหลักประชาชนส่วนใหญ่จะรู้สึกเหนื่อยหน่ายเพราะสื่อกระแสหลักมีความเข้มแข็งและสามารถสื่อสารคนในพื้นที่ได้จริงๆ รู้สึกว่าจะทำข้อเสนอให้สื่อกระแสหลักทำไม เพราะสื่อกระแสหลักก็รู้จักเซ็นเซอร์ตัวเองและรู้จักทิศทางในการนำเสนอในรูปแบบการสื่อสารที่ถูกควบคุม แต่สิ่งที่ต้องมาให้ความสนใจมากกว่าคือสื่อทางเลือกในพื้นที่ แต่เมื่อจำเป็นต้องตระหนักถึงความสำคัญของทั้ง 2 สื่อต่อการสร้างสรรค์สังคมควรจะพูดถึงว่า สื่อกระแสหลักควรจะมีพื้นที่ของสื่อกระแสรองมากกว่านี้

สถานการณ์การเมืองเปลี่ยน วิถีสื่อปาตานี ก็เปลี่ยน

Mediator ปาตานี : หลังเกิดรัฐประหารเกิดการชะงักงันของสื่อในพื้นที่อย่างรุนแรง คือ มีการปิดตัวจากมาตรการของภาครัฐ ออกจดหมายให้ยุติการออกอากาศหลังจากนั้นเกิดภาวะชะงัก เพราะเกิดความไม่แน่ใจว่าสิ่งที่เคยพูด ถ้าพูดในช่วงเวลานั้น แล้วจะเกิดอะไรขึ้น หลังจากนั้นก็มีการเรียกชื่อคนที่เกี่ยวข้องเข้าไปคุย ทำให้สื่อทางเลือกในพื้นที่ต้องปรับตัวเองใหม่ เพื่อเราจะได้รู้ว่าเราจะมีการขยับอย่างไรต่อไป ขณะที่อีกแง่หนึ่งก็มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่า สื่อในพื้นที่มีการเซ็นเซอร์ตัวเองมากไปหรือไม่ ซึ่งเป็นข้อสังเกตที่หลายฝ่ายวิพากษ์ วิจารณ์กันข้างในกระกระบวนการของสื่อเอง แต่ก็ไม่มีข้อสรุปได้ว่าเป็นอย่างไร

Mediator ปาตานี : อีกมุมหนึ่งไม่ถึงกับการปิดตัวเองแต่ก็ได้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆในการสื่อสารมากขึ้น ทำให้สื่อวิทยุเมื่อออกอากาศไม่ได้ ก็ต้องทบทวนช่องทางการสื่อสารใหม่ เช่น งานหน้าเว็บ ซึ่งแต่สื่อวิทยุในพื้นที่ ไม่ได้หนักแน่นตรงนี้ แต่พอวิทยุปิดตัว ก็มีการขยับการสื่อสารงานต่างๆผ่านงานเขียนหน้าเว็บ ซึ่งก็เป็นพัฒนาการอย่างหนึ่ง บางองค์กรสื่อที่เน้นเรื่องของการทำวีดีโอ ในเมื่อทุกอย่างปิด ชิ้นข่าวของกลุ่มสื่อวีดีโออาจจะมีค่าเพิ่มขึ้น ซึ่งขณะนี้ก็เริ่มเห็นสื่อส่วนกลางมีความพยายามเข้าไปทำงานร่วมเพื่อเข้าถึงข้อมูลจากคนในพื้นที่

Mediator ปาตานี : สถานการณ์ที่สื่อทางเลือกในพื้นที่ไม่สามารถทำงานได้สะดวกแต่อีกมุมหนึ่งก็ทำให้เกิดการพัฒนาตนเอง บางทีก็ต้องยอมรับว่ายังมีบางกลุ่มองค์กรที่ไม่กล้าขยับขณะที่เรื่องราวในพื้นที่ยังมีอีกมากมายที่น่าสนใจ แต่อยู่กึ่งระหว่างกระบวนการ ถ้าไม่ต่อยอดก็ไม่ได้ เช่น ปรากฎการณ์ เวทีสาธารณะที่จัดโดยกลุ่มบีจารอปาตานีที่สามารถทำเวทีได้ ก็เป็นโจทย์ที่สื่อในพื้นที่จะเดินต่อ ต้องสื่อสารต่อสาธารณะ จะหยุดไม่ได้

Activists ภาคเหนือ : ควรจะให้สื่อท้องถิ่นเป็นทางเลือกขึ้นมา คนในสังคมควรรู้สึกว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องการหนุนให้พื้นที่ตรงนี้มีศักยภาพขึ้นมาสามารถสื่อสารกันในระดับท้องถิ่นได้จริงๆ เพราะสถานการณ์ที่สิทธิเสรีภาพถูกปิดกั้นโดยรัฐบาล ประชาชนควรที่เสนอทางเลือกใหม่ในการถ่วงดุลอำนาจขึ้นมา ทั้งนี้พื้นที่ปาตานี/ชายแดนใต้ ควรจะหาทางเลือกในการขยายเรื่องการสื่อสารและขยายขอบเขตประเด็นต่างๆ แล้วค่อยขยับทำความเข้าใจต่อสาธารณะและประชาชนในพื้นที่มากยิ่งขึ้น

Activists ภาคเหนือ :  สื่อทางเลือกในพื้นที่ควรสร้างความเข้มแข็งข้างในและขยับทำงานในพื้นที่อื่นๆแต่เน้นความเข้มแข็งข้างในพื้นที่ก่อน ลักษณะการทำงานเช่นนี้จะทำให้มีอำนาจในการต่อรองกับอำนาจที่มาจากข้างนอกเอง และอาจจะลดการพึ่งพาที่มองว่าไม่จำเป็น เพื่อที่จะทำงานข้างในพื้นที่มากขึ้น

 

ฤาไม่มีสื่อหลัก สื่อรอง แต่ทุกสื่อ คือ เครือข่าย ?

Mediator ปาตานี : สื่อสมัยใหม่ และสื่อกระแสหลักในอีกมิติหนึ่ง คือ เครือข่าย เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นถึง แม้พื้นที่ข้างในจะเข้มแข็งแต่พื้นที่ข้างนอกไม่เอื้อ ไม่เข้าใจสถานการณ์ในพื้นที่ ซึ่งเป็นโจทย์ที่ท้าทายที่เราต้องให้คนในสื่อสารกับคนใน และการสื่อสารคนในกับคนนอก ซึ่งก็เป็นเรื่องสำคัญ ที่ผ่านมาสิ่งที่ในพื้นที่ขาดหายไป คือ การสื่อสารจากคนในไปสู่คนนอกตามแต่บริบทในสังคมไทย เพื่อที่จะได้ร้อยลงในลักษณะประเด็นเดียวกัน ทำให้เกิดความเข้มแข็งที่อาจจะเป็นแนวราบ

Activists ภาคเหนือ :  ทิศทางที่กำลังไปทางนี้ไม่น่าจะประสบผลเท่าไร ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจกับคนเหนือให้เข้าใจคนใต้เท่าไร เพราะไม่มีใครสามารถตอบแทนได้ว่าคนเหนือว่ามีต้องการเข้าใจอะไรเกี่ยวกับเหตุการณ์ภาคใต้ สื่อกระแสรองไม่สามารถสู้กับสื่อกระแสหลักได้ แต่คิดว่าการพัฒนาข้างในของสื่อทางเลือกให้เข้มแข็งพอ ซึ่งหากคนเขามีความคิดมีความสนใจ เขาก็จะหาคำตอบต่อ  ซึ่งแน่นอนว่าถ้าสื่อในพื้นที่ที่มีความเข้มแข็งพอที่จะเข้าไปถึง มีช่องทาง ก็จะมีมุมให้เกิดการติดต่อ สื่อสารกันเอง กรณีศึกษา เมื่อเปรียบเทียบจากการต่อสู้ NGO ที่มีการพูดถึงเรื่องสื่อมากมาย แต่สู้ไม่ได้ จึงมีความคิดว่าต้องทำตังเองให้เข้มเข็งพอเป็นพื้นที่จะทำให้คนเข้ามานั่งได้มากกว่า

Mediator ปาตานี : มองไปข้างหน้า ถ้าสื่อทางเลือกไม่สร้างความเข้มแข็งให้กับตัวเอง ไม่รู้จักที่จะไปเชื่อมกับสื่อกระแสหลักซึ่งในอนาคตมีแนวโน้มที่สื่อกระแสหลักจะต้องเข้ามาทำงานเชื่อมกับสื่อทางเลือก จึงอาจหมายความว่าถ้าเรามีจุดเชื่อมตรงนี้ อนาคตข้างหน้าเราก็มีทิศทางที่จะทำงานรวมกันได้อย่างเข้มแข็ง

 

เชื่อมงาน เชื่อมประเด็น เชื่อมสื่อภาคพลเมือง

Activists ภาคเหนือ : การทำอย่างไรที่จะทำให้ปัญหาภาคใต้เชื่อมโยงกับภูมิภาคอื่นๆ การเชื่อมโยงคนมุสลิมไม่ได้มีแค่ภาคใต้ทำให้คนทั่วประเทศสื่อสารกันได้ ไม่ต้องมองในเรื่องของความรุนแรงหรือไม่ต้องมองโดยความเข้าอกเข้าใจอย่างลึกซึ่ง ซึ้งความรู้ทางวิชาการที่เรียกร้องสูงเกินไปที่ให้คนเข้าใจอย่างลึกซึ่ง  ซึ่งคนทุกคนไม่มีทางที่จะเข้าใจอย่างลึกซึ่งอย่างเราต้องการแค่ความเข้าใจง่ายๆ  ซึ่งเราก็สามารถทำได้อาจจะทำเป็น ซีรีย์เรื่องมุสลิมทั่วประเทศซึ่งมุสลิมทั่วประเทศก็ไม่เหมือนกัน คิดว่าเป็นการสื่อสารกับสาธารณะที่ได้ผล ซึ่งจะไปตอบโจทย์ความสัมพันธ์ของสื่อที่มี 2 ระดับ  ระดับแรก ทำให้สาธารณะเข้าถึงง่ายในประเด็นที่เป็นสากล ระดับสอง พลังของสื่อที่จะทำให้สังคมตั้งคำถามที่น่าสนใจ

Activists ภาคเหนือ : ในช่วง 10 ปีของภาคใต้ สื่อมองแต่ความรุนแรง ไม่ได้มองปัญหาการทำลายทรัพยากรปัญหาหรือปัญหาในการพัฒนาที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประเด็นนี้เป็นประเด็นที่คนทั่วภูมิภาคโดน คิดในแง่วิธี ถ้าเราสื่อสารประเด็นนี้ให้คนในสังคมเข้าใจง่ายก็ไม่จำทีต้องทำความเข้าใจที่เป็นอิสลาม 100% แต่มองในฐานะที่เรามีคล้ายๆกัน เรื่องการพัฒนาและการต่อสู้ความไม่เป็นธรรมจากการพัฒนาและกระบวนการจะนำไปสู่ความเข้าใจในความเป็นตัวตนของเพื่อนเรา บางครั้งเราอยู่ในสถานการณ์ความรุนแรงตาเราจองมองความรุนแรงจนรู้สึกร่วมไปกับมันทำ ให้ศักยภาพในการตั้งคำถามอย่างอื่นหายไป แต่พอมาประเด็นนี้ทำให้เรามีวิธีการอย่างอื่นในการสื่อสารต่อคนข้างนอก

Activists ภาคเหนือ : ปัญหาของสื่อในการมองเชิงลึกและการตั้งคำถามในพื้นที่เราต้องหาคู่ชกและคว่ำให้ได้ ตัวอย่าง การแปลคำว่า Merdeka เมิรเดกา ที่มีการแปลต่างกัน 2 สำนัก บางสำนักแปลในฐานะความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ทำให้การเมืองมีจุดลดทอนลง บางสำนัก แปลจากความรู้สึกของคนข้างใน แล้วพลังของสื่อจะทำอย่างไร แน่นอนว่าอาจะต้องออกมาเป็นซีรีย์ เป็นข่าว สกู๊ป เพื่อคว่ำมายาคติ Merdeka เมิรเดกา ในความหมายที่ไม่ใช่แค่เรื่องการแบ่งแยกดินแดง แต่ Merdeka ในกลุ่มคนมีหลากหลายรูปแบบมาก จะทำให้เห็นหลายรูปแบบออกมา หน้าที่ของสื่อเราต้องเปิด และการเปิดพื้นที่ตรงนี้เท่ากับการทำลายมายาคติของคนข้างนอก สื่อต้องแยกตัวเองออกจากวาทกรรมของนักวิชาการที่มีข้อบกพร้อง นักวิชาการบางคนอาจจะตั้งโจทย์ดี แต่วิธีการมีปัญหาหน้าที่ของสื่อคือเอาความซับซ้อนของปัญหามาคลี่ให้คนได้เห็น

 

ความแนบเนียนในการสื่อสาร เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์

Activists ภาคเหนือ : การวิพากษ์วิจารณ์อำนาจรัฐเราไม่สามารถเล่าแบบตรงไปตรงมาได้ สื่อวิพากษ์วิจารณ์อำนาจรัฐไม่ใช้ให้รัฐฟัง แต่เราวิจารณ์ให้คนอื่นฟังเละเข้าใจเราว่าต้องการสื่อถึงอะไร มีงานวิจัยชินหนึ่ง ในเหตุการณ์ความรุนแรง ทำไมเราต้องลืมเพื่อนที่ต่างศาสนา ตัดขาดจากความทรงจำของตัวเอง อันนี้สามารถยกระดับวิจารณ์รัฐได้อีก นโยบายการจัดการความรุนแรงในภาคใต้มันอยู่บนพื้นฐานของคนบางกลุ่ม เราต้องวิจารณ์อย่างแยบยลเพราะเราวิจารณ์ให้คนอื่นฟัง ไม่ใช่ให้ตัวเองฟัง

Activists ภาคเหนือ : สื่อกระแสหลักยังเป็นสิ่งที่จำเป็นแต่วิธีการอาจจะมาคิดใหม่ สิ่งที่เห็นในสื่อกระแสหลักสิ่งที่เป็นอุปสรรค คือ จริยธรรมของสื่อก็เป็นอุปสรรคในการเข้าถึง สำหรับคนนอกพื้นที่บางทีอาจอยากรู้เรื่องในพื้นที่เกี่ยวกับปัญหาหรือกลุ่มทีได้รับผลกระทบจากการใช้กฎหมายความมั่งคงหลายฉบับ ถ้าไม่พูดคุยกับคนในพื้นที่เราก็ไม่รู้เลย ครอบครัวที่ได้รับผลกระทบถ้าไม่ได้ถูกบันทึกเขาจะไม่ได้รับเงินเยียวยา ซึ่งเป็นประเด็นที่คิดว่าคนข้างนอกต้องรู้ เพราะเป็นเรื่องนโยบายของรัฐ

Activists ภาคเหนือ : อันที่จริง เรื่องง่ายๆในพื้นที่ อย่างตามหาแขก ช่วงแรกอาจจะรู้สึกว่าไม่ดีเป็นคำที่เราไม่ชอบ เมื่อเราคนหาคำนี้ อาจจะมีคำมากมายที่เรียก ซึ่งมันมีหลายคำให้เรียก อันจะไปสลายมายาคติเก่าๆ  เราจะเล่าอย่างไรให้มันแนบเนียน เขียนเป็นข่าวสารคดีเป็นสกู๊ป ในระหว่างที่เขียนเราก็สื่อสารกับคนข้างนอก และคิดว่าสื่อกระแสหลักก็รับ เพราะมันไม่ได้เป็นเรื่องที่รุนแรง

Activists ภาคเหนือ : เกี่ยวกับข่าว 3 จังหวัดชายแดนใต้ เริ่มมองเห็นว่าการติดตามข่าวสารจากนอกพื้นที่เริ่มดูจากกระแสหลักน้อยลง หันมาฟังวิทยุชุมมากขึ้น ถ้าสมมุตว่าวิทยุชุมชนเกิดขึ้นมาอีก แล้วทำให้เเต่ละภาคได้มาคุยกัน แลกเปลี่ยน อย่างเช่น เราเชิญวิทยุจากภาคใต้มาคุยเราจะได้พบปะแลกเปลี่ยนกันอาจจะช่วยให้ประชาชนมีความเข้าใจกันมากขึ้น

 

คำถามที่ควานหาคำตอบ  ปาตานีจำเป็นต้องสื่อสารกับภาคอื่นๆของไทยเพื่ออะไร ?

Activists ภาคเหนือ : ในวงมีความพยามจะพูดหลายประเด็นที่ควรจะสื่อสารต่อสาธารณะ แต่ประเด็นเหล่านี้นี้ไม่สามารถขึ้นมาสู่การเผยแพร่ แล้วคนทำสื่อในพื้นที่จะเรียกร้องให้คนอื่นเข้าใจทำไม เพราะสื่อในพื้นที่หลายสำนักก็ไม่ได้คาดหวังความเข้าใจจากคนอื่น เพราะนั่นอาจหมายถึงจะต้องทำงานมากกว่านี้ อาจจะต้องเรียกร้องมากกว่านี้ แต่สิ่งที่สื่อทางเลือกกำลังทำคือ ความต้องการที่จะขยายพื้นที่ให้เกิดสื่อออกไปกว้างขึ้นเท่านั้น

Mediator ปาตานี : เรื่องที่พูดถึงสื่อกระแสรองและเกิดไม่เชื่อมั่นในสื่อกระแสหลัก แต่ก็มองเห็นว่ามีการเชื่อมการทำงานร่วมกันระหว่างสื่อกระแสหลักกับสื่อทางเลือกในพื้นที่ ขณะเดียวกันระหว่างสื่อทางเลือกทั้งใน และนอกพื้นที่ก็ควรจะมีการเชื่อมกัน ซึ่งอาจเชื่อมได้ใน 2 มิติ คือ การเชื่อมในมิติจากกการทำงานร่วมกันแล้ว และการเชื่อมในมิติสื่อสารประเด็นให้เข้าด้วยกัน  ตัวอย่างเช่น เราจะคุยกันอย่างไรให้มีเกิดการมองเห็นประเด็น 3 จังหวัดกับประเด็นเหนือท้ายสุดรากเหง้าของปัญหาจะถูกอธิบายได้ภายใต้ประเด็นเหล่านี้ หรือ ถ้าใต้พูดถึงของกระบวนการยุติธรรมและส่วนพื้นที่อื่นๆพูดถึงกระบวนการยุติธรรมอย่างไร ซึ่งทำให้ไม่ใช่อธิบายเรื่องที่ใต้เท่านั้นแต่อธิบายเรื่องที่อื่นด้วยมันเป็นการสร้างประเด็นร่วมกันเพื่อสืบหาที่มาของปัญหา ด้วยวิธีการนั้น จึงไม่ใช่ว่าภาคใดภาคหนึ่งจะคุยประเด็นเฉพาะของภาคนั้น แต่ประเด็นของแต่ละภาคจะถูกสนใจระหว่างกัน นี่เป็นโจทย์หนึ่งที่ท้าทายคนทำสื่อทางเลือกในอนาคตข้างหน้า”

บทสนทนานี้ยังไม่สิ้นสุด  เพราะเชื่อว่า อ่านจบ คงต้องถกเถียงกันต่อ (เป็นคำตอบ)