หยั่งเสียงพลเมือง : สร้างสมดุลการสื่อสารสันติภาพปาตานี/ชายแดนใต้

                     
 

หยั่งเสียงพลเมือง : สร้างสมดุลการสื่อสารสันติภาพปาตานี/ชายแดนใต้

ไซนะ นาแว และกองบรรณธิการปาตานี ฟอรั่ม

//////////////////////////////////////////

//////////////////////////////////////////////

 

                “ท่ามกลางสถานการณ์ความขัดแย้งและความรุนแรง  ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อไม่ใช่สิ่งที่โปร่งใสอีกต่อไปเนื่องจากมันเกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์ที่แหลมคมและซับซ้อน เมื่อเราเผชิญหน้ากับความรุนแรงและการก่อเหตุร้าย เราควรตระหนักความจริงที่ว่า “การก่อเหตุร้ายไม่ใช่การตีความว่าเป็นการท้าทายต่ออำนาจรัฐและพิสูจน์เรื่องประธิปไตยเท่านั้น มันเป็นการตกผลึกของปัญหาทางสังคม การเมืองและวัฒนธรรมที่เรียกร้องให้คนในสังคมหันมาทบทวนและขบคิดร่วมกัน”(Wieviorka,1995:96) เนื่องจากเราไม่สามารถปฏิเสธความสัมพันธ์อันแนบแน่นระหว่างเหตุการณ์(Event) กับการนำเสนอเหตุการณ์ผ่านสื่อ จึงต้องอาศัยความเข้าใจ คำอธิบาย และความรู้เกี่ยวกับโลกและความเป็นไปของสังคมด้วย สื่อมวลชนจะมีบทบาทสำคัญในการสร้างความคิดเห็นสาธารณะและถักทอสายสัมพันธ์ทางสังคมที่เคยห่างเหินหรือขาดสะบั้นให้กลับมาเผชิญความจริงข้อนี้อีกครั้ง เมื่อความรุนแรงทวีคูณ หลายฝ่ายเริ่มเรียกร้องถึงหนทางแก้ปัญหาด้วยสันติวิธีกระบวนการสร้างสันติภาพจึงเป็นกระบวนการที่เรียกร้องให้ทุกฝ่ายหันหน้ามาทบทวน ทำความเข้าใจถึงสาเหตุองค์กระกอบ และเงื่อนไขของความขัดแย้ง รวมทั้งพยายาม จัดการสภาพแวดล้อมใหม่ที่เอื้อต่อการเกิดสันติภาพ ในกระบวนการดังกล่าว การสื่อสารเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในลักษณะใด โดยเฉพาะสื่อสารมวลชนจะมีบทบาทเป็นสื่อเพื่อสันติภาพหรือไม่”

เป็นตอนหนึ่งในบทความชื่อ “ภาวะไร้สมดุลของการสื่อสารในการะบวนการสันติภาพ”  โดย ผศ. กูสุมา กูใหญ่ คณะวิทยาการสื่อสาร ม.อ.ปัตตานี ซึ่งเป็นแนวคิดสำคัญต่อการขับเคลื่อน โครงการ “เครือข่ายสื่อภาคพลเมืองเพื่อการสื่อสารสันติภาพปาตานี/จังหวัดชายแดนใต้” โดยปาตานี ฟอรั่ม ทั้งนี้ต้องยอมรับว่าที่ผ่านมาด้วยภูมิทัศน์การรายงานข่าวขององค์กรสื่อเปลี่ยนไป อันเกิดจากความพยายามที่จะทำความเข้าใจสถานการณ์ปาตานี/ชายแดนใต้ มากว่าครั้งที่ผ่านมา ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความหวังใหม่ให้กับพลเมืองในพื้นที่ คือ การสร้างบรรยากาศในการหนุนเสริมกระบวนการสันติภาพ ไม่เพียงที่เกิดขึ้นโดยพลเมืองปาตานี/ชายแดนใต้เท่านั้นแต่หมายถึงพลเมืองอื่นๆในประเทศไทยในการที่สร้างพื้นที่แลกเปลี่ยนประเด็นปัญหา มีพื้นที่สาธารณะเรียนรู้และทำความเข้าสถานการณ์ร่วมกัน อันนำไปสู่ การสร้างความเข้าใจ ในสิทธิความเป็นพลเมืองและมีสำนึกในการพัฒนามาตุภูมิอย่างมีทิศทางบนเงื่อนไขของสังคมพหุวัฒนธรรมและความคิดที่แตกต่าง

                โครงการ “เครือข่ายสื่อภาคพลเมืองเพื่อการสื่อสารสันติภาพปาตานี/จังหวัดชายแดนใต้” อันเป็นโครงการที่มุ่งเน้นการสร้างความร่วมมือกับสื่อภาคพลเมืองในพื้นที่ เพื่อจัดทำข้อเสนอ นโยบายสาธารณะต่อองค์กรที่ทำงานด้านสื่อในประเทศไทย ซึ่งข้อเสนอนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ อันจะไปสนับสนุนการทำงานขององค์กรด้านสื่อต่อการนำเสนอข่าวสาร ปาตานี/ชายแดนใต้ ให้มีทิศทางเพื่อหนุนเสริมกระบวนการสันติภาพในพื้นที่ยิ่งขึ้น โดยระหว่างทางกว่าจะเป็นข้อเสนอนโยบายสาธารณะ ปาตานี ฟอรั่มเริ่มกระบวนการจัดทำข้อเสนอโดยการประชุม ปรึกษาหารือกับองค์กรที่ทำงานด้านการสื่อสารธารณะ และการหยั่งเสียง ฟังความคิด ความเห็นโดยการสุ่มตัวอย่างจากแง่มุมชาวบ้านจากทุกภาคในประเทศไทย

พื้นที่แรกที่ปาตานี ฟอรั่มได้ไปหยั่งเสียงด้วยการจัดวงเสวนาบนพื้นที่รอยต่อของคนในและคนนอกปาตานี/ชายแดนใต้ คือ วิทยาลัยทุ่งโพ ลานประชุมชุมชนบ้านแคเหนือ ต.แค อ.จะนะ จ.สงขลา เพื่อที่จะทราบความคิดเห็น ความรู้สึกของคนในชุมชนบ้านแค ต่อการติดตามข่าวสาร และการทำหน้าที่ของสื่อเกี่ยวกับเรื่องราวจังหวัดชายแดนใต้

 

สรุปสำคัญในวงเสวนา

การเสวนาแลกเปลี่ยน เริ่มต้นด้วยการทำความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมการทำงานด้านข่าวสารในปัจจุบันตามมุมมองของชาวบ้านแล้ว เห็นว่าการนำเสนอข่าวนับว่าเป็นธุรกิจอย่างหนึ่งซึ่งก็จะมีการจัดเรทติ้ง การจัดเรทติ้งไหนที่สูงก็จะอยู่ในช่วงต่อไป แต่เรตติ้งไหนที่ได้รับความสนใจน้อยก็จะถูกคัดออก และข่าวภาคใต้ที่ได้รับความนิยมมากก็จะเป็นข่าวเกี่ยวกับความรุนแรง ยามสงบไม่มีเหตุการณ์ข่าวเกี่ยวกับ 3 จังหวัดก็จะหายไปจากจอทีวี  ซึ่งความรู้สึกของการได้รับข่าวในฐานะคนที่อยู่นอกพื้นก็จะรู้สึกหวาดกลัวมาก  แต่เมื่ออยู่ในพื้นที่ กลับพบว่าความรู้สึกไม่ถึงขนาดนั้น ซึ่งเป็นเรื่องปกติของคนจะนะที่ต้องไปๆมาๆ 3 จังหวัด     จากการรับข่าวทำให้มีความรู้สึกเหมือนระเบิดทั้งเมืองแต่ในความเป็นจริงแล้วระเบิดแค่เพียงบางจุดเท่านั้น นั้นก็เป็นมิติของการนำเสนอข่าวเชิงเหมาร่วม ทำให้เกิดความหวาดกลัวของคนอยู่นอกพื้นที่

อีกแง่มุมหนึ่ง ชาวบ้านมองว่าสื่อกระแสหลักก็เหมือนเป็นการประชาสัมพันธ์ความรุนแรง สื่อกระแลหลักนำเสนอข่าวภาคใต้ที่ชี้ให้เห็นความรุนแรง ความรุนแรงที่ไม่ได้เกิดจากการกระทำแต่เป็นความรุนแรงในรูปแบบของการสร้างความรู้สึก อาจจะเป็นการใช้คำของสื่อในการรายงานข่าวหรือเขียนข่าว อย่างคำว่า “โจรใต้เหิมเกริม”โจรใต้เหิมหนักเผาโรงเรียน” ซึ่งก็เป็นการทำให้คนที่รับข่าวในสื่อกระแสหลักมองว่าหนักหน่วงมาก และการนำแสนอในลักษณะนี้เป็นการดิสเครดิตคนในพื้นที่ ทำให้คนในพื้นที่เหมือนเป็นโจรในสายตาคนนอกพื้นที่

โดยสถานการณ์ที่ผ่านมา การทำงานของสื่อ เหมือนเอาคำที่สื่อต่างประเทศมารายงานข่าวการก่อการร้ายมาใช้ในพื้นที่ ทำให้คนนอกพื้นที่มองว่า 3 จังหวัดอยู่ในแวดวงการก่อการร้าย และบางช่วงที่มีการนำเสนอที่อาจจะด่วนสรุป ซึ่งจากประสบการณ์เหล่านี้ทำให้มีการรวมตัวของคนในพื้นที่ เพื่อทำการนำเสนอข่าวในพื้นที่เองโดยคนในพื้น ซึ่งอาจจะทำให้การมองเห็นและการสื่อสารที่มีความเข้าใจความรู้สึกของคนในพื้นที่มากขึ้น

ถ้าดูตามช่วงปีที่เกิดเหตุการณ์ความรุนแรง นับจากปี 47 เป็นต้นมา เราจะเห็นพัฒนาการการเกิดขึ้นของสื่อทางเลือก ระหว่างการทำงานของสื่อกระแสหลักในรอบ 10 ปี ที่ผ่านมา

- พ.ศ. 2547-2550 ช่วงเริ่มที่เกิดเหตุการณ์ มีการนำเสนอข่าวของสื่อกระแสหลักไปตามกระแสของรัฐ

- พ.ศ. 2550 –ปัจจุบัน เกิดการรวมตัวของคนในพื้นที่ เป็นกลุ่ม เป็นองค์กร ทำงานด้านสื่อเพื่อนำเสนอข่าวสารอีกด้าน เพื่อนำเสนอข้อเท็จจริงที่หลากหลายจากพื้นที่ ประกอบกับการเติบโตของโลกสังคมออนไลน์ ทำให้มีพื้นที่เผยแพร่ข่าวสารของคนเป็นสื่อทางเลือก ทำให้คนนอกสารถที่จะเลือกรับช่องทางของการรับข่าวได้หลายทาง พฤติกรรมการบริโภคข่าวสารของชาวบ้าน จึงรู้เท่าทัน ข่าวสารมากยิ่งขึ้น สื่อกระแสหลักก็มีความเข้าใจในการนำเสนอข่าวสารมากยิ่งขึ้น ซึ่งมีผลต่อปรากฎการณ์ณ์อื่นๆในพื้นที่ด้วยเช่นกัน เช่นบางที กรณีการพูดคุยสันติภาพที่ผ่านมา อาจเกิดจากพลผลิตของสื่อก็เป็นได้

อีกประเด็นที่น่าสนใจ คือพฤติกรรมการบริโภคข่าวสารของคนในพื้นที่ 3 จังหวัดซึ่งนิยมชอบที่จะฟังวิทยุ  ซึ่งนับเป็นสื่อทางเลือกอีกช่องทางหนึ่ง โดยกรณีการพูดคุยสันติภาพที่ผ่านมา ได้มีการสัมภาษณ์ตัวแทนกลุ่มขบวนการ BRN นายฮาซัน  ตอยยิบ ซึ่งเป็นปรากฎการณ์ทำให้สังคมทั้งในและต่างประเทศให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ทำให้พฤติกรรมการบริภาคข่าวสารของคนในพื้นที่ก็มีการเปลี่ยนแปลงไปด้วย  มีความสนใจ กล้าพูด กล้าแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่ล่อแหลมซึ่งต่างจากเมื่อก่อน ทำให้สื่อกระแสหลักเองก็มีประเด็นที่จะนำเสนอต่อสาธารณะที่แหลมคมยิ่งขึ้นด้วยเช่นกัน

บทสรุปส่งท้าย ชาวบ้านมองว่า ไม่ว่าจะเป็นสื่อทางเลือกหรือกระแสหลักล้วนแต่เป็นส่วนหนึ่งที่เป็นเขียนเรื่องเล่าการเดินทางทางสังคมให้อีกสังคมภายนอกได้รับรู้ เกี่ยวกับสถานการณ์ 3 จังหวัด ที่ผ่านมานับว่ามีเรื่องเล่ามากมายที่สามารถนำพาความคิด วัฒนธรรมวิถีชีวิตหรือแม้แต่เรื่องของความไม่สงบที่เป็นไปของพื้นที่ปาตานี/ชายแดนใต้ สื่อได้ทำหน้าที่เล่าเรื่องเหล่านี้เพื่อสร้างความเข้าใจ ดังนั้นหากสังคมข้างนอกกลับยังไม่เข้าใจ อีกทั้งมองคนในพื้นที่ปาตานี/ชายแดนใต้เป็นศัตรู มองว่าเป็นอื่น จำเป็นอย่างยิ่งที่คนทำงานด้านสื่อต้องมีส่วนรับผิดชอบ โดยขอเสนอที่สำคัญของชาวบ้านที่เกิดจากการเสวนาในครั้งนี้ คือข้อที่หนึ่ง ภาครัฐควรจะให้ทางเลือกต่อสื่อทางเลือกมากขึ้น ข้อที่สอง สื่อควรนำเสนอประเด็น แง่มุม มุมมอง ความคิด ที่หลากหลายหลายให้สมดุลกับข่าวเหตุการณ์ความรุนแรง ข้อที่สาม ประเด็นที่สื่อควรนำเสนอ และทำความเข้าใจต่อสาธารณะชนให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น คือเรื่องประวัติศาสตร์มลายูในมิติที่หลากหลาย มิติที่นำไปสู่การสร้างการอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์

อนึ่งผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่เป็นสมาชิกวิทยาลัยทุ่งโพ ซึ่งเป็นโครงการหนึ่งของชุมชนบ้านแคเหนือ ที่มุ่งสร้าง การเรียนรู้ร่วมกัน ร่วมสร้างสรรค์ชุมชนน่าอยู่ ดำเนินการโดยคณะกรรมการหมู่บ้าน บ้านแคเหนือ หมู่ที่ 2 ตำบลแค อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ภายใต้โครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่ โดยการพัฒนาหลักสูตรขึ้น จำนวน 5 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรครอบครัวอิสลาม หลักสูตรฟัรดูกิฟายะห์ (จิตอาสา) หลักสูตรสิทธิชุมชน หลักสูตรการจัดการขยะ และหลักสูตรประวัติศาสตร์ชุมชน มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทุกวันอาทิตย์ ทั้งในรูปแบบการบรรยาย การสาธิต และการปฏิบัติจริง โดยวิทยากรภายในชุมชน


สนใจข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อผู้รับผิดชอบโครงการ  นายอะหมัด  หลีขาหรี  โทร 089-2957981

 เว็บไซต์ข้อมูลโครงการ http://www.happynetwork.org/paper/1611

เฟซบุ๊คประมวลภาพโครงการ https://www.facebook.com/ThungPhoCollege