ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ : อ่าน อนาคตปาตานี (ตอนจบ)
รายงานชิ้นนี้เป็นรายงานต่อเนื่องจากตอนที่ 1ทางกองบรรณาธิการขอเสนอสำหรับผู้อ่าน เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและเข้าใจภาพรวมทั้งหมด การกลับไปอ่านตอนแรกจะทำให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น
สำหรับการถอดคำบรรยายชิ้นนี้ เป็นการถอดความในส่วนที่ ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ แต่เพียงอย่างเดียว แต่สิ่งที่เกิดขึ้นที่น่าสนใจไม่น้อยก็คือ การแลกเปลี่ยน ถาม-ตอบ จากเวทีข้างต้น ซึ่งกองบรรณาธิการจะทยอยถอดความมาลงในครั้งต่อไป
ที่มาของภาพ We Watch
เวลาเราจะทำเรื่อง Reporting Peace process เราจะต้องไม่ใช้คำว่า War Journalism แต่ใช้ Peace Journalism ซึ่ง War Journalism ต่างจาก Peace Journalism อย่างไร สิ่งที่สำคัญของ War Journalism สิ่งที่กระทำคือ มีการ certified conflict มีการยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นจากข้อมูล (Source) อย่างง่ายๆ แล้วไม่ได้คิดต่อว่าสิ่งนั้นจะมีวิธีอื่นที่จะอ่านอีกแบบหนึ่งได้
สำหรับ Peace Journalism นั้นทำให้เรามองเห็นว่า ความขัดแย้งนั้นซับซ้อน (Complicate) ซึ่ง ความซับซ้อน (Complicate) นั้น จึงมีช่องวิธีที่จะคิดเรื่องนั้นในแบบของของมัน ยกตัวอย่างเช่น ความขัดแย้งในการเมืองไทย ซึ่งความขัดแย้งตรงนี้ เป็นความขัดแย้งของคุณทักษิณกับกลุ่มคนไม่เอาทักษิณ ตรงนี้ Certified conflict มันไม่ใช่เรื่องผิด แต่ทำให้เราไปไหนไม่ได้ ดังนั้นสิ่งที่เราต้องทำก็คือว่า เราต้องทำให้เห็นว่าความขัดแย้ง (Conflict) มีความซับซ้อน (Complicate) อย่างไร แล้วจึงจะมีช่องทางว่า เราจะทำอย่างอื่นได้อย่างไร ต่อไปหรือไม่ ซึ่งในความหมายนี้ขึ้นอยู่ที่เราอ่านสถานการณ์
สำหรับ Peace Journalism จะ Operate คำถามสำคัญที่ว่า เช่น เวลาคิดถึงคู่ต่อสู้ เราอย่าไปมองว่าเขาเป็นปีศาจ เป็นโน่น เป็นนี่ เราอย่าคิดว่าเขา เป็นรัฐบาล หรือผู้ก่อการ แต่เขาเป็นมนุษย์ ซึ่งมีความคิด (Idea) แตกต่างกัน และถ้าเขาเป็นมนุษย์สิ่งที่ออกมาก็บางส่วนหลอก บางส่วนก็จริง เข้าใจหรือไม่ว่า สิ่งที่อธิบายไปนี้เป็นบางอย่างที่อยากให้เข้าใจ เพราะฉะนั้น ประเด็นสุดท้ายจริงๆ ก็คือว่าสิ่งที่เรียกว่า กระบวนการ (Peace process) นั้น ในทางการศึกษาระบุว่า อย่างน้อยๆมี 40 ปัจเจย(Factor) ที่จะทำลาย กระบวนการสันติภาพ (Peace process) ยกตัวอย่างคือ ความขัดแย้งในกลุ่มขบวนการเองก็เป็นปัจจัยที่จะทำลาย Peace process ยกตัวอย่างต่อมา เช่น with agreement for our issue หรือ Agenda ก็เป็นตัวการที่จะทำลาย Peace process ความไม่ไว้วางใจของต่อผู้อำนวยการ (Facilitator) ก็เป็นปัจจัย หลายอย่่างตรงนี้ก็เป็นปัจจัย ซึ่งรายงานฉบับนี้ก็ทำให้เห็นชัด และสิ่งที่น่าประหลาดใจ ก็คือสิ่งที่ผมพูดเสมอว่า demand complete action violence ก็ทำลายกระบวนการสันติภาพ (Peace process)
ซึ่งมองในฐานะนักวิจัยสันติภาพ (Peace Research) ถ้าในกระบวนการสันติภาพ สิ่งที่เรียกว่า “ความรุนแรง” หายไปเลย ก็เป็นเรื่องที่แปลกประหลาด ตรงนี้ก็จะมีการทำลายกระบวนการสันติภาพ เหตุผลก็คือว่า เพราะฝ่ายที่ไม่ยอมก็จะทำมากขึ้น ขณะนี้ที่เขาทำก็คือ Create zone หรือ create เงื่อนไขบางอย่าง เช่น ตรงนี้อย่าทำ หรือ ตอนนี้เลิกนะ soft target ทั้งหลายนั้น และหากว่าถ้าดูจากมุมของรัฐ ยิงคนของรัฐ เป็นเรื่องใหญ่ หากพิจารณาดูจากกระบวนการสันติภาพนั้น เราคิดอย่างนี้ไม่ได้ เราต้องดูว่าทั้งหมดคือผลที่เกิดจากเงื่อนไขของ conflict practice คืออะไร