จินตนาการทางสังคม ล้านนา-ปาตานี ใต้ม่านหมอกความขัดแย้ง (ตอนจบ)
“พลเมืองภายใต้กรอบทางวัฒนธรรม แปลตามความหมายที่ชัดเจน คือเป็นพลเมืองที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรมนั้น ก็หมายความว่า มโนทัศน์เกี่ยวกับคำนี้มีปัญหา ถึงแม้ว่าการเรียกร้องสิทธิมีความเป็นพลเมือง แต่ในเนื้อหามันมีปัญหา จะมีเส้นแบ่งของการกีดกัน”
เป็นคำอธิบายต่อเนื่องของ ศรยุทธ์ เอี่ยมเอื้อยุทธ นักวิชาการจากศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา คณะสังคมศาสตร์ ม.เชียงใหม่ ซึ่ง ศรยุทธ์ ได้ยกตัวอย่างเพิ่มเติมว่า อย่างที่เรากำลังจะขึ้นไปบนภูชี้ฟ้า จะมีรถอยู่สองคันเราก็ขึ้นคันหนึ่ง และได้มีนักท่องเที่ยวบอกว่าคันนี้ไม่ใช่ของคนไทย เดี๋ยวเราไปขึ้นอีกคันหนึ่ง ในชีวิตประจำวันก็จะมีเส้นแบ่ง แต่ในขณะนั้นเป็นการตัดสินได้เลยหรือไม่
“อย่างตอนที่เรากำลังเดินขึ้นไปบนภูชี้ฟ้าได้มีเด็กม้งมาร้องเพลงชาติไทยให้กับนักท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวก็เก็บภาพแล้วไปอวดว่าเด็กม้งนี้ร้องเพลงชาติไทยได้ด้วย สำหรับผมมันสะท้อนถึงโครงสร้างที่มีปัญหา อะไรไทยหรือไม่ไทย ความเป็นพลเมืองมันถูกสร้างโดยความหมายบางอย่างและถูกกีดกันโดยความหมายหลายๆชุด”
“ดังนั้นนัยสำคัญความเป็นพลเมืองที่แตกต่างทางวัฒนธรรมก็เกิดขึ้น ทางภาคใต้เกิดขึ้นอย่างชัดเจนมาก มันมีบางอย่างที่เราต้องสำนึกว่าเราเป็นพลเมืองที่แตกต่างออกจากความเป็นพลเมืองที่เป็นธรรม ทางเหนือก็มีแต่ความเป็นพลังในการปะทะอำนาจรัฐศูนย์กลางในการควบคุมความเป็นพลเมืองมันอาจจะมีความแตกต่างกันอยู่”
“สิ่งที่น่าสังเกตคือปฎิบัติการที่เกิดทางภาคใต้และก็ภาคเหนือแตกต่างกันออกไปในการเรียกร้องสิทธิของตัวเอง ซึ่งบางครั้งเราอาจจะไม่คุ้นเคยที่คนมลายูเรียกร้องออกมา เช่นการชุมนุมการคลุมผ้าฮีญาบอันนี้เป็นการปฏิบัติการทางวัฒนธรรมของเขา ปัญหาความรุนแรงในเชิงโครงสร้างที่มีอยู่ในชีวิตประจำวันที่เรามองไม่เห็นมัน จนกว่าเราจะเจอกับตัว”
ขณะที่อีกแง่มุมหนึ่ง ดร.พลวัฒ ประพัฒน์ทอง หัวหน้าโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มน้ำโขง เห็นว่า มุสลิมในภาคเหนือที่มีทั้ง จีนฮ้อ มุสลิมยูนนาน มุสลิมมูนามิส ซึ่งงานวิจัยชิ้นหนึ่ง ระบุว่าการสร้างอัตลักษณ์ของมุสลิมแถบภาคเหนือ จะต้องเป็นคนค้าขาย องค์ประกอบของคนจีนฮ้อจะต้องมี 3 องค์ประกอบถึงจะเป็นฮ้อได้
“พวกฮ้อเป็นไทยจีนยูนานที่อพยพมาทางตอนเหนือเข้าทางแผ่นดินใหญ่ฉะนั้นจีนก็จะมี สองแบบ จีนบกและจีนทะเล ฮ้อกลุ่มแรกเป็นพวกการค้าอพยพมาตั้งแต่สมัยราชการที่ 5 และถูกเป็นไทย แต่อีกกลุ่มหนึ่งที่เดินทางมาตั้งแต่ 2419 เป็นกลุ่มโกบินตัน ฉะนั้นมุสลิมที่เป็นฮ้อยุคใหม่ก็เข้ามาพร้อมๆกัน จีนใหม่ที่เข้ามาหลังสงครามโลกครั้งที่สองซึ่งจะอยู่ตามที่ต่างๆในภาคเหนือบางกลุ่มอพยพอยู่ในใต้หวันบางกลุ่มยังอยู่ที่บ้านข้ามจังหวัดเชียงใหม่อีกกลุ่มอยู่ที่ดอยแม่สลองก็จะมีการสอนภาษาจีนเพราะว่าภาษาจีนยูนานจะใกล้เคียงกับภาษามาดาลิน”
“มุสลิมขวุย (วาวี) เป็นมุสลิมที่ไม่ได้แสดงอัตลักษณ์ที่ชัดเจน หลังจากสถานการณ์หลายอย่างคลี่คลายทุกคนเป็นคนไทยทางอัตลักษณ์ชัดเจนเพิ่มขึ้น ในกรณีของวาวี ในปี 49 ที่คลุมฮิญาบแต่งชุดมุสลิมอาจจะมีน้อยหลังจากนั้นนั้นมี มัสยิด 2-3 หลังที่มีความเข้มแข็งก็จะมีคนคลุมญิญาบกันมากขึ้น มุสลิมขวุยมีความต่างจากคนภาคใต้ในเรื่องที่เป็นคนสายเลือดดังเดิมที่ถือเชื้อสายมาจากเปอร์เซีย สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างมุสลิมยูนนานกับมุสลิมทางภาคใต้ ในเรื่องวัฒนธรรมจะไม่เหมือนกัน มุสลิมที่ปายที่จะมีในเรื่องการค้าขายที่เป็นอัตลักษณ์ความเป็นจีน”
“คำถาม คือ ความขัดแย้งที่เกิดปฏิกิริยาตอบโต้ที่แสดงความรุนแรงใช้ตัวประวัตศาสตร์อย่างเดียวเป็นตัวโครงสร้างหรือการพัฒนาที่ไม่เท่าเทียมกันหรือเปล่านี้คือปัจจัยที่เกิดความขัดแย้งที่แสดงออก”
กลับมามองที่ ชายแดนใต้/ปาตานี ซากีร์ พิทักษ์คุมพล นักวิชาการจากสถาบันสันติศึกษา ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ มองว่า ปัญหาภาคใต้ไม่สามารถที่จะมองเป็นด้านเดียวแค่เป็นเรื่องประวัติศาสตร์เรื่องศาสนา แต่มันเกิดขึ้นมาจากหลายๆองค์ประกอบ
“ถ้าตอบตามประสาผมมันก็ดูได้หมด เรื่องบางเรื่องเป็นเรื่องของความเป็นธรรมแต่ปนเรื่องของศาสนาทำให้มองเป็นเรื่องอีกมิติหนึ่ง หรือเปลี่ยนการมองมาเป็นความเป็นพลเมือง หลายเรื่องก็จะไม่เกิดขึ้นมา ตัวอย่าง ประมาณปี 2531 เกิดการเรียกร้องของนักศึกษาวิทยาลัยครูยะลาในเรื่องการคลุมฮีญาบแต่ไม่ได้รับการอนุญาตจากครูในท้ายสุดก็เกิดปรากฎการณ์ 2532 หรือนโยบายจากกระทรวงศึกษาธิการเอาพระพุทธรูปไปประดิษฐานในโรงเรียนทั่วประเทศรวมทั้ง 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย ทำให้เกิดการลุกขึ้นของคนสตูลที่ไม่พอใจเพราะโรงเรียนที่ไปตั้งมีนักเรียนเป็นมุสลิมส่วนใหญ่ นี้คือความรู้สึกที่มันเกิดขึ้นบวกกับเงื่อนไขประวัติศาสตร์ในปาตานี มันมีความขมขื่นมากกว่า เพราะว่ามันมีความโรแมนติกในระดับเครือญาติ เช่นคนที่แต่งงานกัน จากเด็กที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการที่ถูกครูตอกย้ำความเป็นแขก เป็นเชื้อไฟที่มันสุมอยู่ข้างใน นี้เป็นสาเหตุของคนเหล่านี้”
“ตัวประวัติศาสตร์ถูกเล่าไม่ได้ทรงพลังสำหรับตัวผม แต่ผมคิดว่าประวัตศาสตร์ระยะสั้นต่างหากที่มีพลังมาก อย่างเหตุการณ์ของตากใบที่เด็กเข้ารวมมากเป็นหลังเหตุการณ์ทั้งที่ก่อนเหตุการณ์ก็มี แต่ไม่มากเท่าหลังเหตุการณ์ เรื่องอัตลักษณ์ทางชาติพันธ์ก็เป็นเชื้ออีกอันหนึ่งเรื่องวัติศาสตร์ก็เป็นเชื้อ ถ้าให้น้ำนักคิดว่าเป็นประเด็นทางการเมืองรวมทั้งบวกสิ่งต่างๆเหล่านี้ไปด้วย”
อ.เอกรินทร์ ต่วนศิริ คณะรัฐศาสตร์ มอ.ปัตตานีซึ่งเป็นผู้ดำเนินรายการ เสริมว่า ความชอบธรรมทีถูกปกครองที่นั่น ใครมีความชอบธรรม ซึ่งมีงานวิจัยสองชิ้น ในเรื่องของข้าราชการที่เยอะขึ้นแต่ไม่ใช่ในระดับสูงโอกาสทำให้มากขึ้นกับคนในพื้นที่
“การพัฒนาก็มีการพูดถึงภาคใต้ จะแก้ไขได้ต้องทำให้เป็นสมัยใหม่ ปราศจากความยากจน มีการศึกษาที่เยอะขึ้น เราดูในเรื่องเศรษฐกิจ เศรษฐกิจด้านพัฒนาที่มีงบลงมาแต่เป็นการจ้างงานหลอก ที่รัฐมีนโยบายให้จ้างงานกับคนที่ว่างงานตลอด คือโครงการ 4,500 ซึ่งปัญหาว่างงานจะเกิดถ้ารัฐไม่สนใจ 3 จังหวัด ปัญหาเศรษฐกิจเกิดขึ้นแน่นอน”
“ขณะที่การคุยและการเรียกร้องของกลุ่ม บีอาร์เอน ก็มีส่วนคล้ายเสนอโดย หะยีสุหลงที่เคยเรียกต่อรัฐบาลไทย การคุยเจรจามีความรู้สึกว่าจะติดลบมาตลอดการมองคู่เจรจาครั้งนี้ไม่เห็นที่ทางที่จะสงบไม่มีตัวบอกที่ว่ามันดีขึ้นปัญหาทางการเมือง ที่ต้องคุย การคุยจะทำให้เราเห็นว่าจะจบลงอย่างไร”
ตอนท้ายการเสวนา ศรยุทธ์ ตั้งข้อสังเกตว่า ปัญหาทางโครงสร้างก็ไม่ได้ต่างจากล้านนาเท่าไร ปัจจัยในการช่วงชิงทรัพยากร การผูกขาดทรัพยากรโดยน้ำมือของรัฐสูงมาก ในขณะเดียวกันปัญหาความแตกต่างทางชนชั้นมีปัญหาที่สูงมาก
“อย่างภาคเหนือเองจะเห็นคนชนเมืองที่เขาถูกพรากทรัพยากร ถูกไล่ที่จากบนดอยมาทำงาน ในขณะเดียวกันทางชนชั้นทางภาคใต้มีรายได้ที่น้อยมาก ในอีกด้านหนึ่งเราเปรียบเทียบคนเหนือข้ามพรมแดนไปทำงานมากเละในปาตานี ก็ข้ามพรมแดนไปทำงานก็มาก ทั้งสองภูมิภาคนี้ ได้เคลื่อนไหวโดยโครงสร้างโดยเฉพาะปาตานีได้เคลื่อนไหวสู่โลกาภิวัติที่สู้กับระบบเสรีนิยมใหม่ ปัญหามันอยู่ที่เรื่องเล่าประวัตศาสตร์แบบระยะยาวมันไม่ทำหน้าที่กับปัญหาที่ผู้คนมาเผชิญหน้า แต่ที่มันทำหน้าที่อยู่ได้เป็นเพราะประวัติศาสตร์ระยะสั้นที่คอยทำหน้าที่”
ในอีกแง่มุมหนึ่ง ศรยุทธ์ แลกเปลี่ยนเพิ่มเติมว่า การสู้ทุกวันนี้เป็นการต่อสู้แบบล้าหลังที่มีการต่อสู้แบบสู้รบ แต่คุณไม่มีข้อเสนอทางการเมือง ซึ่งเป็นข้อเสนอทางการเมือง ที่ต้องสอดรับกับปัญหาในชีวิตประจำวันในภาคใต้เช่นกัน
“ขณะที่ประวัติศาสตร์ล้านนาที่เล่าแบบระยะยาวมันมีพลังแต่ไม่ได้เป็นแบบใต้ที่ทำให้ผู้คนคิดว่าฉันจะต้องมีความแตกต่างแต่จะสร้างที่เป็นต้นทุนในการทำมาหากินการท่องเที่ยวเป็นประวัติศาสตร์ที่ถูกพรากออกจากชีวิตของคนล้านนาในชีวิตประจำวัน ถ้าพูดถึงประวัตศาสตร์ล้านนาคุณจะนึกถึงสิ่งที่ไกลตัวคุณไม่ได้สัมพันธ์ด้วยหัวใจ แต่ประวัตศาสตร์ล้านนากลายเป็นที่รองรับการท่องเที่ยว แต่อีกขณะหนึ่งที่พูดถึงความหลากหลายทางชาติพันธ์ แต่เราไม่สามารถจินตนาการ การอยู่ร่วมกันได้”
“ล้านนาจะพูดถึงความหลากหลายทางชาติพันธ์แต่เราจะเห็นว่าทำไมล้านนาถึงมีรูปกระเหรี่ยงคอยาวยืนให้เราถ่ายรูป ท่ามกลางความหลากหลาย เราไม่ได้ตระหนักถึงเรื่องสิทธิมนุษยชน ประวัตศาสตร์ที่เกิดจากคามหวังความขมขื่นของคนมันไม่เกิด ดันเปิดช่องให้ การค้ามนุษย์ทำให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนเปิดช่องให้กับการท่องเที่ยว”
“อีกด้านที่เป็นกรระจกส่องสะท้อนเงื่อนไขบางอย่างของปาตานี-ล้านนา ที่ไม่ได้ใช้วิธีการที่รุนแรงกับรัฐศูนย์กลาง แต่ใช้วิธีประนีประนอมในหลายเรื่อง แต่ในการประนีประนอมมีการสูญเสียไปอะไรบางอย่าง แต่ในรัฐปาตานีไม่ได้ประนีประนอมแต่มีวิธีการหลายอย่างที่ตอบโต้กับรัฐไทย ในการจับอาวุธเป็นวิธีการอย่างหนึ่ง การประท้วง ก็อีกอย่างหนึ่ง ซึ่งมีเงื่อนไขที่นำมาสู่ความรุนแรงและการฆ่ากัน ทำให้ปาตานีคงไว้ซึ่งที่ไม่ต้องสูญเสียให้กับรัฐศูนย์กลาง” ศรยุทธ์ วิพากษ์ทิ้งท้าย…