จินตนาการทางสังคม ล้านนา-ปาตานี : ใต้ม่านหมอก (ซ่อน) ความเหมือนต่างฤาขัดแย้งร้าวลึก (1)
ความสูญเสียที่เกิดจากแนวคิดการสร้างประเทศบนความเหมือนเดียว มีให้เห็นมานักต่อนักทั้งในสังคมไทยและต่างประเทศ ถึงกระนั้นบทเรียนการสูญเสียที่เกิดขึ้น ก็มิได้ทำให้แนวคิดเช่นนี้หมดไป เพราะยังมีให้เห็นในหลายๆประเทศ หลายๆสังคม ซึ่งบางแห่งก็ถูกปลูกฝังลงรากลึกกลายเป็นวัฒนธรรมของสังคมนั้นๆไปแล้ว
หากย้อนมาดูสังคมไทย ซึ่งมองโดยเนื้อแท้แล้ว เป็นสังคมที่มีความต่าง มีความคล้าย ในเรื่อง ชาติพันธุ์ และความคิด อุดมการณ์ทางการเมือง ไม่น้อย นับรวมทุกภาคตั้งแต่ เหนือ กลาง อีสาน ใต้ โดยเฉพาะสังคม 3 จังหวัดชายแดนใต้ หรือที่คนในพื้นที่คุ้นเคยกันดีกับคำว่า “มลายูปาตานี” อันมีอัตลักษณ์ และอุดมการณ์ทางการเมืองที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับสังคมไทยในภาคอื่นๆ จนมีแง่มุมให้ลองศึกษา เปรียบเทียบ เพื่อชี้ให้เห็นแนวทางที่จะสามารถเข้าใจสังคมไทย และสังคมลายูปาตานี ในแง่มุมที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น เป็นทีมาของการจัดเสวนา ปาตานี ฟอรั่มร่วมกับโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มน้ำโขง“พื้นที่สาธารณะ พื้นที่แห่งการตื่นรู้” หัวข้อทักทอความต่าง : ชาติพันธ์ ศาสนา และการเมือง จินตนาการทางสังคม (ล้านนา-ปาตานี) ณ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ชวนวิพากษ์โดย ศรยุทธ์ เอี่ยมเอื้อยุทธ จากศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซากีร์ พิทักษ์คุมพล สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่และ ดร.พลวัฒ ประพัฒน์ทอง หัวหน้าโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มน้ำโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
มองจากแนวคิดชาติพันธุ์ศึกษา
ศรยุทธ์ เอี่ยมเอื้อยุทธ นักวิชาการจากศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เริ่มต้นด้วยการอธิบายว่า ที่จริงแล้วภาคเหนือกับภาคใต้มันมีความสัมพันธ์กันหลายอย่าง
ประเด็นแรก ทางภาคเหนือและปาตานีมีความหลากหลายทางชาติพันธ์สูงมาก ที่เชียงรายจะเห็นว่ามีคนไทยที่เป็นจีนฮ้อ บางคนก็จะมาจากบนดอยหรือกลุ่มชาติพันธ์อื่นๆในปาตานี มีทั้งคนจีนหลายตระกูลและขณะเดียวกันก็มีผู้อพยพชาวพม่ามีผู้อพยพจากปากีสถานดังนั้นอาณาจักปาตานีกับล้านนาที่คล้ายกัน คือ มีความหลากหลายทางชาติพันธ์สูงมาก
“ปัญหาอยู่ที่ว่า เราเข้าใจความหลากหลายแบบไหน เรากำลังเข้าใจความหลากหลายในจำนวนตัวเลข ที่เราถูกนับให้อยู่ในกลุ่มคน ซึ่งจะพบว่าท่ามกลางความหลากหลายยังมีการเรียกแบ่งกลุ่มคนเรามองความหลากหลายในจำนวนตัวเลขแต่ในเรื่องปฏิสัมพันธ์อื่นๆไม่มี ไม่มีการเคารพไม่มีการคิดการอยู่รวมกันในความแตกต่างกันได้อย่างไร”
“ ตัวอย่างหนึ่ง ทางเหนือจะมีคำว่าแขกแก้ว ที่มาเยือนและเราให้เกียรติเขาสูงมาก ที่ปาตานีคำว่าแขกกลายเป็นปัญหามากในเชิงประวัติศาสตร์ที่ไม่ใช้แค่ผู้มาเยือนอย่างเดียวแต่จะมีความหมายในด้านลบอย่างอื่นด้วยที่เป็นปัญหาของความหลากหลายที่เกิดขึ้น”
“ตัวอย่างที่สอง ทางเชียงรายชอบจัดงานเทศการอาหารชาติพันธ์เราจะเห็นพียงภายนอกเวลาเราเขาไปชิมอาหารเราจะเห็นความงามทางเสื้อผ้าวัฒนธรรมแต่ไม่ได้มองในเรื่องสิทธิทางการเมืองและสิทธิทางวัฒนธรรม ดังนั้นความหลากหลายที่เกิดขึ้นในปาตานี มันเป็นสิ่งที่ถูกแยกออกจากสิทธิทางการเมืองสิทธิทางวัฒนธรรมถึงออกมาเพียงแค่ในเรื่องของการเฉลิมฉลองเราจะขาดในเรื่องของการจินตนาการการอยู่ร่วมกันได้อย่างไร นี้เป็นปัญหาที่ผมคิดว่าปาตานีและล้านนามีคล้ายกันมากอย่างปาตานีเองก็มีกลุ่มคนที่หลากหลายแต่มีนัยของมันอยู่
ประเด็นที่สอง ความหลากหลาย ในทางประวัตศาสตร์จะมีเจ้าหน้าที่อาณานิคมคนหนึ่ง ชื่อ เฟอร์นิวาล เป็นนักเดินทางคนหนึ่งที่เขียนงานในการอธิบายสังคมในแถบนี้ พบว่า ข้อแรก มีลักษณ์ที่เราเรียกว่าพหุสังคมที่คนแต่ละกลุ่มอยู่ร่วมกันแต่ไม่ผสมผสานกลมกลืน ข้อที่สอง คนเหล่านี้เป็นหน่วยทางการเมืองที่แยกขาดออกจากกันสัมพันธ์เพียงแค่ในตลาดซื้อของเท่านั้น
“ อันนี้เป็นการสะท้อนอย่างหนึ่งระหว่างล้านนาและปาตานี คือ การอยู่ร่วมกันแต่เราไม่เข้าใจ ผมพานักศึกษาลงพื้นที่บ้านห้วยลึก ที่มีบ้านคนลาวและถัดจากบ้านคนลาวก็เป็นคนม้งบ้านติดกันแต่ทั้งสองไม่สามารถที่จะพูดภาษาของอีกคนหนึ่งได้ นี้คือปัญหาของความหลากหลาย ความขัดแย้งในชีวิตประจำวันอันเนื่องมาจากเชื้อชาติที่ไม่พยามยามทำความเข้าใจ”
“ความหลากหลายทางปาตานีและล้านนามีความเหมือนกันแต่สิ่งที่เราเห็นจากล้านนาเราเองเป็นคนเหยียดเชื้อชาติหรือไม่ เราอยู่ในความหลากหลายก็จริงแต่เรามีการเหยียดเขาและปมตรงนี้จะฝังลึกตราบใดที่เราไม่ได้เกิดความขัดแย้งปมทางเชื้อชาติจะไม่เกิดแต่ถ้ามีความขัดแย้งขึ้นมาปมทางเชื้อชาติกลายเป็นปัญหา
“วาทกรรมภาคใต้ที่มีการเปรียบเทียบ ก่อนปี 2547 เราอยู่อย่างสันติสุขก่อนหน้าเป็นสังคมพหุวัฒนธรรมซึ่งไม่น่าจะใช้เงื่อนไขอะไรที่ทำให้เราอยู่ด้วยกันไม่ได้และเมื่อเกิดปัญหาอะไรที่เป็นความชอบธรรมที่เราไปโจมตีคู่ต่อสู้ ในเรื่องของอิสลามเรื่องของความเป็นแขกที่จะโจมตีที่เราไม่เห็นด้วยอันนี้เป็นปมผมคิดว่าปัญหาของล้านนากับปาตานีมีความแตกต่างโดยสิ้นเชิง โดยล้านนาอยู่ใต้อาณานิคมของรัฐสยามหรือที่เรียกว่าอาณานิคมภายใน โดยที่รัฐสยามต่อสู้กับอาณานิคมฝรั่งโดยที่รัฐสยามรู้สึกว่าตกเป็นอาณานิคมภายในอยู่ตลอดเวลาแล้วสยามก็เลียนแบบ มาทำกับภูมิภาคต่างๆแต่ปาตานีไม่ใช่ แต่ถูกกระทำอย่างต่อเนื่องการเรียกร้องพื้นที่ของตัวเองจึงเกิดขึ้น”
อธิบายจากงานวิจัย หลังเหตุการณ์โศกนาฏกรรม “ครูจูหลิง”
หนึ่งในเงื่อนไขที่ทำให้วาระปาตานี ต้องมาร่วมคุยกับล้านนาภาคเหนือของไทย เพราะเมื่อครั้งหนึ่ง เกิดเหตุสะเทือนสังคมไทย และคนมลายูปาตานีต้องตกเป็นจำเลยกรณีการเสียชีวิตของ น.ส.จูหลิง ปงกันมูลครูผู้ช่วย โรงเรียนบ้านกูจิงลือปะ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาสจากการประโคมข่าวของสื่อกระแสหลักว่าโดนรุมทำร้ายโดยชาวบ้านกูจิงลือปะเมื่อปี 2549 ขณะเรื่องเล่าในพื้นที่ก็เป็นอีกชุดหนึ่ง อย่างไรก็ตาม จากเหตุการณ์ครั้งนั้นส่งผลสะเทือนตามมาในพื้นที่ภาคเหนืออย่างต่อเนื่อง โดย ดร.พลวัฒ ประพัฒน์ทอง หัวหน้าโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มน้ำโขง ผู้ซึ่งศึกษาวิจัยเรื่องนี้ เล่าให้ฟังถึงมุมมอง ความเชื่อและผลการศึกษาที่เกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์การเสียชีวิตของครูจูหลิง ในสังคมเชียงรายบ้านเกิดครูจูหลิงไว้อย่างน่าสนใจ
ดร.พลวัฒ สรุปจากงานวิจัยว่าครูจูหลิงเป็นเหยื่อทางโครงสร้างชีวิตครูจูหลิงเป็นลูกภารโรง ความฝันของพ่อแม่ อยากเห็นลูกเป็นข้าราชการและการบรรจุที่ง่ายสุดคือต้องไปเป็นครู3 จังหวัดภาคใต้ ด้วยทางโครงสร้างของรัฐเหมือนบังคับที่ตัวเองต้องไปเพื่อสวัสดิการให้พ่อแม่
“การอธิบายเชิงโครงสร้าง มองว่า ครูจูลินไม่ได้เลือกเป็นครูชายแดนภาคใต้แต่ชายแดนภาคใต้เลือกครูจูลินไปชีวิตหลังความตายของครูจูหลิง ตอนนี้มีการสร้างหอศิลป์ของครูที่โรงเรียนอนุบาลดอยหลวงจะมีการจัดงานทุกวันที่8 มกราคม”
“ขณะที่อีกมิติหนึ่งของโลกศิลปะก็มี อ.เฉลิมชัยและเหล่าศิลปินกลายเป็นโลกศิลปะของเหล่าศิลปิน ในเนื้อหาภาพยนตร์ที่มีการอภัยให้กันกลายเป็นปัญหาจังหวัดชายแดนใต้ เราจะเห็นการถกเถียงในสื่อสังคมออนไลน์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ระหว่างมุสลิมและไทยพุทธสุดท้ายก็มาจบที่เรื่องศาสนาและจะพบว่าทางมุสลิมจะเป็นคนชนะเพราะว่ามีความรู้ในเรืองศาสนาอื่นด้วยในประเทศไทยรัฐกับศาสนาเป็นเนื้อเดียวกันดูได้จากการงดเหล้าเข้าพรรษาอำนาจทางการเมืองจะถูกใช้โดยไม่เป็นทางการ”
“แม้นมีความหลากหลายทางชาติพันธุ์เช่นกัน แต่ปัญหาทางภาคเหนือไม่ได้เกิดปัญหาอย่างภาคใต้ เพราะในอดีตก็คือเจ้าย้อมรับเจ้าทางภาคเหนือโดยมีการแต่งงานมันทำให้เกิดการกลมกลืนและการยอมรับเจ้าที่เป็นเนื้อเดียวกันเมือเกิดปัญหาทางอนาจักรล้านนาก็จะย้อนกลับไปในเรื่องความสัมพันธ์มันก็จะจบไปทุกครั้ง
วิเคราะห์แบบนักสันติศึกษา
ทางด้าน ซากีร์ พิทักษ์คุมพล นักวิชาการจากสถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ แลกเปลี่ยนว่า งานวิจัยชิ้นนี้ทำขึ้นมาเพื่อสร้างการถกถียงกับเจ้าหน้าที่ ที่อยู่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในขณะที่อีกด้านหนึ่งก็มีกลุ่มนักศึกษาที่เรียกตัวเองว่าสหพันธ์นิสิตนักศึกษาชายแดนใต้
“นักศึกษากลุ่มนี้ทำประเด็นความยุติธรรมซึ่งการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ที่บางครั้งก็มีความผิดพลาด นักศึกษากลุ่มนี้จะถูกจับตาโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นพิเศษกลุ่มนักศึกษากลุ่มนี้จะมีจุดเปลี่ยนในเรื่องของเหตุการณ์ตากใบ ซึงจากเหตุการณ์นี้ทำให้เกิดการร่วมตัวที่เข้มแข็ง สิ่งที่นักศึกษายกประเด็น คือ สิทธิทางวัฒนธรรมซึ่งจะรวมถึงสิทธิทางการเมืองด้วยความเป็นพลเมือง วิธีการที่เริ่มต้นปี 2551 ที่ต่อเนื่องจากนักศึกษากลุ่มหนึ่งไปปิดพื้นที่มัสยิดกลางปัตตานี ทำให้มีการดำเนินกิจกรรมต่อเนื่อง โดยใช้เหตุการณ์ตากใบเป็นตัวดำเนินโดยใช้สถานที่สาธารณะที่แรกที่ใช้ คือ มัสยิดขณะที่ทางภาคเหนือมัสยิดจะไม่ใช้เป็นพื้นที่ทางการเมือง เราจะแยกพื้นที่สาธารณะออกจากพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์โลกโมเดิร์นโดยสิ้นเชิง แต่ในภาคใต้ถูกบวกเป็นพื้นที่เดียวกัน”
“นักศึกษาที่มองต่างจากคนอื่นในเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ของมัสยิดและบวกกับเรื่องเล่าคือตากใบเป็นประวัติศาสตร์ของความขมขื่น เราจะดูการใช้พื้นที่ของกลุ่มนักศึกษามี 2 ลักษณะ อย่างแรกการประท้วงทางการเมืองที่จะเกี่ยวข้องกับเรื่องสิทธิที่แสดงถึงอัตลักษณ์และความเป็นพลเมืองจากรัฐ จะเกิดต่อเมื่อมีการจับกุมชาวบ้านจับกุมนักศึกษา กลุ่มนักศึกษาจะรวมตัวและใช้พื้นที่มัสยิดและพื้นที่ของหน่วยงานราชการในการแสดงออกเรียกร้องสิทธิในความเป็นพลเมือง อย่างที่สองมีประท้วงถึงการรำลึกถึงเหตุการณ์ตากใบในลักษณ์นี้เป็นการให้ความหมายในสัญลักษณ์พื้นที่โดยครั้งแรกใช้พื้นที่หน้ามัสยิดกลางที่ยะลา ครั้งที่สองหน้ามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี”
“ความต่างที่ใช้มัสยิดกับมหาวิทยาลัย การใช้มัสยิดเป็นการต่อสู้ที่เป็นในเรื่องของศาสนา แต่มหาลัยวิทยาเป็นการปกปักรักษาพื้นที่เรื่องสิทธิ โดยสรุปแล้วการชุมชุนทั้งสองประเภทนี้นักศึกษากำลังก่อการอะไรบางอย่าง ซึ่งอาจะเป็นภายใต้กรอบความต้องการเป็นพลเมือง อธิปไตยความเป็นรัฐไทยเพียงแต่เป็นการต่อสู้ในลักษณะของการประท้วง ซึ่งผมคิดว่าปรากฏการณ์นี้อาจจะเกิดขึ้นในเชียงใหม่การเรียกร้องปกครองตัวเองเพียงแต่รูปแบบการต่อสู้ต่างกัน โดยเฉพาะประเด็นเรื่องความมั่งคงของรัฐกำลังเกิดขึ้นนี้คือสิ่งที่เกิดขึ้นโดยตัวละครของนักศึกษาโดยสรุปการยกตัวละครที่อยู่ทางใต้นั้นเป็นการเคลื่อนไหวในรูปแบบการชุมชุนสันติวิธีและการใช้พื้นที่สาธารณที่มีนัยสำคัญของสถานที่”
แล้วมุมมองเหล่านี้จะพยายามชี้ให้เห็นปัญหาอะไร ตามต่อได้ในตอนจบ…