การไม่ใช้ความรุนแรงกับประชาธิปไตย

การไม่ใช้ความรุนแรงกับประชาธิปไตย 

นิชานท์ สิงหพุทธางกูร

นักศึกษาปริญญาเอก สาขาเอเชียศึกษา

คณะศิลปศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบรูไนดารุสซาลาม

คงปฎิเสธไม่ได้ที่เราต้องมีหลักอะไรบางอย่างในการใช้เป็นกรอบในการทำความเข้าใจความรุนแรงในสังคม ซึ่งการไม่ใช้ความรุนแรงน่าจะเป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายต้องการ จริงแล้วเรามีกระบวนการนี้อยู่แล้ว แต่มันใช้การไม่ได้แล้วเท่านั้น นั้นคือ กระบวนการประชาธิปไตย ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของการไม่ใช้ความรุนแรงรูปแบบหนึ่ง ที่กำกับอยู่บนมาตรฐานของสิทธิมนุษยชน ซึ่งทั้งสามส่วนนี้สัมพันธ์กันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้บนสัญญาประชาคมในโลก ปัจจุบัน ที่สังคมเมื่อเกิดความขัดแย้ง จะแก้ไขด้วยการไม่ใช้ ความรุนแรง โดยใช้ระบอบประชาธิปไตยเป็นเครื่องมือในการยอมรับความคิดเห็นของคนในสังคม ที่แตกต่างกันบนหลักการ “majority rule และ minority right” โดยให้เป็นเครื่องมือที่ยืดหยุ่นช่วยประครองสังคมในลักษณะ soft power ควบคู่กับหลักกฎหมาย

คานธี ได้แสดงทัศนะในเรื่องของการไม่ใช่ความรุนแรงในบริบทของประชาธิปไตย ว่าการที่จะเรียกได้ว่าเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริงนั้น ประชาชนในประเทศจะต้องเข้าใจแนวความคิดของประชาธิปไตยก่อนว่าเป็นแนวทางที่ ปราศจากความรุนแรง คนที่เรียกได้ว่าเป็นผู้ที่เข้าใจประชาธิปไตยอย่างแท้จริง คือ คนที่สามารถปกป้องอิสรภาพไม่เพียงแต่เฉพาะของตัวเองแต่ของผู้อื่น ของประเทศและของมวลมนุษยชาติด้วย การไม่ใช้ความรุนแรงถือได้ว่าเป็นรากฐานในการนำไปปรับใช้ในสถานการณ์ต่างๆ ได้ โดยใช้เป็นแนวทางในการไม่ยอมรับ สะท้อน ตอบโต้ ความไม่ชอบธรรม ความไม่ยุติธรรม หรือ ปรากฏการณ์ในสังคมที่มีเหตุมาจากโครสร้างอำนาจในรูปแบบต่างๆ เพราะเชื่อว่าการใช้ความรุนแรงรูปแบบต่างๆ ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ คนที่นำไปใช้จะต้องมีภาพตรงนี้ร่วมกัน เหมือนกันก่อน

จริง แล้วๆ การไม่ใช้ความรุนแรงมีหลักแค่สองประการ “acts of omission” การที่ผู้คน ปฎิเสธ ไม่ปฎิบัติตาม ไม่เชื่อฟัง ไม่ยอมรับ ไม่ให้ความร่วมมือ ซึ่งเป็นสิงที่เคยทำเป็นประจำและเลิกทำตามหลักวิถีประชา สัญญาประชาคม หรือ แม้กระทั่งกฎหมาย แต่ กลับกระทำในทางตรงข้าม คือ “acts of commission” การที่ผู้คน กระทำ ปฏิบัติ ยอมรับ ทำบางอย่างที่พวกเขาไม่พึงกระทำ โดยละเมิดวิถีประชา สัญญาประชาคม และกฎหมาย บนเงือนไขที่ว่าไม่มีอาวุธและไม่ใช่ความรุนแรงในการต่อสู้ เหมือนกลุ่มที่ใช้อาวุธและความรุนแรงรูปแบบต่างๆ

โดยใช้อำนาจของมวลชนในการเลิกทำตามสิ่งที่เคยปฏิบัติมา ในการเปลี่ยนโครงสร้างสังคม ที่ฝ่ายไม่เห็นด้วยต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลง คนที่จะนำหลักวิธีคิดนี้ไปใช้ต้องกล้าหาญเท่านั้น จึงจะทำได้ เพราะมันมีผลลัพธ์ที่ผู้กระทำต้องยอมรับตั้งแต่วินาทีแรกที่ตัดสินใจ คือ การยอมรับว่าตัวเองฝ่าฝืน และ ต้องยอมรับกระบวนการทางกฏหมาย การจะดูว่าเราใช้สันติวิธีปราศจากความรุนแรงอย่างสมบูรณ์ ไม่ใช่ดูแค่ว่าเราชุมนุมโดยปราศจากอาวุธเท่านั้น แต่เราต้องไม่ไปทำร้ายผู้อื่นในลักษณะต่างๆ เราอาจต้องยอมรับการโดนทำร้ายในลักษณะต่างๆ จากคนอื่นด้วยซ้ำ และข้อสำคัญ เราต้องไม่ทำผิดซะเอง คือ พูดโดยสรุป เราต้องไม่ทรยศกับหลักการของเราเอง ซึ่งนั้นคือหัวใจหลักของการต่อสู้โดยไม่มีอาวุธและคือพลังที่แท้จริงของการ ไม่ใช้ความรุนแรง
 

แต่ปัญหา คือ ผู้คนกลับนำเอาการไม่ใช้ความรุนแรงมาแต่เปลือก เช่นเดียวกับการเอาคำว่าประชาธิปไตยมาใช้ โดยยึดอยู่เพียงลักษณะความเป็นสถาบันประชาธิปไตย แต่ไม่ได้เข้าใจอีกสองส่วนคือ อุดมการณ์และวัฒนธรรมของประชาธิปไตย การไม่ใช้ความรุนแรงจะต้องไปควบคู่กันทั้งวิธีคิดและการกระทำ อย่างไรก็ตามการกระทำดังกล่าวมีคนเข้าใจผิดเสมอว่าจะนำไปสู่สันติภาพ ซึ่งจริงๆแล้วไม่ใช่ เพราะจริงแล้วๆ ผู้คนก็ยังไม่เข้าใจว่าสันติภาพคืออะไร (สันติภาพคือสภาวะที่ไม่มีความรุนแรง มีความขัดแย้งได้ มีความคิดเห็นแตกต่างได้ และสามารถพูดจาแลกเปลี่ยนโดยเพื่อหาทางแก้ไขความขัดแย้ง หรือ ปัญหานั้นๆ ทุวันนี้เราเจอปัญหา ความขัดแย้งในบ้าน ในที่ทำงาน ซึ่งเราก็อยู่ เรียนรู้ และ จัดการกับมันได้ ด้วยวิธีต่างๆ ที่ไม่ใช้ความรุนแรง ก่อนปัญหาจะกลับมาเกิดขึ้นใหม่อีกครั้ง และเรื่อยๆ ให้เราต้องจัดการ)

การ ไม่ใช้ความรุนแรงรับประกันไม่ได้ว่าจะเกิดสันติภาพ เพราะความขัดแย้งยังดำรงอยู่ ซึ่งต้องร่วมกันแก้ไขโดยกระบวนการประชาธิปไตย แต่การไม่ใช้ความรุนแรงอย่างถูกต้องรับประกันได้ว่าไม่มีการล้มตาย บาดเจ็บ ซึ่งนั้นดูจะสวนทางกลับกันกับทุกอย่างที่เกิดขึ้นในขณะนี้จากทุกฝ่ายไม่ใช้ ความรุนแรงแต่ก็ลงเอยด้วยความรุนแรงเช่นนี้จนเป็นวัฒนธรรมในการความชอบธรรม ในการควบคุมสังคม การที่เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ที่การไม่ใช้ความรุนแรงใช้การไม่ได้ในสังคม เนื่องจากความขัดแย้งครั้งนี้เกี่ยวข้องโดยตรงกับหนึ่งในองค์ประกอบการของ หลักการไม่ใช้ความรุนแรงเสียเอง คือ เกิดการไม่ใช้ความรุนแรงต่อต้านประชาธิปไตยแบบตัวแทน และ ประชาธิปไตยแบบตรวจสอบ ซึ่งมีผลต่อการนำหลักการไม่ใช้ความรุนแรงไปใช้เพราะมันทำงานไม่ได้ปราศจาก หลักประชาธิปไตย เพราะอย่างที่ได้บอกไปข้างต้นมันสัมพันธ์กัน และหากส่วนหนึ่งส่วนใด ไม่ทำงานสัมพันธ์กันเหมือนเดิม แน่นอนว่า การไม่ใช้ความรุนแรงมีปัญหาทันที และ ร้ายแรงมากกว่า คือ ทำให้นำไปสู่วิธีที่ใช้ความรุนแรง