สังคมไทยกับปัญหาชายแดนใต้ ก้าวย่างหนึ่งทศวรรษความรุนแรง ตอน 2

 

           ต่อจากตอนที่แล้วสิ่งที่คุณ ดอน ปาทาน ผู้อำนวยการฝ่ายต่างประเทศ ปาตานี ฟอรั่ม ได้พูดถึง ประเด็นเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมองว่า เป็นอาชญากรรมอย่างหนึ่ง เป็นปัญหาการจัดการความขัดแย้ง ที่มีมิติประวัติศาสตร์ ชาติพันธ์เข้ามาเกี่ยวข้องก่อนจะเริ่มเกริ่นต่อในตอนจบถึงเรื่อง Hot Hit ของปาตานี คือการพูดคุยสันติภาพ หรือบางคนเรียกว่าการเจรจาสันติภาพโดยมีจุด Start เผยแพร่สู่สาธารณะ คือวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ปีที่แล้ว (2556) ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ขณะเดียวกันก็มีประเด็นเพิ่มเติมให้ถกเถียง พูดคุยกันต่อ คือ บทเรียน และสิ่งสำคัญสำหรับรัฐบาลที่ควรจะดำเนินต่อไปเพื่อผลักดันสันติภาพในพื้นที่ปาตานีให้เดินต่อไปได้

รวมศูนย์อำนาจ ทำปัญหายิ่งซับซ้อน

          นายแพทย์พลเดช  ปิ่นประทีป หรือ หมอพลเดช ระบุว่า   ประการแรก ปัญหาชายแดนใต้มีปัญหาความขัดแย้งในเรื่องของชุมชนท้องถิ่นกับภาครัฐที่รวมอำนาจในส่วนกลางที่อื่น ซึ่งมีเหมือนกันหมดแต่ไม่เหมือนในเรื่องของศาสนา ชาติพันธุ์ เป็นการสะท้อนชุมชนท้องถิ่นกับการรวมอำนาจรัฐที่ส่วนกลางเป็นปัญหาโดยทั่วไป

ประการที่สอง ความขัดแย้งเป็นเรื่องธรรมชาติแต่เราจัดการปัญหาอย่างถูกวิธีหรือไม่   ถ้าเราจัดการความขัดแย้งได้โดยถูกวิธีการ จะสามารถสร้างสรรค์ความเป็นศูนย์กลางได้ ตรงนี้อยู่ที่วิธีการ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน อำนาจรวมศูนย์อยู่ที่ศูนย์กลางหมด

“อำนาจรัฐอยู่ที่ศูนย์กลางและใช้วิธีการโดยการบังคับแก้ด้วยมุมมองคนที่อยู่ศูนย์กลางโดยระบบนี้ยิ่งแก้ก็ยิ่งยุ่งเข้าไปอีก และปฏิกิริยาลูกโซ่มันก็เกิดขึ้น คือ ความเกลียดชัง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด ทหารที่เกณฑ์ที่ถูกส่งไปปฏิบัติหน้าที่ ลงไปดูแลความสงบเรียบร้อย ศูนย์กลางเป็นผู้ส่ง พอตายไปแล้วก็สร้างความเกลียดชังจากที่บ้าน ต่างฝ่ายก็มองเป็นอื่นก็นำไปสู่ความขัดแย้งทางความคิดและส่งผลให้เกิดการทำลายกัน เป็น วัฏจักรแบบนี้ไปแล้ว”

“ แก้ปัญหาไม่ถูกทาง แล้วก็กลายเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่ซ้ำเติมมาอีก ตรงนี้การสร้างความเข้าใจในทางบวกเอื้อต่อการแก้ปัญหา ผมคิดว่ามหาวิทยาลัยนเรศวรและมหาวิทยาลัยทั่วประเทศต้องตั้งสติให้ดีเพราะว่าการที่เราเป็นนักวิชาการเรามีความสามารถที่จะเข้าถึงแหล่งข้อมูลได้ดี รวมทั้งสื่อทั่วไปด้วย เพราะสื่อเป็นตัวกลาง”
                                                                   

คนนอก คนใน ความสำคัญที่ต้องเข้าใจตรงกัน 

          หมอพลเดช ยังระบุอีกว่า ภาคประชาสังคมในภาคใต้บอกว่าปัญหาส่วนใหญ่ชี้ขาดโดยสังคมใหญ่ คนทุกภาคมีความเข้าใจในเรื่องภาคใต้ที่แตกต่างกัน ถ้าตราบใดที่คนนอกพื้นที่และคนในสังคมใหญ่ที่ยังไม่เข้าใจตรงนั้นและมีทัศนะคติที่ไม่เอื้อต่อการแก้ไขให้ มันก็แก้ไม่จบ

         “ปัญหาการคลี่คลายในเรื่องนั้นทางภาครัฐเองก็ไม่เป็นเอกภาพ แต่ละภาคส่วนต่างๆก็คิดไม่เหมือนกันและยังมองโดยเหมารวมกัน ว่าเป็นในเรื่องอำนาจรัฐมันก็แยกไม่ออก ต่างฝ่ายก็ต่างเป็นในเรื่องของเอกภาพ ทางฝ่ายกระบวนการก็มีความหลากหลายเหมือนกัน การพูดคุยก็เป็นเรื่องที่ดีแล้วมันมาถูกช่องถูกทางหรือไม่ ถูกตัวบุคคลหรือไม่ ความจริงเรื่องในการพูดคุยกันยังไม่เป็นทางการ มีมาทุกๆรัฐบาลตลอด ยังไม่ก้าวหน้าที่จะคิดถึงข้อตกลงอะไรต่างๆ  แต่ 28 กุมภาพัน 56 ที่ผ่านมานั้นทำให้เกิดข้อตกลงในการพูดคุยอย่างเป็นทางการและมีการนัดหมายสื่อมวลชนรู้หมดเรามีปฏิกิริยาต่างๆด้วย กระบวนการพูดคุยต่างๆนั้นจะเกิดความสำเร็จได้ขนาดไหนเละปัญหาคือจะมีการปรับตัวอย่างไรในช่วงการเปลี่ยนรัฐบาลถ้าเปลี่ยนตามรัฐบาลเป็นอีกรัฐบาลหนึ่ง ขณะนี้พูดถึงรัฐบาลเฉพาะกาล หมายความว่าการที่รัฐบาลจะเปลี่ยนแต่ในเรื่องปัญหาก็ยังไม่แก้ แต่ถึงมีอย่างนั้นก็ไม่ได้แก้อะไรมาก”

 ความหวังสันติภาพ ยังไม่ถึงทางตัน

          หมอพลเดช ยังชี้ว่า ช่วงนี้เป็นช่วงที่มีความหวัง เราเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้มีความหวังมากขึ้น เราจะเห็นว่าปี 36 เป็นช่วงที่มีการปรับตัวก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ใหญ่ปี 47 แต่พอเกิดเหตุการณ์ปี 47 ก็จะมี 2ตัวแสดงหลัก คือ ฝ่ายขบวนการและฝ่ายอำนาจรัฐ ตั้งแต่ปี 47 เราเริ่มเห็นภาพประชาชนหรือภาคประชาสังคมเริ่มเข้ามีบทบาทเป็นตัวแสดงตัวที่ 3 กระแสสังคมทั้งในประเทศและต่างประเทศที่เรียกร้องเรื่องของสันติภาพ การเรียกร้องเรื่องนี้เราจะเห็นว่าแรง

         “สิ่งที่ต้องทำในอนาคตกระบวนการสันภาพที่ต้องเดินหน้า ประการแรก กระบวนการสันติภาพที่ต้องเดินหน้าอย่างเข้มข้น สิ่งที่ต้องไปให้ถึง คือ การหยุดยิงหยุดความรุนแรงทุกรูปแบบแท้ที่จริงความรุนแรงที่เกิดขึ้นมันเกิดจากทั้งสองฝ่ายที่ต่างฝ่ายต่างถือปืนกระทำต่อกัน ต้องหยุดทั้งคู่แต่ไม่ได้เรียกร้องให้ใครหยุด ประการที่สอง คือ กระบวนการสันติภาพ(Peace process) ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่นอกวงและบนโต๊ะที่พูดคุยอยู่ตรงนี้ต้องทบทวนวิธีการใหม่หรือปฏิรูปกระบวนการทั้งโครงสร้าง องค์ประกอบวิธีการทั้งหลาย ประการที่สาม ต้องคิดถึงนวัตกรรมทางนโยบายและการจัดการกระบวนการท้องถิ่นด้วยที่ 10% สนใจการแก้ปัญหากลไกกระทรวงหรือขบวนชายแดนใต้ 32% รูปแบบ ศอ.บต. ที่ใช้อยู่ องค์กรการปกครองท้องถิ่นพิเศษ 51.8% นั้นก็หมายความว่าถ้าหากจะมีนวัตกรรมทำงานเชิงนโยบายหรือการจัดการก็อาจจะเป็นตัวเลือกหนึ่งถ้ารัฐบาลเปลี่ยนไป ตรงนี้อาจจะเป็นประเด่นที่พูดคุยบนโต๊ะเจรจา ประการที่สี่ เรื่องการจัดการตัวเอง ที่นี้การจัดการตัวเองเราจะจัดการตัวเองในเรื่องของการเยียวยาชุมชน ฟื้นฟู การพัฒนาชุมชน ตรงนี้ให้ชุมชนท้องถิ่นทำกัน แทนที่รัฐจะไปทำทั้งหมดการจัดการตัวเองต้องมีรูปธรรมมากขึ้นอย่างเรื่องของวีรชนท้องถิ่นหรือวีรชนภาคพลเมือง(โลโก้ฮีโร่) ตรงนี้ให้ความสำคัญไปน้อย ที่หมายถึงแบบ จิตวิญาณความหวังมันมีหลายอย่างรวมอยู่ด้วยมันมีค่าที่คนจะยึดเหนียวสิ่งที่จารีตมีแค่วีรชนวีรบุรุษของเราเป็นวีรกษัตริย์หมด แต่วีรชนที่เป็นสามัญชนเราถูกละเลยสิ่งเหล่านี้ควรส่งเสริม โดยใช้กระบวนการทางสังคม
                                                             

เทียบเคียง เรียนรู้ บทเรียนนอก-ในประเทศ

          ทางด้าน ดอน ปาทาน มองว่า จากกรณีที่คุณสรยุทธ จุลานนท์ ออกมาขอโทษทางสื่อ แต่หลังจากนั้นสังคมไทยและข้าราชการไทยไม่มีอะไรต่อเนื่อง ถ้าในต่างประเทศทอย่างนี้ ต้องดูตัวอย่างพวกออสเตรียที่ออกมาขอโทษพวกออบิสื่อลี ขณะที่อเมริกาเป็นการต่อรองพื้นที่ อัตลักษณ์วัฒนธรรมหรือพื้นที่ศักดิ์ศรีของชนกลุ่มน้อย ถ้าจะพูดในการให้ความหวังคือการขยายเนรเทศ (ขยายพื้นที่) อย่างชื่อหมู่บ้านที่ไม่เหมาะสมกับอัตลักษณ์บุคคลที่อยู่

          ดอน ปาทาน มองเพิ่มเติมว่า การเจราจาที่  28 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมานั้น ถามว่าทำไมถึงรีบเกินไปถ้าถามพวกนักวิเคราะห์ เขาก็จะบอกว่าทักษิณบีบให้มาเลเซียเป็นตัวกลาง ทำไมมันผิด เพราะว่ากระบวนการ หลังจากใต้ร่มเย็นที่ไม่ยอมกลับมา เขาผิดกับมาเลเซียตั้งแต่สมัยปี 97-98 รัฐบาลมาเลเซียส่งพวกข้ามน้ำมาติดคุกที่นี่ตลอดชีวิตเขาผิดกับมาเลเซียหลายเรื่องเพราะฉะนั้นมาเลเซียไม่เป็นตัวกลาง

          “เหตุผลที่คุณทักษิณรีบเพราะว่าคุณทักษิณ ช่วงนั้นโดนรัฐประหารโดนไป 3 ข้อ 1) เรื่องวัง 2) เรื่องคอรัปชั่น 3) เรื่องภาคใต้ เรื่องภาคใต้คุณยิ่งลักษณ์และคุณทักษิณจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องบอกชาวโลกว่าเขาได้ยื่นมือให้กับคนมาลายูแล้ว ผมได้ถามแหล่งข่าวว่า อุสต๊าซฮาซัน ตอยิบ แทบจะไม่มีอำนาจอะไรเลย      ถ้าจริงๆแล้ว อุสต๊าซฮาซัน ไม่ได้อยู่ในคณะกรรมการเลยและบางแหล่งข่าวบอกว่าไม่เอาฮาซันด้วย มันเป็นเรื่องการตัดสินใจทางการเมืองที่คุณทักษิณอยากจะกลับบ้าน คุณนายีปก็ต้องเลือกตั้ง เราเห็นว่าหลายคนใน 3 จังหวัดถือบัตรประชาชน 2 ใบ มาเลเซียก็ต้องการที่จะโชว์ว่าเขาช่วยเพื่อนบ้าน  ผมมองว่าทุกรัฐบาลไม่เคยออกจากกรอบ จะพึ่งข้าราชการ”

          “ผมมองว่าปัญหาตรงนี้รัฐบาลต้องกล้าออกนอกกรอบราชการ อย่างอเมริกามันไม่มีใครบอกว่าใครผิดใครถูกแค่บอกว่ามันเกิดอะไรขึ้นหลังจาก 50-60 ปีที่ว่าคนผิวดำและผิวขาวนั่งรถด้วยกันไม่ได้แต่ตอนนี้เขามาไกลและเร็วมาก คุณอยากจะแก้ปัญหาตรงนี้คุณต้องทำอย่างไรให้คนชนกลุ่มน้อยตรงนี้อยู่ได้ คำว่าทางออกเราไม่เคยมีและไม่กล้าคิดตรงนี้ว่าจะทำอย่างไร ตอนนี้ข้าราชการ 80% เป็นคนพุทธมาจากที่อื่นและไหนจะทหารในพื้นที่อีกทำให้รู้สึกว่าเป็นเมืองขึ้น”

          “ขณะที่ต่างประเทศเขามองว่ามันเป็นเรื่องธรรมดาแต่ไม่ใช่ว่าเขาเห็นด้วยกับความรุนแรงแต่พวกนี้เขาผ่านมาเยอะแล้ว ถ้าเราดูจะเห็นว่ามีการตำหนิรัฐบาลไทยเยอะพอสมควร มุสลิมเพื่อนบ้านในประเทศอาเซียนนี้ช่วยไทยมาตลอด เราจะเห็นประเทศเพื่อนบ้านเขามาช่วยตลอดแต่ไม่เห็นว่าจะมีอะไรเกิด  เลยถอดการช่วยเหลือไป”

           อ.เอกรินทร์ มองว่า สิ่งที่นำเสนอไป อาจช่วยในการอธิบายในวิธีการแก้ปัญหาโดยเฉพาะในเรื่องของนโยบายเกี่ยวกับการให้สิทธิบางประการกับคนกลุ่มน้อยเพื่อที่จะเท่าเทียมกัน

          “ดูเหมือนว่าการพูดถึงประเด็นความเป็นเนื้อเดียวกันของคนในสังคม เช่น การพูดถึงกรณีของหะยีสุหลงที่ต้องเปลี่ยนวิธีคิดใหม่ไม่ใช่ของคนมาลายูอย่างเดียวแต่ต้องเป็นของคนในสังคมไทยด้วย ก็เป็นความภาคภูมิใจของการต่อสู่ที่ไม่ใช้ความรุนแรง ดูเหมือนว่าการสรุปของคุณดอนที่สำคัญที่สุดเรื่องวาทะกรรมเอกราชที่เป็นการต่อสู้ทางการเมืองตอนนี้ดูเหมือนการเจรจาที่ยังเป็นปัญหาอยู่ไม่ว่าจะเป็นตัวกลางอย่างมาเลเซียเองที่ยังถูกตั้งคำถาม หรือความชอบธรรมของอุสต๊าซ ฮาซัน ตอยยิบ ที่เป็นตัวแทนของกลุ่มบีอาร์เอ็น ที่ตัวแทนสภาเขาส่งมาเขาก็ไม่ใช่ว่าเป็นตัวตัดสิ้นทั้งหมด ที่นี้การพูดถึงการเจรจาก็ยังไม่มีความคืบหน้าเป็นจริงเป็นจังขึ้นมาในทางปฏิบัติ

          “แล้วเหตุการณ์ภาคใต้จะแก้ไขได้ก็ต้องขึ้นอยู่กับสังคมไทยด้วยและสังคมไทยในปัจจุบันที่มีความขัดแย้งที่รุนแรงมากขึ้นพอจะมีความหวังหรือไม่ ถ้าพูดถึงสังคมไทยกับภาคใต้ ถ้าพูดถึงรัฐบาลต่อไปควรจะมีอำนาจลักษณะอย่างไร”

เป็นคำถามที่ชวนให้สังคมไทย คิดต่อ….