กระบวนการสันติภาพในมุมมองของนักธุรกิจ (1)

 

หมายเหตุ : บทความชิ้นนี้ได้นำมาจาก "บทสนทนาในห้วงยามเปลี่ยน(ไม่)ผ่าน" กระบวนการสันติภาพในมุมมองของนักธุรกิจ ในวันที่ 11 เม.ย. 2556 ณ ร้านบูคู ปัตตานี

บทความชิ้นนี้มีด้วยกัน 2 ตอน โดยตอนแรกจะเป็นการกล่าวถึง ภาคธุรกิจกับความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และตอนที่ 2 จะเป็นทัศนะ มุมมอง ของนักธุรกิจที่มีต่อ การเจรจา, พูดคุยสันติภาพ

ในตลอดระยะเกือบ 1 ทศวรรษที่ผ่านมา ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โอกาสทางธุรกิจ บางธุรกิจได้หายไปเนื่องด้วยจากความรุนแรง มีบางธุรกิจที่เติบโตขึ้น มันมีทั้งวิกฤติและโอกาส ความยากจน การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่ำ คนทำงานในภาคธุรกิจภายในพื้นที่อย่างไร

ปาตานี ฟอรั่มได้จัดวงพูดคุย ในประเด็นที่ว่า "บทสนทนาในห้วงยามเปลี่ยน(ไม่)ผ่าน" กระบวนการสันติภาพในมุมมองของนักธุรกิจ ซึ่งจะเป็นภาพสะท้อนจากนักธุรกิจภายในพื้นที่ต่อความเป็นไปในสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้

ธุรกิจห้องพักท่ามกลางความรุนแรง

เริ่มต้นจากการพูดคุยของผู้ประกอบการกิจการโรงแรม จากสถานการณ์ความรุนแรงจังหวัดชายแดนภาคใต้ หากดูในส่วนงบประมาณที่นำมาใช้ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เปรียบเปรยได้ว่าหากเอาทหารหรือกำลังพลทั้งหมดมายืนเรียงแถว ซึ่งจะครอบคลุมถนนทั้งสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่หากครอบคลุมทั้งสามจังหวัดจริง เหตุการณ์รุนแรงไม่น่าเกิดขึ้น การประกอบธุรกิจในจังหวัดชายแดนภาคใต้ อย่างที่บอกว่า ทุกวิกฤติ ถ้ามองให้เป็นโอกาสก็สามารถที่จะเป็นโอกาสได้ ซึ่งในส่วนของห้องพัก เดิมทีที่มีนักธุรกิจ หรือนักท่องเที่ยว มาพักในช่วงเทศกาล แต่ ณ ปัจจุบันนี้กลุ่มที่มาพักในโรงแรมกลับกลายเป็นคนรอบนอกอำเภอ ที่เดินทางมาในอำเภอเมือง จากเดิม 3-4 ทุ่ม หรือเที่ยงคืน ชาวอำเภอรอบนอกสามารถที่จะเดินทางกลับสู่บ้านของตัวเองในต่างอำเภอได้ แต่ทุกวันนี้เพียงแค่ 6 โมงกว่าก็ไม่สามารถที่จะเดินทางกลับบ้านได้ โดยเฉพาะในช่วงของการแข่งขันฟุตบอล เมื่อมาแข่งบอลกันแล้ว เขาไม่เดินทางกลับแล้ว พวกเขาเหล่านี้ได้เดินทางมาเปิดห้องพักในโรงแรม  ในส่วนของคาราโอเกะในโรงแรมที่มีอยู่ 60 ห้อง เมื่อเปิดบริการแล้วเต็มทุกห้อง เนื่องจากว่า ทหารที่ปฏิบัติหน้าที่ในตอนกลางวัน เดินทางมาใช้บริการ

อานิสงค์ที่ได้ก็คือเรื่องภาษี เพราะธนาคารแห่งชาติสนับสนุนให้ธนาคารกรุงไทยปล่อยสินเชื่อในอัตราดอกเบี้ย ร้อยละ 1.5 จากธรรมดาไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5-7 แต่จะมีผู้ยื่นกู้เท่าไหร่สามารถที่จะกู้ผ่านในตรงนี้

เศรษฐีใหม่ กับ กำลังจ่ายในจังหวัดชายแดนภาคใต้

จากการนำเสนอของคุณฟาเดล เจ้าหน้าที่สินเชื่อ ธนาคารอิสลามแห่งประทศไทย จากข้อมูลเท่าที่ทราบและจากการสังเกตก็คือ ภาวะทางเศรษฐกิจในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ค่อนข้างเปลี่ยนแปลง จากระยะเวลา 50 ปีที่ผ่านมา โดยแต่ละปีในการเปลี่ยนแปลงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มักจะไม่มีอะไรที่หวือหวา ชาวบ้านที่เป็นลูกจ้างกรีดลูกจ้างอยู่เหมือนเดิม ไม่มีอะไรที่เปลี่ยนแปลงในระยะเวลา 20-30 ปีที่แล้ว แต่ในช่วง 15-20 ปี กระบวนการมันเปลี่ยนแปลงเร็วมาก เป็นการยกระดับของชาวบ้านโตขึ้นอย่างน่าตกใจ โดยส่วนตัวจะเห็นสวนยาง จากการสังเกตในอดีตลูกจ้างในสวนยาง จะเป็นลูกจ้างจริงๆ เป็นกลุ่มคนที่หาเช้ากินค่ำ มีเงินพอเก็บ พอจ่าย  ในทางกลับกัน โดยปัจจุบันนี้ ลูกจ้างกรีดยางมีรายได้มากกว่าเจ้าของสวนยาง เพราะโดยส่วนใหญ่แล้วเจ้าของสวนยางจะได้รับมรดกที่ดินจากพ่อ แม่ จะมีการแบ่งรายได้แบ่ง 6-7 คน หรือมากกว่านั้น แต่ในส่วนของลูกจ้างสวนยาง โดยส่วนใหญ่แล้วจะมีการแบ่งกันอย่างมากคือ 4 คน รายได้ทั้งหมดจะมีการปันผลในอัตราส่วน 60:40 เจ้าของสวนได้รับร้อยละ 60 ส่วนลูกจ้างได้รับร้อยละ 40 แต่ในส่วนร้อยละ 60 ของเจ้าของสวนยางมันโดยกว่าร้อยละ 40 ของลูกจ้างเมื่อถูกแบ่งปันแล้ว ลูกจ้างจึงยกระดับตัวเองขึ้นมาเรื่อยๆ ท่ามกลางภาวะของการโตที่ช้าลงของเจ้าของสวนยาง

ปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้ ก่อให้เกิดการกลับกัน โดยที่กลุ่มลูกจ้างสวนยางสามารถที่จะสะสมทุน เพื่อใช้จ่ายได้เพิ่มมากขึ้นในระดับเดียวกันกับกลุ่มเจ้าของสวนยาง และในปัจจุบันนี้ทุนโดยส่วนใหญ่อยู่ในมือของผู้ที่เพิ่งสร้างฐานะขึ้นมาใหม่ จนกลายเป็นว่าเศรษฐกิจเติบโตขึ้นมาก ตัวชี้วัดที่ได้นำมาวิเคราะห์ประกอบกับการใช้จ่ายของผู้คนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็คือ  บิ๊กซี ปัตตานี เป็นตัวชี้วัดที่ง่ายมาก เคยเข้าไปซื้อสินค้า แต่สิ่งที่ได้รับก็คือ สินค้าขาดสต็อก เป็นไปได้อย่างไรที่ห้างขนาดใหญ่ หมดสต็อก กำลังจ่ายของผู้คนที่นี้เกิดขึ้นอย่างน่าตกใจ

จากตรงนี้กล่าวได้ว่า สังคมและภาวะเศรษฐกิจที่นี้ เปลี่ยนไปแล้ว เราจะใช้มุมมองเก่า มองไม่ได้อีกแล้ว ในนโยบายทางการเงินของสถาบันการเงินจะมองมายังผู้ประกอบการรายย่อย รวมทั้งจังหวัดชายแดนภาคใต้ถือเป็นตลาดใหม่ ซึ่งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ดูเหมือนว่าเป็นพื้นที่ที่เป็นวิกฤติ แต่หากมองอีกแง่หนึ่งมันคือโอกาสที่ดีมาก เพราะสภาวะดังกล่าวนี้ ทำให้คู่แข่งทางธุรกิจที่ไม่มีความชำนาญการในพื้นที่ หากแต่ธุรกิจใดที่รู้จักนำเอาศักยภาพของคนในพื้นที่มาใช้ เพราะในทางเศรษฐกิจแล้ว คนที่นี้ไม่ได้มีความซับซ้อนใดๆ เพราะว่าชั้นเชิงธุรกิจ ชั้นเชิงทางการเงินที่ไม่ซับซ้อนคือ มีแล้วใช้ ใช้แล้วหา ความไม่ซับซอนนี้จะถือเป็นโอกาสอย่างมากสำหรับธุรกิจขนาดใหญ่

การเติบโตของเมืองและธุรกิจอสังหาฯ

นิมะ ยานยา ก่อนอื่นขอแย้งในส่วนที่มีการกล่าวถึงเศรษฐกิจในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ว่าไม่ดีนั้น มันไม่เป็นความจริง การเกิดขึ้นของงานก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์เติบโตขึ้น มีการเปิดโครงการบ้านต่างๆ ก็มีคนซื้อ รวมถึงโครงการต่างๆ เช่นในรูสะมิแลก็เกิดขึ้นอย่างมากมาย อีกทั้งยังมีโครงการก่อสร้างห้างสรรพสินค้าโลตัสในพื้นทีบริเวณสี่แยกดอนรักถึงปัตตานี จายา และในทุกวันนี้ในส่วนของธุรกิจก่อสร้างมีการจดทะเบียนเพิ่มมากขึ้น ทั้งการซื้อขายก็มีเพิ่มมากขึ้น ในโครงการก่อสร้างต่างๆ ผู้ที่ซื้อบ้านเป็นคนในพื้นที่

ค้าปลีก กับ ตลาดการซื้อขาย

ผู้ประกอบการไดอาน่า ได้กล่าวว่า ไดอาน่าเปิดปี 2532 เป็นสิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น การให้บริการในส่วนของการค้าปลีกหลังจากเหตุการณ์ในปี 2547 มีความกลัวว่าประชาชนจะไม่เข้าห้าง รวมถึงอัตราการซื้อขายที่จะลดลง อย่างไรก็ตามธุรกิจก็ยังคงดำเนินอยู่และเติบโตขึ้นมาอย่างเรื่อยๆ กระทั่งถึง ณ ปัจจุบันนี้ที่มีร้านค้าปลีกเพิ่มเข้ามา แต่ก็ไม่ได้ส่งผลกระทบให้กับเรา สิ่งสำคัญสำหรับร้านค้าปลีกนั่นก็คือ การลดหย่อนภาษีในส่วนของจังหวัดชายแดนภาคใต้ นั่นเป็นตัวช่วยอย่างหนึ่งสำหรับธุรกิจในพื้นที่ตรงนี้

ยุคเฟื่องฟูของธุรกิจรถในจังหวัดชายแดนภาคใต้

คุณฮาดี ที่ปรึกษามูลนิธิเอเชีย ได้ให้ข้อสังเกตต่อธุรกิจรถในจังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า สิ่งที่สังเกตว่า วิถีชีวิตได้เปลี่ยนไป ก่อนหน้านี้ผู้คนในจังหวัดชายแดนใต้ไม่นิยมใช้รถยนต์ แต่ในทุกวันนี้สามารถที่จะพบเห็นรถได้ทุกประเภท รถดี รถหรู รถยุโรปแพงๆ โผล่ในสามจังหวัดทั้งสิ้น ส่วนตัวได้ตั้งคำถามไว้สองคำถามคือ ใครคับ และ ธุรกิจในสามจังหวัดชายแดนใต้เฟื่องฟู กระทั่งทำให้สามารถที่จะถอยรถเหล่านี้ได้ รวมไปถึงสถาบันการเลือกเปิดโอกาสในตรงนี้ หรือว่ามันเป็นแฟชั่น

แต่เท่าที่ทราบธุรกิจรถในสามจังหวัดเป็นยุคที่เฟื่องฟูมาก จากการเปิดเผยของบริษัทอีซูซุ คิวการจองรถเยอะมาก เช่นเดียวกับบริษัทโตโยต้า สิ่งที่น่าแปลกใจ ธุรกิจรถใหญ่ๆ เกิดขึ้นในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยบริษัทมาสด้า เป็นโชว์รูมที่ใหญ่ระดับประเทศ

ทางด้านคุณแวหามะ จากธุรกิจรถจักรยาน โดยส่วนตัวมองธุรกิจในจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นสองเรื่องใหญ่ๆ คือ วิกฤติและโอกาส มันเป็นสองมิติ ซึ่งจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะมีเพียงแค่มิติเดียว เป็นไปไม่ได้ที่จะมีโอกาสเพียงอย่างเดียว มิติของวิกฤติมีทั้งภายในและภายนอก โดยในส่วนขององค์กรใหญ่ๆ เช่นไดอาน่า รัฐได้ให้โอกาสในการลดหย่อนภาษี แต่วิกฤติที่เกิดขึ้นจริงๆ คือ คนในพื้นที่ไม่มีโอกาสที่จะได้รับการช่วยเหลือในตรงนี้ ในเรื่องของดอกเบี้ยร้อยละ 1.5 คนในพื้นที่ได้รับประโยชน์จากส่วนนี้มากน้อยเพียงใด รัฐควรที่จะมอง SMEs ให้มากขึ้น ซึ่งรัฐให้สิทธิพิเศษสำหรับองค์กรธุรกิจที่อยู่ได้แล้ว นี้คือวิกฤติ

ต่อมาในวิกฤติที่สองคือ ความไม่เป็นมืออาชีพของนักธุรกิจเอง ซึ่งมันมีปัญหาจริงๆ ในพื้นที่ ตอนนี้หากไปดูทะเบียนที่เกิดขึ้นใหม่ในกรมพัฒนาธุรกิจ เราจะเห็นกราฟสถิติ ที่มีการจดทะเบียนเพิ่มขึ้น แต่อยากให้มองดูอีกต่อไปว่า จากผู้ที่จดทะเบียนนั้นมีจำนวนเท่าไหร่ ที่ไม่สามารถประสบความสำเร็จได้ นั่นคือ ดัชนีชี้วัดความสำเร็จของธุรกิจจริงๆ  ไม่มีใครทำธุรกิจได้ดีเท่ากับคนในพื้นที่ เพราะในช่วงเวลาวิกฤติถือเป็นโอกาสของคนในพื้นที่

โอกาสอีกประการต่อผู้คนที่นี้ก็คือ ความชอบอวด  ถ้าจักรยาน ถ้ายี่ห้อไม่ดี ผมจะไม่ซื้อ ปัตตานีราคาแสนกว่าที่ปัตตานีมีกี่สิบคัน ตลาดขายจักรยานในหาดใหญ่ หากถามว่าคนที่ไปซื้อ และกลุ่มคนที่ขายดีที่สุดคือคนกลุ่มใด คำตอบคือ จากสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพราะการปั่นจักรยาน ปั่นคนเดียวไม่ได้ ต้องปั่นเป็นกลุ่ม ฉันต้องดีกว่าเพื่อน ซึ่งที่มาของเงินจะมาจากไหนไม่สามารถทราบได้

นักธุรกิจรายย่อย รอวันตาย หรือรอวันโต อันนี้เรามาดูกัน

สหกรณ์อิสลาม กับความสำเร็จของสถาบันการเงินทางเลือกของมุสลิม

สหกรณ์ออมทรัพย์อิสลามก่อตั้งในปี  2530 คนส่วนใหญ่ในสองสามจังหวัดมีความเป็นห่วงเรื่องดอกเบี้ย ตอนนั้นนักการเมืองก็เริ่มพูดถึงธนาคารอิสลาม แต่ไม่สามารถเกิดขึ้น การก่อตั้งสหกรณ์อิสลาม เริ่มต้นที่คุณเด่น โต๊ะมีนา ได้รวบรวม ผู้ทรงคุณวุฒิทางศาสนา และได้มีมติให้จัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์อิสลามจังหวัดปัตตานี หลังจากนั้นประมาณ 20 ปี ได้เปลี่ยนแปลง ความคิดของคณะกรรมการ ต้องขยายสาขา และจัดทำระเบียบสหกรณ์ขึ้นมา

การทำงานของสหกรณ์ตั้งแต่เริ่มต้น เราไม่เคยที่จะขาดทุน ในปีแรก เราได้กำไร 6,000 บาท แต่ปีที่แล้วเราได้กำไร 30 ล้านบาท

การเดินทางที่เปลี่ยนไปในสามจังหวัด

ทางด้านธุรกิจประเภทบริษัทท่องเที่ยว รวมทั้งบริษัทจำหน่ายตั๋วเครื่องบิน คนในสามจังหวัดจะเดินทางบ่อย โดยในอดีตหากคนปัตตานีจะเดินทางไปส่วนกลาง (กรุงเทพมหานคร) จะโดยสารรถไฟที่สถานีโคกโพธิ์ แต่มาถึงปัจจุบันการวิถีการเดินทางของผู้คนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะจังหวัดปัตตานี ได้ใช้การเดินทางโดยเครื่องบิน จากการสังเกตจะพบว่า ในการเดินทางในแต่ละเที่ยวบินนี้จะมีคนปัตตานีประมาณร้อย ละ 20-30 ตรงนี้แสดงให้เห็นถึงการสะพัดของเงินมีมากขึ้น

ทั้งหมดนี้เป็นภาพสะท้อนจากผู้ประกอบภายในพื้นที่ ในโอกาสต่อไปทางกองบรรณาธิการจะนำเสนอเรื่องราวของความคิดเห็นต่อกระบวนการเจรจาสันติภาพ โปรดติดตาม