ถอดบทเรียนจากการเสวนา ชุมชนพุทธ มุสลิม/ไม่รู้จักฉัน-ไม่รู้จักเธอ “ก่อนความสัมพันธ์จะล่มสลาย ”
ในวันนี้ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นภายในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ภาพของความรุนแรงได้ถูกนำเสนอภายในสื่อทุกแขนง แต่ในช่วงเวลาของความขัดแย้งนี้นั้น ยังมีภาพความสวยงามในความสัมพันธ์ของผู้คนสองกลุ่มที่อาศัยอยู่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้นี้ นั่นก็คือ ชุมชนพุทธและมุสลิม ปาตานี ฟอรั่มได้จัดเวที การเสวนา ชุมชนพุทธ มุสลิม/ไม่รู้จักฉัน-ไม่รู้จักเธอ “ก่อนความสัมพันธ์จะล่มสลาย” ณ ตำบลโคกเคียน เมื่อวันที่ 30 มิ.ย. ที่ผ่านมาเพื่อนำเสนอภาพความสวยงามระหว่างกลุ่มคนสองกลุ่มที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ถูกเรียกว่า “พื้นที่แห่งความขัดแย้ง”
เวทีเสวนาครั้งนี้เริ่มต้นด้วยการเล่าเรื่องราววิถีชีวิต และการเป็นอยู่ของบุคคลต่างถิ่น แต่ได้เดินทางย้ายภูมิลำเนามาอาศัยอยู่ ณ จังหวัดชายแดนภาคใต้
คุณฐานิส: ได้เล่าว่าตั้งแต่ตนเองมาอยู่ที่นี่ประมาณ 30 กว่าปีแล้ว เดิมเป็นคนบ้านแพ้ว สมุทรสาคร ในช่วงเวลาแรกที่เดินทางมาที่นี้นั้น ได้รับการช่วยแลและดูแลอย่างดีจากมุสลิมได้พื้นที่ ได้อาศัยอยู่เหมือนกับแบบพี่ แบบน้อง มีความรักใคร่เผื่อแผ่ คนไทยพุทธที่อยู่ด้านเหนือปลูกผักปลูกแตงก็เอาไปให้คนทะเล พอมุสลิมทะเลหาปลาได้ ก็มีการแบ่งปันกัน เราอยู่กันอบอุ่นเป็นกันเอง แล้วในเรื่องของความหวาดระแวงไม่มี
อัสรีย์ ยา นักพัฒนาเอกชนในพื้นที่ ได้กล่าวว่า บางสิ่งบางอย่างที่ได้เกิดขึ้นในพหุสังคม ได้ก่อให้เกิดปัญหาเช่น ความเปลี่ยนแปลงของวิถีมุสลิม กล่าวคือ วิถีปฏิบัติบางอย่างของชาวมุสลิม ซึ่งแต่ก่อนทำได้แต่เดี๋ยวนี้ทำไม่ได้ มันมีบางจุดที่มันเปลี่ยนไป ตัวอย่างจากหลายๆ กิจกรรม เช่น งานต่างๆ ที่เกิดขึ้น ก็จะมีการช่วยเหลือกัน คนนี้ล้างจาน คนนี้ล้างหม้อ แม้ว่าจะมีจุดที่แตกต่างกัน แต่ยังคงช่วยเหลือซึ่งกันและกัน สิ่งนี้สามารถรักษาความเป็นพี่น้องระหว่างพุทธกับมุสลิมได้ดี
วัฒนธรรมจังหวัดนราธิวาส: สังคมที่นี่มีความสมบูรณ์แบบ พี่น้องทั้งสองศาสนาอยู่ร่วมกันได้และอยู่ร่วมกันมานานแล้ว แต่ว่าในฐานะที่มาจากสำนักงานวัฒนธรรมก็ขอออกตัวว่าสิ่งที่ตนเองมาพูดในวันนี้ไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานเป็นความคิดของตนเอง จากภารกิจของสำนักงานวัฒนธรรมนั้นหลายๆ คนก็เคยไปร่วมก็จะเป็นลักษณะของการส่งเสริมศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ส่งเสริมสิ่งที่ชาวบ้านทำอยู่แล้ว สิ่งที่น่าสนใจก็คือว่าเมื่อตนเองเห็นการรวมตัวมันน่าสนใจว่าปัจจุบันเราจะได้ยินว่าสภาวัฒนธรรมตำบล เพราะว่าอีกไม่นานรูปแบบของสภาวัฒนธรรมตำบลมันจะเปลี่ยน ก่อนหน้านั้นที่ได้กล่าวถึงเมื่อสักครู่นี้ว่าทำไมแต่ก่อนคนมุสลิมที่นี่บางสิ่งบางอย่างทำได้ พอมาตอนนี้ทำไมทำไม่ได้ ต้องเข้าใจว่าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมทีเดียวศาสนาของคนที่นี่คือศาสนาฮินดู พราหมณ์ หลังจากนั้นเป็นศาสนาพุทธ คือ มันมีพื้นที่ของฮินดู มีพื้นที่ของพราหมณ์ และมีพื้นที่ของพุทธ สังคมที่นี่ยังคงรักษาความเป็นพหุวัฒนธรรมได้สูงพอสมควร
ในฐานะที่ตนเองทำงานด้านวัฒนธรรม ท้องถิ่นจะต้องเป็นองค์กรที่เคลื่อนไหวด้านวัฒนธรรม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น วันนี้เรามาใช้พื้นที่โคกเคียน ของท้องถิ่นนั้นประมาณ 8 ปีที่แล้วจะมียุทธศาสตร์อยู่ 8 ยุทธศาสตร์ แต่ปีนี้ท้องถิ่นจะเหลือ 7 ยุทธศาสตร์ แล้วก็มียุทธศาสตร์ข้อหนึ่งเป็นเรื่องการส่งเสริมศาสนา ศิลปวัฒนธรรมธรรมและการมีส่วนร่วมของชุมชนตรงนี้ชัดเจนเลย แล้วก็ใน 31 หน้าที่ของท้องถิ่น มันจะเป็นหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับด้านวัฒนธรรมนั้นอยู่ประมาณ 7-8 ข้อ ผู้บริหารน่าจะคิดว่าถ้ามีงบประมาณเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานลงการสนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชนทำได้ดีมาก เราต้องมองว่าวัฒนธรรมเป็นของคนทุกคน ไม่ใช่ของใครคนใดคนหนึ่ง สุดท้ายตนเองมีข้อคิด
การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วม
นักพัฒนาเอกชนในพื้นที่ ได้นำเสนอถึง ตัวกลางในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคนในพื้นที่ โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ นั่นคือ สถาบันการศึกษาเป็นแหล่งที่ดีที่สุด ที่จะคอยช่วยเหลือ ที่จะคอยอธิบายความสัมพันธ์ของคนในชุมชนเพราะว่าลูกหลานของคนที่นี้ก็มาจากสถาบันการศึกษาที่คอยฟูมฟักขึ้นมา เพราะฉะนั้นตนเองคิดว่าเป็นประเด็นสำคัญพอสมควรที่โรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่อาจจะต้องพิจารณาให้ความสนใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของคนรุ่นปู่ ย่า ตา ยาย สมัยก่อน และทำอย่างไรที่ทำให้ลูกหลานคนที่นี่มีโอกาสมานั่งพูดคุยกันได้
บทสรุป ลุงบัติก็ได้บอกถึงระยะเวลาที่ตนเองอยู่ที่นี่ 30 ปี มองเห็นการเปลี่ยนแปลงของชุมชนพุทธ มุสลิม อย่างชัดเจนทั้งในอดีตและปัจจุบัน กระแสโลกาภิวัตน์ได้เข้ามาในพื้นที่ทำให้วัฒนธรรมบางอย่างในพื้นที่จางหายไป เป็นสิ่งที่ลุงกังวลว่ากระแสโลกาภิวัตน์หรือกระแสสมัยใหม่จะมาแทรกซึมในวิถีชีวิตของคนรุ่นใหม่ ในส่วนของคุณอัสรีย์ที่เป็นนักพัฒนาซึ่งได้มองเห็นความร่วมมือของคนในพื้นที่ทั้งสองหมู่บ้าน และคิดว่าควรจะให้เป็นเช่นนี้ต่อๆไป เพราะว่าพื้นที่นี้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ในส่วนของวัฒนธรรมจังหวัดก็ได้เสนอให้มีนโยบายที่เกี่ยวกับเรื่องวัฒนธรรม ในส่วนของสภาวัฒนธรรมตำบลที่อยากจะให้คนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการนำเสนอกิจกรรมในพื้นที่จริงๆ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับฐานการเมือง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเมืองท้องถิ่น นออกจากนี้การลงประชาคมต่างๆในพื้นที่อยากจะให้เป็นเสียงของประชาชนจริง ได้ทำตามความต้องการของคนระดับการเมือง และอยากจะให้ลดนโยบายทางด้านโครงสร้างพื้นฐานเพื่อไปส่งเสริมในเรื่องของคุณธรรม จริยธรรมในพื้นที่เพิ่มขึ้น สิ่งต่างๆ ที่นำเสนอทางคณะทำงานของปาตานี ฟอรั่มจะนำไปปรับเปลี่ยน ปรับปรุงแล้วก็แก้ไขให้เกิดการพูดคุยแลกเปลี่ยนอยากที่ได้บอกว่าอยากจะให้เป็นสภากาแฟจริงๆ แล้วก็อาจจะไม่จำเป็นที่ปาตานี ฟอรั่มต้องลงไปทุกพื้นที่ เพราะว่าในพื้นที่เองสามารถจัดตั้งกลุ่มสภากาแฟได้ด้วยตนเอง แต่นี้เป็นเพียงการจุดประกายของทีมงานของปาตานี ฟอรั่ม เพื่อที่ว่าจะกระตุ้นให้คนในพื้นที่นั้นพูดคุยกัน
ข้อเสนอจากการจัดเวทีในครั้งนี้ ในการจัดเวทีเสวนา ชุมชนพุทธ มุสลิม/ไม่รู้จักฉัน-ไม่รู้จักเธอ
“ก่อนความสัมพันธ์จะล่มสลาย ” ของปาตานีฟอรั่มในครั้งนี้ ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่า การระดมความคิด แนะนำถึงวิธีการที่จะทำให้ สังคมพหุวัฒนธรรม ที่ในอดีตมีต้นแบบแห่งการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ นำกลับมาใช้ให้เกิดขึ้นในปัจจุบัน และรักษาความสัมพันธ์อันดี ก่อนที่มันจะล่มสลายไป