บททดลองนำเสนอ ชุมชนจินตกรรมปาตานีใหม่ ?

หากพินิจพิเคราะห์แนวความคิด “ชุมชนจินตกรรม” ของ ศ.เบนนิดิกส์ แอนเดอร์สัน มาอธิบายสังคมปาตานี อาจทำให้มองเห็นว่าการช่วงชิงนิยามความเป็นมลายูปาตานีของผู้คนในพื้นที่ อันหลากหลายและเวทีของการถกอภิปรายไม่น้อยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา “ชุมชนจินตกรรม” ตามแนวคิดของอาจารย์เบน อธิบายสรุปได้คราวๆว่า เมื่อเรานึกถึงคนที่ร่วมอยู่ในชุมชนที่เรียกว่า “ชาติ” สมาชิกส่วนใหญ่ของชุมชนนั้นที่เรานึกถึงคือคนที่เราไม่เคยรู้จัก ไม่มีวันรู้จัก และไม่วันจะรู้อะไรเกี่ยวกับตัวเขาเลย ในความเป็นจริงนั้นเขามีตัวตนอยู่จริงหรือไม่ ก็ไม่มีทางทราบได้ แต่เราเชื่อแน่ว่ามีเขาอยู่และร่วมเป็นสมาชิกชุมชนเดียวกันกับเราอย่างแน่ นอน ฉะนั้นชาติจึงเป็นชุมชนจินตกรรมเท่านั้น เอกลักษ์แห่งชาติก็ถูกสร้างขึ้นในลักษณะเดียวกันนี้ “ชาติ” ในที่นี้จึงมีสถานะเป็น “ชุมชนจินตกรรม” ( imagined community) นั่นเอง

 

 

แม้ว่าพื้นที่ทางด้านภูมิศาสตร์การเมืองของปาตานีจะมีพื้นที่ทางด้าน กายภาพไม่กว้างใหญ่ไพศาล หากแต่ทว่าภายในก็มีความสัมพันธ์ การสร้างระเบียบ กติกา กฎเกณฑ์ต่างๆ ภายในชุมชนทางการเมืองที่ใช้ร่วมกันโดยหลายครั้งอาจไม่ได้อาศัยตัวกลางก็คือ “รัฐ” ในการจัดรูปแบบจิตสำนึกของชาวมลายูปาตานี ในทางกลับกันเราจะพบ การต่อต้าน ขัดขืน จากคนในพื้นที่ แม้ว่าจะมีการพยายามแทรกซึมผ่านองคาพยพจากรัฐไทยก็ตาม โดยใช้เครื่องมือสร้างชาตินิยมแบบไทยๆ ทางด้านงานวิชาการไทยศึกษา เรียกว่า “ความเป็นไทย” (ชาติ ศาสน์ กษัตริย์)

             ข้อจำกัดของแนวคิด ‘ความเป็นไทย’
(1)   คนจำนวนหนึ่งซึ่งพูดถึงความเป็นไทย พูดถึงมันในความจริงแท้ของความเป็นไทย  เรื่องความเป็นไทยที่ผูกกับรัฐ/ชาติ เป็นความพยายามสถาปนาความเป็นไทยที่ยั่งยืน ที่เที่ยงแท้ เป็นปัญหาที่เกิดขึ้น เพราะนั้นคนที่มาวิพากษ์วิจารณ์คนบางคนก็พยายามจะบอกว่ามันไม่แท้ แต่ว่าในที่สุดคนที่รู้สึกกดดันโดยคนไทยที่คิดว่าตัวเองเป็นไทยแท้  บางคนก็แปลงตัวเอง ไปอยู่ในระบบความเป็นไทยที่ (คิดว่า) แท้ โดยภาษา โดยวาจา โดยการเดินและอื่นๆ 
(2)   ภาษาที่ถูกใช้อธิบายความเป็นไทยแท้ เป็นสิ่งซึ่งคนคิดกันว่าคือภาษาบริสุทธิ์บางอย่าง ซึ่งพยายามจะผลักหรือกีดกันสิ่งซึ่ง (คิดว่า) ไม่บริสุทธิ์ออกไป ดังเช่นที่เราเห็นกันว่า สังคมไทยกำลังอยู่ในระบบของการสร้างเกณฑ์ว่าอะไรบ้างที่บริสุทธิ์ทางภาษา (ที่มา “เบื้องลึกเบื้องหลังของโครงการ ‘จินตนาการใหม่ความเป็นไทย’ความเป็นไทย ในความหมายของความหลากหลายทางวัฒนธรรม”) 

ดังนั้น สิ่งที่จะสถาปนาในจินตนาการใหม่ที่มีคุณลักษณะ 2 อย่าง หนึ่ง คือไม่มีความเป็นไทยอะไรที่แท้จริงเพียงอย่างเดียว พูดง่ายๆว่าความเป็นไทยที่เป็นของแท้ต้องมีได้หลายอย่าง หลายแบบ และหลายลักษณะ เป็นต้น สอง ไม่มีความเป็นไทยที่บริสุทธิ์ผุดผ่อง อย่างที่ชอบพูดกันติดปากว่า ‘ฉันเป็นไทยแท้ๆ’ อย่างนี้ไม่มีจริงเช่นกัน

            หากจะกล่าวถึงเครื่องมือในการช่วยจดจำหรือสร้างจิตสำนึกของความภาคภูมิใจ ความเป็นมลายู ความคิดเรื่องมลายูอันสำคัญถูกสร้างขึ้นผ่านประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่มักจะ อธิบายความยิ่งใหญ่ในอดีต  ซึ่งบางครั้งก็เป็นเรื่องเล่าที่พยายามโจมตีคู่ต่อสู้ของชุมชนมลายู เช่น เรื่องเล่าเกี่ยวกับสยาม หรือ “ซีแย” ที่เป็นกลุ่มที่เป็นคู่ขัดแย้งของชาวมลายูมุสลิมปัตตานี

      จินตนาการเข้มข้นเพราะ โลกาภิวัฒน์ในพื้นที่ชุมชนมลายูได้ทำให้จินตนาการเข้มแข็งมากขึ้น ในสถานการณ์ความรุนแรงปัจจุบัน ทำให้เรื่องราวประวัติศาสตร์ความยิ่งใหญ่ของชาวมลายูปาตานีถูกผลิตผ่านงาน วิชาการทางด้านประวัติศาสตร์ หรือการกล่าวถึงเรื่องท้องถิ่น(นิยม)ของเหล่านักวิชาการท้องถิ่นนิยมก็ได้ เชิดชูท้องถิ่นมลายูมากขึ้น การอธิบายของกลุ่มชนชั้นนำของสังคมมลายูมุสลิมที่มีการศึกษา สังเกตได้ว่าชาวบ้านนั้นแถบจะไม่มีพื้นที่ในการอธิบายชุมชนในจินตนาการของตน เองเท่าที่ควร

โลกาภิวัฒน์ได้พัดพาความคิดจากภายนอกทำให้เกิดการถกเถียงกันแนวคิดอิสลาม ของชาวมลายู หรือชุมชนจินตนาการของมุสลิม ที่ได้กล่าวว่า การที่ชุมชนมลายูมุสลิมนั้นเชิดชูประวัติศาสตร์ของตนเองมากจนไปโดยไม่ได้ให้ ความสนใจในเรื่องของประวัติศาสตร์อิสลามหรือให้ความสำคัญอิสลามน้อยกว่าชาติ พันธ์นั้นเป็นสิ่งที่ผิดหลักการ

      จินตนาการที่ถูกสร้างใหม่ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ทำให้การปรับตัว ของชุมชนมลายูมุสลิม และปรับสัมพันธภาพของจินตนาการชุมชนมลายูมุสลิม เพื่อให้สอดคล้องกับกระแสของอิสลานุวัตร ซึ่งในที่นี้มีรูปแบบอ้างอิงกับกระแสดังกล่าวด้วยเพื่อที่จะให้เกิด จินตนาการร่วมกันของคนมุสลิมทั่วโลกที่ถูกกดขี่จากผู้ปกครอง เพื่อหนุนเสริมสร้างพลังของการต่อสู้

       การสร้างจินตนาการนั้นก็มีความขัดแย้งกันเองภายในสังคมมุสลิม มลายูด้วยกัน เพราะการที่คนรุ่นใหม่ๆ ก็มีความเป็นมลายูมุสลิมแบบจินตนาการเก่าๆ น้อยลง เพราะจินตนาการใหม่ๆ ของพวกคนรุ่นใหม่ชาวมลายูมุสลิมนั้นก็เปลี่ยนไปมากและเลือกที่จะใช้คำอธิบาย ต่างๆให้เหมาะกับสถานที่และเวลา ซึ่งทำให้เจือจางลางหายของชุมชนจินตนาการเก่าๆ ก่อเกิดการปรับตัวเข้ากับสิ่งใหม่ๆ เช่น การใช้ภาษามลายูแบบผสมไทย หรือการพูดภาษาไทยในการเป็นเครื่องมือเพื่อปฏิสัมพันธ์กับสังคมเศรษฐกิจ การเมืองอื่นๆ การศึกษาที่ใช้ภาษาไทยเป็นเครื่องมือ แล้วเกิดการนิยามตนเองขึ้นมาใหม่ว่า ตนเองนั้นเป็นมลายูแบบทันสมัยหรือมลายูปัตตานี “สายกลาง” อันมีศาสนาอิสลามเป็นตัวชูโรง เพื่อเป็นการเปิดพื้นที่ให้กับกระแสของอิสลามนุวัตรของโลกมุสลิม ซึ่งทำให้พื้นที่ของอัตลักษณ์และประเพณีเก่าๆ ของชาวมลายูนั้นลดหายลงไปด้วย

      อนาคตของจินตนาการ

      กระแสความรุนแรงที่เกิดขึ้นในภาคใต้นั้นก็ทำให้เรื่องราวของชาว มลายูมุสลิมได้ถูกหยิบยกมาศึกษา วิจัย พูดคุยในวงวิชาการและแม้แต่วงน้ำชาในชายแดนภาคใต้มากขึ้น จนกระทั่งเกิดการช่วงชิงของกลุ่มต่างๆที่มีการศึกษามาอธิบายเรื่องราวต่างๆ แทนชาวบ้านอย่างสม่ำเสมอ  แต่ภายในสังคมมลายูมุสลิมก็เลือกที่รับมือกับคำอธิบายต่างๆ จนก่อให้เกิดความหมายทั้งในแง่บวกหรือลบ หรือกระทั่งการปรับตัวของคู่ตรงข้ามอย่างรัฐไทย ซึ่งก็มีการพยายามปรับตัวเพื่อให้เกิดการหลอมละลายสร้างชุมชนจินตนาการความ เป็นไทยใหม่ เพื่อให้ครอบงำวัฒนธรรมมลายูมุสลิมอย่างแนบเนียนขึ้น (ในที่นี้ผู้เขียน สังเกต การวิพากษ์ วิจารณ์ของเหล่าปัญญาชนมลายูมุสลิม)

            หากกล่าวอย่างถึงที่สุด  ข้อเสนอในงานศึกษาเรื่อง “จินตนาการความเป็นไทยใหม่” เป็นสิ่งที่พยายามจะเปิดพื้นที่การยอมรับเรื่องความต่างวัฒนธรรม แต่มีประเด็นอยู่ว่า คนมลายูระดับชาวบ้านบางส่วนนั้นไม่ได้ยอมรับกับจินตนาการดังกล่าว หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นการตกหลุมทางปัญญาชนและนักวิจัยที่พยายามหาทางออกให้ ท้ายที่สุด พวกเขาก็เป็นมลายูมุสลิมในจินตนาการของพวกเขา แต่มี “ความเป็นอุมมะห์” เป็นกรอบวางรัดร้อยความเป็นพี่น้องร่วมโลก และการยืนหยัดที่จะมีชุมชนจินตนาการของตนเองโดยไม่ยอมประนีประนอมกับ จินตนาการไทยที่ทำให้พวกเขารู้สึกว่าต้องสั่นคลอนกับชุมชยจินตนาการครอบงำ 

      ด้วยเหตุนี้ ผู้เขียนเห็นว่า กลุ่มชุมชนจินตกรรมมลายูมุสลิมนั้นอาจต้องมีข้อตกลงร่วมกันเพื่อสร้าง จินตนาการใหม่ที่ไม่กดขี่ผู้คนในสังคมมลายูด้วยกันเอง กล่าวอย่างถึงที่สุดแล้ว การสร้างชุมชนจินตกรรมนั้นก็ต้องเปิดพื้นที่ทางด้านจินตนาการให้แก่ชนชั้นต่างๆ ของคนในสังคมมลายูด้วยกันเอง ข้อค้นพบบางส่วนที่น่าสนใจคือ เราได้แต่รับรู้ว่า คนมลายูไม่ชอบรัฐไทย ซึ่งเป็นเรื่องที่หลายคนเข้าใจ แต่มีจำนวนไม่น้อยก็อยากรับราชการเป็นเจ้าหน้าที่รัฐไทย ทั้งอยากเป็นทหาร ตำรวจ และข้าราชการ ฯลฯ เกิดการแข่งขันกันในหมู่ชนชั้นกลางกันเองและมีระบบอุปถัมภ์ที่เกิดขึ้นจำนวนไม่น้อย ที่กีดกั้นการแข่งขันอย่างเท่าเทียม หากว่าจะสร้างระบบใหม่ที่ดีและเรื่องภายในที่เกิดขึ้นจริงในสังคมแบบนี้ได้เบาบางลงและหายไปได้ ท้ายที่สุดจะก่อให้เกิดความเท่าเทียม ยุติธรรม ร่วมกันของผู้คนต่างๆ ในสังคมมลายูด้วยกันเอง และในฐานะของคนส่วนใหญ่ในพื้นที่ จะต้องสร้างหลักประกันว่า จะปกป้องพิทักษ์สิทธิ สร้างความใว้เนื้อเชื่อใจ แก่คนกลุ่มน้อยที่เป็นคนไทยพุทธและกลุ่มอื่นๆได้อย่างไร ?