ปี 2020 กับลมหายใจภาคธุรกิจบ้านเรา “รู้ (ตัว) ก่อน เสียโอกาส ” (ตอนจบ)
“อันที่จริงเรามีของดีที่บ้านเรา คือ เรื่องภาษาที่เราได้เปรียบกว่าคนไทยที่อยู่ในภาคอื่นที่นี้มี 4 ภาษา ภาษาไทย ภาษามาลายู ภาษาอังกฤษ และภาษาอาหรับแต่เราจะทำยังอย่างไรให้คนในภาคเรานี้เข้าใจทั้ง 4 ภาษาและเอามาใช้ในอาเซียน ใน AEC”
เป็นประเด็นตกค้างในบทความ เรื่อง “ความหวังปี 2020 กับลมหายใจภาคธุรกิจบ้านเรา” ตอนแรกที่ถามถึงมุมมองของ อาจารย์อิบรอฮิม ยานยา ซึ่งอาจารย์กล่าวตอบว่า เราต้องมาทำความเข้าใจในเรื่องของโลเคชันเสียก่อน เรามองว่า 10 ประเทศในอาเซียน ไทยอยู่ข้างบน กัมพูชาอยู่ตะวันออก พม่าอยู่ข้างบนพูดแล้วประเทศไทยอยู่ตรงกลางก็มี บรูไน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ก็เป็นส่วนหนึ่ง
AEC เล็ง 3 จชต. พื้นที่ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจอาเซียน
อ.อิบรอฮิม อธิบายว่า ในทะเล เราแบ่งโลเคชันในมิติเศรษฐกิจ ออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ประเภทที่ 1 กลุ่มที่มีวัตถุดิบและแรงงาน ประเภทที่ 2 กลุ่มที่เป็นฐานการผลิต ประเภทที่ 3 กลุ่มที่มีความถนัดทางด้านเทคโนโลยีและกลไกต่างๆ เพื่อที่จะพัฒนาการผลิต สิ่งนี้เป็นยุทศาสตร์ เมื่อเราสรุปได้ว่าประเทศไทยอยู่ตรงไหน สรุปแล้วประเทศไทยนี้ เราไม่มีเลย เรื่องของแรงงาน แรงงานเราสู้อินโดฯไม่ได้เลย เพราะว่าค่าแรงมันถูก และเวียดนามก็ค่าแรงถูก แต่ที่นี่พื้นฐานการผลิต หมายถึง3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทุกคนต่างยอมรับ ขนาดบางประเทศมองว่าการลงทุนที่ดีที่สุดในอาเซียนต่อไปนี้เมื่อเกิดเวที 2015 จัดอันดับ ได้แก่ อินโดนีเซีย เวียดนาม และไทย ประเทศไทยอยู่ 1ใน 3 ถึงแม้ว่าไทยยังด้อยในเรื่องทักษะและภาษาแต่ยังอยู่ 1ใน3”
“การมาลงทุนตรงนี้ไทยอยู่ในกลุ่มฐานการผลิตของกลุ่มที่ถนัดเทคโนโลยี เขายอมรับเพราะว่าประเทศไทย ชิ้นส่วนรถยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ต่างๆ ผลิตในไทยเยอะ แต่เรื่องการเกษตรสู้กับเวียดนาม เรื่องแรงงานทักษะการผลิตสู้อินโดนีเซียไม่ได้ ขณะนี้การผลิตที่ไทยทำเรื่องอุตสาหกรรมสินค้าแปรรูปโดยเฉพาะชิ้นส่วนยานยนต์ รถยนต์ผลิตในต่างประเทศเยอะ ทำให้ได้ที่ 1 ทำให้ญี่ปุ่นมาลงทุนแล้วตอนนี้ ประเทศญี่ปุ่นเกือบทุกยี่ห้อมาลงทุนที่กรุงเทพฯแล้ว”
รับมือเศรษฐกิจอนาคต ต้องปรับมุมมองภาษามลายู
อ.อิบรอฮิม เปิดเผยอีกว่า อาหารแปรรูปและอาหารทะเลจะมาเป็นโอกาสเพราะว่าไทยได้เปรียบตรงที่ตั้งอยู่ศูนย์กลาง ที่ว่ากันว่า 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นศูนย์เชื่อมโยงระหว่างประเทศไทยกับหลายๆประเทศโดยเฉพาะ บูรไนฯ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ซึ่งประเทศเหล่านี้พูดภาษามลายู นี่คือที่มาของการชูภาษามลายู ไม่ใช่เรื่องเล็ก แต่เป็นเรื่องใหญ่ คุณพูดภาษามลายูไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่เราไม่ค่อยเห็นจุดประเด็นเรื่องภาษามลายู เราแค่บอกว่าเป็นภาษาที่เขาไม่นิยมใช้เพราะว่าทางเทคนิคต่างๆ ทำให้เราเห็นว่าที่เราเรียน ที่มหาวิทยาลัย เราใช้ภาษาไทย จึงทำให้ภาษามาลายูนั้นถูกมองข้าม
“ขณะที่เราเองมองข้ามภาษามลายู มองข้าม เพราะเป็นภาษาท้องถิ่น พอมีโครงการพูดกับนักศึกษาสอนภาษามาลายูมาจากหน่วยงานของรัฐ นักศึกษาบางคนคิดว่า “เรียนภาษามลายูทำไมเพราะพูดภาษามลายูแล้ว เรียนทำไม เราพูดภาษามาลายูแล้ว พ่อแม่ก็ภาษามาลายูทั้งบ้าน” แต่อันที่จริงภาษามลายูตรงนี้ ไม่ใช่ภาษามลายูสากล แต่เป็นภาษามลายูลูกทุ่ง จำเป็นต้องยกระดับ ถามว่าภาษามลายูมีระดับหรือไม่ มันมีระดับอยู่แล้วเพราะว่าเกือบ 200 ล้านพูดภาษามลายูที่ยกระดับ แต่เราเองต้องยกทัศนะคติของเราขึ้นมา เราต้องรณรงค์”
“เมื่อก่อนถ้าพูดภาษามลายูอาจจะถูกมองว่าเกี่ยวกับความมั่นคงและความรุนแรงแห่งชาตินิยม แต่ตอนนี้ไม่ใช่แล้ว แต่กลายเป็นการพัฒนาทักษะภาษามาลายู คือ ส่วนหนึ่งที่เราจะพัฒนาความเจริญในระดับสากลหรือระดับอาเซียนต่อไป เรื่องวัฒนธรรมภาษามลายู แน่นอนอยู่แล้วเรามักถูกมองเป็นจุดเชื่อมโยง แต่ตรงนี้เราจะให้ประโยชน์กับรัฐด้วย แต่กลัวว่าคนรุ่นใหม่ เมื่อไปอยู่ในเมืองก็จะละเลยภาษามาลายู เพราะมีความรู้สึกว่าไม่มีความสำคัญ”
ธุรกิจต้มยำกุ้ง อนาคตของคนชายแดนใต้
ขณะที่การพัฒนาจุดเด่นภาคธุรกิจที่สำคัญของคนชายแดนใต้ที่น่าจับตาในอนาคต นอกจากเรื่องของแรงงานที่มีทักษะด้านภาษาแล้ว ก็ยังมี ธุรกิจต้มยำกุ้งในมาเลเซียซึ่งมีความเป็นมาจากความคิดริเริ่มของคนชายแดนใต้ จนทำให้วันนี้เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก นายิป อาแวบือซา อดีตผู้ประกอบการร้านต้มยำกุ้งในมาเลเซีย บอกว่า ในอดีตที่ไปเปิดร้านในมาเลเซียนี้มักจะไปโดยอุบัติเหตุจากความมั่นคง โดยที่ไม่มีการเตรียมตัวมาก่อน ส่วนใหญ่ไปแต่ตัว สร้างเนื้อสร้างตัวสักพัก ก็เปิดร้านต้มยำซึ่งมีที่มาเลเซียเยอะมาก นอกจากนี้เมนูอาหารที่แปลกๆ ก็เริ่มที่มาเลเซีย
“ผมไปเปิดร้านใหม่ๆเจอลูกค้าเขาสั่งข้าวผัดซึ่งผมงงมากมันคืออะไร แต่มารู้ทีหลังว่า ข้าวคลุกกะปิ ซึ่งในเมนูไทยของเราคือข้าวผัด ในเรื่องต้มยำถ้าเราจะเอาทำให้เป็นธุรกิจที่ชนะคนอินเดียมุสลิมมาเลย์ได้นั้น อินเดียเขาจะมีเป็นสมาคมของเขา ซึ่งเขาแข็งแรงมาก เวลาเขาจะเปิดร้าน เปิดอะไรก็แล้วแต่ เขาสามารถที่จะยืมเงินจากสมาคมได้ จะสังเกตว่าร้านของอินเดียส่วนใหญ่จะอยู่ตรงหัวมุม ซึ่งคนนายู(คนมุสลิมสามจังหวัด)เราแทบจะไม่มีศิลป์แต่ถามว่าทำไมคนอินเดียถึงเช่าได้ เพราะเขายืมเงินจากสมาคมขณะที่สมาคมต้มยำกุ้งของเรามีหรือไม่ ก็มี และค่อนข้างจะโด่งดังแต่เรายังไม่แข็งแรง เป็นสมาคมเพื่อปรึกษาหารือกันเท่านั้น ยังไม่มีกองทุนไม่มีอะไรสักอย่าง”
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีพัฒนาการที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมาคมร้านต้มยำกุ้งในมาเลเซีย คุณนายิป บอกว่า เมื่อเดือนที่แล้ว ศอ.บต. ไปเปิดที่ทำการสมาคมเป็นทุนสนับสนุนของ ศอ.บต. มีการเช่าที่ให้เป็นที่เป็นทางแต่เหนือสิ่งอื่นใดในมุมมองของผมคิดว่าต้มยำอันดับแรกนี้เป็นเรื่องของรสชาติไทยๆ
“อย่างที่รู้จักต้มยำของมาเลเซียเป็นรสชาติที่ค่อนข้างจะสับสนซึ่งผมเปิดร้านตอนแรกนี้เป็นรสชาติกรุงเทพ คือ เผ็ดแบบกรุงเทพฯ เพื่อนหลายคนที่อยู่ที่นั้นบอกว่าทานไม่ได้ คนมาเลย์ไม่ทานเผ็ดด้วยความเป็นคนดื้อก็ทำรสชาติอย่างนี้และด้วยทำเลย่านคนจีนซึ่งเป็นย่านลูกค้าต่างชาติ ต่างชาติบอกว่ารสชาติแบบนี้เหมือนรสชาติที่พัทยา ผมคิดว่าภาครัฐหรือ ศอ.บต. น่าจะช่วยตรงนี้ได้ จัดอบรมการทำอาหารรสชาติอาหารที่เป็นไทยแท้ๆ อย่างต้มยำคือต้มยำ หรือพัฒนาเป็นแกงเขียวหวานที่ขึ้นชื่อ ตรงนี้ที่ไปเปิดร้านอาหารที่มาเลเซียส่วนใหญ่ไม่รู้จักหมด อย่างที่เล่าให้ฟังแล้วว่าไปโดยอุบัติเหตุ 80% และรัฐน่าจะช่วยอย่างไรได้บ้าง รัฐน่าจะเปิดสูตรอบรมให้เป็นสูตรที่มีเป็นรสชาติเดียวกัน ไม่ว่าคุณจะกินที่อเมริกา ญี่ปุ่น ผมเชื่อว่าถ้าได้แบบนี้เราสู้ใครๆได้สบายในอาเซียน”
พัฒนาต้มยำกุ้งอาเซียน มิติใหม่เศรษฐกิจชายแดนใต้
ทางด้านผู้เข้าร่วมสนทนา ถามว่า เม็ดเงินที่เกิดจากการร้านต้มยำกุ้ง ไหลเข้ามาในพื้นที่ 3 จชต. มากน้อยแค่ไหน ไหลมาอย่างไร คุณนายิป บอกว่า การประกอบธุรกิจต้นยำกุ้งในมาเลเซีย ทำให้เม็ดเงินเกินกว่าครึ่งไหลเข้ามาในพื้นที่อย่างแน่นอน
“ไหลในแบบการซื้อรถยนต์ ซื้อที่ดิน ไม่ใช่ในเรื่องเหตุการณ์ ร้านต้มยำไม่สนใจในเรื่องนี้ ร้านต้มยำกุ้งส่วนใหญ่เอาเรื่องปากท้องของตัวเองก่อน เพราะมองว่าการทำงานในพื้นที่แทบจะไม่มีโอกาสทำเงินได้มากขนาดนี้ เจ้าของร้านต้มยำโดยแต่ละคนกำไรโดยสุทธิวันละ 5000 บาทนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ยากเย็นอะไรมากนัก วันนี้ขอให้มีการพัฒนาต้มยำ เป็นต้มยำ ต้มข่าไก่ก็เป็นต้มข่าไก่ ซึ่งบางทีเวลาเราจะกินต้มยำแทบสับสนว่าเป็นต้มยำหรือต้มหวานเนื้อผมเชื่อว่าถ้าเขาพร้อมด้านทำอาหารแต่ละคนก็จะเกิดการแข่งขันโดยตัวเอง ทุกคนก็อยากจะได้กำไรสูงสุด ทุกคนก็จะพัฒนาฝีมือตัวเองแต่จะพัฒนาด้านที่เป็นอาหารไทยจริงๆ”
ผู้ร่วมสนทนาอีกท่าน นายอัสซัน ชาวอำเภอเมืองยะลา แลกเปลี่ยนว่าพูดถึงเรื่องต้มยำ มันเป็นของดีอย่างหนึ่งที่รู้จักกันทั่วโลก เราพูดถึงอาหารไทยเพราะว่าเราเก่งในอาหารไทย เราจะไปเก่งในอาหารอินเดียไม่ได้ เราจะไปเก่งในอาหารอาหรับ เราก็ทำไม่ได้ ทีนี้เรามาพูดถึงทักษะในจุดนี้เรารู้หรือไม่ว่าต้มยำมีกี่ชนิด มีอย่างต่ำ 8 ชนิดและรสชาติต้มยำอันไหนที่ดีที่สุด แล้วแต่คนที่นิยมอย่างของมาเลเซียก็มีนะต้มยำ อย่างต้มยำบวกกับผักก็จะเป็นรสชาติหนึ่ง เรานั้นสามารถขยายได้แต่รสชาติพื้นเผเราจะทิ้งไม่ได้
นายอัสซัน ยังแลกเปลี่ยนเพิ่มเติมว่า กรณีที่เราอยากให้ ศอ.บต. มีการอบรมส่งเสริมต้มยำนัน คืออะไร เอาให้ชัดแล้วเราจะไปมาเลหรือจะไปที่ไหนๆก็ได้ อย่างเช่นซูชิที่มาเลเซียเขาเริ่มทีหลังแต่ดังกว่าเพราะได้รับการสนับสนุนจากสมาคมของเขา รัฐบาลของเขามาหนุนเสริม ร้านซูชิที่มีมากที่สุดอยู่ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์
“เราต้องเอาในสิ่งที่เรามีทุนเดิมที่เรามีมาพยายามทำให้ดีที่สุดและก็อาหารประเภทอื่นก็พยายามหนุนเสริมซะต้มยำไม่อร่อยร้านนั้นอย่าไปทำอาหารเลยเพราะว่าจะไม่ดัง ผมคิดในจุดนี้ถ้าอยากให้มี ให้มีการอบรมยะลาก็ดีที่ปัตตานีหรือว่านราธิวาส”
คือ ความคาดหวังเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่ยากเกินจะพัฒนาและได้รับสนับสนุนจากภาครัฐ ก่อนเข้าสู่ปี 2020