ปี 2020 กับ ความหวังภาคธุรกิจบ้านเรา “มิอาจข้ามพ้น AEC” 1
ตลอดระยะเวลาที่สถานการณ์จังหวัดชายแดนใต้ไม่สงบนิ่ง มีคำถามมากมายวนเวียนในพื้นที่ บางคำถามว่าด้วยเรื่องของนิยามความหมายของสันติภาพ บางคำถามก็ถกกันยังไม่จบถึงทิศทางและอนาคตของความรุนแรง บ้างก็ถามถึงสถิติเหตุร้ายตายรายวัน แต่ที่เป็นคำถามยอดฮิต ของชีวิตคนธรรมดา ก็คือปัญหาเรื่องของปากท้อง เศรษฐกิจ และโอกาสของผู้คนที่นี้ต่อการเปลี่ยนแปลงของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่จะรวมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียนที่กำลังจะมาเยือนอีกในไม่ช้า เป็นที่ชัดเจนแล้วในโลกปัจจุบัน ข้อมูลข่าวสาร ได้เข้าถึงเกือบทุกๆหมู่บ้าน และการเติบโตของกลุ่มชนชั้นกลางของสังคมมลายูปาตานีก็มีอัตราที่เพิ่มขึ้น สะท้อนให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของสังคมที่ไม่ได้หยุดนิ่ง(แช่แข็ง)กับจินตนาการเดิมๆอีกต่อไป...
อย่างไรก็ตามยังมีคำถามอีกมากมายที่มักถูกมองข้ามทั้งๆที่เป็นเรื่องปรากฏชัด และเป็นเรื่องใกล้ตัวของประชาชนทั่วไปมาอย่างเนิ่นนาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องปัญหาสังคม การศึกษา การเมือง แต่ที่น่าจะใกล้ตัวชาวบ้าน ชาวช่องตาดำๆ ก็คงหนีไม่พ้นเรื่องเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นที่มาของวงสนทนา “ปาตานี คาเฟ่” เมื่อไม่นานมานี้ ในหัวข้อ “ความหวัง ปี 2020 กับลมหายใจภาคธุรกิจบ้านเรา” ณ ร้านนาเดีย คอฟฟี่ จ.ยะลา ซึ่งมีวิทยากรนำสนทนา 2 ท่าน จากแวดวงธุรกิจชายแดนใต้ คือ คนแรก อาจารย์ อิบรอฮิม ยานยา คณะกรรมการบริษัท ดี อามาน กรุ๊ป จำกัด คนต่อมา อดีตผู้ประกอบการธุรกิจต้มยำกุ้งในประเทศมาเลเซีย คุณณายิบ อาแวบือซา ดำเนินรายการโดย อัศโตรา โต๊ะราแม นักเขียนอิสระ
ว่าด้วยเรื่องเศรษฐกิจ จับตาอนาคต
อัศโตรา โต๊ะราแม เกริ่นว่า ไม่กี่ปีข้างหน้านี้ ซึ่งเป็นวาระสำคัญของหลายประเทศ อย่างมาเลเซียหยิบเรื่อง 2020 มาตั้งแต่ปี 1991 แต่ของประเทศไทยมาเริ่มช่วงปีนี้ อันที่จริงการทำโครงการ 2020 มีทั้ฝ่ายรัฐบาลและพรรคฝ่ายค้าน ซึ่งเรามีเรื่องที่สำคัญคือเรื่องของ AEC หรือว่าประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนซึ่งจะมีหลายอย่าง ทำให้ประเทศอาเซียน ทั้ง 10 ประเทศนี้มาทำงานรวมกัน แต่ในรายละเอียด ไม่รู้ว่ามีแนวทางการรองรับอย่างไร
อ.อิบรอฮิม ยานยา ให้ความเห็นว่า ขณะนี้เรามีความพร้อมหรือไม่ ที่จะเผชิญกับปี 2020 แล้วก็ปีหน้า แล้วการเกิดของ AEC เรามีความพร้อมหรือไม่
“ ผมไม่ได้ถามประเทศไทยนะ แต่ผมถามเราที่ภาคใต้นั้นพอมีความพร้อมขนาดไหน ถ้าถามว่าเรามีความพร้อมหรือไม่ในปี 2020 หรือAEC การเข้าสู่อาเซียนซึ่งเดี๋ยวนี้ก็เป็นกระแสแต่ก็ไม่ได้เป็นกระแสอย่างเดียวในภาคปฏิบัติเราก็ยังนึกถึงว่าเราอยู่ตรงไหน เพราว่าประชาชนยุคนี้ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เราตั้งตัวว่าเราอยู่ตรงไหนถ้าเรามองเห็นยุทศาสตร์ของ AEC ผมขอพูดโดยตรงแล้วการเข้าสู่อาเซียนเดี๋ยวนี้ เรามีข้อมูลว่าคนต่างชาติมาลงทุนตรงได้ 80% และ80% นี้อยู่ในกลุ่ม AEC แล้วก็ปี 2015 ต่างชาติมองแล้วซึ่งก็จะโปรยประโยชน์ไป จะได้รับประโยชน์สำหรับคนที่มาลงทุน”
AEC กับ ความพร้อม ณ จุดที่ยืนอยู่ของชาวบ้าน
อ.อิบรอฮิม ยังกล่าวอีกว่า ทีนี้เราต้องคิดว่ามาอยู่ตรงนี้ทำอะไร ทีนี้ในเรื่องการลงทุนเราเรียกว่า (มิสโปรดัก) ลงทุนแบบอุตสาหกรรมผลิต ผลิตเมื่อไร แล้วผลิตเยอะขนาดไหน สิ่งเหล่านี้จะสร้างให้ระบบเศรษฐกิจในอาเซียนเปลี่ยน เพราะการผลิตตรงนี้ต้องใช้ทุน และกำลังซื้อก็เปลี่ยน เลยหมายความว่าทำให้คนหรือว่าชุมชนในพื้นที่อาเซียนบริโภคนิยม อันนี้คือผลที่จะตามมาทำให้เกิดชนชั้นกลางเพิ่มขึ้น คนที่มีรายได้พอจะอยู่ได้อย่างไม่รับประกันว่าคนรวยจะเกิดในพื้นที่อาเซียนเพิ่มขึ้นหรือไม่ หรือว่าคนรวยจะกระจุกแบบเดิมๆ”
“ อย่างกลุ่มของพวกเราอาจจะเรียกว่าบริโภคนิยมมากกว่า หลายๆอย่างที่เรายังไม่ทันปรับในวันนี้ในเมือเกิดอาเซียนมาทำให้เกิดบริโภคนิยม พวกเราพร้อมหรือไม่ ที่ต้องแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือมีธุรกิจเป็นเจ้าของหรือว่าไปเป็นลูกน้องเขา ที่เรียกว่าขีดความสามมารถ ขีดความสามารถในการทำงาน ขีดความสามารถในการอยู่รวมกับเขาได้ อย่างเช่นคุณจบบัญชี หรือแพทย์ คุณมีความพร้อมหรือไม่ ที่จะมีประสบการณ์ในด้านบัญชี ทีนี้ขีดความสามารถตรงนี้ต้องประกอบด้วยอะไร ประกอบด้วยยุทศาสตร์ เราต้องมีการวางแผน มีแผนงาน”
อ.อิบรอฮิม อธิบายเพิ่มเติมว่า ยุทศาสตร์ คือ ประการทีหนึ่ง ต้องมีทักษะ ทักษะในอาเซียนต่อไปนะไม่ใช้ทักษะแบบยะลาๆ ไม่ใช้ทักษะที่อยู่วันนี้ ความชำนาญที่ต้องเพิ่มขึ้นคือ ด้านภาษา ประการที่สอง ด้านทัศคติซึ่งบางที เราอยู่แบบทัศนคติที่ยังไม่เป็นนานาชาติ ตรงนี้ต้องเน้นหนักความเป็นอินเตอร์มันอยู่ที่ความคิดไม่ใช้อยู่ที่การแต่งกาย คนญี่ปุ่นสามารถลงทุนตรงนี้ได้ บริหารงานในกรุงเทพฯได้ สามารถบริหารงานในอินโดนีเซียได้นั้นมาจากความเป็นอินเตอร์ ทัศนคติของเขานี้คือสร้างทัศนคติ ประการที่สาม ภูมิปัญญาหรือว่าความรู้ก็ต้องเพิ่ม ประการที่สี่ แรงจูงใจที่เราจะทำ แรงจูงใจนี้บางที่มาจากกระแสหรือบางที่มาจากความเป็นอยู่ของเราเองบางที่คนเราทำไรที่ไม่มีแรงจูงใจ ไม่ต้องพูดเรื่องอาเซียน แค่พูดเรื่องการย้ายถิ่นจากที่อยู่นอกเขตเมืองน้อย แล้วเข้ามาอยู่ในเมือง น้อยมากที่ไม่มีแรงจูงใจที่จะทำก็เพราะล้าหลัง ดังนั้นหากเกิดมีอาเซียน 4 ประการนี้ต้องสร้าง เราต้องรู้จักว่าขณะนี้อาเซียนอยู่ตรงไหน
AEC กับความนึกคิด “คนชายแดนใต้พร้อมแล้ว”
ขณะที่ คุณนายิบ อาแวบือซา มองคล้ายกันว่า สำหรับการเกิดขึ้นของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่จะเข้ามาในระยะอันใกล้นี้มีทั้งส่วนดีและส่วนเสีย
“อย่างที่ อาจารย์อิบรอฮิม ยานยา กล่าวเอาไว้เมื่อสักครู่ว่าจะมีอาชีพพิเศษอย่างทันต์แพทย์ หรือแพทย์ เป็นผลดีแน่นอน วิศวกรอย่างผมนี้ถ้าจะทำงานสิงคโปร์ คงไม่ได้แน่นอน จะต้องให้วิศวกรสิงคโปร์เซ็นให้ เมื่อเปิด AEC เราสามารถที่จะข้ามพรมแดงตรงนี้ได้เลย แต่ที่ไม่ดีนี้ในสวนของอาชีพอื่นที่เราไม่พร้อมในการแข่งขันตรงนี้ ตรงนี้ผมก็อยากโทษภาครัฐอยู่บ้างในการเตรียมความพร้อมอย่างที่ขณะที่มาเลเซียมีการเตรียมตัวตั้งแต่ปี 91 แต่ของเราพึ่งจะมาในปีที่แล้ว ซึ่งเราขอเลื่อนจากต้นปีจาก 1 มกราคมเป็น 31 ธันวาคม เพราะความไม่พร้อมซึ่งในการทำงานของเรานี้เรามักจะเร่งในพื้นที่เองหลายๆคนที่ผมเจอคนมาลายูเอง แต่ไปอาเซียนมาเราคงจะสบาย เพราะว่าอาเซียนเองที่มีพลเมืองค่อนข้างมาก 200 กว่าล้านใช้ภาษามาลายูและก็เราคงจะสะดวกขึ้นเพราะเราใช้ภาษามาลายู”
AEC กับภาษามลายูบ้านเราวันนี้
อย่างไรก็ตาม คุณนายิบก็ตั้งคำถามกลับไปว่าเราเก่งภาษามาลายูจริงหรือไม่ ซึ่งบางที่ลายๆคนอาจจะยังไม่ตื่นตัว ตรงนี้ ส่วนใหญ่เราไม่ได้เก่งภาษามาลายู อันที่จริงเราพูดภาษามาลายูใช้คำภาษาไทยที่เข้าใจว่าเป็นภาษามาลายู เช่น อบต. เวลาประชุมกับชาติมาเลเซียหรือชาติอื่น เขาไม่สามารถจะเข้าใจได้ตรงนี้ ก็เป็นอุปสรรคอย่างหนึ่งที่เป็นปัญหา ในการเตรียมความพร้อมตรงนี้ภาครัฐก็น่าจะมีส่วน แต่จริงแล้วก็อย่าไปคาดหวังอะไรมากมายเพราะว่าปัญหาการเมืองก็ยัง อีรุงตุงนังกันอยู่ เราเองก็ไม่ควรที่จะประมาทเหมือนตัวอย่างในกรณีเมื่อสักครู่ ที่คิดว่าเราพูดภาษามาลายู เราคงสบาย ในขณะที่ภาษามาลายูของเรานี้ซื้อข้าวไม่ได้เลย เจอสำเนียงของ ปีนัง กือเดาะห์ หรือเจอสำเนียงที่อื่นที่ยากๆก็อาจจะสื่อสารกันไม่ได้
AEC กับความหวังและคำถาม
คุณนายิบ เชื่อว่า ความไม่พร้อมของคนในพื้นที่ อาจเป็นไปตามที่รัฐมีส่วนในการทำลายด้วยซ้ำอย่างกรณีเหตุการณ์ เมื่อก่อนในอ่าวปัตตานีประมงพื้นบ้านก็หากินไปตามปกติในหลาย 10 ปีก่อน นโยบายของรัฐก็เปิดให้ประมงพาณิชย์เข้ามาและก็ไปทำลายประมงพื้นบ้าน
“ตอนนั้นชาวบ้านก็ต้องไปทำมาหากิน เปิดร้านต้มยำในมาเลเซียซึ่งถามว่ามีใครอยากจะจากถิ่นเกิดหรือไม่ ผมเชื่อว่าหลายๆคนไม่อยากแต่แรงที่ผลัก บางครั้งก็มาจากปัจจัยที่รัฐกำหนดด้วยเช่นกัน จะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตามแต่ ตรงนี้ทำให้เราและคนในท้องถิ่นต้องปรับตัวและเตรียมพร้อมรับมือกับปัญหาเหล่านี้ได้ คือ การที่จะเปิดร้านในมาเลเซียซึ่งร้านต้มยำในมาเลเซียดังมากมาย ผมเคยไปเปิดร้าน 4 ปี ถ้าเราไม่พร้อมในเรื่องของ AEC ผมคิดว่าจะเป็นผลดี ซึ่งตามแต่การประเมินสถานการณ์ วิเคราะห์ปัญหาและแก้ปัญหา ”
“ผมไม่อยากให้สิ่งเหล่านี้เป็นไปทางลบ แต่อยากจะแก้ปัญหาที่มีอยู่ ผมอยากจะถาม ว่าที่จริงแล้วเรามีของดีที่บ้านเรา คือ เรื่องภาษาที่เราได้เปรียบกว่าคนไทยที่อยู่ในภาคอื่นที่นี้มี 4 ภาษา ภาษาไทย ภาษามาลายู ภาษาอังกฤษ และภาษาอาหรับ แต่เราจะทำอย่างไรให้คนในภาคเรานี้เข้าใจทั้ง 4 ภาษาและเรามาใช้ในอาเซียน ใน AEC ตรงนี้เป็นเรื่องที่คนทั้งหลายควรได้รับรู้” เป็นคำถามทิ้งท้ายของ นายิบ อดีตเจ้าของธุรกิจต้มยำกุ้ง ซึ่งจะนำเสนอต่อเนื่องในตอนต่อไป….