New Media &ไฟใต้ : มองผ่านแว่นนักวิชาการด้านสื่อ ผศ.ดร.วลักษณ์กมล (ตอนที่ 1)

 

New Media &ไฟใต้ : มองผ่านแว่นนักวิชาการด้านสื่อ ผศ.ดร.วลักษณ์กมล (ตอนที่ 1)

กองบรรณาธิการ ปาตานีฟอรั่ม

ปัจจุบันมีคนจำนวนไม่น้อยที่ใช้ สื่อใหม่ (New Media) จนบางทีก็กลายเป็นปัจจัยที่ 6 ในชีวิตประจำวันไปแล้ว และบางครั้ง สำหรับบางคนก็ได้ใช้สื่อใหม่ไปกับการสร้างอิทธิพลอะไรบางอย่างเพื่อจัดการและสร้างการเปลี่ยนแปลงทั้งในมิติปัจเจกชน และสังคมวงกว้าง ดังนั้นการทำความเข้าใจปัญหาภาคใต้ (ปาตานี) ซึ่งนำไปสู่การเพิ่มมุมมอง หรือปรับทัศนคติอะไรบางอย่างในการมองปัญหาที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ย่อมเป็นอีกประเด็นปัญหาของสังคมไทยที่หลีกหนีไม่พ้นหากจะนำมาขุดคุ้ย พูดคุย เชื่อมโยงกัน เพราะระยะหลังๆมานี้ สื่อใหม่ค่อนข้างจะมีอิทธิพล และทรงพลัง ต่อการทำความเข้าใจในปัญหา ภาคใต้ (ปาตานี ) อย่างน่าจับตามอง

เมื่อเป็นเรื่องที่น่าสนใจในระดับสาธารณะ วงสนทนา Patani Café พื้นที่สาธารณะ พื้นที่แห่งการตื่นรู้ โดยปาตานี ฟอรั่ม ร่วมกับคณะวิทยาการสื่อสาร มอ.ปัตตานี จึงจัดให้ ซึ่งใช้ชื่อหัวข้อสนทนาว่า New Media : กดไลก์สื่อใหม่ กดแชร์ปัญหาไฟใต้ โดยชวนทั้งนักวิชาการด้านการสื่อสารอย่าง ผศ.ดร.วลักษณ์กมล จ่างกมล คณะบดีคณะวิทยาการสื่อสาร มอ.ปัตตานี มาให้แง่มุมด้านวิชาการ ขณะที่ มูฮำหมัด ดือราแม ผู้ช่วยบรรณาธิการโรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ คนทำงานด้านสื่อโดยเฉพาะก็จะมาตั้งข้อสังเกต และชี้ให้เห็นพัฒนาการบางอย่างของสื่อใหม่ต่อปัญหาภาคใต้(ปาตานี)ส่วนอีกท่าน .ฮารา ชินทาโร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มอ.ปัตตานี ซึ่งอาจไม่ได้คว่ำหวอดอยู่ในวงการสื่อ แต่เป็นบุคคลที่ชอบใช้สื่อใหม่ในการขับเคลื่อนงานความคิดงานวิชาการของตนเองที่อยากจะมาร่วมแชร์ ประสบการณ์ในวงสนทนาครั้งนี้ด้วย และที่สำคัญการสนทนาครั้งนี้ก็มีการถ่ายทอดเสียงผ่านวิทยุมี Media Selatan สถานีวิทยุที่เคียงข้างประชาชนในพื้นที่มาอย่างยาวนาน

สื่อใหม่ นิยามใหม่ “ ไม่ใช่แค่เรื่องเทคโนโลยี”

.วลักษณ์กมล เริ่มสนทนาด้วยการฉายมุมมองที่น่าสนใจว่า มีประเด็นเกี่ยวกับความเป็นสื่อใหม่ เกี่ยวกับคุณลักษณะของสื่อใหม่ เกี่ยวกับนิยามที่ครอบความคิดหรือขอบเขตหรือนิยามระหว่างสื่อใหม่กับสื่อเก่า

สื่อใหม่เราจะมองที่เรื่องเทคโนโลยีนั่นคือว่า ในศตวรรษที่ 21 หรือ 20 เป็นต้นมามีการหลอมรวมระหว่างคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการสื่อสารเป็นการช่วยเสริมในเรื่องความสามารถในการมีปฏิสัมพันธ์ผู้ส่งสารและผู้รับสาร อย่างไรก็ตามก็ยังมีลักษณะของสื่ออีกประเภทหนึ่งที่จะเป็นสื่อใหม่ได้คุณลักษณะการจัดการเนื้อหาหมายความว่าจะมีสื่อบางอย่างที่ดูเหมือนเป็นสื่อเก่าแต่ในนิยามและความหมายของดิฉันจะจัดเป็นสื่อใหม่ได้จะต้องผ่านกระบวนการจัดการเนื้อหาได้ที่แยกเป็นอิสระกับผู้ส่งสารโดยที่เราไม่ต้องส่งข่าวสารเข้ามาอีกขั้นระหว่างผู้ส่ง และผู้รับสาร”

ถ้าพูดถึง เฟสบุค ทวิทเตอร์ แน่นอนมันเป็นสื่อใหม่ในเรื่องเทคโนโลยีที่เป็นเรื่องใหม่ ถ้าถามว่าวิทยุชุมชน มีเดียสลาตันเป็นสื่อใหม่หรือไม่ ก็แน่นอนเป็นสื่อใหม่ในแง่ของพื้นที่ข่าวสารพื้นที่การสื่อสารของกลุ่มพลังใหม่ที่ให้ชุมชนคนในท้องถิ่นได้เข้ามามีสวนรวม อันนี้ในความหมายของดิฉันในนิยามเรื่องส่วนตัวของดิฉันเป็นเรื่องใหม่ สื่อใหม่ที่ให้พื้นที่คนที่อยู่ในพื้นที่และกลุ่มพลังที่ไม่เคยมีอำนาจมาก่อนมีอำนาจในการสื่อสารของเข้าขึ้นมาได้”

โดยสรุปแล้วสื่อไม่ได้จำกัดว่าต้องหมายถึงแค่เรื่องเทคโนโลยีที่ทันสมัยเท่านั้นแต่หมายถึงกลุ่มคนที่อยู่ในกระบวนการสื่อการต้องเป็นกลุ่มใหม่ กลุ่มที่มีพลังเพิ่มเติมเข้ามาในสังคมด้วย ทั้งเรื่องกระบวนการจัดการที่ไม่ให้ความสำคัญกับผู้เฝ้าประตูข่าวสารมากนักแต่ผู้ส่งและผู้รับสามารถมีปฏิสัมพันธ์กันและกันได้โดยตรง”

.วลักษณ์กมล ชี้แจงเพิ่มเติมว่า ไม่ได้หมายความว่าความหมายของตนเองจะถูกต้องทางวิชาการแต่เป็นความคิดเห็นและเป็นมุมมอง ซึ่งจริงแล้วนิยามสื่อใหม่มันก็ยังไม่มีนิยามที่ตายตัว ส่วนใหญ่นิยามที่ออกมานั้นจะชัดไปในเชิงเทคโนโลยีเป็นสำคัญแต่สำหรับดิฉันจะมองในเชิง 3 แง่มุมที่ได้บอกไปแล้ว เพราะฉะนั้นสื่อกิจกรรมสื่ออะไรทั้งหลายที่นักกิจกรรมทำ ปาตานี ฟอร์รัม ทำสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นรูปแบบทั้งสิ้น

ไฟใต้ 4 ปีย้อนหลัง : สื่อใหม่ กับการปรับตัวและการเปลี่ยนแปลงอย่าง “ก้าวกระโดด”

กลับมาสู่ ประเด็นกดไลค์สื่อใหม่กดแชร์ปัญหาภาคใต้ อ.วลักษณ์กมล มองว่าโดยภาพรวม เรื่องสถานการณ์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ยุคหลังนี้มันจะมีลักษณะการเปลี่ยนแปลงหรือพลวัต มีพลวัติด้านต่างๆอยู่ 3 ประเด็น

ประเด็นที่ 1 เรื่องตัวปัญหาที่พัฒนาการความรุนแรงมากขึ้นมีมาตรการทางการทหารทางการเมืองที่เปลี่ยนแปลง พลวัติที่สำคัญเกิดขึ้นกับสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ว่ามันมีในเรื่องของกระบวนการการพูดคุยในเรื่องสันติภาพในช่วงหลัง มีในเรื่องของพบปะพูดคุย มีในเรื่องของตัวแทนของฝ่ายรัฐและฝ่ายที่เรียกว่าเป็นสร้างสถานการณ์ให้เกิดขึ้น

ประเด็นที่ 2 เป็นพลวัติของภาคประชาสังคมในพื้นที่ เราจะเห็นว่าจากความเป็นเหยื่อสู่ความเป็นพลเมือง จากความเป็นเหยื่อ คือ จากคนที่อยู่ในพื้นที่ที่ได้รับพลกระทบจากสภาพความรุนแรงทีเกิดขึ้นทั้งผลกระทบโดยตรงผลกระทบโดยอ้อมแต่ช่วงหลัง 3-4 ปีให้หลังนี้คนเหล่านี้เริ่มจะพัฒนาความเข้มแข็งในพลังของตนเอง ขึ้นมาเป็นพลเมืองมากขึ้น ถามว่าพลเมือง คือ อะไร คือความเป็นพละกำลังเมืองของตัวเองที่เราอยู่ เราไม่ได้เป็นประชาชนเฉยๆแต่เราเป็นสมาชิกที่ในสังคมมีพละกำลังสร้างกิจกรรมซึ่งความเปลี่ยนแปลง

พลวัตรในประเด็นที่ 2 จากภาคประชาสังคม จากความโดดเดียวสู่เครือข่ายเราจะเห็นได้ชัดช่วงหลังไม่ว่าจะเป็นสื่อมวลชน ที่พยายามพัฒนาตนเองจากความโดดเดี่ยวที่การทำงานของสตริงเกอร์สมัยก่อนปรับตัวเข้าสู่ความเป็นเครือข่ายนักข่าวในจังหวัดชายแดนใต้มากขึ้น การร่วมตัวของกลุ่มชังภาพต่างๆมากขึ้นในภาคประชาสังคมมีการรวมตัวของกลุ่มผู้หญิงรวมทั้งกลุ่มนักวิชาการสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งมีการเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจ ภาคประชาลังคมกลายเป็นกลไกกระบวนการสันติภาพมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเวทีพูดคุยสันติภาพคนภายในที่เกิดขึ้นที่ ดิบเซาร์ จะเป็นกลุ่มของเด็ก ผู้หญิงนี้ คือ พลวัติในภาคประชาสังคมที่เกิดขึ้น

ประเด็นที่ 3 พลวัติของสื่อและการสื่อสาร เราจะมองในภาคกว้างในระดับประเทศและระดับท้องถิ่น ในระดับประเทศเราเห็นมีการถ่อยห่างจากภาคพื้นที่ของสื่อกระแสหลักมากขึ้นในช่วง 3-4 ที่ผ่านมาสื่อกระแสหลักที่อยู่ในพื้นที่ ในกรุงเทพมีการถอยห่างจากพื้นที่ที่มากขึ้นพิสูจน์ได้จากงานวิจัยต่างๆ

เนื้อหาของข่าวที่มันเกิดขึ้นรับมาจากฝ่ายรัฐบาลมากกว่าฝ่ายที่อยู่ในพื้นที่ เห็นจากอัตราการลงพื้นที่ของนักข่าวที่ลงพื้นที่น้อยขึ้นเรื่อยๆ ฉะนั้นแล้วเราเห็นความเคลื่อนไหวของสื่อในพื้นที่มากขึ้น สื่อในพื้นที่ในที่นี้ไม่ได้หมายถึง นักข่าวที่ทำข่าวให้กับพื้นที่สวนกลาง แต่หมายถึงสื่อทางเลือกหรือสื่อใหม่ที่เรากำลังพูดถึงในพื้นที่พัฒนาบทบาทของตัวเองมากขึ้น อย่างมีเดียสลาตันที่มีการเสนอเนื้อหาที่เป็นเชิงรุกมากขึ้นในเชิงกระบวนการสันติภาพ ไม่ได้แค่นำเสนอปัญหาการสัมภาษณ์เรื่อยๆแต่ว่ามีการนำเสนอประเด็นที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสันติภาพมากขึ้น และสิ่งที่เราเห็นสื่อกระแสหลักในสวนกลางนำประเด็นข่าวจากสื่อในพื้นที่ไปนำเสนอมากขึ้น”

ดิฉันมองเห็นว่าการที่เราจะพัฒนาสื่อทางเลือกหรือสื่อใหม่ในพื้นที่เป็นประเด็นที่สำคัญมากเพราะว่าสื่อใหม่ สื่อทางเลือกในพื้นที่ไม้ได้มีความสำคัญกับสถานการณ์เท่านั้น แต่ยังเป็นข้อมูลของสื่อกระแสหลักด้วย เพราะฉะนั้นเราจะทำอย่างไรจะพัฒนาอย่างไรสื่อเหล่านี้มีศักยภาพในการที่จะให้สื่อกระแสหลักที่อยู่ข้างนอกเอาข้อมูลข่าวสารไปนำแสนอมากขึ้นนี้เป็นสิ่งสำคัญที่ เราต้องมายกระดับสื่อใหม่ให้ความสำคัญสื่อทางเลือกในพื้นที่มากขึ้น ซึ่งดิฉันก็เห็นว่าเวทีที่มีสื่อทางเลือกเกิดขึ้นในพื้นที่มากขึ้นซึ่งถือว่าเป็นเรื่องดีที่ควรจะมีการสงเสริมต่อ และพัฒนาศักยภาพ ในการที่จะร่วมมือที่จะทำให้สื่อกระแสหลักข้างนอกชุมชนของเราเอาข้อมูลข่าวสารไปนำเสนอข้างนอกมากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องยกระดับสื่อใหม่ในชุมชนมากขึ้น”

.วลักษณ์กมล ได้สะท้อนมุมมองเพิ่มเติมว่า ถ้าจะให้พูดถึงจุดเด่นหรือจุดดีของสื่อใหม่หรือการเป็นสื่อทางเลือกที่อยู่ในพื้นที่ ประเด็นแรก การรู้เรื่องข้อมูล ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในทุกวันนี้ ประเด็นที่สอง นับว่าสื่อกระแสหลักที่อยู่ในพื้นที่นั้นเขามีความรู้ความเข้าใจมากกว่าสื่อที่อยู่ข้างนอก ประเด็นที่สาม ลักษณะของสื่อใหม่หรือสื่อทางเลือกของจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตอนนี้มันมีลักษณะเป็นเครือข่ายกับภาคประชาสังคมและภาควิชาการมากขึ้น

การสื่อในเรื่องของสันติภาพ หรือการคลี่คลายความขัดแย้งนั้นลักษณะของเครือข่ายของความเป็นสื่อเครือข่ายของการสื่อสารมีความสำคัญที่จะนำไปสู่สันติภาพหรือความขัดแย้งไม่มีทางที่สื่อจะทำงานอย่างโดดเดียวโดยไร้ความเป็นเครือข่ายจากประชาสังคมจะทำให้ไม่ถึงจุดหมายที่เราต้องการ และอีกประเด็นหนึ่ง คือ เป็นเรื่องเทคโนโลยีการสื่อสารในยุคใหม่ที่ทุกคนเข้าถึงเทโนโลยีได้ง่ายขึ้นมีราคาถูกลงเทโนโลยีใช้ง่ายขึ้นใครก็สามารถใช้ได้”

เหรียญ 2 ด้าน….. มีบวกก็ต้องมีลบ

อย่างไรก็ตาม อ.วลักษณ์กมล ยังมองว่า สื่อใหม่ไม่ได้มีในจุดดีแต่อย่างเดียว ยังมีในแง่ของพลกระทบที่เกิดขึ้นเยอะ ถ้าพูดในแง่วิชาการก็ยังไม่ได้มีการศึกษาอย่างจริงจังว่าผลกระทบในแง่ดีและในแงลบของสื่อใหม่ทีมีต่อกระบวนการสร้างสันติภาพต่อการจัดการความขัดแย้งว่ามันมีการศึกษาในแง่ลบอย่างไรบ้าง

เวลาคนมาเขียนบทความต่อพลกระทบของสื่อใหม่จะเขียนในเรื่องของความรู้สึกมากกว่าว่าตัวเองเจอแบบนั้นเจอแบบนี้ แต่ในแง่ทางการศึกษาเชิงวิชาการที่ตัวหลักฐานที่ชัดเจนนั้นไม่เคยมีซึ่งในอนาคตอาจจะมีดูว่ามีบทบาทข้อดีข้อเสียอย่างไงซึ้งถือวาเป็นสิ่งที่ดี ที่อยากจะพูดถึงสื่อใหม่ คือ พลกระทบที่มันเกิดขึ้นพลกระทบในแง่ดีแน่นอนว่ามันกระตุ้นในดารพูดคุยเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนและช่วยเป็นสะพานเชื่อมช่องว่างของกลุ่มต่างๆ เชื่อมระหว่างนักวิชาการกับภาคประชาสังคม เชื่อมระหว่างคนที่ทำงานในภาครัฐกับคนที่เป็นชาวบ้านอันนี้ก็เป็นจุดเชื่อมอันหนึ่ง และก็อาจจะเป็นการปฏิวัติกลุ่มคนที่เป็นระดับรากหญ้าก็ได้แต่จุดหนึ่งที่น่าเป็นหวงของสื่อใหม่ในเรื่องของเทคโนโลยีและเรื่องที่สร้างความแตกแยกมากขึ้น การแบ่งพวกเขาพวกเราชัดเจนยิ่งขึ้น”

เรื่องของเพจบางเพจกับการสร้างแนวร่วมเราจะเห็นชัดแต่ก่อนเราจะไม่ดากันรุนแรงขนาดนี้แต่พออยู่ในโลกออนไลน์ทุกคนจะรู้สึกว่าจะไม่เห็นหน้ากันเพราฉะนั้นเวลาด่าจะด่าได้สาแกใจกว่า รู้สึกปลอดภัยกว่าเมื่อไรที่เราหลบอยู่หลังฉากเราด่าได้มัน แต่ถ้ามาให้อยู่ต่อหน้าต่อตานั้นไม่ค่อยกล้าเพราะฉะนั้นอันนี้เป็นลักษณะพิเศษที่น่าเป็นหวงของสื่อใหม่”

เพราะว่าต่างคนหลบอยู่ในมุมตัวเองส่งแต่เสียงมาด่าคนอื่น เรากล้าที่จะด่าคนอื่นเพราะเราหลบอยู่หลังฉากห นี้คือเป็นลักษณะพิเศษของสื่อใหม่ที่มันอาจจะมีจุดดีแต่ในขณะเดียวกันก็กลายเป็นจุดด้อยที่บางที่เสองความคิดเห็นที่โจมตีกันได้ง่ายๆ อ. ชินทาโรอาจจะเล่าประสบการเหล่านี้ได้เป็นอย่างดีเรื่องของกรเพิ่มความเกลียดชัง จิวิทยาอย่างนี้ของคนที่รับสารบางที่เราเลือกรับสารที่ตรงกับอคติส่วนตัว เพราะฉะนั้นเวลาเรากดไลค์กับความคิดเห็นที่ตรงใจเรา เราก็จะไลค์มาก คนนี้พูดดี พูดมีเหตุมีผลถ้าว่าเขาพูดมีเหตุมีผลสอดคล้องกับความคิดของเรา แต่เมือไรก็ตามที่ฝ่ายตรงข้ามทีความคิดไม่ได้เกี่ยวกับเราตรงกับเรา ต่อให้เขาอธิบายด้วยเหตุผลนานับประการเราก็ไม่ไลค์ ไม่ได้เรื่อง เพราะฉะนั้นจิตวิทยาการสื่อสารมันก็เกิดการแบ่งพรรคแบ่งฝ่ายแบ่งพวกมากขึ้น เพราะมันมีพื้นที่ ให้เราเลือกได้มากขึ้น” นักวิชาการสื่อสารอธิบาย

ตอนต่อไปจะมาร่วมขุดคุ้ยเพิ่มเติม อิทธิพลของสื่อใหม่ต่อปัญหาภาคใต้ (ปาตานี)ในมุมของ คนทำอาชีพสื่อ และคนใช้สื่อใหม่ที่กลายเป็นเหยื่ออย่าง มูฮัมหมัด ดือราแม และ ฮารา ชินทาโร…