การเมืองของคำประกาศในภาคใต้ของไทย
ปาตานีฟอรั่ม เห็นว่าบทความของ รศ.ดร. มาร์ค แอสคิว มีความน่าสนใจและอาจจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการทำความเข้าใจ “ปัญหาปาตานี” หลักใหญ่ใจความที่มาของบทความ สืบเนื่องมาจาก รายงานของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล (Amnesty International) ฉบับล่าสุดที่ให้ชื่อว่า “They took nothing but his life”: Unlawful killings in Thailand’s southern insurgency” (“พวกเขาไม่เอาอะไรไป นอกจากชีวิตเขา การสังหารที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายในระหว่างการก่อความไม่สงบในภาคใต้ของไทย) ระบุว่าที่ผ่านมาผู้ก่อความไม่สงบได้จงใจโจมตี “เป้าหมายอ่อน” ประกอบด้วยเกษตรกร ครู นักเรียน ผู้นำทางศาสนา และข้าราชการ การโจมตีเหล่านี้หลายครั้งถือได้ว่าเป็นอาชญากรรมสงคราม…
มาร์ค แอสคิว ได้ตั้งข้อสังเกตเรื่อง “การเมืองของการให้ชื่อ (Politics of naming)” ต่อ “ปัญหาปาตานี” ในสถานการณ์ที่มีความรุนแรงและไม่มีทีท่าทีจะจบในเร็ววัน...
แปลโดย Patani Forum ที่มา http://www.atimes.com/atimes/Southeast_Asia/MJ25Ae02.html
สมรภูมิแห่งการจำแนกแยกแยะแบ่งประเภท และการตีความ ต่อเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยนั้น ได้มีการกระทำอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2547 ควบคู่ขนานไปกับความน่าสะพรึงกลัวและความสับสนในความจริงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ความรุนแรงที่ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องมากว่า 7 ปี ยังคงเป็นตัวขับเคลื่อนข้อโต้แย้งถกเถียงที่ผสมปนเปกันไปว่าด้วย ปัญหา และ แนวทางการแก้ปัญหา
มันคือเหตุการณ์ความวุ่นวาย ซึ่งดูเหมือนว่ารัฐไทยจะไม่มีการแก้ปัญหาที่จะสามารถบังคับใช้อย่างแน่วแน่ กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบใต้ดินยังคงโจมตีเจ้าหน้าที่รัฐและประชาชนพลเรือน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของของการระเบิด และการยิง ที่มาจากทั้งการใช้ความรุนแรงในส่วนบุคคล การต่อสู้กับฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง และผลประโยชน์
องค์กรต่างๆ ที่ทำงานใน “ประเด็นเดียว” (single-issue organizations) ได้ทำการรณรงค์อย่างแข็งขัน ที่จะสร้างความรู้ และ ความเข้าใจต่อสถานการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในจังหวัดภาคใต้สุดของประเทศไทย องค์กรด้านสิทธิมนุษยชน เช่น แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล (Amnesty International) และ ฮิวแมนไรท์วอทช์ (Human Rights Watch) ซึ่งทำหน้าที่เป็นกลุ่มล็อบบี้ยิสต์ ที่มีกฎหมายระหว่างประเทศ และ ปฏิญญาต่างๆขององค์การสหประชาชาติในการชักจูงโน้มน้าวเพื่อผนึกกำลังในการสร้างแรงดึงดูดในคำแถลงการณ์ของกลุ่ม
องค์กรเอกชนอื่นๆ เช่น อินเตอร์เนชั่นแนล ไครซิส กรุ๊ป (International Crisis Group) ที่มีฐานที่ตั้งในกรุงบรัสเซล หรือ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (Deep South Watch) ซึ่งกลุ่มพวกเขาอ้างความชอบธรรมว่าเป็นเป็น“อิสระ” และ เป็น”ผู้เชี่ยวชาญ”ด้านการวิจัย (DSW นั้นมีชื่อเสียงในการเป็นหน่วยงานที่มีความก้าวหน้าในการประเมินจำนวนคนตายและได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์ความไม่สงบ ซึ่งปัจจุบันประเมินว่ามีมากกว่า 4,800 คน นับตั้งแต่เดือนมกราคม ปี 2547 (2004) การประเมินของ SW ได้รับการอ้างอิงโดยสื่อต่างๆ แต่ ทางการไทยพิจารณาเห็นว่าเป็นการคาดคะเนที่เกินกว่าการตายที่เกิดจากเหตุการณ์ไม่สงบ —คือ “insurgency” —โดยตรง
เฉกเช่นเดียวกับเจ้าหน้าที่รัฐ องค์กรเอกชน ได้มีส่วนร่วม ในสิ่งที่ นักวิชาการชื่อ มาห์มูด แมมดามี (Mahmood Mamdami) เรียกว่า “การเมืองของการให้ชื่อ (Politics of naming)” การให้ชื่อของเกมส์ เพื่อที่จะเรียกร้องความสนใจจากสาธารณชน และการควบคุมวาทกรรมของ”ความจริง”ของเหตุการณ์ หรืออย่างน้อยที่สุดก็ควบคุมส่วนใดส่วนหนึ่งของวาทกรรม ซึ่งมีการเล่นกับภาษาและการให้คำจำกัดความ เป็นกุญแจสำคัญในเกมส์นี้ ตัวอย่างเช่น การเรียกสถานการณ์ในภาคใต้ว่าเป็น “การก่อความไม่สงบ” (insurgency) ซึ่งได้ทำให้เหตุการณ์ความวุ่นวายต่างๆเป็นเพียงสิ่งที่คาดเดาได้ง่ายๆที่จะทำให้ผู้อ่านชาวต่างชาติบริโภคได้อย่างง่ายดาย
การแทรกใส่คำที่แสดงอารมณ์แต่มีความหมายคลุมเครือ เช่น “อย่างเป็นระบบ” (systematic) นำหน้าคำว่า “ทรมาน” (torture) นั้นได้ให้น้ำหนักไปในการกล่าวโทษเจ้าหน้าที่รัฐที่กระทำการทารุณข่มเหงผู้ต้องสงสัยที่ถูกคุมขัง และการเติมคำที่มีความหมายไปในทางเสื่อมเสียเช่นคำว่า “กองทหารอาสาสมัคร” (militias) ในหน่วยกองกำลังป้องกันหมู่บ้านนั้น เป็นการโน้มน้าวไปสู่การเล่าเรื่องเกี่ยวกับปัจจัยผลักดันความรุนแรงในทำนองฟาดฟันแบบสมัยนิยม การออกแถลงการณ์ต่างๆนั้น เป็นเหมืนอาวุธพื้นฐานของกลุ่มผู้เคลื่อนไหวที่พยายามจะสร้างแรงกดดันให้สื่อผลักดันเรื่องราวให้เป็นที่สนในของสาธารณชน
เอมแนสตี้ อินเตอร์แนชั่นแนล (Amnesty International) ที่มีฐานที่ตั้งในกรุงลอนดอนได้เผยแพร่รายงานที่กรุงเทพเมื่อวันที่ 27 กันยายน อ้างว่าความรุนแรงต่อในภาคใต้นั้นเป็นส่วนหนึ่งของ “อาชญากรรมสงคราม” ซึ่งจำกัดความโดย อนุสัญญาเจนีวา (Geneva Conventions, ของ ปี 2492) ตั้งแต่ปี 2547 (2004) จนกระทั่งเมื่อเร็วๆนี้ องค์กรเอกชนระหว่างประเทศได้กล่าวโทษเจ้าหน้าที่รัฐไทยและกองกำลังทหารไทยว่า ต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อความรุนแรงที่มีอย่างต่อเนื่อง ประณามคดีทรมานนักโทษ และเรียกร้องให้มีการยกเลิกกฎหมายสถานการณ์ฉุกเฉินปี 2548 (2005) ซึ่งอนุญาตให้เจ้าหน้าที่รัฐกังขังและสวบสวนผู้ต้องสงสัยได้ถึง 30 วัน (ภายใต้คำสั่งศาล) และไม่ได้ควบคุมเจ้าหน้าที่
จนกระทั่งปี 2550 (2007) องค์กรสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่เป็นที่รู้จักอย่าง ฮิวแมนไรท์วอทช์ (Human Rights Watch) ที่มีฐานที่ตั้งในนครนิวยอร์กได้เผยแพร่รายงานประณามขบวนการก่อความไม่สงบที่โจมตีประชาชนและพลเรือนผู้ที่กลายเป็นคนส่วนใหญ่ของการบาดเจ็บล้มตายจากความขัดแย้งอันมืดมนครั้งนี้ คำแถลงของแอมแนสตี้ อินเตอร์แนชั่นแนล เมื่อเร็วๆนี้ ซึ่งมีการอุทธรณ์อ้างถึงหลักการในกฎหมายระหว่างประเทศนั้น ได้ก้าวไปไกลกว่าแถลงการณ์ของ ฮิวแมนไรท์วอทช์ก่อนหน้านี้
เอมแนสตี้ (Amnesty) ได้ดำเนินการอย่างอาจหาญในการเรียกร้องความสนใจในความทุกข์ทรมานที่สร้างความเจ็บปวดอย่างต่อเนื่องของ “ผู้ที่ไม่ได้ร่วมต่อสู้รบ” (Non-combatants) ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่ถ้าหากพิจารณาตัดสินจากการวิจารณ์รายงานอย่างเป็นทางการที่เผยแพร่ ณ. สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย (Foreign Correspondent’s Club of Thailand) นั้น ความหวังในการที่จะเผยแพร่เรื่องราวให้เป็นที่น่าตื่นตะลึงกับหมู่สาธารณชนนั้นป็นอาวุธที่ใช้ไม่ได้ผล รายงานไม่เพียงแต่กล่าวโทษขบวนการก่อความไม่สงบอันเป็นแนวคิดที่ขัดแย้งกับแนวคิดขององค์กรเอกชนอื่นที่มีความเห็นเกี่ยวกับสาเหตุของความรุนแรง (ว่า เป็นเจ้าหน้าที่รัฐ) แม้แต่ทางการไทยเองก็ไม่เห็นด้วยกับการกำหนดคำนิยามเหตุการณ์ของแอมเนสตี้
การแถลงข่าวของแอมแนสตี้เริ่มด้วยคำกล่าวการแยกประเภทของเหตุการณ์ความไม่สงบ โดย ดอนน่า เกส (Donna Guest), รองผู้อำนวยการหน่วยเอเชีย-แปซิฟิก ว่าการโจมตีประชาชนพลเรือนนั้นเป็นส่วนหนึ่งของ “อาชญากรรมสงคราม” (war crimes) ตามอนุสัญญาเจนีวา Geneva Conventions ซึ่งห้ามมิให้โจมตี “ผู้ไม่ได้มีส่วนร่วมในการต่อสู้”
เกสกล่าวว่า การกำหนดความทางกฎหมายของอาชญากรรมสงครามนี้ในกฎหมายมนุษยชนระหว่างประเทศนั้นปรับใช้ได้กับ “การขัดแย้งกันด้วยกำลังอาวุธระหว่างประเทศและภายในประเทศเช่น สถานการณ์ในภาคใต้ของประเทศไทย” และมีพันธกรณีกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง เธอกล่าวต่อไปว่า “ผู้ก่อความไม่สงบได้ละเมิดกฎหมายอย่างชัดเจน และต้องยุติการโจมตีโดยทันที”
เกสกล่าวว่า ความรุนแรงในภาคใต้ของประเทศไทยนั้นได้อยู่ภายใต้คำจำกัดความว่า “การขัดแย้งกันด้วยกำลังอาวุธภายในประเทศ” (Internal Armed Conflict) ซึ่งจำแนกด้วยข้อพิจารณาว่าด้วยความรุนแรง และห่วงโซ่ของคำสั่งการของกลุ่มติดอาวุธ
นายเบจจามิน ซาวัคกี (Benjamin Zawacki) นักวิจัยด้านประเทศไทยและประเทศเมียนม่าของเอมแนสตี ผู้เขียนรายงานมีความเห็นอีกทางหนึ่งว่า การติดฉลากเหตุการณ์ว่าเป็น “การขัดแย้งกันด้วยกำลังอาวุธภายในประเทศ” รวมไปถึงนัยยะทางกฎหมายทั้งหมดเพื่อบังคับให้มีการรับผิดชอบต่ออาชญากรรมสงครามนั้นเลยกำหนดเวลาไปแล้ว (เกินขอบเขต) นายซาวัคคกีกล่าวว่ารายงานของเขาได้ยกประเด็นความไม่สงบในภาคใต้ไปสู่อีกระดับหนึ่ง
ถึงแม้ว่าจะมีการโน้มน้าวโดยข้อกฎหมาย ข้อโต้แย้งของเอมเนสตี้ได้ถูกวิพากษ์อย่างรุนแรง ตัวแทนนักศึกษามุสลิมจากภาคใต้คนหนึ่ง เรียกร้องว่าข้อกล่าวหาต่อผู้ก่อความไม่สงบว่าเป็น “อาชญากรรม” นั้น ก็คล้ายกับคำพูดของเจ้าหน้าที่ของรัฐไทยเกี่ยวกับฝ่ายตรงข้าม แต่สิ่งที่เป็นประเด็นร้ายแรงก็คือ ความเปราะบางของพื้นฐานในการแสดงบ่งชี้คณะหรือฝ่ายต่างๆในสงครามที่เรียกว่า “การขัดแย้งกันด้วยกำลังอาวุธภายในประเทศ”
ตัวแทนระหว่างประเทศของคณะกรรมการลูกขุน (International Commission of Jurists) ได้ตั้งคำถามว่า “ผู้ก่อความไม่สงบ” ถูกจำกัดให้เป็นฝ่ายหนึ่งในความขัดแย้งได้อย่างไร ถ้าไม่มีกลุ่มใดออกมาแสดงความรับผิดชอบต่อความรุนแรงที่เกิดขึ้น
อีกคำถามหนึ่งนั้นเกี่ยวข้องกับประเด็นที่เป็นปัญหา คือ การจำกัดความรุนแรงว่า “การก่อความไม่สงบ” ได้อย่างไรถ้าเหตุการณ์ส่วนใหญ่นั้น (ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ จาการคาดคะเนประมาณการ ภายใน ของตำรวจ) เป็นผลมาจากข้อขัดแย้งส่วนตัว และ ข้อขัดแย้งที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรม ข้อซักถามนี้ตรงกับการยืนยันของแอมเนสตี้ ว่าความรุนแรงที่เกิดขั้นในส่วนมากนั้นเชื่อมโยงกับการก่อความไม่สงบ
แถลงการณ์สุดท้ายจากตัวแทนทางการไทย โฆษกของพลโท อุดมชัย ธรรมสาโรรัชต์, แม่ทัพภาคที่ 4 กล่าวว่า เพียง 20 เปอร์เซ็นต์ของเหตุการณ์ความรุนแรงในภาคใต้เท่านั้นที่กระทำการโดยกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ
เป็นสิ่งที่ที่ชัดเจนแล้วว่า”ผู้ก่อความไม่สงบ”นั้นไม่ได้ปฏิบัติตามคำเรียกร้องจากแอมเนสตี้ในการยุติการโจมตีประชาชนพลเรือน ซึ่งดูได้จากการฆ่าสังหารที่ยังคงมีขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดสัปดาห์ตั้งแต่การเผยแพร่รายงาน แอมเนสตี้ได้เพียงคำตอบที่เชื่อมโยงกับรายงานจากกระทรวงการต่างประเทศซึ่งไม่เห็นด้วยกับการประเมินแบ่งแยกสถานการณ์ให้อยู่ในจำพวก “การขัดแย้งกันด้วยกำลังอาวุธภายในประเทศ”
กระทรวงการต่างประเทศโต้แย้งจากมูลฐานที่ว่าไม่มีกลุ่มใดแสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ความรุนแรง การโจมตีกระทำการอย่างลับๆ และไม่มีการแสดงตนของผู้นำและกลุ่มติดอาวุธต่างๆ
นอกจากนั้น กระทรวงการต่างประเทศได้ยืนยันว่าเหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้นั้น จำกัดวงอยู่ในบางอำเภอ และ 80 เปอร์เซ็นต์ ของเหตุการณ์นั้นเชื่อมโยงกับข้อขัดแย้งส่วนบุคคลและอาชญากรรม
แน่นอนว่าในเวลาปัจจุบันรัฐไทยจะไม่อนุญาตให้มีการแทรกแซงจากต่างชาติในกิจการภายในรวมไปถึงประเด็นเกี่ยวกับเหตุการณ์ในภาคใต้ และความไม่สงบที่เกิดขึ้นนั้นไม่อยู่ในระดับที่จะปลุกปั่น แรงกดดันจากนานาประเทศ มากกว่านั้นก็คือ ประเทศไทยไม่ได้เป็นภาคีกฎบัญญัติโรม (Rome Statute of the International Criminal Court) เพราะฉะนั้น ประเทศไทยไม่ได้อยู่ภายใต้อำนาจการตัดสินของศาลอาชญากรรมระหว่างประเทศในกรณีของอาชญากรรมสงคราม ยกเว้นในกรณีที่ประเทศไทยจะเชิญชวนให้ศาลที่จะเข้าไปแทรกแซง….ซึ่งเป็นไปไม่ได้ในขณะนี้
ก็เป็นที่กระจ่างแจ้งว่าระดับความรุนแรงที่เกิดขึ้นในภาคใต้ถึงแม้ว่าจะลดลงจากระดับที่รุนแรงที่สุดในปี 2550 (2007) นั้น ไม่สามารถยอมรับได้ในประเทศอารยะธรรมไหนก็ตามที่อ้างว่ามีความมุ่งมั่นเพื่อสันติภาพและกฎหมายข้อบังคับค้ำจุน ไม่ว่าสัดส่วนของความรุนแรงทีเกิดขึ้นจะเป็นการกระทำเพื่ออุดมการณ์ เพื่อประโยชน์ส่วนบุคคล หรือ เป็นอาชญากรรมนั้นไม่สามารถหลีกเลี่ยงความจริงที่ว่าการฆาตกรรมสังหารที่ถูกบันทึกว่าได้เกิดขึ้นในปีที่แล้วในจังหวัด นราธิวาส ปัตตานี และ ยะลา นั้นสูง เป็น 4-5 เท่าของจังหวัดอื่นๆที่มีที่มีจำนวนประชากรที่คล้ายกันในประเทศ
รายงานของแอมแนสตี้ (Amnesty) สะท้อนถึงความสนใจที่พุ่งไปที่ว่า เราจะต้องกระทำการยุติความรุนแรงที่เกิดในภาคใต้ของประเทศไทย แต่การที่จะก้าวไปสู่ขั้นตอนต่อไปด้วยกฎหมายระหว่างประเทศที่ยังต้องปรับปรุงและไม่สามารถทำงานได้นั้น คงจะให้ผลเพียงน้อยนิด
มาร์ค แอสคิว เป็นนักวิจัยอาวุโสประจำคณะมานุษยวิทยา ภาควิชาสังคมศาสตร์และรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเมลเบริ์น และ ดำรงตำแหน่ง รองศาสตราจารย์ โครงการเอเชียศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ประเทศไทย ปัจจุบัน มาร์ค แอสคิว กำลังทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับจังหวัดชายแดนภาคใต้