แนะนำหนังสือ เรื่อง “ ชูรอกุญแจสู่ความเป็นพลเมือง”

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานียิ่ง  ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด  ผู้เจริญรอยตามท่าน  สุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน

หนังสือ เรื่อง  “ ชูรอกุญแจสู่ความเป็นพลเมือง”  เรียบเรียงโดย  อาจารย์ อับดุลสุโก  ดินอะ เป็นหนังสือเล่มหนึ่งของการถอดบทเรียน  โครงการพัฒนาเครือข่ายตำบลสุขภาวะในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้  โดยใช้สภาชูรอเป็นศูนย์กลางและเครื่องมือการในการขับเคลือนโครงการ  ไม่ว่าการเมือง  เศรษฐกิจ  สังคม การศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม  ในขณะเดียวกันเป็นการถอดบทเรียนตำบลเครือข่ายสุขภาวะในพื้นที่กับนอกพื้นที่และภาคีเครือข่ายทั่วประเทศในการสร้างชุมชนน่าอยู่ด้วยพลังพลเมือง

คำว่า  ชูรอ เป็นคำภาษาอาหรับ มาจากคำเต็มว่า อัช-ชูรอ (al-Shura )  ในหลักภาษาอาหรับ  ซึ่งแปลว่า การปรึกษาหารือ ดังที่อัลลอฮฺ (สุบหานะฮูวะตะอฺาลา)  ได้ตรัสไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน

ความว่า ...และกิจการของพวกเขามีการปรึกษาหารือกันระหว่างพวกเขา ( อัชชูรอ  : 38 )

สำหรับความหมายทางด้านศานบัญญัติหมายถึง การประชุมหรือปรึกษาหารือตามรูปแบบอิสลามจนได้ข้อสรุปหรือมติเพื่อนำไปปฏิบัติ

แต่คำนิยามปฏิบัติสำหรับโครงการนี้นั้น กระบวนการชูรอ  หมายถึง  การประชุมปรึกษาหารือเพื่อหามติในเรื่องใดเรื่องหนึ่งในการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาเครือข่ายตำบลสุขภาวะในพื้นที่ ซึ่งสอดคล้องกับศาสนบัญญัติ

ในแต่ละตำบลที่เข้าร่วมโครงการจะมีคณะทำงานชุดหนึ่งเรียกว่าสภาชูรอตำบลสุขภาวะ  โดย  คณะทำงานชุดนี้จะได้รับการสรรหาจากหลากหลายองค์กร ในตำบลของตนเอง (ผู้นำศาสนา ท้องถิ่น  ท้องที่   สตรี  เยาวชน  ข้าราชการและอื่นๆ ) โดยใช้กระบวนการชูรอในการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาเครือข่ายตำบลสุขภาวะในพื้นที่เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ด้านล่างนี้

1  เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดการเรียนรู้ที่ตอบสนอง   ขบวนการพัฒนาของชุมชนท้องถิ่น

2  เพื่อสนับสนุนให้เกิดระบบการจัดการสุขภาวะชุมชนโดยชุมชน

3  เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดเครือข่ายตำบลสุขภาวะด้วยวิถีศาสนธรรมกับการพัฒนา

4  เพื่อสร้างองค์ความรู้การสร้างเสริมสุขภาวะที่เกิดจากการปฏิบัติการในพื้นที่

5  เพื่อผลักดันและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะชุมชนท้องถิ่นที่สอดคล้องกับวิถีชุมชน

ในหนังสือเล่มนี้ มีด้วยกัน  5 บท กล่าวคือบทที่1  บทนำ  บทที่  2 กระบวนการชูรอตามทัศนะอิสลาม บทที่ 3พลเมือง  บทที่4  ชูรอกุญแจสู่ความเป็นพลเมือง และบทที่ 5พลเมืองกับการสร้างสันติภาพชายแดนใต้

อันเป็นก้าวสำคัญ ในการนำไปสู่ ข้อเสนอเชิงนโยบาย ที่เป็นประเด็นร่วมกันของตำบลเครือข่ายเพื่อใช้สำหรับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ 7+1 ระดับชาติ และนโยบายสาธารณะในระดับจังหวัดชายแดนภาคใต้ 6+1  เพื่อมอบให้ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้

สำหรับนโยบายสาธารณะระดับชาติ 7+1 ดังนี้

(1).  ข้อเสนอนโยบายสาธารณะเพื่อการบริหารจัดการและการมีส่วนร่วม

(2).  ข้อเสนอนโยบายสาธารณะเพื่อการจัดสวัสดิการสังคมโดยชุมชน

(3).  ข้อเสนอนโยบายสาธารณะเพื่อเด็กและเยาวชน

(4).  ข้อเสนอนโยบายสาธารณะเพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

(5).  ข้อเสนอนโยบายสาธารณะเพื่อเกษตรกรรมยั่งยืน

(6).  ข้อเสนอนโยบายสาธารณะเพื่อระบบการดูแลสุขภาพชุมชน

(7).  ข้อเสนอนโยบายสาธารณะเพื่อการจัดการภัยพิบัติ

(8).  การลงทุนด้านสุขภาพโดยชุมชน


และ นโยบายสาธารณะในระดับจังหวัดชายแดนภาคใต้ 6+1 ดังนี้

(1).  ข้อเสนอนโยบายสาธารณะเพื่อการบริหารจัดการแบบการมีส่วนร่วมด้วยกระบวนการชูรอ

(2).  การศึกษาที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตชุมชนจังหวัดชายแดนภาคใต้และภาษามลายูสู่ประชาคมอาเซียน

(3).  ศาสนทานและซะกาต  : สวัสดิการสังคม โดยชุมชน

(4).  อาชีพที่สอดคล้องกับวิถีชุมชน

(5).  การป้องกันและแก้ปัญหายาเสพติดด้วยวิถีศาสนธรรมโดยชุมชน

(6).  พลังงานทางเลือกและการจัดการสิ่งแวดล้อมโดยชุมชน

(7).  การหนุนเสริมการกระบวนการสร้างบรรยากาศการพูดคุยเพื่อสันติภาพด้วยกระบวนการชูรอ

 

หมายเหตุ หนังสือเล่มนี้สามารถดาวโหลดได้ใน  http://www.chaidentai.net/?name=report&file=readreport&id=20