สะแปอิง บาซอ และกระบวนการสันติภาพ (Sapae-ing Basor and the Peace Process)
ผู้กำหนดนโยบายของไทยนั้นไม่ใคร่ที่จะชอบความคิดที่จะพูดคุยกับผู้แบ่งแยกดินแดนมาเลย์มุสลิมในชายแดนใต้ นอกเสียจากว่าการเผชิญหน้านั้นไม่อยู่ในเรดาร์ความสนใจของสาธารณชน
ข้อโต้แย้งที่มีมายาวนานก็คือว่าเราไม่ควรให้ความชอบธรรมและต้นทุนทางการเมืองที่ศัตรูนั้นต้องการเป็นยิ่งนัก
หากพินิจพิเคราะห์ย้อนกลับไปเมื่อช่วงทศวรรษ 2510 และทศวรรษ 2520 (1970s -1980s) การเผชิญหน้าพูดคุยนั้นถูกดำเนินการให้ลุล่วงโดยกองทัพในหลายๆเมืองในตะวันกลางอย่าง ไคโร, ดามัสกัส, และอีกหลายเมือง มนทางกลับกันสำหรับกองทัพไทย คงไม่มีความจำเป็นต้องใช้การไกล่เกลี่ยเจรจาอย่างเป็นทางการ เพราะการมีคนภายนอกนั่งอยู่โต๊ะเจรจานั้นไม่ใช่วิถีทางของกองทัพไทย
เจ้าหน้าที่ตำรวจระดับสูงของมาเลเซียที่ได้พบปะกับเจ้าหน้าที่จากกองทัพไทยหลายคน ได้พูดอย่างติดตลกว่า “ทุกครั้งที่เจ้าหน้าที่เหล่านี้มานั้น พวกเขาได้กล่าวเสมอว่าตัวเองเป็นตัวแทนจากรัฐบาลไทย แต่เมื่อเขากลับไปก็ไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้น”
ไม่จำเป็นที่จะต้องบอกว่าผลของการประชุมเหล่านั้นไม่มีผลกระทบต่อนโยบาย เพราะพวกเขาถือว่าเป็นการเก็บข้อมูลและการหาข่าว กองทัพไทยต้องการที่จะหยุดการต่อสู้รบแต่ไม่เคยต้องการที่จะเข้าใจในความขุ่นเคืองข้องใจที่เป็นแรงกระตุ้นของผู้แบ่งแยกดินแดน
ในช่วงปีต้นทศวรรษ 2520 (1980s) และช่วงปลายทศวรรษ 2530 (1990s) กลุ่มแบ่งแยกดินแดนติดอาวุธที่ต่อสู้มาอย่างยาวนาน (พูโล, บีอาร์เอ็น, บีไอพีพี, จีเอ็มไอพี และอื่นๆ) ซึ่งกระทำการในช่วงปลายทศวรรษปี 2500 (1960s) ได้หยุดไป ทหารราบเหล่านี้ได้วางอาวุธ กลับไปยังหมู่บ้านที่จากมา และหยิบจับสิ่งที่เคยทิ้งมา ผู้นำกลุ่มแบ่งแยกดินแดนเหล่านี้หลายคนยังคงอาศัยอยู่ในต่างแดน และถือสัญชาติของประเทศที่อาศัยอยู่ในช่วงขาลงของการก่อความไม่สงบ
แต่ตั้งแต่ปี 2547 (2004) ที่กลุ่มแบ่งแยกดินแดนมาเลย์-มุสลิมรุ่นใหม่ได้เข้าสู่วงจรนี้นั้น ผู้นำกลุ่มแบ่งแยกดินแดนรุ่นเก่าๆที่ได้ต่อสู้มาอย่างยาวนานได้ตัดสินใจว่ามันถึงเวลาแล้วที่จะกลับมาใหม่ บ้างก็ไปทางองค์กรเอกชนที่ทำงานเชี่ยวชาญด้านการเป็นตัวกลางเจรจา ในขณะที่บางคนก็หันหน้าขอความช่วยเหลือสนับสนุนจากรัฐบาลของประเทศเพื่อนบ้าน และองค์กรต่างชาติอย่าง องค์การการประชุมอิสลาม (Organisation of Islamic Conference - OIC) ในการประสานอำนวยการประชุมกับฝ่ายไทย การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของ “กระบวนการสันติภาพ” ก็ได้ปรากฏขึ้นและทุกทุกกระบวนการก็เกี่ยวกับอาณาเขตดินแดน
หลายองค์กรหลายสถาบัน นับตั้งแต่ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (SBPAC), เจ้าหน้าที่อาวุโสของกองทัพทั้งที่ยังอยู่ในตำแหน่งและที่เกษียณอายุราชการแล้ว, ตำรวจ, สถาบันวิชาการ, องค์กรเอกชนท้องถิ่นและนานาชาติ ไปจนถึงอดีตนายกรัฐมนตีมาเลเซีย ดร.มาหาเธียร์ มูฮัมหมัด (Malaysian PM Dr. Mahathir Mohammad) และอดีตรองประธานาธิบดีอินโดนีเซีย ยูโซฟ คัลลา (Vice President Jusuf Kalla) ต่างก็หามองหากลุ่มแบ่งแยกดินแดนที่จะเจราจาพูดคุยด้วย ผู้นำมาเลย์ปัตตานี ที่ก้าวเข้ามาอย่างกล้าหาญ ได้ย้ำว่าพวกเขาสามารถเกลี่ยกล่อมให้ผู้ต่อสู้แบ่งแยกดินแดนรุ่นใหม่ที่เรียกในภาษาท้องถิ่นว่า จูแว (juwae) หรือ เปอร์จวง (perjuang) [ในภาษามาเลย์] กลับใจที่จะเจรจาได้ตราบใดที่ไทยให้อำนาจกับพวกเขา
ศัตรูคู่อริของกลุ่มแบ่งแยกดินแดนรุ่นเก่าก็ปรากฏขึ้นในขณะที่กลุ่มแบ่งแยกดินแดนรุ่นเก่านี้พยายามเกลี่ยกล่อมให้ฝ่ายไทยให้อำนาจแก่พวกเขาในการเจรจาในฐานะคนมาเลย์ปัตตานีถึงแม้ว่าน้อยคนนักในพื้นที่ชายแดนใต้จะรู้จักตัวตนของผู้นำกลุ่มที่กล่าวอ้างที่ว่านี้
อดีตทหารราบกลุ่มผู้นำแบ่งแยกดินแดนที่ลงจากเขาและคืนสู่หมู่บ้านนั้นได้ตัดสินใจที่จะอยู่ห่างจากจากการก่อความไม่สงบที่ดำเนินอยู่นี้ พวกเขาบอกว่าถึงแม้ว่าพวกเขายังคงฝันถึงปัตตานีที่เป็นอิสระ พวกเขาก็ยอมรับว่ามีช่องว่างระหว่างวัยระหว่างจูเว่ และ ผู้ต่อสู้ในรุ่นพวกเขา บางคนก็ได้ยอมรับว่าพวกเขาห่วงกังวลในระดับความรุนแรงและความเสียหายข้างเคียงอันเกิดจากการก่อความไม่สงบนี้ แต่ในขณะที่พวกเขาเป็นห่วงกังวลกับการโจมตีผู้ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการต่อสู้ พวกเขาก็ไม่ยอมรับกลุ่มติดอาวุธที่ฝักใฝ่ผ่ายรัฐบาลหรือกลุ่มเฝ้าระวังเช่นกัน บ่อยครั้งที่การตอบโต้แบบตาต่อตาฟันต่อฟันนั้นเลยเถิดไปถึงฝ่ายพลเรือน ทั้งชาวพุทธและชาวมุสลิมได้กลายมาเป็นเหยื่อของการสู้รบในขณะที่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดพยายามที่จะสอนบทเรียนอันร้ายกาจให้กันและกัน
คำถามหลักที่ทุกคนถามคือ ขบวนการปลดปล่อยปัตตานีอิสระที่ประกาศตัวเองนั้นมีอิทธิพลต่อจูแวในสนามต่อสู้แค่ไหน ส่วนใหญ่ ย้ำว่าพวกเขาสามารถกำหนดการพูดคุยกับผู้นำกลุ่มได้
แต่ฝ่ายไทยนั้นไม่ปักใจเชื่อ พูดอีกทางก็คือว่า ผู้นำที่ลี้ภัยอาจจะมีการพูดคุยกับจูแวแต่พวกเขาไม่ได้มีส่วนร่วมในคำสั่ง (เหมือนอย่างสายคำสั่งของทหาร) พูดอีกทางก็คือว่า พวกเขาไม่ได้ควบคุมและไม่สามารถออกคำสั่งต่อจูแวว่าจะโจมตีอะไรและโจมตีเมื่อไหร่
และถ้าเมื่อฝ่ายไทยเชื่อว่าพวกเขามีส่วนร่วมในคำสั่ง สมมุติว่าถ้าทหารเก่าสามารถรวมกันเป็นเสียงเดียวได้ ก็จะมีความเป็นไปได้ที่ฝ่ายไทยจะเริ่มพิจารณาพวกเขาอย่างจริงจัง
เป็นช่วงเวลาหนึ่ง (ไม่ถึงสองปีที่ผ่านมา) ที่ “การเจรจา” นั้นไม่อยู่ในประเด็น นักวิชาการและคณะทำงานระดับมันสมองได้ทำงานกันอย่างลับๆในการริเริ่มที่ปรากฏเป็นคำที่เรียกว่า “การเจรจาสันติภาพ” เพื่อที่จะขยายการมีส่วนร่วมไปสู่ภาคประชาสังคม และผู้นำชุมชนหลัก ทั้งพุทธและมุสลิมจากสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
ในกระบวนการสันติภาพหนึ่งที่มีสภาความมั่นคงแห่งชาติ (National Security Council – NSC) และกลุ่มพูโล (Pulo) ภายใต้การนำของ นูร อับดุลรอฮฺมาน (Noor Abdulrahman) และ กัสตูรีย์ มาห์โกตา (Kasturi Mahkota) เข้ามาร่วม ผู้ที่ถูกเชิญมานั้นมีนักต่อสู้เพื่อสตรี, นายกเทศมนตรีของเมืองในภาคใต้ และอดีตนักกิจกรรมนักศึกษาไปจนถึง ผู้นำชุมชน และอิหม่ามในหมู่บ้านต่างๆ
แนวคิดในที่นี้ก็คือการเสริมสร้างความแข็งแรงในการให้ความชอบธรรมและการให้การยอมรับในกระบวนการสันติภาพ ในทางกลับกัน ความเห็นชอบจากผู้นำท้องถิ่นว่ามีมากเท่าไหร่นั้นยังต้องคอยดูต่อไป สมาชิกภาคประชาสังคมบางคนบอกว่าพวกเขาเต็มใจที่จะช่วย อีกประเด็นหนึ่งก็คือความจริงใจจากฝ่ายไทย กล่าวคือการเดิมพันนี้เสี่ยงเกินที่จะแบกรับ ความตั้งใจจริงนั้นไม่เพียงพอ มันจะต้องมีหลักประกันว่าการเข้าร่วมของพวกเขาจะต้องไม่ถูกใช้ประโยชน์โดยฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด อีกประเด็นหนึ่งก็คือว่ากองทัพจะเข้าใจการมีส่วนร่วมครั้งนี้อย่างไร
นอกจากความเป็นกังวลของภาคประชาสังคมแล้ว ยังมีปัญหาอีกหลายอย่างที่ทำให้กระบวนการสันติภาพนำโดยสภาความมั่นคงแห่งชาติต้องหยุดชะงัก อย่างแรกคือ แหล่งข่าวของกองทัพกล่าวว่า กองทัพรู้สึกว่าพวกเขาสามารถอยู่ในตำแหน่งที่ดีกว่าในการที่จะนำไปสู่กระบวนการสันติภาพ อีกปัญหาหนึ่งคือ กัสตูรีย์ และ นูรอับดุลรอฮมานได้แตกคอกัน และผู้สังเกตการณ์กล่าวว่า พวกเขาทั้งสองยังคงปฏิบัติการในการมองหาวิธีการเพื่อยังให้มีความเกี่ยวข้องในการทำงานที่จะนำไปสู่กระบวนการสันติภาพในภาคใต้ นอกจากสองคนนี้แล้ว ยังมีผู้ที่อ้างตนเองว่าเป็นหัวหน้าพูโลอย่าง ซัมซุดดิน คานและรุชดี ยี่งอ ทั้งคู่อ้างตนเองว่าเป็นหัวหน้าที่แท้จริงของพูโล
อีกกระบวนการหนึ่งที่เจ้าหน้าที่อาวุโสของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (Southern Border Provinces Administrative Centre - SBPAC) พยายามทำ ก็คือ “การจัดพิธีการแสดง” ที่นำ 170 ผู้ต่อสู้แบ่งแยกดินแดน มาลายู ปัตตานี “ยอมแพ้” ต่อรัฐไทย ข้อมูลจากกองทัพและตำรวจชี้ว่า “การจัดฉาก” เป็นธรรมชาติของการแสดง และกล่าวว่าหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายไม่ได้มีส่วนร่วมในแผนการนี้ “มันเป็นเพียงการแสดง”
แต่การแสดงไม่ได้มีต่อไปเพราะการสั่นคลอนศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนใต้ (SBPAC) โดยรัฐบาลใหม่ และผู้นำใหม่ของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนใต้ก็คือ ทวี สอดส่อง บุคคลแกนนำหลักในช่วงรัฐบาลทักษิณ ที่จัดการชาวมาเลย์มุสลิมอย่างผิดวิธี (สร้างความลำบากใจอย่างมาก) ในช่วงที่เขาพยายามล่าอุสตาส (Ustaz) และผู้ต้องสงสัยในการก่อความไม่สงบที่ถูกต้องสงสัยว่าเป็นกองกำลังแบ่งแยกดินแดน
นายทวีเป็นตัวหลักในการไล่ล่าสะแปอิงและอุสตาสอีกหลายคนในปี พ.ศ. 2548 นายทวีได้รับมอบหมายงานให้ติดตามสะกดรอยกลุ่มติดอาวุธที่อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ปล้นอาวุธวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2547ในจังหวัดนราธิวาส เหตุการณ์ซึ่งคร่าชีวิตนายทหารสี่นายและอาวุธสงครามมากกว่า 350 ชิ้นถูกนำออกไปจากค่ายทหาร
บางทีสิ่งที่น่าเยาะเย้ยก็คือว่า ตลอดเวลา 4 ปีที่ผ่านมา ทางการไทยและ ผู้ไกล่เกลี่ยเจรจาสันติภาพทั้งหลายได้ควานหาตัวชายที่ชื่อว่า สะแปอิง บาซอ อดีตอาจารย์ใหญ่โรงเรียนเอกชนอิสลาม ธรรมวิทยามูลนิธิ ผู้ที่ถูกรัฐบาลทักษิณกล่าวหาว่าเป็นตัวนำกองกำลังรุ่นใหม่ทั้งหมด เหตุที่ว่าจูแวหลายคนได้จบการศึกษาจากโรงเรียนเอกชนอิสลามของเครือข่ายธรรมวิทยาที่ดูแลนักเรียนกว่า 10,000 คนได้ทำให้ ซาแปอิง เป็นเป้าที่ถูกจับตามองได้ง่าย
แต่ในตอนนี้พวกเขาต้องการความช่วยเหลือจากสะแปอิง
ผู้นำแบ่งแยกดินแดนที่ลี้ภัย, นักวิชาการ, คนท้องถิ่น, ผู้นำศาสนาและผู้นำชุมชน กล่าวว่า ซาแปอิง ถูกมองว่าเป็นพวกผู้นำทางจิตวิญญาณของมาเลย์ในภาคใต้ ความมีบุคลิกและบารมีอันน่าดึงดูดรอบตัวของ ซาแปอิง เป็นประเด็นโต้แย้งอย่างมาก ผู้ที่รู้จักซาแปอิง กล่าวว่า ความซื่อสัตย์ (ยึดหลักคุณธรรม) และเสียสละตัวเอง ทำให้เขาได้รับความเคารพยกย่องจากผู้คนในพื้นที่ และเพราะความเคารพจากผู้คนนี้ ทำให้เขาถูกยกย่องให้เป็นผู้นำจิตวิญญาณของมาเลย์ปัตตานี
การได้มาซึ่งสถานะนี้นั้นมีค่า และตามด้วยศัตรูเช่นกัน โดยเฉพาะว่าเมื่อมันเป็นเครื่องหมายสัญลักษณ์แห่งการบรรยาย อัตลักษณ์ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ที่แตกต่างไปจากสิ่งที่รัฐได้ประดิษฐ์สร้างขึ้น
เมื่อไม่นานมานี้เจ้าหน้าที่รัฐจำนวนมากได้ออกมายอมรับว่าคดีกล่าวหาสะแปอิง เมื่อเดือน ธันวาคม 2547 (2004) นั้นไม่มีน้ำหนักในศาล เจ้าหน้าที่เหล่านี้กล่าวว่าถ้าสะแปอิง ต่อสู้ในชั้นศาล เขาก็จะชนะคดีได้อย่างง่ายๆ
แต่หลังจากการหลบซ่อนตัวอยู่ 6 ปี สิ่งที่ไม่น่าเป็นไปได้ก็คือว่า สะแปอิง อดีตอาจารย์ใหญ่โรงเรียนธรรมวิทยา คนนี้จะกลับมาบ้านและทำงานร่วมกันกับทางการไทยในกระบวนการสันติภาพ และนี่อธิบายว่าทำไมอดีตอาจารย์ใหญ่ถึงเอาตัวเองออกห่างกระบวนการสันติภาพ
สมาชิกกลุ่มผู้ลี้ภัยที่พยายามจะเริ่มกระบวนการสันติภาพกลว่าวว่า “สะแปอิง มองว่า กระบวนการสันติภาพเป็น “เรื่องตลก” และขาดความมุ่งมั่น”
อย่างไรก็ตามมีหลักฐานเพียงน้อยนิดว่าความคิดแบ่งแยกดินแดนหรือลัทธิหัวรุนแรงสุดโต่งนั้นถูกสอนในโรงเรียน
การบรรยายประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่ท้าทายความชอบธรรมของรัฐไทยนั้นแผ่ขยายในวงกว้าง และไม่มีอะไรที่สนับสนุนข้ออ้างที่ว่าโรงเรียนเอกชนอิสลามถูกใช้ปลูกฝังจูแว เจ้าหน้าที่ความมั่นคงกล่าวว่าประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ของหมู่บ้านมีหน่วยกองกำลัง และดูเหมือนว่า จูแวใช้สิทธิ์อย่างเต็มที่จากการสนับสนุนและความเห็นใจจากชาวบ้าน
เพราะการบรรยายประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม มาเลย์ปัตตานี ที่มีอย่างกว้างขวางนี้ ทำให้ขบวนการไม่ต้องพึ่งพาโรงเรียนอิสลามมาบอกว่ากองกำลังความมั่นคงของไทยนั้นเป็นผู้ครอบครองดินแดนอย่างมิชอบธรรม การมีกองกำลังทหารกว่า 60,000 นาย ซึ่งกว่าครึ่งถูกส่งไปประจำการตั้งแต่ปี 2547 (2004) ยิ่งทำให้ความคิดความเข้าใจที่ว่าแดนใต้เป็นดินแดนที่ถูกรุกรานนั้นมีน้ำหนักมากขึ้น
ความช่วยเหลือสนับสนุนจากสะแปอิง นั้นถือว่าสำคัญมาก เพราะการริเริ่มสันติภาพนั้นจำเป็นที่ต้องมีคนที่ชาวมาเลย์ปัตตานีสามารถเชื่อมโยงถึงได้
ชายหนุ่มที่ร้านน้ำชาในหมู่บ้านอันห่างไกลในอำเภอรูเซาะในจังหวัดนราธิวาสบอกว่า “เราไม่รู้จักผู้นำลี้ภัยที่คูณพูดถึง”
มีคำแนะนำจากเจ้าหน้ารัฐว่าคดีกล่าวหาซาแปอิง ควรถูกผลักดันสู่กระบวนการยุติธรรมเพื่อที่จะสรุปสถานะทางกฎหมายเพื่อทุกคน อย่างไรก็ตามแต่ก็ไม่มีหลักประกันว่า ซาแปอิง จะหาเรื่องใส่ตัวเสี่ยงชีวิตเพื่อช่วยในกระบวนการสันติภาพกระบวนการหนึ่งกระบวนการใด
ความเข้าใจในความขัดแย้งในภาคใต้ว่าแท้จริงแล้วเกี่ยวกับชาตินิยมชาติพันธุ์นั้นมีมากขึ้นในหมู่เจ้าหน้าที่รัฐ ฉะนั้นมันก็สมเหตุสมผลที่จะพูดคุยกับผู้นำทางจิตวิญญาณอย่าง ซาแปอิง
อย่างไรก็ตามวิธีการปฏิบัติการในตอนนี้ก็เป็นการผสมผสานกันกับการค้นหาและการสังหารทำลาย สำหรับกรอบคิดที่ว่าการเอาชนะใจชาวจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วยการพัฒนาที่บริหารกระทำโดยกองทัพและเจ้าหน้าที่รัฐ หากแต่ทว่าหลังจากที่ได้ใช้ยุทธวิธีนี้มาเกือบ 8 ปีเต็ม เจ้าหน้าที่หลายคนกล่าวว่า...เราจำเป็นที่จะต้องมีแนวทางใหม่ในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
การขอให้สะแปอิงช่วยนั้นเป็นหนทางหนึ่งของเส้นทางกระบวนการสันติภาพ แต่ด้วยเหตุที่ว่ารัฐไทยได้ทำลายชีวิตเขาและบังคับให้เขาต้องหลบหนีการจับกุม เราก็ไม่ควรที่จะแปลกใจถ้าซาแปอิงตัดสินใจที่จะนั่งอยู่นอกกระบวนการสันติภาพที่บ่อยครั้งปรากฏว่าเป็นเรื่องของคนที่อยู่เบื้องหลังแทนที่จะเป็นชาวปาตานี อย่างอดีตอาจารย์ใหญ่โรงเรียนธรรมวิทยา