หนังสือแนะนำ ถอดบทเรียนกระบวนการชูรอ

                       

 

“ถอดบทเรียนการขับเคลื่อนชุมชนบ้านน้ำเค็มด้วยกระบวนการชูรอ

หมู่ที่ 9  ตำบลบ้านนา อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา”

โดย : อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บิน ชาฟิอีย์  (อับดุลสุโก ดินอะ)

ผู้ช่วยผู้จัดการโรงเรียนจริยธรรมศึกษามูลนิธิ

อ.จะนะ จ.สงขลา 

กรรมการสภาประชาสังคมชายแดนใต้        

Shukur2003@yahoo.co.uk

http://www.oknation.net/blog/shukur

 

ด้วยพระนามของอัลลอฮ์ ผู้ทรงเมตตากรุณาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์ของพระองค์ผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก  ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด  ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีแด่ผู้อ่านทุกคน
(หนังสือเรียบเรียงโดยผู้เขียน และ อ.อิบนีคอลดูน  ยีหวังกอง)

            หนังสือเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาถอดบทเรียนการขับเคลื่อนชุมชนบ้านน้ำเค็มด้วยกระบวนการชูรอ ซึ่งเป็นชุมชนมุสลิม และเป็นพื้นที่ของการดำเนินโครงการศูนย์เรียนรู้วิถีอิสลามยั่งยืนบ้านน้ำเค็ม ซึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาผู้นำองค์กรและกลุ่มต่างๆในชุมชนในรูปแบบสภาชูรอบ้านน้ำเค็ม (สภาชุมชน)ในการส่งเสริมและขับเคลื่อนสร้างกระบวนการเรียนรู้ในการจัดทำแผนชุมชนแบบมีส่วนร่วมที่มีคุณภาพเพื่อขับเคลื่อนแผนชุมชน  โดยมีเศรษฐกิจพอเพียง  ตามแนวทางวิถีอิสลามให้เกิดรูปธรรม เพื่อพัฒนากลไกในการขับเคลื่อนแผนชุมชนอย่างยั่งยืนโดย สภาชูรอบ้านน้ำเค็ม (สภาชุมชน) ระยะเวลา 1 ปี ซึ่งที่มาของการดำเนินงานนั้น มาจากคณะทำงานได้เล็งเห็นและรับรู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนมากมาย จนหลายหน่วยงานหรือบุคคลทั้งภายในและภายนอก ได้ให้ข้อสรุปว่าเป็นชุมชน บูรณาการปัญหา ซึ่งจากการศึกษาและสำรวจคณะทำงานได้ค้นพบปัญหาตามลำดับกล่าวคือ ปัญหาหนี้สิน ปัญหาโรคเรื้อรัง ปัญหายาเสพติด ปัญหาสิ่งแวดล้อม (การจัดการขยะครัวเรือน) คณะทำงานจึงหยิบยกปัญหาเพื่อนำไปสู่การแก้ไข หนี้สิน และโรคเรื้อรังมาดำเนินการแก้ไขปัญหา และใช้สภาชูรอเครือญาติเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนแก้ปัญหา

            การถอดบทเรียนครั้งนี้ผู้ถอดบทเรียนใช้ชีวิตร่วมกับชุมชนพร้อมทั้งสัมมนากลุ่มย่อย (Focus Group)โดยวิธีการสนทนา  โต้ตอบ สัมภาษณ์แบบเจาะลึกและจะนำเสนอที่มา แนวคิด ผลการดำเนินงาน ศักยภาพของแหล่งเรียนรู้ บทเรียนของโมดูลชุมชน รูปธรรม  วิธีการ  และกระบวนการในการจัดการแหล่งเรียนรู้ การหนุนเสริมของภาคีเครือข่าย องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น (อปท) จุดเปลี่ยน (Kick off the point) ผลที่เกิดขึ้น (ต่อตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม เครือข่าย ) ความเชื่อมโยง กับประเด็นนโยบายอื่นๆ การขยายและต่อยอดงานเดิม บรรณานุกรมและ บุคลานุกรม (อ้างถึงแหล่งที่มีของข้อมูล ทั้งเอกสาร / สื่อต่างๆ)

            หวังว่าหนังสือเล่มนี้เป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านและนักพัฒนาชุมชนทุกท่านเพื่อสุขภาวะและสันติสุขอย่างยั่งยืน

ดาวน์โหลดหนังสือคลิ๊กที่นี่   

หมายเหตุ

หนังสือเล่มนี้ได้แบ่งออกเป็น 4 บท

บทที่1 ชุมชนบ้านน้ำเค็ม                                                                                                    

บทที่2 กระบวนการชูรอตามทัศนะอิสลาม                                                                            

บทที่3 ถอดบทเรียนการขับเคลื่อนชุมชนบ้านน้ำเค็มด้วยกระบวนการชูรอ                            

บทที่4 สรุปและข้อเสนอแนะ