The Future of Patani : จุลสารปาตานีฟอรั่มฉบับที่9

                                  
 

บทบรรณาธิการ

(1) การศึกษากับการเมือง
ปาฐกถาเพื่อฉลองวาระครบรอบ 10 ปีโครงการ Public Intellectuals Project ของ Nippon Foundation
ที่มหาวิทยาลัย Ateneo de Manila, 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 โดย ศ.ดร. เบน แอนเดอร์สัน ภายใต้ห้ว
ข้อชื่อ "ทำไมบทบาทของปัญญาชนสาธารณะจึงเสื่อมถอยลง?" เป็นบทปาฐกถา ที่ได้อธิบาย บทบาทของ
ปัญญาชนสาธารณะในอาเซียน ภายใต้บริบทของสังคม การเมือง รวมไปถึงบทบาท/งานวิชาการใหม่ๆที่
ถูกผลิตขึ้นจากปัญญาชนของอาเซียน
ทำไมบทบาทของมหาวิทยาลัยจึงเสื่อมถอยลง? หากย้อนกลับไปก่อนหน้านี้ 7 เดือน การตื่นตัวทางการ
เมืองของมหาวิทยาลัยถือว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดีไม่น้อยสำหรับเหตุการณ์ “ต้าน พรบ.นิรโทษกรรม” ภาย
ใต้ระบอบประชาธิปไตย ที่ต้องการการมีส่วนร่วมทางการเมืองจากทุกภาคส่วนของสังคม ต้องถือว่า
เหตุการณ์นั้น มหาวิทยาลัยได้ทำหน้าที่ตามหลักประชาธิปไตย หากแต่ทว่าสิ่งที่ต้องระมัดระวังคือ
มหาวิทยาลัยต้องไม่เป็น “กองเชียร์” ของพรรคการเมือง หากทว่าต้องทำหน้าที่คือ ให้เสรีภาพทางความ
คิดแก่ทุกหมู่เหล่า ทุกเชื้อชาติ ศาสนา และความเห็นทางการเมืองทีแตกต่างกัน ควรมีที่ทางมากเพียง
พอให้แก่คนที่เห็นต่าง ตราบเท่าที่เราใช้สติปัญญามาเป็นเครื่องมือในการถกเถียง โดยไม่ใช้ความรุนแรง...
สำหรับสถานการณ์รัฐประหารของกองทัพ ผูกขาดทุกอย่าง ขาดอิสรภาพที่จะ question สิ่งที่เกิดขึ้น
และถูกทำให้เชื่องๆ และในทางกลับกันเราไม่คาดคิดว่าบ้านเมืองนี้จะมีมหาวิทยาลัยอยู่ ไม่มีแม้แต่เสียง
คัดค้านคณะรัฐประหาร ทั้งก่อนหน้านี้ 7 เดือน อปท. ได้มีส่วนร่วมกับการเมืองและไม่ฟังเสียงประชาคม
มหาวิทยาลัยทั้งสิ้น แต่วันนี้ผ่านการยึดสิทธิ เสรีภาพ มาหลายวันแล้ว แต่มหาวิทยาลัยกลับเงียบ เหมือน
บ้านเมืองนี้ไม่มีมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแห่งใดที่ไม่มีเสรีภาพทางวิชาการ มหาวิทยาลัยแห่งนั้นย่อมจะ....

กรุณาดาวน์โหลดและอ่านฉบับเต็มได้ที่นี่..