โรฮิงญา ผู้กล้ำกลืนความเจ็บปวดในดินแดนตนเอง

 

รู้จักประเทศพม่า

พม่าเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นประเทศสมาชิกของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nations (ASEAN) ทางตอนเหนือของประเทศพม่ามีพรมแดนติดกับประเทศจีนและประเทศอินเดีย และทางภาคใต้ของประเทศมีพรมแดนติดกับอ่าวเบงกอลและประเทศไทย ส่วนทางภาคตะวันออกยังมีพรมแดนติดกับประเทศจีน ลาว และไทยอีกเช่นกัน  และทางภาคตะวันตกมีพรมแดนติดกับอ่าวเบงกอลและดินแดนของบังคลาเทศ

ในขณะที่ภูมิภาครัฐยะไข่ (ซึ่งนักล่าอาณานิคมอังกฤษได้เรียกพวกเขาว่าชาวอาระกัน) ซึ่งตั้งอยู่ในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศพม่า มีพรมแดนติดกับอ่าวเบงกอลและประเทศบังคลาเทศ

ประเทศพม่ามีพื้นที่ประมาณ 261,000 ตารางไมล์ และจังหวัดอาระกันกว้างประมาณ 20,000 ตารางไมล์ ซึ่งทั้งสองเมืองนี้ถูกแบ่งเขตแดนตามธรรมชาติของเทือกเขาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาหิมาลัย

ประชากรของพม่ามีอยู่ประมาณ 50 ล้านคน  15% ของประชากรทั้งหมดเป็นชาวมุสลิมซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวอาระกัน 70% ของชาวอาระกันเป็นชาวมุสลิม ส่วนที่เหลือเป็นคนที่นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาทและชนกลุ่มน้อยกลุ่มอื่นๆ

ประเทศพม่าเป็นประเทศที่ก่อเกิดจากคนหลายๆ ชนเผ่า ซึ่งมีอยู่มากกว่า 140 ชนเผ่าที่อาศัยอยู่ในดินแดนที่เคยตกอยู่ภายใต้อาณานิคมของรัฐบาลอังกฤษ ซึ่งชนเผ่าส่วนใหญ่คือชนเผ่าบารมาและบีรมา  กลุ่มชนเผ่าดังกล่าวเป็นกลุ่มชนแรกที่ได้มีอำนาจการปกครองแห่งรัฐ  ด้วยเหตุนี้ชื่อเดิมของประเทศนี้คือบุรมา (Burma) ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนมาเป็นเมียนมาร์ (Mynamar) กลุ่มที่สองคือชนเผ่าชาน (Syan) ชนเผ่าคะฉิ่น (Kachin) ชนเผ่าชิน (Chin) และชาวมุสลิมชนเผ่าโรฮิงญา ซึ่งประชากรของกลุ่มที่สองนี้มีจำนวนถึง 5 ล้านคน

 

สีแดงแสดงพื้นที่จังหวัดอาระกันของประเทศพม่า

 

ชาวมุสลิมในอาระกัน

ประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้ว่าชาวมุสลิมได้เข้ามาในจังหวัดอาระกันในช่วงของการปกครองของอาณาจักรอับบาซียะฮ์ตอนกลางเมื่อช่วงอดีต ที่นำโดยคาลีฟะฮ์ ฮารูน อัรรอชีด ราฮีมาฮุลลอฮฺ  ซึ่งชาวมุสลิมได้เข้ามาในจังหวัดดังกล่าวด้วยการทำมาค้าขายโดยความสันติ มิได้เข้ามาด้วยวิถีสงครามหรือเพื่อการยึดครองแต่อย่างใด ด้วยการที่ชาวมุสลิมมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นและมีความเข้มแข็งในพื้นที่ จนในที่สุดได้นำไปสู่การแปรสภาพเป็นรัฐบาลอิสลามที่ยืนอยู่บนลำแข้งของตนเอง รัฐบาลดังกล่าวมีอายุได้นานถึง 3.5 ศตวรรษ และปกครองโดยพระมหากษัตริย์จำนวน 48 องค์ด้วยกัน นั่นก็คือระหว่างปี 1430 - 1784 ซึ่งร่องรอยทางประวัติศาสตร์ของชาวมุสลิมพบอยู่อย่างจำนวนมากที่ยังหลงเหลืออยู่ในจังหวัดดังกล่าว  หนึ่งในโบราณสถานที่มีชื่อเสียงก็คือ มัสยิดบัดรฺ (Masjid Badr) ในจังหวัดอาระกันและมัสยิดซินดิข่าน(Masjid Sindi Khan) ที่สร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1430

 

การขยายของชาวมุสลิมภายใต้รัฐบาลคนพุทธในอาระกัน

ในปี ค.ศ. 1784 เมืองอาระกันถูกโจมตีโดยกษัตริย์ที่นับถือศาสนาพุทธบิรมาในพม่าเผ่าที่ชื่อ บูชาพระยา(Bodawpaya) (ช่วงการปกครองปี ค.ศ. 1782-1819) หลังจากนั้นได้มีการผนวกรวมเมืองอาระกันเข้ากับเมืองของตน เพื่อไม่ให้ศาสนาอิสลามสามารถแผ่ขยายในเมืองดังกล่าว นับแต่นั้นเป็นต้นมาความเลวร้ายต่างๆ ในอาระกันก็ได้เกิดขึ้นกับชาวมุสลิมตลอดมา ซ฿งร่องรอยทางมรดกของอิสลาม ศาสนสถาน และโรงเรียนถูกทำลายลง บรรดาอูลามาอฺและนักการศาสนาถูกฆ่าตายเป็นจำนวนมาก ชาวพุทธเชื้อสายบิรมายังคงข่มขู่คุกคามชาวมุสลิมมาโดยตลอดและทำการปล้นทรัพย์สินของชาวมุสลิม พวกเขายังได้รณรงค์เรียกร้องให้ชนเผ่าอื่นๆ ลุกขึ้นมาทำเช่นเดียวกับที่พวกเขาทำ ซ฿งสถานการณ์ดังกล่าวได้ดำเนินมาอย่างยาวนานต่อเนื่องมาเป็นเวลาถึง 40 ปี จนในที่สุดก็มีการยุติลงอันเนื่องมาจากการเข้ามาของนักล่าอาณานิคมอังกฤษ

ในปีค.ศ. 1824 รัฐบาลอังกฤษได้ยึดครองพม่า ต่อมารัฐบาลอังกฤษได้ผนวกดินแดนดังกล่าวกลับเข้ามาอยู่ภายใต้ดินแดนในเครือจักรภพของรัฐบาลกลางอังกฤษที่อินเดีย ในปี ค.ศ. 1937 ต่อมาอังกฤษได้แยกพม่าและเมืองอาระกันออกจากดินแดนจักรภพในอินเดีย จากนั้นประเทศพม่าได้เป็นส่วนหนึ่งของเมืองที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของรัฐบาลอังกฤษที่มีรัฐบาลเป็นของตัวเอง ที่มีชื่อ “พม่าอังกฤษ” ซึ่งแยกออกจากรัฐบาลในอินเดียโดยปริยาย

ในปี ค.ศ. 1942 ได้เกิดเหตุการณ์ที่เลวร้ายต่อชาวมุสลิมโรฮิงญาอย่างรุนแรง  ชาวพุทธได้ทำการเข่นฆ่าชาวมุสลิมด้วยการสนับสนุนอาวุธที่ได้รับจากพี่น้องชาวพุทธชนเผ่าบิรมาและชนเผ่าอื่นๆ ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้พี่น้องมุสลิมต้องสังเวยชีวิตไปไม่ต่ำกว่า 100,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่นั้นเป็นกลุ่มผู้หญิง ผู้สูงอายุ และเด็กๆ  ชาวมุสลิมจำนวนหลายแสนคนได้อพยพหนีออกจากประเทศพม่า เพราะความเจ็บปวดและหวาดกลัวต่อสิ่งที่เกิดขึ้น ซึ่งกลุ่มผู้สูงอายุที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบันที่ได้เห็นเหตุการณ์ดังกล่าวยังคงทรงจำและรู้สึกบอบช้ำอย่างมิคลาย

เมื่อปี ค.ศ. 1947 ชาวพม่าได้มีการเตรียมการประกาศเอกราชของพวกเขาในเมืองปังโล ทุกชนเผ่าได้รับเชิญให้ไปเข้าร่วมในการเตรียมการดังกล่าว ยกเว้นชาวมุสลิมโรฮิงญาเท่านั้น  เมื่อวันที่ 4 มกราคม 1948 รัฐบาลอังกฤษได้มอบเอกราชให้กับชาวพม่าอย่างสมบูรณ์ พร้อมกับเงื่อนไขที่ชนเผ่าต่างๆ สามารถที่จะปลดปล่อยตัวเองจากรัฐบาลพม่าเมื่อใดก็ตามที่พวกเขาต้องการ แต่ชนเผ่าบิรมาเกิดความเข้าใจไม่ตรงกันในข้อตกลงในหมู่พวกเขาด้วยกันเอง พวกเขากลับปกครองเมืองอาระกันอยู่เช่นเดิมโดยที่ไม่ได้ฟังเสียงเรียกร้องของชาวมุสลิมโรฮิงญาและชนเผ่าพุทธอื่นๆ แม้แต่น้อยที่ต้องการแยกตัว และพวกเขาก็ยังคงข่มขู่คุกคามชาวมุสลิมตลอดมา

 

ความระทมทุกข์ของชาวมุสลิมอาระกัน

การทำลายล้างเผ่าพันธุ์นับตั้งแต่รัฐบาลทหารพม่าเข้ามาปกครองประเทศโดยการทำรัฐประหารโดยนายพลเนวินเมื่อปี ค.ศ. 1962 ชาวมุสลิมในอาระกันต้องเผชิญกับภัยคุกคามและความรุนแรงในรูปแบบต่างๆ ด้วยการเข่นฆ่า ขับไล่  ละเมิดสิทธิของพวกเขาและไม่ให้การยอมรับในสิทธิของความเป็นพลเมือง ซึ่งพวกเขามีความคล้ายคลึงกันกับชาวบังคลาเทศ ทั้งในเรื่องศาสนา ภาษา และรูปร่างหน้าตา

 

การขจัดอัตลักษณ์และอิทธิพลของอิสลาม

วิธีการนี้จะดำเนินการโดยการทำลายมรดกโบราณสถานของศาสนาอิสลาม นั่นคือการทำลายมัสยิด โรงเรียน และโบราณสถานทางประวัติศาสตร์อื่นๆ จากนั้นชาวมุสลิมถูกสั่งห้ามไม่ให้ก่อสร้างอาคารสถานที่เกี่ยวข้องกับศาสนาอิสลาม ห้ามก่อสร้างมัสยิด โรงเรียน สำนักงาน และห้องสมุด สถานที่เลี้ยงดูเด็กกำพร้า และอื่นๆ และบางโรงเรียนที่ยังคงหลงเหลืออยู่ก็จะไม่ได้รับการยอมรับจากรัฐบาล ก็จะถูกห้ามไม่ให้มีการเผยแพร่ และจะไม่ได้รับรองผู้ที่สำเร็จการศึกษาความพยายามในการหลอมรวม "ทำให้เป็นชนชาติพม่า" ด้วยการทำลายศาสนาและเอกลักษณ์ของศาสนาอิสลามในสังคมพุทธ(พม่า)

ชาวมุสลิมถูกขับไล่ออกจากบ้านเรือน ที่ดินและส่วนไร่นาถูกยึด จากนั้นชาวพุทธได้สร้างที่พักบนที่ดินและสมบัติที่เป็นของชาวมุสลิม หรือสร้างเป็นค่ายทหารโดยไม่มีจ่ายค่าตอบแทนใดๆ สำหรับผู้ที่ขัดขืนผลสุดท้ายก็ถึงแก่ชีวิต นี่คือความป่าเถื่อนกองกำลังพม่าที่ไร้ซึ่งความปราณีใดๆ

 

การขับไล่และการเลือกปฏิบัติในประเทศพม่ายังคงมีอย่างต่อเนื่อง

ในปี ค.ศ. 1962 ทหารพม่าได้ขับไล่ชาวอาระกันประมาณ 300,000 คนไปยังบังคลาเทศ

ในปี ค.ศ. 1978 ชาวมุสลิมไม่ต่ำกว่า 500,000 คนถูกขับไล่และต้องเผชิญกับความรุนแรงอย่างหนัก จนทำให้มีผู้เสียชีวิตเกือบ 400,000 คน รวมทั้งผู้สูงอายุ ผู้หญิงและเด็ก

ในปี ค.ศ. 1988 ชาวมุสลิมเกือบ 150,000 คนถูกขับไล่ อันเนื่องมาจากการที่ชาวพุทธจะสร้างหมู่บ้านพุทธ

ในปี ค.ศ. 1991 ชาวมุสลิมเกือบ 500.0000 คนถูกขับไล่ ที่ถือเป็นการลงโทษอันเนื่องมาจากการที่พรรคการเมืองเอ็นแอลดีได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งทั่วไป โดยที่คะแนนเสียงส่วนใหญ่มาจากชาวมุสลิม และผลการเลือกตั้งครั้งนั้นก็ถูกประกาศยกเลิกในที่สุด 

    การกวาดล้างชาวโรฮิงญาในประเทศพม่า

ยกเลิกสิทธิความเป็นพลเมืองของชาวมุสลิม

มีการใช้แรงงานชาวมุสลิมอย่างหนัก โดยไม่ได้รับค่าอาหาร ค่าเครื่องดื่ม และค่าเดินทางชาวมุสลิมถูกห้ามไม่ให้ได้รับการศึกษาที่ดี รวมทั้งโอกาสที่จะเข้าศึกษาต่อในวิทยาลัย สำหรับผู้ที่มีความสามารถก็จะเดินทางไปศึกษาในต่างประเทศแล้ว เมื่อกลับไปยังพม่าในฐานะผู้มีการศึกษาพวกเขาก็จะถูกจำคุก

โดยทั่วไปแล้วไม่สามารถที่จะสมัครเป็นเจ้าหน้าที่ได้ หากมีก็คงไม่ได้รับสิทธิอย่างเต็มที่ห้ามไม่ให้เดินทางออกนอกประเทศ ถึงแม้ว่าจะเป็นการเดินทางเพื่อไปประกอบพิธีฮัจญ์ก็ตาม พวกเขาจะได้รับอนุญาตเดินทางไปยังประเทศบังคลาเทศเท่านั้นด้วยการกำหนดระยะเวลาที่จำกัด พวกเขาจะไม่ได้รับอนุญาตให้เดินทางไปยังเมืองหลวงแห่งรัฐยะไข่และเมืองอื่นๆ ในประเทศพม่า หากพวกเขาต้องการที่จะอพยพเดินทางจะต้องได้รับใบอนุญาตจากทางการอย่างเป็นทางการ

 

การกวาดล้างชาวโรฮิงญาในประเทศพม่า

มีการเลือกปฏิบัติในทางเศรษฐกิจมีการเก็บภาษีที่สูงในทุกๆ ด้าน มีการลงโทษอยู่เนืองนิตย์ มีความยากลำบากในการดำเนินการค้าขาย นอกเสียจากกว่าเป็นการค้ากับกลุ่มทหาร ถึงกระนั้นก็เป็นการขายในราคาที่ต่ำกว่าราคาท้องตลาด หรืออาจถูกบังคับให้ขายสิ่งที่พวกเขาไม่ต้องการขาย การกระทำเช่นนี้ก็เพื่อให้พวกเขาต้องตกอยู่ในสภาพที่ยากจนต่อไป

 

บทสรุป

โดยภาพรวมอย่างคร่าวๆ ของชาวมุสลิมโรฮิงญาก็คือ พวกเขาถูกกดขี่และทารุณกรรมจากชาวพุทธพม่ามาเป็นเวลาช้านาน แต่โลกกลับไม่เคยเหลียวแลปฏิเสธที่จะพูดถึงเรื่องราวเหล่านี้ ที่ไร้ซึ่งความเป็นมนุษยชาติและความมีเมตตาปราณี

ในปี ค.ศ. 1970 กษัตริย์ไฟซอล อับดุลอาซิซ ราฮีมาฮุลลฮฺ  ได้เป็นผู้นำชาติแรกของโลกที่ได้สร้างค่ายผู้ลี้ภัยนับหมื่นหลังให้กับผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาในประเทศซาอุดิอาระเบีย ปัจจุบันชาวโรฮิงญาประมาณ 2.5 แสนคน มีชีวิตอยู่อย่างสงบสุขในซาอุดิอาระเบีย

มาวันนี้เราได้เห็นการดำเนินการที่ดีของรัฐบาลอาเจะห์ ตุรกีและซาอุดีอาระเบีย เพื่อช่วยเหลือให้พี่น้องมุสลิมโรฮิงญาที่กำลังเผชิญกับบททดสอบ 


ที่มา https://kisahmuslim.com/5057-sejarah-umat-islam-rohingya-di-myanmar.html