เดือนราญับ แผ่นดินปาเลสไตน์ และความปวดร้าวแห่งบัยตุลมักดิส

 

ในเดือนรอยับนี้สำหรับชาวมุสลิมแล้วถือเป็นเดือนที่เต็มไปด้วยความทรงจำที่ดีๆ และความโศกเศร้าเสียใจในเวลาเดียวกัน เดือนราญับเป็นเดือนแห่งชัยชนะและโศกนาฏกรรมในคราเดียวดัน เดือนที่เสียงตักบีรแห่งชัยชนะจะถูกเปล่งร้องจากเหล่าวีรบุรุษอิสลามในหลายสมรภูมิต่างๆ ที่ต้องหลั่งน้ำตาแม้กระทั่งเลือด คงหวังว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมดจะเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างประวัติศาสตร์ใหม่ที่งดงามกว่าให้กับสังคมมุสลิม ที่จะเป็นที่จดจำของชนรุ่นต่อๆ ไป หลังจากที่เราได้จากโลกนี้ไปแล้ว

ในเดือนนี้เมื่อหนึ่งศตวรรษครึ่งที่แล้ว ท่านรอซูลได้อิสเราะจากเมืองเมกกะไปยังเมืองอัลกุดส์ จากมัสยิดฮารอมถึงมัสยิดอักซอ และ ณ ที่แห่งนั้นท่านรอซูลได้ทำการละหมาดกับบรรดารอซูล ซึ่งท่านเองทำหน้าที่เป็นอิหม่าม ซึ่งเป็นสิ่งปาฏิหาริย์ (มะยีซัต) ที่ได้บ่งบอกถึงการเป็นนบีของท่าน ถึงแม้จะมีผู้ปองร้ายริษยาในหัวใจในหมู่ของพวกเขาและมืดบอดจากทางนำ (ฮีดายะฮ์) ที่ได้ปฏิเสธที่จะยอมรับตาม หนำซ้ำกลับกระทำการเยาะเย้ย

ในเดือนเดียวกันนี้เช่นกัน ซึ่งตรงกับวันที่ 5 รอยับ 15  ฮิจเราะห์ศักราช หรือตรงกับวันที่ 12 สิงหาคม ที่ชาวมุสลิมจำนวน  636 คน ได้รับชัยชนะในสงครามยัรมูกต่อกองทัพโรม ซึ่งชัยชนะในครั้งนี้ถือเป็นประตูชัยให้กับมุสลิมในการพิชิตชัยชนะในดินแดนซีเรียหลังจากนี้ เช่น กล่าวคือประมาณหนึ่งปีต่อมาหลังจากนั้น ชาวมุสลิมสามารถยึดครองเมืองดามัสกัสได้สำเร็จ โดยท่านแม่ทัพอะบูอุบัยดะฮฺ อิบนิ อัลญัรฺรอหฺ และคอลิด อิบนุ วาลิด หลังจากที่ทางกองทัพโรมได้ทำการปกป้องต้านทานเมืองดังกล่าวอย่างยืดเยื้อยาวนาน จนในที่สุดเมื่อกองทัพโรมันมิอาจต้านทานกาปิดล้อมดังกล่าวได้ จนในที่สุดก็มีการเจรจาสันติภาพเกิดขึ้น

จากนั้นในไม่กี่ทศวรรษต่อมา ในเดือนเดียวกันนี้เมื่อปี 92 ฮิจเราะห์ศักราช ซึ่งตรงกับวันที่ 27 เมษายน 711  คริสต์ศักราช  ชาวมุสลิมภายใต้การนำของ ฏอริก บิน ซิยาด ได้ยกทัพสู่บริเวณเทือกเขาของสเปน ซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า เทือกเขาฏอริค (Jabal Thariq) หลังจากที่ได้ฝาฝันข้ามน้ำข้ามทะเลแห่งเมดิเตอร์เรเนียนได้สำเร็จ ซึ่งต่อมาก็ได้กลายเป็นสะพานเชื่อมแห่งชัยชนะในดินแดนอันดาลูเชียต่อจากนี้

และเหตุการณ์ที่น่าตื่นเต้นที่เกิดขึ้นในเดือนรอยับนี้อีกเช่นกัน ราวๆ หนึ่งศตวรรษที่แล้ว ได้มีบุคคลท่านหนึ่งที่เป็นชาวเคิร์ดได้เป็นผู้นำชาวมุสลิมในการปลดปล่อยมัสยิดอัลอักซอจากกองทัพคริสต์เตียน และในวันเดียวกันเช่นกัน ตามทัศนะของบรรดาอูลามาอฺกล่าวว่า เหตุการณ์อิสรออ์ เมียะรอจ เกิดขึ้นเมื่อ 27 เดือนรอยับ 583 ฮิจเราะห์ศักราช   หรือตรงกับวันที่  2 ตุลาคม 1187 คริสต์ศักราช  ท่านซอลาฮุดดีน อัลอัยยูบี ได้เข้าไปยังบัยตุลมักดิส (เยรูซาเล็ม) หลังจากที่ได้ปลดปล่อยจากพวกครูเสดหลังจากได้รีบชัยชนะในสงครามฮิตติน (Hitthin) และท่านก็ได้ทำการละหมาดยุมอัต(ละหมาดวันศูกร์) ที่มัสยิดอักซอ หลังจากที่ 88 ปีที่เสียงอาซานไม่ถูกเปล่งเสียงตลอดช่วงที่อยู่ภายใต้การครอบครองของพวกครูเสด  ซึ่งมิมบัร(ที่อ่านคุตบะอ์)ที่ทำโดยผู้นำอาวุโสนูรุดดีน มะฮมูด ซันกี ซึ่งท่านไม่มีโอกาสได้เห็นมัสยิดอัลอักซอได้รับการปลดปล่อย เพราะท่านได้เสียชีวิตลงก่อนหน้านั้น 13 ปีก่อนที่จะได้รับชัยชนะดังกล่าว ซึ่งมิมบัรดังกล่าวท่านซอลาฮุดดีน อัลอัยยูบี  ได้นำมาจากเมืองอเลปโป และยังคงอยู่ในมัสยิดดังกล่าวนานหลายศตวรรษ จนกระทั่งถูกชาวยิวเผาทำลายเมื่อปี 1969

ซอลาฮุดดีน อัลอัยยูบี ได้เข้าสู่เมืองอัลกุดส์ และให้อภัยแก่ทุกคนและไม่มีการนองเลือดเกิดขึ้นแต่อย่างใด รวมทั้งทหารที่ยังอยู่ในเมืองดังกล่าว ซึ่งไม่ได้มีการปฏิบัติเฉกเช่นพวกครูเสดที่กระทำต่อชาวมุสลิมในช่วงที่พวกเขาได้เข้ามายึดครองบัยตุลมักดิส ที่มีผู้ถูกฆ่าตายนับหมื่นคน แม้แต่คนที่กำลังหลบภัยในมัสยิดยังมิเว้น

ซอลาฮุดที่ได้อุทิศชีวิตทั้งชีวิตของท่านในการญิฮาดในหนทางของอัลลอฮ์ ท่านได้หลอมรวมชาวมุสลิมในการต่อสู้เพื่อปลดปล่อยดินแดนมุสลิมต่างๆ ที่ถูกยึดครอง ท่านได้จากเมืองประเทศ จากครอบครัว จากลูกๆ และความสุขสบายและความเงียบสงบ เพื่อให้ได้มาซึ่งเป้าหมาย ให้ได้ปลดปล่อยมัสยิดอัลอักซอ เฉกเช่นเดียวกับนูรุดดีน มะห์มูด ที่ใบหน้าของท่านไม่เคยมีความยิ้มแย้มนับตั้งแต่ที่บัยตุลมักดิสตกอยู่ในมือของพวกครูเสด "ฉันรู้สึกละอายต่อพระองค์ที่มองเห็นใบหน้าฉันยิ้ม ในขณะที่พี่น้องมุสลิมกำลังถูกกดขี่" นูรุดดีนกล่าว

บัดนี้แผ่นดินปาเลสไตน์กับมัสยิดศักดิ์สิทธิ์ได้ถูกยึดไปอีกครั้ง ในช่วงต้นของเดือนเดียวกัน ที่พวกไซออนิสต์ได้ประกาศก่อตั้งประเทศอิสราเอลขึ้นเมื่อวันที่ 7 รอยับ 1367 ฮิจเราะห์ศักราช  หรือตรงกับวันที่ 15 เมษายน 1948 คริสต์ศักราช ภายหลังจากที่พวกเขาได้รับชัยชนะในสงครามกับโลกอาหรับ

การสถานาประเทศอิสราเอลในปาเลสไตน์ยังมิวายหลีกพ้นจากโศกนาฏกรรมในเดือนรอยับเช่นกันที่เกิดขึ้นในตุรกี เมื่อมุสตอฟา กามาล อาตาเตริดได้ทำการโค่นล้มระบบคอลีฟะฮ์ของรัฐบาลออตโตมัน  ซึ่งตรงกับวันที่ 27 รอยับ 1342 ฮิจเราห์ศักราช หรือตรงกับวันที่ 3 มีนาคม 1924 คริสต์ศักราช ที่ต่อมาได้สถาปนาตัวเองเป็นผู้นำของตุรกี และได้เนรเทศกษัตริย์พร้อมวงศานุวงศ์ออกนอกประเทศ จากนั้นเขาก็ได้ปฏิรูปประเทศดังกล่าวอย่างขนานใหญ่ โดยการสั่งห้ามทำการละหมาดที่มัสยิดอายาโซเฟีย (Aya Sofia) ได้ยึดผืนรองละหมาดและรื้อทำลายศิลปะอักษรอาหรับไม่เว้นแม้กระทั่งมิมบัร จากนั้นได้สร้างเป็นพิพิธภัณฑ์ ซึ่งทั้งหมดนี้ก็เกิดขึ้นในเดือนรอยับเช่นกัน ตรงกับวันที่ 16 รอยับ 1343 ฮิจเราห์ศํกราช หรือตรงกับวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 1925 คริสต์ศักราช หนึ่งปีต่อได้มีการออกกคำสั่งในรูปแบบเป็นการบังคับโดยการอ่านคัมภีร์กุรอ่านด้วยภาษาตุรกีเป็นการทดแทนคัมภีร์กุรอ่านในภาษาอาหรับ ด้วยการอ้างเหตุผลที่ว่าคนตุรกีไม่สามารถพูดภาษาอาหรับได้ ซึ่งเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในวันที่ 28 รอยับ 1344 ฮิจเราะห์ศักราช

ซึ่งมัสยิดอัลอักซอที่เป็นทิศ(กิบลัต)แรกของชาวมุสลิมและเป็นมัสยิดศักดิ์สิทธิ์อันดับสามถัดจากมัสยิดฮารอมและมัสยิดนาบาวีย์ บัดนี้กำลังเผชิญกับความปวดร้าวภายใต้การกดขี่ของเหล่าทรราชยาวยิว  ทว่าน่าเสียดายยิ่งนักที่ไม่มีซอลาฮุดดีน อัลอัยยูบี และนูรุดดีน มะห์มุดซันกี มุสลิมปาเลสไตน์ได้ตกเป็นเหยื่อแห่งความป่าเถื่อนของชาวยิวหลายหมื่นคน โดยปราศจากพลังการต่อต้านที่กล้าหาญในการหยุดยั้ง เมื่อชาติอาหรับเองยังไม่มีให้ ส่วนชาติอื่นคงไม่ต้องพูดถึง สายตาชาวโลกต่างเป็นสักขีพยานถึงการสังหารชาวปาเลสไตน์ที่ไม่ใช่แค่เพียงทหารเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงพลเรือน ผู้สูงอายุ ผู้หญิง และเด็ก

หลายครั้งที่ได้มีความพยายามในการเจรจาสันติภาพ ที่ดำเนินการโดยคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ แต่มักจะถูกคว่ำบาตรละเมิดโดยอิสราเอลทุกครั้ง เริ่มตั้งแต่การเจรจาที่แคมป์เดวิด ซึ่งลงนามโดยรัฐบาลอียิปต์และเทลอาวีฟเมื่อปี 1979 จนกระทั่งถึงข้อตกลงออสโลที่จัดขึ้นเมื่อปี 1993 และมีการลงนามเซ็นสัญญากับองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ (PLO)

ซึ่งการโกหกมดเท็จถือเป็นตัวตนของพวกเขาอย่างแน่นอนอยู่แล้วดั่งที่ระบุไว้คัมภีร์กุรอ่าน

“และจงรำลึกถึงขณะที่เราได้เอาคำมั่นสัญญาจากพวกเจ้า และเราได้ยกภูเขาขึ้นเหนือพวกเจ้า จงยึดถือสิ่งที่เราได้ให้แก่พวกเจ้าด้วยความเข้มแข็ง และจงรำลึกถึงสิ่งที่มีอยู่ในนั้น หวังว่าพวกเจ้าจะเกรงกลัว (63) แล้วหลังจากนั้น พวกเจ้าก็ผินหลังให้ หากอัลลอฮ์ไม่ทรงโปรดปราน และกรุณาเมตตาแก่พวกเจ้าแล้ว แน่นอนพวกเจ้าย่อมกลายเป็นพวกที่ขาดทุน (64) และแน่นอนพวกเจ้ารู้กันแล้วถึงบรรดาผู้ที่อยู่ในพวกของเจ้าที่ได้ละเมิดในวันสับบาโต แล้วเราได้กล่าวแก่พวกเขาว่า พวกเจ้าจงเป็นลิงที่ถูกขับไล่ให้ห่างไกล (65) แล้วเราได้ให้การลงโทษนั้นเป็นเยี่ยงอย่างแก่ประชาชาติที่อยู่เบื้องหน้ามัน และประชาชาติที่อยู่เบื้องหลังมัน และให้เป็นข้อเตือนสติแก่ผู้เกรงกลัวทั้งหลาย (66) ซูเราะห์อัล-บะเกาะเราะฮ

 

ความรับผิดชอบของชาวมุสลิมทุกคน

ในวาระที่เดือนอันสำคัญนี้ได้หวนมาบรรจบ ความรู้สึกของชาวมุสลิมสมควรอย่างยิ่งจะต้องปลูกฝังความเชื่อมั่นที่ว่า ปัญหามัสยิดอักซอมิอาจที่จะเป็นเพียงปัญหาของชาวปาเลสไตน์ที่ต้องเผชิญเพียงลำพังอีกต่อไป แม้ว่าพวกเขาจะอยู่ในแนวหน้าในการทำหน้าที่ปลดปล่อยแผ่นดินอิสรอจจากเงื้อมมือชาวยิว แหละนี่คือส่วนหนึ่งของความเชื่อศรัทธาของเหล่าวีรบุรุษมุสลิมที่ได้ต่อสู้เพื่อการปลดปล่อย

 

ความหวังที่ริบหรี่

เดือนรอญับยังได้เป็นสักขีพยานอีกครั้งในการหวนกลับมาของการต่อสู้ระหว่างชาวปาเลสไตน์กับทรราชอิสราเอล ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งหนึ่งที่มีชื่อว่า อินตีฟาดะฮ์ ซึ่งตรงกับวันที่ 12 รอญับ 1422 ฮิจเราะห์ศักราช หรือตรงกับวันที่  29 กันยายน 2000 คริสต์ศักราช เป็นการกระทำที่มาจากการสุ่มไฟโดยนายกรัฐมนตรีอาเรียล ชารอน ซึ่งเป็นประธานพรรค Likud ชาวปาเลสไตน์นับพันลุกขึ้นมาต่อสู้กับกองกำลังติดอาวุธของอิสราเอลเพื่อปกป้องมัสยิดอักซอ เหตุการณ์ครั้งนี้ถือเป็นผลดีให้กับปาเลสไตน์ ที่เป็นการยกระดับปัญหาปาเลสไตน์สู่เวทีสากลและในเวลาเดียวกันทำให้ทรราชอิสราเอลได้รับความอับอาย ที่ได้ใช้ทุกยุทธวิธีและอาวุธสงครามเพื่อยับยั้งกลุ่มอินตีฟาดะฮ์ดังกล่าว จนทำให้ชาวปาเลสไตน์เสียชีวิต 3540 คน บ้านเรือนถูกทำลาย 60,000 กว่าหลัง ผลจากการทำลายจากขีปนาวุธ ผู้คนนับแสนได้เดินทางออกนอกเมืองของพวกเขา

หากว่ามัสยิดอัลอักซอสามารถพูดได้ มันคงอาจพูดเพียงหวังว่าการมาเยือนของผู้ปลดปล่อยมันให้หลุดพ้นจากบ่วงแร้ว ของความป่าเถื่อนของไซออนิสต์  หวังเพียงบรรดาผู้นำของโลกอาหรับและอิสล​​ามได้รวมตัวกันเพื่อช่วยเหลือมันเขาจากความมุ่งร้ายของไซออนิสต์ ที่พยายามจทำลายทิ้งก่อนที่จะไปสร้างใหม่ที่ Heikal Sulaeman  ซึ่งเป็นตำนานและความเชื่อที่พวกเขาอุปโลกขึ้นมา เรามาร้องไห้เถิดที่ไม่สามารถจะทำอะไรได้เลยเพื่อปลดปล่อยมันในฐานะที่เป็นกิบลัตแรกของพี่น้องมุสลิม



ภาพจาก http://f.ptcdn.info/440/012/000/1385109689-domeofther-o.jpg
ที่มาบทความ  http://www.dakwatuna.com/2013/05/31/34133/rajab-dan-pembebasan-al-aqsha/#axzz45Ocb562K