หลักสูตรอิสลามศึกษากับความท้าทายสู่กระบวนการสันติภาพ

หลักสูตรอิสลามศึกษากับความท้าทายสู่กระบวนการสันติภาพ

กรณีศึกษาการศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามและโรงเรียนของรัฐ
ในจังหวัดชายแดนภาคใต้

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บิน ชาฟิอีย์  (อับดุลสุโก ดินอะ) [1]

               
 

           ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตากรุณาเสมอ ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสดามูฮัมมัด  ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีแด่ผู้อ่านทุกท่าน

บทคัดย่อ

               การศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษามีวัตถุประสงค์หลัก 2 ประการคือ เพื่อทราบพัฒนากาหลักสูตรอิสลามศึกษา และเป้าหมาย วิธีการการจัดการหลักสูตรอิสลามศึกษาแกนกลางฉบับร่างพ.ศ. ......ในการหนุนเสริมกระบวนการสันติภาพโดยใช้วิธีศึกษาเอกสาร แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสัมมนาและ การสนทนากลุ่ม (focus group) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับตัวแทนผู้ยกร่างหลักสูตรอิสลามศึกษาฉบับ พ.ศ......

ผลการศึกษาพบว่า:

              1. หลักสูตรอิสลามศึกษามีมาตั้งแต่อดีตแต่ที่เป็นระบบ มีฉบับ พ.ศ. 2523 , 2535 ,2540,2546 และ 2551 

              2. เป้าหมาย วิธีการการจัดการหลักสูตรอิสลามศึกษาแกนกลางฉบับร่างพ.ศ. ......ในการหนุนเสริมกระบวนการสนติภาพนั้นเพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้หลักธรรมคำสอน ศรัทธา ยำเกรงต่ออัลลอฮฺ  ปฏิบัติตามศาสนฑูตมุฮัมมัด มีคุณธรรมจริยธรรม มีทักษะชีวิตสังคมร่วมสมัยตามวิถีสลามไห้มีดุลยภาพ(ทางสายกลาง)ร่วมสร้างสังคมอย่างมีสันติสุขผ่านจัดการเรียนรู้ในสาระวิชาหลักศรัทธา วิขาศาสนบัญญัติ และจริยธรรมเป็นสิ่งท้าทายในภาคปฏิบัติ

คำสำคัญ  อิสลามศึกษา  Islamic Studies  กระบวนการสันติภาพ  Peace Process 

การศึกษขั้นพื้นฐาน  the Basic Education   โรงเรีนยนของรัฐ Government School  โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม Islamic Private School

 

1.บทนำ

                หลักสูตรอิสลามศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นวิถีชีวิตสำหรับมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้เดิมจัดการศึกษาเฉพาะในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามซึ่งกระทรวงศึกษาธิการรับรอง ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันคือปีพ.ศ. 2551 รัฐบาลมีนโยบายเปิดหลักสูตรนี้ในโรงเรียนของรัฐเพื่อตอบสนองชุมชนและหลักสูตรอิสลามศึกษาจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่ท้าทายในการหนุนเสริมกระบวนการสันติภาพ

 

2.วิวัฒนาการหลักสูตรอิสลามศึกษา

                อิสลามให้ความสำคัญกับการศึกษาแม้แต่โองการการอัลกุรอานโองการแรก เช่นอัลลอฮฺได้โองการความว่า ท่านจงอ่านด้วยพระนามพระเจ้าของท่านผู้ทรงบังเกิด ( อัลอะลัก : 1) และท่านศาสนฑูตมุฮัมมัดได้วจนะความว่าการศึกษาเป็นหน้าที่สำหรับมุสลิมทุกคน ( บันทึกโดยอิบนุมาญะฮฺ)ซึ่งสอดคล้องกับหลักสูตรอิสลามศึกษาที่กล่าวถึงการศึกษาเพื่อเป็นแนวทางการดำเนินชีวิต

                ดังนั้นหลักสูตรอิสลามศึกษาเดิมนั้นศึกษาในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามที่ถูกรับรองโดยกระทรวงศึกษาธิการ มีวิวัฒนาการที่เป็นระบบตั้งแต่หลักสูตรอิสลามศึกษา[2] พ.ศ. 2523 , 2535 ,2540 และ  2546 ในขณะโรงเรียนของรัฐนั้นใช้หลักสูตรอิสลามศึกษา  พ.ศ. 2551 จะมีความนำ  วิสัยทัศน์ หลักการ จุดหมาย สมรรถนะ สำคัญของผู้เรียน และคุณลักษณะอันพึงประสงค์   โครงสร้างหลักสูตร  สาระการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้  ตัวชี้วัดไม่แตกต่างกันมาก ปรับเพิ่มเติมให้เท่าทันกับยุคสมัย นอกจากระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2513, 2523 , 2535 ,2540 ใช้เวลาเรียน 10 ปี[3] ในขณะที่ พ.ศ.2546และ 2551 ใช้เวลา 12 ปี[4] ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สายสามัญ )

                สำหรับสาระการเรียนรู้ แบ่งออกเป็น พื้นฐาน  เพิ่มเติม กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ใน หลักสูตร พ.ศ.2546[5]และ 2551[6]เพียงแต่ พ.ศ.2546  พื้นฐาน แบ่งออกเป็นสามกลุ่มสาระหนึ่ง  ศาสนา ( อัลกุรอาน  วจนะศาสดา  หลักศรัทธา หลักปฏิบัติ)กลุ่มที่สองสาระ สังคมและจริยธรรม (ประวัติศาสตร์และจริยธรรม)  และกลุ่มที่สามภาษา ( ภาษาอาหรับและมลายู) ในขณะที่หลักสูตรอิสลามศึกษา พ.ศ.  2551 แบ่งออกเป็น  8  สาระพื้นฐานสาระ อัลกุรอาน  วจนะศาสดา  หลักศรัทธา หลักปฏิบัติ   ประวัติศาสตร์  จริยธรรม  ภาษาอาหรับและมลายู

                แต่เมื่อพิจารณาในสาระการเรียนรู้และตัวชี้วัดอิสลามศึกษา2551 กลับไม่พบกระบวนการจัดการเรียนเรียนรู้ดังกล่าวนอกจากให้มีการอบรม  สัมมนา การสร้างหลักสูตรสันติศึกษา[7]   การสานเสวนาข้ามวัฒนธรรม  และอบรมทักษะวัฒนธรรมจากองค์กรภายนอก


3. ความท้าทายของหลักสูตรอิสลามศึกษาในอนาคตในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานต่อกระบวนการสันติภาพ

                วันที่ ๒๓ – ๒๕ มีนาคม ๒๕๕๘ ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีมีการจัดสัมมนานานาชาติ ด้านอิสลามศึกษา  เพื่อชี้นำให้สังคมมีความสามัคคี ส่งเสริมค่านิยมทางศีลธรรมเพื่อประโยชน์ของมนุษยชาติและความสงบสุขอย่างยั่งยืนในสังคมพหุวัฒนธรรม[8]

หัวข้อการสัมมนาครั้งนี้ “คุณค่าอิสลามในโลกที่เปลี่ยนแปลง” เป็นโครงการต่อเนื่องจากการสัมมนานานาชาติทั้งสองครั้งที่ผ่านมา กล่าวคือการสัมมนาครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๑ – ๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๓ ในหัวข้อ “บทบาทอิสลามศึกษาในยุคโลกาภิวัตน์” ซึ่งในการสัมมนาครั้งนั้นนักวิชาการอิสลามศึกษาจาก ๑๖ ประเทศ ได้ร่วมกันกำหนด “ปฏิญญาปัตตานี” ที่มีสาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการให้อิสลามศึกษา มีส่วนในการพัฒนาวิชาการ เยาวชน การร่วมมือกันเพื่อสร้างสันติสุขให้แก่มวลมนุษย์ โดยแบ่งได้เป็น ๕ หัวข้อ ได้แก่ ประการที่ ๑ อิสลามศึกษาจะนำไปสู่สันติสุขและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่เฉพาะระหว่างชาวมุสลิมเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงมวลมนุษยชาติ ประการที่ ๒ อิสลามศึกษาจะมีการบูรณาการระหว่างศาสตร์ด้านศาสนาและศาสตร์ทั่วไปเข้าด้วยกัน เพื่อประโยชน์สุขของชุมชนและอนาคตของเยาวชนในรุ่นต่อ ๆ ไป ประการที่ ๓ อิสลามศึกษาจะส่งเสริมและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น เพื่อนำไปสู่การเติบโตและการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งรวมถึงความมั่นคงและความยุติธรรมทางสังคมด้วย ประการที่ ๔ อิสลามศึกษาจะส่งเสริมความเป็นนาชาติของมุสลิม ซึ่งจะสนับสนุนให้เกิดการประสานความร่วมมือระหว่างพลเมืองของโลก และประการที่ ๕ อิสลามศึกษาจะส่งเสริมเรื่องโอกาสในการพูดคุยระหว่างสมาชิกประชาคมมุสลิม และเสริมสร้างคุณค่าของมนุษย์ให้ตระหนักถึงสันติภาพและป้องกันแนวคิดหลักศาสนาที่บิดเบือน

        ส่วนการสัมมนาอิสลามศึกษา ซึ่งจัดขึ้นครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่ ๑๔ – ๑๖ มกราคม ๒๕๕๖ โดยมีปราชญ์อิสลามและนักวิชาการอิสลามศึกษาจาก ๓๐ ประเทศ ร่วมระดมความคิดในหัวข้อ อิสลามศึกษาในโลกที่เปลี่ยนแปลง : โอกาสและสิ่งท้าทาย ผลจากการสัมมนาครั้งนั้นได้ยกระดับการจัดการศึกษาของวิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ให้ก้าวสู่นานาชาติ สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลที่จะให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการศึกษาเอเซียน หรือ Asean Education Hub ตลอดจนการพัฒนาศักยภาพของเยาวชนมุสลิมและสร้างสังคมสันติสุขและสมานฉันท์ที่ยั่งยืนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ในอนาคต สร้างภาพมุสลิมในประเทศไทยต่อสายตาชาวโลกมุสลิมในมิติเสรีภาพทางวิชาการและการนับถือศาสนา เกิดเครือข่ายอิสลามศึกษาและมีการแลกเปลี่ยนคณาจารย์และนักศึกษาทางด้านวิชาการ การวิจัย การประชุมในกลุ่มประเทศอาเซียน กลุ่มประเทศโลกอาหรับ และกลุ่มประเทศโลกมุสลิม

                 จากการระดมสมองจากตัวแทนสำนักจุฬาราชมนตรี  คณะกรรมการอิสลามแต่ละจังหวัด ผู้บริหาร ครูอิสลามศึกษาโรงเรียนของรัฐ เอกชนสอนศาสนาอิสลาม ตาดีกา อาจารย์จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี มหาวิทยาลัยฟาฏอนี ศึกษานิเทศน์กระทรวงศึกษาธิการมีความคิดเห็นสอดคล้องว่าการร่างหลักสูตรอิสลามแกนกลางควรมีเอกภาพบนหลักการของสถานศึกษาทุกสังกัด ยืดหยุ่นตามบริบทของขุมชน ตอบสนองเพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้หลักธรรมคำสอน ศรัทธา ยำเกรงต่ออัลลอฮฺ  ปฏิบัติตามศาสนฑูตมุฮัมมัด มีคุณธรรมจริยธรรม มีทักษะชีวิตสังคมร่วมสมัยตามวิถีสลามได้มีดุลยภาพร่วมสร้างสังคมอย่างมีสันติสุขผ่านจัดการเรียนรู้ในสาระหลักศรัทธาของแต่ละศาสนา กลุ่มแนวคิดด้านหลักศรัทธาในอิสลาม วิขาศาสนบัญญัติอิสลาม ในนิกายต่างๆ และจริยธรรมอิสลามกล่าวถึงมารยาการสานเสวนา โดยกำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ให้ผู้เรียนสามารถ วิเคราะห์และสังเคราะห์สถานการณ์ตามหลักศาสนบัญญัติ(ชะรีอะฮฺ) และมีทักษะในการแก้ปัญหาความขัดแย้งโดยใช้หลักชะรีอะฮฺได้อย่างดุลยภาพ ความแตกต่างทางความคิดและความหลากหลายในสังคมเช่นศาสนาต่างๆ วัฒนธรรมต่างๆ หรือแม้กระทั่งสำนักคิดทางกฎหมายอิสลามเองผ่านแนวคิดปวงปราชญ์อิสลามในอดีตด้วยการสร้างดุลยภาพ(ทางสายกลาง)

                 ในขณะเดียวกันทั้งหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน[9]และอิสลามศึกษา นั้นมีเป้าหมายชัดที่ต้องการสร้างมนุษย์ที่สมบูรณ์และอยู่ร่วมกับสังคมอย่างมีสันติภาพไม่ว่าสังคมพหุวัฒนธรรมทั้งภาคใต้และต่างประเทศ ดังภาพประกอบด้านล่างนี้

 

                                             https://www.facebook.com/shukur.dina.7?fref=ts

                 อีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนคือนักเรียนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามและนักเรียนของโรงเรียนรัฐที่ใช้สองหลักสูตรที่แยกส่วนคือการศึกษาขั้นพื้นฐานและอิสลามศึกแบบเข้มเพราะจะทำให้นักเรียนเรียนหนักเกินไปกอร์ปกับนโยบายลดชั่วโมงของรัฐ 

                 จากการดำเนินโครงการปฏิรูปหลักสูตรโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้: ส่วนของประเทศไทย (CRP-Project) [10] (ซึ่งผู้เขียนเป็นคณะทำงานร่วมอยู่ด้วย)ตลอดระยะเวลา ๓ ปี(ตั้งแต่ปี ๒๕๕๐-๒๕๕๒)  ได้สรุปผลต่อที่ประชุม ว่า“  สังคมมุสลิมยังมีความคิดแยกส่วนในการเรียนวิชาศาสนาและสามัญ โดยเฉพาะวิชาสามัญนั้นมุสลิมยังมองว่าเป็นวิชาการทางโลก  ดังนั้นการแก้ปัญหาคือการใช้หลักสูตรบูรณาการอิสลามสำหรับมุสลิม”   

                 คำว่าบูรณาการอิสสลาม[11]ไม่ใช่มีหลักสูตรอิสลามศึกษาในสถานศึกษาแต่  เป็นความพยายามการจัดการศึกษาที่นำเอาหลักการของศาสนาอิสลามมาใช้เป็นปรัชญาออกแบบการจัดการศึกษาและกำหนดวิธีการในกระบวนการจัดการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนเกิดศรัทธายึดมั่นและปฏิบัติตนตามหลักศาสนา โดยนำองค์ความรู้ต่างๆ ที่หลากหลายทุกสาระวิชา มาหลอมรวมเป็นเนื้อเดียวกันสอดคล้องตามหลักของศาสนาอิสลามและสำหรับประเทศไทยควรนำไปสู่การดำรงชีวิตในพหุสังคมได้อย่างเหมาะสม

                  สาเหตุที่ต้องจัดการศึกษาบูรณาการ   อันเนื่องมาจากว่าการบูรณาการการศึกษาที่สมบูรณ์แบบค่อนข้างที่จะเป็นไปได้ยากในสังคมปัจจุบัน เพราะหลักสูตร หนังสือ แบบเรียน วิธีการสอน ตลอดจนบุคลากรทางการศึกษาจะต้องวางอยู่บนพื้นฐานของอิสลาม แม้ว่าจะสามารถปฏิบัติได้ในบางระดับ แต่ต้องได้รับการปฏิบัติอย่างรอบคอบ เพราะการบูรณาการที่หละหลวมจะก่อให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี  อย่างไรก็ตาม เมื่อเราตระหนักว่าหลักสูตรการศึกษาในอิสลามเป็นหลักสูตรบูรณาการ  ความพยายามที่จะต้องบูรณาการการศึกษาจึงควรได้รับการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง

                  จากการจัดการศึกษานั้นควรมีจุดมุ่งหมายเพื่อการเจริญเติบโตอย่างสมดุลของบุคลิกภาพมนุษย์ โดยการฝึกฝนทางจิตวิญญาณ ความคิด เหตุผล ความรู้สึก และประสาทสัมผัส    ควรมุ่งเน้นให้มนุษย์เจริญเติบโตไปในทุกๆ ด้าน เช่น ด้านจิตวิญญาณ สติปัญญา การจินตนาการ สรีระ วิทยาศาสตร์ ภาษาศาสตร์ ทั้งปัจเจกบุคคล และส่วนรวมแล้วโน้มน้าวด้านต่างๆ เหล่านี้ ไปสู่ความดีงาม และการบรรลุถึงความสมบูรณ์แบบ ซึ่งเป้าหมายสูงสุดของการศึกษาตามทัศนะอิสลามคือ การยอมจำนนต่ออัลลอฮฺอย่างสิ้นเชิง ทั้งในระดับปัจเจกบุคคล สังคม และ มนุษยชาติซึ่งสอดล้องกับจุดมุ่งหมายการศึกษาของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ ในมาตราที่ ๖ [12]   “การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อให้คนไทยเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข”

                   ความสมดุล และ ความสมบูรณ์ของมนุษย์เป็นประเด็นหลักของจุดมุ่งหมายทั้งสองนี้จะเกิดขึ้นได้นั้นควร มุ่งเน้นการจัดการศึกษาภายใต้แนวคิดอิสลามานุวัตรองค์ความรู้[13] ( Islamization of Knowledge) ซึ่งสามารถบูรณาการอิสลามในทุกองค์ความรู้ผ่านการทบทวนรายวิชาที่จัดสอนในหลักสูตร ปฏิรูปหลักสูตร โดยยึดหลักการข้างต้นพร้อมกับจะต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาตามแนวคิดดังกล่าว ในขณะเดียวกันทางโครงการได้เสนอรูปแบบหรือ Model ต้นร่าง การบูรณาการโครงสร้างหลักสูตร ตามแนวคิดของ CRP-PROJECT ดังนี้[14]

-   บูรณาการอิสลามทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้

-   กลั่นกรองเนื้อหาทุกกลุ่มสาระ โดยครูผู้สอนสามารถกระตุ้นให้ผู้เรียนวิเคราะห์เนื้อหา และ     แยกแยะได้ว่าส่วนใดที่ไม่ตรงกับหลัก   การศาสนาอิสลาม และความจริงที่ถูกต้องเป็นอย่างไร

-  บูรณาการบรรยากาศในโรงเรียนและในห้องเรียนเป็นบรรยากาศแบบอิสลามเต็มรูปแบบ

-  บูรณาการโครงสร้างหลักสูตร

-  บูรณาการเนื้อหาวิชา

-  บูรณาการตำราเรียน/และสื่อการจัดการเรียนรู้

-  บูรณาการกิจกรรมการจัดการเรียนรู้

                  ถ้าสามารถสร้างรูปแบบการศึกษาบูรณาการที่สมบูรณ์ได้จะทำให้ผู้เรียนที่เรียนสองหลักสูตร(คือการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551  ซึ่งมี 8 สาระวิชา กับหลายวิชาที่เป็นสาระเพิ่มเติม  กับ 8 สาระวิชาหลักกับอีกหลายวิชาในสาระเพิ่มเติมเช่นกันในหลักสูตรอิสลามศึกษา ) ลดภาระการเรียนของผู้เรียนโดยเฉพาะในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายซึ่งจะมีผลต่อการสอบเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยในสาขาต่างๆทั้งในหรือต่างประเทศ  ทั้งศาสนาหรือสามัญซึ่งมีหลายคณะ  ซึ่งอาจารย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์หลายท่านแสดงความกังวลต่อคุณภาพทางวิชาการของนักศึกษาปัจจุบันที่ไม่เหมือนอดีต  ถึงอย่างไรก็แล้วแต่พบว่าปัจจุบันนักเรียนจังหวัดชายแดนภาคใต้มีโอกาสศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศทั้งหลักสูตรศาสนาและสามัญมากขึ้น

                  แต่ก็ไม่สามารถลืมสถาบันอุดมศึกษาเช่นมหาวิทยาลัยมหิดลในการจัดกิจกรรมสานเสวนา ทักษะวัฒนธรรมและอื่นๆที่เอื่อต่อกระบวนการสันติภาพ

 

                                           http://www.thaingo.org/thaingo/node/1902

 

สรุป

                  หลักสูตรอิสลามศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นวิถีชีวิตสำหรับมุสลิมไทยทุกคนซึ่งมีมาตั้งแต่อดีตแต่ที่เป็นระบบซึ่งกระทรวงศึกษาธิการรับรอง มีฉบับ พ.ศ. 2523 , 2535 ,2540 และ 2551 สำหรับ เป้าหมาย วิธีการการจัดการหลักสูตรอิสลามศึกษาแกนกลางฉบับร่างพ.ศ. ......ในการหนุนเสริมกระบวนการสนติภาพนั้นเป็นสิ่งที่ท้ายมากที่จะสามารถให้ผู้เรียนเรียนรู้หลักธรรมคำสอน ศรัทธา ยำเกรงต่ออัลลอฮฺ  ปฏิบัติตามศาสนฑูตมุฮัมมัด มีคุณธรรมจริยธรรม มีทักษะชีวิตสังคมร่วมสมัยตามวิถีสลามได้มีดุลยภาพร่วมสร้างสังคมอย่างมีสันติสุขผ่านจัดการเรียนรู้ในสารวิขากฏหมายอิสลาม หลักศรัทธาและจริยธรรม

 

 

บรรณานุกรม

คัมภีร์อัลกุรอาน 

กระทรวงศึกษาธิการ.2542.พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒.หน้าที่3. สืบค้นเมื่อ  15 กันยายน  2558, จาก  http://www.mua.go.th/users/he-commission/doc/law/law%20edu%20%202542.pdf

.2542.หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพ้นฐาน 2551.หน้าที่3. สืบค้นเมื่อ  15 กันยายน  2558. หน้าที่2. สืบค้นเมื่อ  15 กันยายน  2558, จาก http://pts.ac.th/wp-content/uploads/2014/11/education_core2551.pdf

กระทรวงศึกษาธิการ.2546. หลักสูตรอิสลามศึกษา พ.ศ. 2546.สืบค้นเมื่อ  15 กันยายน  2558, จากhttp://www.skprivate.go.th/home/sites/default/files/Form_Download/Curriculum_Is2546.PDF

____________________.2551. หลักสูตรอิสลามศึกษา พ.ศ. 2551.สืบค้นเมื่อ  15 กันยายน  2558, จาก http://www.opes.go.th/sites/default/files/users/user11/%202551.pdf

 คณะอนุกรรมการศึกษาวิถีทางการพัฒนาเพื่อความมั่นคงของมนุษย. รายงานของคณะอนุกรรมการศึกษาวิถีทางการพัฒนาเพื่อความมั่นคงของมนุษย.หน้าที่60 ..สืบค้นเมื่อ  15 กันยายน  2558, จาก http://tdri.or.th/archives/download/reports/unpublished/as_papers/edu3_final.pdfและ ซิดดิก อาลี.2554.

 ซิดดิก อาลี.2554.วิวัฒนาการการเรียนการสอนอิสลามศึกษาของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย.วิทยานิพนธ์.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. บทคัดย่อ. สืบค้นเมื่อ  15 กันยายน  2558, จากhttp://soreda.oas.psu.ac.th/show_detail.php?research_id=597

ฟาฏินา  วงเลขา.2558. หลักสูตรแกนกลางอิสลามศึกษา . สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน  2558.จาก http://www.dailynews.co.th/education/312659

อดินันท์ ปากบารา.2554. สันติศึกษาของโรงเรียนต้นแบบจังหวัดชายแดนภาคใต้. สืบค้นเมื่อ  15 กันยายน  2558, จากhttp://61.19.85.180/ulib5//_fulltext/fulltext/133860/20131008_161639_(8)%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%205.pdf

อับดุลสุโก ดินอะ.2555.การศึกษาบูรณาการอิสลามกรณีศึกษาโรงเรียนจริยธรรมศึกษามูลนิธิ.นราวาส : พง๕นราการพิมพ์

_________________________. (2553).นโยบายสาธารณะ: การศึกษาชายแดนใต้ที่สอดคล้องกับวิถีชุมชน. สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน  2558  จาก http://www.thaingo.org/thaingo/node/1902

 


[1] ผู้อำนวยการศูนย์อัลกุรอานและภาษา , ช่วยผู้จัดการโรงเรียนจริยธรรมศึกษามูลนิธิ

อ.จะนะ   จ.สงขลา         

กรรมการสภาประชาสังคมชายแดนใต้

Shukur2003@yahoo.co.uk, http://www.oknation.net/blog/shukur                                    

[2]  คณะอนุกรรมการศึกษาวิถีทางการพัฒนาเพื่อความมั่นคงของมนุษย. รายงานของคณะอนุกรรมการศึกษาวิถีทางการพัฒนาเพื่อความมั่นคงของมนุษย.หน้าที่60 ..สืบค้นเมื่อ  15 กันยายน  2558, จาก http://tdri.or.th/archives/download/reports/unpublished/as_papers/edu3_final.pdfและ ซิดดิก อาลี.2554.

 ซิดดิก อาลี.2554.วิวัฒนาการการเรียนการสอนอิสลามศึกษาของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย.วิทยานิพนธ์.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. บทคัดย่อ. สืบค้นเมื่อ  15 กันยายน  2558, จากhttp://soreda.oas.psu.ac.th/show_detail.php?research_id=597

[3] อิบติดาอีย์ (ประถมศึกษา) 4 ปี มูตะวัซซิเฏาะ ( มัธยมศึกษาตอนต้น) ซานาวีย์ เฏาะ ( มัธยมศึกษาตอนปลาย )อย่างละ 3ปี             

[4] อิบติดาอีย์ (ประถมศึกษา) 6 ปี มูตะวัซซิเฏาะ ( มัธยมศึกษาตอนต้น) ซานาวีย์ เฏาะ ( มัธยมศึกษาตอนปลาย )อย่างละ 3ปี             

[5]กระทรวงศึกษาธิการ.2546.หลักสูตรอิสลามศึกษา พ.ศ. 2546.สืบค้นเมื่อ  15 กันยายน  2558, จากhttp://www.skprivate.go.th/home/sites/default/files/Form_Download/Curriculum_Is2546.PDF           

[6]Ditmi;’L7dKkTbdki.2551.หลักสูตรอิสลามศึกษา พ.ศ. 2551.สืบค้นเมื่อ  15 กันยายน  2558, จาก http://www.opes.go.th/sites/default/files/users/user11/%202551.pdf                                   

[7]อดินันท์  ปากบารา.2554.สันติศึกษาของโรงเรียนต้นแบบจังหวัดชายแดนภาคใต้. หน้าที่2. สืบค้นเมื่อ  15 กันยายน  2558, จากhttp://61.19.85.180/ulib5//_fulltext/fulltext/133860/20131008_161639_(8)%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%205.pdf

[8]  การสัมมนานานาชาติทางอิสลามศึกษาครั้งนี้เป็น ครั้งที่ ๓ ในรอบ ๖ ปี โดยครั้งนี้ได้มีนักวิชาการอิสลามกว่า ๔๐๐ คน จากทุกทวีป  ทั่วโลกรวม ๓๐ ประเทศ เข้าร่วมการสัมมนา (ผู้เขียนเข้าร่วมสัมมนาทั้งสามครั้ง)                                     

กระทรวงศึกษาธิการ.2542.หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพ้นฐาน 2551.หน้าที่3. สืบค้นเมื่อ  15 กันยายน  2558. หน้าที่2. สืบค้นเมื่อ  15 กันยายน  2558, จาก http://pts.ac.th/wp-content/uploads/2014/11/education_core2551.pdf

[10] อับดุลสุโก ดินอะ.2556.นโยบายสาธารณะ: การศึกษาชายแดนใต้ที่สอดคล้องกับวิถีชุมชน. สืบค้นเมื่อ  15 กันยายน  2558, จากhttp://thaingo.org/thaingo/node/1902            

[11]อับดุลสุโก ดินอะ.2555.การศึกษาบูรณาการอิสลามกรณีศึกษาโรงเรียนจริยธรรมศึกษามูลนิธิ. หน้าที่2-3              

[12]กระทรวงศึกษาธิการ.2542.พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒.หน้าที่3. สืบค้นเมื่อ  15 กันยายน  2558, จาก  http://www.mua.go.th/users/he-commission/doc/law/law%20edu%20%202542.pdf