“เกริ่น” รายงานข้อเสนอเพื่อสื่อสารสันติภาพปาตานี ตอนที่ 2

(ต่อจากตอนที่ 1) การสื่อสารในรูปแบบ ของเว็บไซต์ ภายใต้สถานการณ์ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเปรียบเสมือนปุ๋ย ชั้นดีที่เร่งให้มีการเปิดพื้นที่แลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่เน้นการสื่อสารแบบ มีส่วนร่วมของประชาชนมากขึ้น ทางเลือกหนึ่งในกระบวนการดังกล่าว คือการพัฒนารูปแบบการสื่อสารผ่านการเป็นผู้เล่นในพื้นที่สื่อประชาสังคม การพัฒนาและเติบโตของเว็บไซต์ในลักษณะพื้นที่การแลกเปลี่ยน ดังกล่าว ได้กลายเป็นชุมชนเสมือนจริงที่เชื่อมโยงกลุ่มผู้คนต่างๆ ทั้งใน พื้นที่และนอกพื้นที่ เข้าร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

นัยหนึ่งการเติบโตขึ้นของเว็บไซต์ประชาสังคมกลายเป็นทางเลือกที่ขยายโอกาสให้คนตัวเล็กตัวน้อยที่ไม่เคยมีพื้นที่ในสื่อกระแสหลัก ได้มีพื้นที่ในการหยิบประเด็น เรื่องราวสื่อผ่านพื้นที่สาธารณะ ซึ่งในช่วงระยะเวลาตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้น มา เว็บไซต์ของภาคประชาสังคมกลับได้รับความนิยมมากขึ้นจากคนใน พื้นที่ เมื่อมองในภาพรวมเห็นได้ว่าสื่อทางเลือกในท้องถิ่น กลายเป็นสื่อที่ สามารถตอบสนองคนในพื้นที่ปาตานี/ชายแดนใต้ ได้มากกว่าสื่อกระแส หลักเนื่องจากวัตถุประสงค์ของสื่อดังกล่าวต้องการสื่อสารกับคนในพื้นที่ สามจังหวัดแต่ต้น

สื่อทางเลือกจึงกลายเป็นพื้นที่ทางการสื่อสารของคนใน พื้นที่ไปในเวลาเดียวกันเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบองค์ประกอบของเนื้อหา สื่อกระแส หลักกับสื่อทางเลือกในพื้นที่มีความแตกต่างกันในระดับหนึ่ง ในแง่หนึ่ง สื่อทั้งสองกลุ่มต่างให้ความสำคัญกับการรายงานสถานการณ์ที่เกิดขึ้นใน พื้นที่ปาตานี/ชายแดนใต้ แต่แตกต่างกันในการนำ เสนอเนื้อหา กล่าวคือ การนำ เสนอเนื้อหาเกี่ยวกับสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัด ชายแดนภาคใต้ภายใต้ในสื่อกระแสหลักเป็นการนำ เสนอในลักษณะ ท่วงท่าปลุกเร้า มองจากสถานการณ์ความขัดแย้งที่เกิดจากความรุนแรง โดยให้น้ำหนักแหล่งข่าวจากฝ่ายความมั่นคงของภาครัฐเป็นหลัก จึงส่ง ผลให้รูปแบบการนำ เสนอผ่านสื่อดังกล่าวสร้างความคับข้องใจให้กับผู้รับสื่อในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้

ขณะเดียวกันก็ได้สร้างวาทกรรมที่มีลักษณะปลุกเร้า แตกแยก มองสถานการณ์ในพื้นที่ผ่านมุมมองการตีตราว่าผู้กระทำ ผิดคือคนไม่ดี/โจรใต้ ทว่าในสื่อทางเลือกในท้องถิ่น กลับเป็นการสื่อสารผ่านมุมมองของคนใน พื้นที่ เพื่อตอบสนองความต้องการของคนใน พื้นที่เป็นหลัก ซึ่งภายใต้สภาวะความไม่ สงบที่เกิดขึ้นสื่อทางเลือกได้กลายเป็นสื่อที่ ได้รับการตอบรับจากคนในพื้นที่ เนื่องจาก การสื่อสารในระดับนี้เป็นการสื่อสารในแนว ระนาบที่เปิดพื้นที่ให้มีการแลกเปลี่ยน

กระนั้น ภายใต้สถานการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นผลให้หนึ่ง ทศวรรษที่ผ่านมา กระบวนสื่อสารในพื้นที่ปา ตานี/ชายแดนใต้ ได้เกิดความเปลี่ยนแปลง ในลักษณะรอมชอม โดยทั้งสื่อกระแสหลัก และสื่อทางเลือกในพื้นที่ ต่างมีลักษณะของ การเปิดพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนแนวระนาบ เพิ่มมากขึ้น ซึ่งนัยหนึ่งหมายถึงการเปิดพื้นที่ การสื่อสารจากล่างขึ้นบน อย่างไรก็ตาม ประชาชนในพื้นที่ยังรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยว กับสถานการณ์ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้จากสื่อโทรทัศน์ วิทยุท้องถิ่น ผู้นำ ชุมชนและผู้นำ ทางศาสนาเป็น หลัก

ทั้งนี้ข่าวสาร ที่ปรากฏในสื่อมวลชนกระแสหลักกลับสร้างความรู้สึก ย้อนแย้งต่อความต้องการรับสื่อของคนในพื้นที่ กล่าวคือ การนำ เสนอ ข่าวของสื่อมวลชนกระแสหลัก ไม่ได้เป็นการสื่อสารในประเด็นที่ชาวบ้าน ให้ความสำคัญ เช่น ประเด็นการใช้งบประมาณเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหา ชายแดนใต้ ความไม่เป็นธรรมในการสอบสวนคดีฯลฯ การนำ เสนอของ สื่อมวลชนกระแสหลักมักนำ เสนอเรื่องราวทหาร ตำรวจ ข้าราชการ ใน ลักษณะของวีรบุรุษ ซึ่งขัดแย้งกับข่าวที่ชาวมลายูมุสลิมที่ถูกเจ้าหน้าที่ กระทำ สร้างความย้อนแย้งในความรู้สึกของชาวบ้านในระดับหนึ่ง

เห็นได้ชัดว่าการรับข่าวสารของชาวบ้านในพื้นที่มาจากสื่อทางเลือกเป็นส่วน ใหญ่ แสดงให้เห็นว่าสื่อเหล่านี้สามารถตอบสนองความต้องการของคนใน พื้นได้ในระดับประสานงานจากการศึกษางานวิจัยเรื่องข่าวสารการรับรู้ของประชาชน ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ “การเสริมสร้างประสิทธิภาพการ สื่อสารของบุคคลในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อความสมานฉันท์ใน ชุมชน”  ของ จารุณี สุวรรณรัศมี (2551) พบว่าสื่อบุคคลเป็นสื่อดั้งเดิมที่ อยู่คู่กับชุมชนมาช้านานและยิ่งได้รับการยอมรับจากชุมชนมากขึ้นในช่วง สถานการณ์ไม่ปกติ เนื่องด้วยชุมชนต้องการที่พึ่งทางจิตใจอีกทั้งเริ่มเกิด วิกฤตศรัทธากับสื่อมวลชน สภาวะสับสนกับกระแสข่าวที่ไร้ทิศทาง เต็มไป ด้วยข่าวลวง

อย่างไรก็ตาม สื่อกระแสหลักที่ได้เสนอข่าวในกระบวนการ สันติภาพสามจังหวัดชายแดนภาคใต้คือช่อง 3 และไทยพีบีเอส มีความพยายามที่จะกุมทิศทางข่าวสารเพื่อให้กระบวนการสันติภาพดำเนินต่อไปได้ แต่กระนั้นก็พบว่ายังคงมีท่าทีตรวจสอบหรือยังคงลังเลต่อ กระบวนการสันติภาพอยู่ และเมื่อมองถึงเนื้อหาในการนำ เสนอข่าวสาร ก็ยังคงแสดงถึงท่าทีในการรักษาผลประโยชน์ของรัฐอยู่ อย่างไรก็ตามภาย ใต้การนำ เสนอข่าวดังกล่าวได้มีความอ่อนไหวในประเด็นการ “แบ่งแยก ดินแดน” ซึ่งการนำ เสนอผ่านสื่อดังกล่าวได้พยายามลดสภาวะอุณหภูมิ ความตึงเครียดจากประเด็นดังกล่าวลง โดยวิธีการการอ้างความชอบ ธรรมของการพูดคุยภายใต้กรอบของรัฐธรรมนูญ

แต่กระนั้นท่าทีของสื่อ ดังกล่าวก็ยังคงไม่สามารถที่จะเสนอทางเลือกอื่นๆเช่น เขตปกครองพิเศษ (สมัชชา นิลปัทม์ และรุ่งรวี เฉลิมศรีภิญโญรัช. 2556) ทั้งนี้ผลกระทบของ การสื่อสารมวลชน ทัศนคติของประชาชนในเขตสามจังหวัดชายแดนใต้ ต่อการนำ เสนอข่าวเหตุการณ์ความไม่สงบสามารถอธิบายการทำ งานของ สื่อมวลชนได้ใน 5 ประเด็นหลักดังนี้  (1) การทำ หน้าที่ของสื่อมวลชนที่ บกพร่อง (2) ภาพสะท้อนจากสื่อ (3) ผลกระทบของสื่อมวลชนต่อการนำ เสนอข่าวความไม่สงบ (4) สื่อสะท้อนสาธารณประโยชน์ในมิติการบูรณาการทางสังคมและความสมานฉันท์และ (5) แนวทางแก้ไขและข้อเสนอแนะ

จากประเด็นดังกล่าว เห็นได้ชัดว่าประชาชนในพื้นที่มีทัศนะต่อ สื่อมวลชน ถึงการทำหน้าที่ไม่เหมาะสมในการนำ เสนอข่าวความไม่สงบ ซึ่งทำ ให้เกิดภาพสะท้อนในแง่ลบที่ทำ ให้ผู้รับสารเกิดความเข้าใจผิดต่อ ชาวมุสลิมและศาสนาอิสลามโดยรวม จึงส่งผลกระทบทั้งในระดับบุคคล เช่น ภาพลักษณ์เหมารวม ความหวาดระแวง ไม่ไว้วางใจต่อกัน และใน ระดับสังคม เช่น ศาสนา การศึกษา ความมั่นคงของชาติ ซึ่งผลกระทบ ทั้งสองระดับนี้มีความเกี่ยวข้องกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อีกทั้งประชาชน ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังมีความเห็นต่อไปอีกว่าที่ผ่านมา สื่อมวลชนยังไม่เป็นสื่อเพื่อสาธารณะประโยชน์อย่างแท้จริง

นอกจากไม่ช่วยให้เกิดการบูรณาการทางสังคมและความสมานฉันท์ เนื่องจาก สื่อไม่ให้โอกาสกับคนกลุ่มน้อยในสังคมอย่างเท่าเทียมกัน ไม่คำนึงถึง ความเหมาะสมและรสนิยมอันดีแล้ว สื่อยังไม่เคารพหรือให้ความสำคัญ ของความแตกต่างทางวัฒนธรรม ทั้งนี้ในส่วนข้อเสนอแนะและแนวทาง แก้ไขนั้น จากการศึกษาประชาชนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต่างเห็นพ้องกันว่าหากสื่อมวลชนทำ หน้าที่ที่ได้เหมาะสมโดยการเป็นสื่อ เพื่อประโยชน์สาธารณะประโยชน์ และนำ เสนอข่าวอย่างสมดุลและเที่ยงธรรม มีความรู้ ความเข้าใจ วิเคราะห์เป็น และยึดมั่นจรรยาบรรณ รวมทั้งให้ความความสำคัญและเคารพความแตกต่างทางวัฒนธรรมแล้ว จะช่วยให้ผู้รับสารได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องเป็นจริง ซึ่งสามารถขจัดความ เข้าใจผิดต่อเหตุการณ์หรือกลุ่มคนได้ (นุวรรณ ทับเที่ยง. 2550 )

สำหรับใน ประเด็นจริยธรรมและบทบาทของสื่อมวลชนในการรายงานข่าวเกี่ยวกับ สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ปาตานี/ชายแดนใต้ นั้น การนำ เสนอข่าว ของหนังสือพิมพ์ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมีความโน้มเอียงในการนำ เสนอข่าว ในลักษณะของข่าวที่นำ ไปสู่ความขัดแย้ง ซึ่งปัจจัยสำคัญประการหนึ่ง ของการนำ เสนอข่าวที่โน้มเอียงดังกล่าวเนื่องจากความคุ้นเคยของผู้สื่อ ข่าวและองค์กรสื่อที่ให้คุณค่าของข่าวผ่านการตีความในประเด็น “ความ ขัดแย้ง” เพื่อทำ ให้เหตุการณ์ดูน่าสนใจ และน่าติดตาม นอกจากนี้การนำ เสนอข่าวดังกล่าวยังมีการใช้ภาษาที่อาจนำ ไปสู่การสร้างความขัดแย้ง รุนแรงยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ภาษาเพื่อแสดงอารมณ์เกินจริง ทั้ง ในลักษณะที่เป็นการเน้นให้เห็นความรุนแรงของเหตุการณ์ การประณาม หรือการตราหน้าความเป็นคนร้ายให้กับคนกลุ่มต่างๆ (วลักษณ์กมล จ่าง กมล. 2550)

ถ้ามองสะท้อนถึงเหตุการณ์ อุดมการณ์และวาทกรรม เกี่ยวกับสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่นำ เสนอ ผ่านสื่อมวลชน ทั้งหนังสือพิมพ์ระดับชาติระดับท้องถิ่นต่างให้ความสำคัญ กับการนำเสนอข่าวเกี่ยวกับปัญหาและสถานการณ์ภาคใต้ นโยบายและ การแก้ปัญหาของรัฐ การฆ่ารายวัน การวางระเบิด การจับกุมผู้ก่อการ/ผู้ก่อเหตุ เนื่องด้วยประเด็นดังกล่าวมีคุณค่าของความเป็นข่าว อีกทั้งยังเป็น ที่สนใจของประชาชนทั่วไปที่ต้องการรับรู้ข้อมูลข่าวสารความเคลื่อนไหว ต่างๆในพื้นที่ชายแดนใต้ (สากีเราะ แยนา. 2550)

อ่านต่อตอนที่ 3 (จบ) http://www.pataniforum.com/single.php?id=502