New Media &ไฟใต้ : Share ความเข้าใจ หรือ Like..ความรุนแรง ตอน 2

การใช้สื่อใหม่ นอกจากกดไลค์ กดแชร์ จะมีวิธีการอย่างอื่นอีกหรือไม่ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด กรณีเขื่อนแม่วงศ์ เป็นกรณีที่น่าสนใจ เพราะยังมีกลุ่มพลเมืองหนึ่งที่บอกว่ามันถึงเวลาแล้วที่พลังประชาชนต้องออกมามีบทบาทออกมาแสดงตัวสักที่ ซึ่งเป็นตัวอย่างที่เราจะเห็นได้ชัด เกี่ยวกับเรื่องของพลังสื่อใหม่ในแง่พลังเชิงบวก และก็มีกรณีให้ศึกษาเยอะแยะมากมายที่สื่อใหม่สามารถสร้างกระแสและปลุกคนให้ตื่นในเชิงรูปธรรมตามที่ผู้เข้าร่วมถามระหว่างวิทยากรร่วมสนทนากัน”

เป็นแง่คิดต่อเนื่องจากเวทีปาตานี คาเฟ่ หัวข้อ New Media: กดไลก์สื่อใหม่ กดแชร์ปัญหาไฟใต้ ซึ่งก่อนหน้านี้ในตอนที่ 1ได้นำเสนอแง่มุมทางด้านหลักวิชาการไปแล้ว โดย ผศ.ดร.วลักษณ์กมล จ่างกมล คณะบดีคณะวิทยาการสื่อสาร มอ.ปัตตานี มาถึงตอนนี้ จะกล่าวถึงภาพรวมของเนื้อหาจากวิทยากร อีก 2 ท่าน คือ อ.ฮารา ชินทาโร ที่จะมาร่วมแชร์ประสบการณ์ที่ได้จาการใช้สื่อใหม่ และร่วมขบคิดไปกับมุมมองของนักสื่อสารอาชีพ มูฮำหมัด ดือราแม

.ฮารา ชินทาโร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มอ.ปัตตานี เริ่มต้นด้วยเล่าประสบการณ์ ในการใช้สื่อใหม่ในด้านที่ก่อประโยชน์กับปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้

เมื่อครั้ง เอกสารชิ้นหนึ่งจาก ตัวแทนกลุ่มที่อ้างว่าเป็นตัวแทน BRN(ขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมาลายู ปาตานี)เสนอต่อตัวแทนรัฐไทย ซึ่งมีข้อความภาษามาลายูที่เขาเขียนว่าสันติภาพไม่เกิดขึ้นตราบใด สิทธิ์ความเป็นเจ้าของเขาไม่ถูกยอมรับ เมื่อมีการรายงานในสื่อกระแสหลัก ก็ใช้คำนี้โดยไม่รู้ว่าคำแปลนี้มาจากไหน ซึ่งรายละเอียดในเอกสารแสดงให้เห็นถึงความพร้อมของ BRN ที่จะเขาถึงโต๊ะเจรจาซึ่งมันคนละเรื่อง ผมเห็นว่าอันตราย เพราะฉะนั้นพวกนี้ใช้เฟสเพื่อจะโจมตีนักข่าว แต่ผมก็พยามที่จะลงโพสต์ต่างๆเช่นกัน แต่ใช้สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหาที่ถูกต้อง

ด้วยเหตุการณ์ข้างต้น อ.ชินทาโร จากสิ่งที่อาจารย์มองเห็นสถานการณ์บางอย่างที่กังวลว่าจะเกิดความเข้าใจผิดตีความข้อเสนของ BRN การตีความของสื่อกระแสหลัก และใช้วิธีการของานตัวเอง คือเป็นอาจารย์สอนภาษามาลายูและสื่อใหม่ที่ใช้คือเฟสบุคในการนำเสนอทำความเข้าใจต่อมาการอธิบายของ อ. ได้รับการนิยมเอาไปขยายต่อจนสุดท้ายสื่อกระแสหลักเห็นว่ามีความสำคัญเป็นที่มาของการขยายประเด็นต่อ เพราะฉะนั้นเราก็จะเห็นการทำงานร่วมกันของสื่อโซชียลมีเดียและสื่อกระแสหลัก ซึ่งเป็นครั้งแรกที่อาจารย์ชินทาโรพบเจอ เชื่อมโยงกัน

อย่างไรก็ตามจากการเข้าไปมีส่วนร่วมกับเหตุการณ์ดังกล่าวก็ทำให้บางฝ่ายที่ไม่ชอบ ไม่เห็นด้วย จึงมีการโจมตีตนเองผ่านโซเชียลมีเดีย คือ มีการอ้างบางคำพูด บางประโยค และใส่รูป เติมแต่ง จนทำให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจไปอีก นี่คือปัญหาที่เกิดขึ้นในโซเชียลมีเดีย ผู้ใช้โซเชียลมีเดียมีแนวโน้มที่จะบริโภคสื่อแต่ส่วนหนึ่งก็บริโภคสื่อตามใจชอบของตนเอง

นอกจากนี้ ยังมีอีกมุมที่สำคัญในโลกโซเชียลมีเดีย คือจะมีการกดไลค์อย่างเดียวไม่มีแบบอื่นเพราะอะไรเราก็ต้องเข้าใจว่าโซเชียลมีเดียเป็นองค์กรเชิงพาณิชย์ด้วยเช่นเดียวกัน ทำไมมีแต่กดไลค์ เมือคนกดไลค์เรารู้สึกอย่างไร น่าจะรู้สึกดีใช่หรือไม่ และถ้ามีคนกดไลก์เยอะๆ เราจะรู้สึกอย่างไร นี่ก็เป็นยุทศาสตร์ของเขานะที่จะทำให้ผู้ใช้ใช้เฟสต่อไป ในทางกลับกันถ้ามีคนกดไม่ชอบก็จะทำให้เบื่อและไม่เล่น

นอกจากนี้อาจารย์ชินทาโรยังมองว่าในโลกโซเชียลมีเดียนั้นอีกด้านหนึ่งก็ทำให้ความสุภาพหายไป ความความเป็นมนุษย์ก็หายไป บางคนเมื่อเขาเห็นภาพศพคนแก่ๆที่ถูกยิงตายจากเหตุการณ์ แล้วก็มีการโพสต์ว่าว่าอยากมีแบบนี้ทุกวันเลย และมีคนกดไลค์หลายร้อย ตรงนี้แสดงความเป็นมนุษย์หรือเปล่า เห็นชัดว่าเมื่อเราอยู่ในโซเชียลมีเดียเรามั่นใจวาคำพูดของเราไม่ต้องรับผิดชอบอันนี้ก็เป็นกันทั่วโลกนะที่ผู้ใช้มักจะมีความรับผิดชอบน้อยต่อตัวเอง

ทางด้าน มูฮำหมัด ดือราแม ผู้ช่วยบรรณาธิการโรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ ซึ่งโดยหน้าที่ก็เป็นนักข่าวช่องทางที่ใช้ คือสื่อใหม่และสื่อเก่า รูปแบบที่ใช้เว็บไซท์ มูฮำหมัด บอกว่า ที่ตนเองโตมาซึ่งจะเป็นสื่อเก่าและในสังคมออนไลน์มีส่วนที่จะสนับสนุนหรือสวนขยายจากสื่อกระเสหลัก ขณะที่คนทำงานสื่อปัจจุบันหลังจากสื่อนำเสนอแล้วก็จะไปโพสต่อเพื่อให้คนได้มาแชร์และขยายประเด็นหรือเนื้อหาออกไป

ถ้าพูดถึงเฟสบุค ผมคิดว่าจริงๆก็คงมีน้อย คนที่อ่านข่าวในเฟสบุก ส่วนใหญ่ก็จะเป็นเรื่องสนุกๆกดไลค์บ้างอะไรบางและเป็นการพักผ่อนสวนหนึ่งได้ ประโยคจากการแชร์ข้อมูลของเพื่อนบางเรื่องก็เป็นเรื่องใหม่ๆได้คิดต่อได้ขยายความต่อ ผมคิดว่าประโยชน์ของเฟสบุคของคนที่ทำงานสื่อ เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เราได้คิดประเด็นต่ออย่างกรณีของ อ. ชินทาโรพูดเขาแปลผิดที่จริงเขาไม่ได้แปลแต่เขาสรุปอาเองแลเราก็เห็นประเด็นนี้ผมก็โทรหา อาจารย์ขอสัมภาษณ์ประเด็นนี้เนื้อหาของข่าวที่ถูกต้องเมื่อถูกนำเสนอและสื่อต่างๆก็ขยายความออกไปผมว่ามันช่วยเติมเติมในการทำงานในประเด็นที่เรามองไม่เห็น”

ขณะเดียวกันก็มีคำถามว่าการมีโซเชียลมีเดีย ก็ทำให้นักข่าวลงพื้นที่น้อยลง ทำงานน้อยลง ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งผลเชิงลบหรือบวกในมุมมองที่เป็นนักข่าว

มูฮำหมัด อธิบายว่า โดยลักษณะของคนทำข่าวมันต้องรุกข่าว ไม่ลงพื้นที่มันก็ไม่ได้ข่าวแต่ว่าปัจจุบันในสังคมมันมีสื่อเยอะสื่อออนไลน์ ทำให้ประเด็นการรับรู้ของมูลมันมี 2 ทาง

การทำข่าวการลงไปเก็บข้อมูลของนักข่าวมันก็ง่ายขึ้น รู้พิกัดมากขึ้นเมื่อเราไม่เข้าใจประเด็น ทำให้ได้เห็นกลุ่มเป้าหมายได้เร็วขึ้นมันมีส่วนช่วย คือหมายถึงไม่ได้ไปสัมภาษณ์มั่ว เก็บประเด็นมั่ว ค่อยมาทำอีกที แต่โซเชียวมีเดียได้กรองแล้วว่าจะไปสัมภาษณ์ประเด็นอย่างไรให้ขยับประเด็นอย่างไรให้มันชัดเจน และก็อีกสวนหนึ่งถ้าพูดถึงสื่อจริงๆก็เป็นช่องนำเสนอทางเลือก อย่างโรงเรียนนักข่าวดีสลาตัน อย่างตัวองค์กรมันมีข้อจำกัดเยอะไม่ได้เป็นอย่างสำนักข่าวใหญ่ๆที่เขามีคนทุกจังกวัด เมื่อมีเหตุการณ์เขาจะเขาถึงสถานการณ์ได้เร็ว แต่สื่อกระแสรองสื่อทางเลือก เข้าพื้นที่ได้ช้า ซึ่งจะทำให้เห็นว่าทำงานหน้าคอม หรือทางโรศัพท์หรือเปล่า อันนี้เนื่องจากเดิมมันมีข้อจำกัดจริงๆ แล้วสื่อต้องลงพื้นที่และเมื่อมีเทคโนโลยีใหม่ๆมองจากมุมนี้ทำให้นักข่าวนิสัยเสียก็ได้”

นอกจากนี้อีกประเด็นหนึ่งของสื่อใหม่ กับความเป็น 3 จชต. มูฮำหมัด เห็นว่า ถ้าเป็นคนมาลายูเรามีโอกาศที่จะนำเสนอตัวตน เราประเด็นที่สำคัญในพื้นที่ให้สังคมได้รับรู้อีกมาก

อันนี้เรามีความสามารถหรือว่าเราใช้โอการนี้ในการขายประเด็นข้อมูลมากน้อยเพียงไหนเราสามารถที่จะเขียนเนื้อหาให้มีความน่าสนใจดึงให้คนมาอ่านได้มากน้อยแค่ใน

อีกประเด็นหนึ่ง เนื่องจากทีมงานผมติดกับอยู่ในโลกเสมือนเราะจะมองในตัวบุคคลผ่านสื่อออนไลน์ถ้าราอยู่กับมันมากๆเหมือนหมกหมุนขณะที่โลกความจริงมันคนละเรื่อง ที่จริงเฟสบุค ผมไม่อยากจะให้มีเพียงกดไลค์ มัน่าจะมีโกรธ โมโห แต่ว่าเฟสทำให้คนมีอารมณ์เดียว คือ ถูกใจกับไม่ถูกใจซึ่งมันไม่ใช่ ซึ่ง การกดไลค์ มันไม่ได้แปลว่าถูกใจก็ได้มันมีหลายอารมณ์และอีกอย่างมันสลายช่องว่างความจริง แต่ช่องว่าก็มีระดับของมัน ซึ่งพอที่คนอยู่กับมันมักมากๆในโลกออนไลน์ ทำให้เราก็เอาเอานิสัยในโลกออนไลน์มาใช้ข้างนอกบางที่ก็เป็นผลเสีย” ผู้ช่วย บก.โรงเรียนนักข่าวฯ กล่าวทิ้งท้าย

ฉันใดก็ฉันนั้น เรื่องของ สื่อใหม่ ยังมีประเด็นอีกมาก ที่ยังต้องเฝ้าสังเกต ตั้งคำถาม และหาคำอธิบาย ไม่ว่าจะเป็น การกดไลค์กดแชร์ในเฟสบุค ในแง่กฎหมายแล้วว่าอย่างไร ประเด็นต่อมาผลกระทบด้านลบที่เกิดขึ้นในโลกโซเชียลมีเดีย เราควรที่จะวางตัวของเราอย่างไร ในประเด็นในเรื่องของกฎหมายที่จริงมีประเด็นที่ต้องพิจารณาเยอะเหมือนกันบางที่การบังคับใช้กฎหมาย บังคับใช้แบบเลือกปฏิบัติอันนี้ในกรณีของการกดไลค์หรือกดแชร์บางกรณีก็ผิดแต่ไม่ได้รับผิด บางกรณีผิดแต่ก็ดำเนินการทางกฎหมาย แม้นอาจจะยังไม่ได้มีการบังคับอย่างจริงจัง ขณะที่เรื่องเช่นนี้เป็นเรื่องใหม่จึงไม่มีฝ่ายไหนมานั่งศึกษาให้เป็นเรื่องเป็นราว แต่ส่วนมากจะมีการศึกษาในแง่สังคมมากกว่า

ขณะที่แง่มุมของจรรยาบรรณสื่อ การนำเสนอข่าว รูป หรือบางประโยคในโลกของโซเชียลมีเดีย ก็ไม่ค่อยจะมีความรักผิดชอบมากนัก แล้วหลักจรรยาบรรณ จะอธิบายอย่างไร เช่นเดียวกันแง่มุมของความเป็นสื่อใหม่ที่หลายๆองค์กรพยายามตั้งบรรทัดฐานขึ้นมา สำหรับสื่อมวลชนถ้าตัวเองใช้สื่อใหม่นั้นก็คงจะต้องรักษาความมีจรรยาบรรณความเป็นสื่อมวลชนอีกระดับหนึ่ง แต่เราก็เคยทราบว่าสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทยเขาก็มีเป็นตัวข้อบังคับทางจริยธรรมออกมาเราเป็นสื่อมวลชนแล้วออกมาใช้สื่อใหม่ต้องทำอะไรบาง

อย่างไรก็ตามประเด็นที่เป็นปัญหา และน่าเป็นห่วง ณ วันนี้ ไม่ใช่เรื่องสื่อหลักที่มาใช้สื่อใหม่ แต่เป็นตัวสื่อใหม่จริงๆที่มีนักสื่อสารสมัครเล่นใช้อยู่ในทุกวันนี้…..