สภาประชาสังคมชายแดนใต้กับบทบาทสร้างสันติภาพปตานี ตามทัศนะมันโซร์ สาและ

 

หมายเหตุ  “อันเนื่องมาจากการทำงานของสภาประชาสังคมดำเนินการมาปีกว่าแล้วและการสร้างกระบวนการสันติภาพเป็นอีกภารกิจหนึ่งที่สำคัญ บุคคลที่เป็นแกนหลักในการขับเลื่อนเรื่องนี้คือ นายมังโซร์ สาและ จึงได้นำทัศนะของท่านมาเผยแผ่ให้เห็นวิวัฒนาการการขับเคลื่อน

”หนึ่ง ในห้ายุทธศาสตร์หลักของสภาประชาสังคมชายแดนใต้คือการหาข้อยุติความรุนแรงทางตรงซึ่งนำไปสู่งานเฉพาะหน้า คือการส่งเสริมและสนับสนุนกระบวน การเจรจาระหว่างรัฐกับขบวนการก่อความไม่สงบ (ตามชื่อเรียกของรัฐไทย) หรือ กลุ่มที่ทำงานปลดเอกราชปตานี (ตามชื่อเรียกของขบวนการ) เพื่อยุติความรุนแรง[1] ทั้งๆที่เป็นความรับผิดชอบที่ใหญ่หลวงนัก เกินที่สถานะของสภาที่จะแบกรับได้

แต่เมื่อสภาประชาสังคมชายแดนใต้เป็นองค์ที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวของตัวแทน องค์กรเครือข่ายภาคประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้แล้ว  มันก็เป็นหน้าที่และความรับผิดชอบที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

ความจริง คำว่า สันติภาพและสันติสุขเป็นวาทกรรมที่ได้ป่าวประกาศจากฝ่ายรัฐในรูปแบบต่างๆ อย่างหนักหน่วงในช่วงต้นๆ หลังเกิดสถานการณ์ความรุนแรงระลอกใหม่ที่เกิดขึ้น ในปี พ.ศ. 2547

รัฐไทยได้ทุ่มเทงบประมาณอย่างมหาศาล พร้อมๆกับดำเนินกิจกรรมทุกอย่างเพื่อสันติภาพ แต่ทุกสิ่งทุกอย่างที่รัฐได้ทำลงไปนั้น รัฐอาจลืมคิดไปว่า บริบทความขัดแย้งและความรุนแรงในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ละ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลานั้น   รัฐได้เป็นตัวละครหลักตัวหนึ่งที่สร้างปมปัญหาความขัดแย้งเช่นเดียวกัน

สันติภาพเป็นวาทกรรมคู่กับความขัดแย้งหรือสงคราม ดังนั้นก่อนที่จะขยับไปที่บริบทของสันติภาพ ก็ควรต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับบริบทของความขัดแย้งซึ่งความขัดแย้งถือเป็น ลักษณะธรรมชาติที่เกิดขึ้นในหมู่มวลมนุษยชาติอยู่เนืองนิตย์

ความขัดแย้งจะเกิดขึ้น ก็ต่อเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งขัดขวาง กดทับหรือบีบบังคับอีกฝ่ายหนึ่ง  และอีกฝ่ายหนึ่งรู้สึกว่า มันเป็นการคุกคามสิทธิของตนเอง โดยปกติแล้วการแก้ปัญหาความขัดแย้งนั้น มักจะต้องใช้คนที่สามหรือคนกลางในการไกล่เกลี่ยเสมอทั้งนี้เพี่อให้เป็นไป ตามหลักการสากลที่ถูกต้อง และในหลักธรรมก็เช่นเดียวกัน

การเข้าใจ บริบทความขัดแย้งที่เกิดขึ้นโดยทั่วไป คนในสังคมนั้นจำเป็นจะต้องเข้าใจถึงสาเหตุหรือรากเหง้าแห่งความขัดแย้งนั้นๆ เสียก่อน อาทิ เช่น การจำแนกลักษณะ ประเภท ระดับสาเหตุ ปัจจัย และองค์ประกอบ เป็นต้น  บางครั้งความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเป็นลักษณะของปัจเจกบุคคล ครอบครัว สังคมประชาชนกับรัฐ รัฐกับรัฐและอื่นๆ  เมื่อความขัดแย้งมีลักษณะที่แตกต่างกันเช่นที่กล่าวมาข้างต้น

หลักการสร้างกระบวนการสันติภาพในแก้ปัญหาความขัดแย้งเหล่านั้นก็ย่อมแตกต่าง ไปด้วยความขัดแย้งในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้หรือปตานีเป็นลักษณะ ความขัดแย้งแนวดิ่งระหว่างประชาชนชาวปตานีชาติพันธุ์มลายู   นับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งเป็นประชาชนส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่เดิมกับรัฐไทยและกลไกรัฐ นับตั้งแต่ยุคต้นรัตนโกสินทร์ซึ่งเป็นลักษณะความขัดแย้งอันเกิดจากโครงสร้าง อำนาจการเมืองการปกครองที่ไปกดทับและคุกคามสิทธิของพวกเขาที่ควรต้องมีอย่าง น้อยที่สุด ก็คือ สิทธิของชนกลุ่มน้อย เป็นต้น ต่อมาความขัดแย้งนี้มันได้ขยายไปในลักษณะแนวราบหมายถึงระหว่างประชาชนชาว พุทธ ชาติพันธุ์ไทยกับประชาชนมุสลิม ชาติพันธุ์มลายู

แม้ว่ารัฐและกลไกของรัฐได้พยายามอธิบายว่าความขัดแย้งในพื้นที่นั้นเกิดจากสาเหตุอื่น อันมิใช่โครงสร้างอำนาจการเมืองและการปกครองก็ตามแต่คำถามที่จะต้องถามรัฐ และกลไกรัฐก็คือ  ทำไมความขัดแย้งในพื้นที่จังหวัดชายจังหวัดแดนภาคใต้จึงไม่สามารถแก้ไขและ สร้างสันติภาพอย่างยั่งยืนได้สักที ทั้งๆที่รัฐได้ทุ่มเททุกสิ่งทุกอย่าง เสมือนหนึ่งเป็นการเอาอกเอาใจประชาชนในพื้นที่แห่งนี้เป็นพิเศษมากกว่า ประชาชนและกลไกรัฐในพื้นที่อื่น  ไม่ว่า การจัดตั้งศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ภาค 4 ส่วนหน้า  (กอ.รมน.ภาค4 ส่วนหน้า) และกลไกอื่นอีกมากมายรวมทั้งการทุ่มงบประมาณด้านการพัฒนาและความมั่นคงจำนวน มหาศาล และแนวโน้มแห่งอนาคตก็ยังไม่มีใครยืนยันและให้หลักประกันได้ว่า ความขัดแย้งครั้งรุนแรงที่เคยเกิดขึ้นเมื่อต้นปี 2547 จะไม่หวนกลับมาประทุอีกครั้ง ดังนั้น กระบวนการสันติภาพที่เกิดจากความต้องการและการมีส่วนร่วมของประชาชน น่าจะเป็นทางออกที่ดีทางหนึ่งแห่งอนาคต

ตลอดระยะเวลาการดำรงอยู่ของความขัดแย้งในพื้นที่ของทัศนะและมุมมองระหว่างรัฐและกลไกรัฐกับคนมลายูมุสลิมในพื้นที่มีความแตกต่าง กันอย่างสิ้นเชิง แม้ว่ารัฐจะพยายามอ้างว่า ความแตกต่างนี้เป็นเพียงคำกล่าวอ้างจากกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบหรือกลุ่มที่ ต้องการแบ่งแยกดินแดนก็ตาม แต่ความเห็นแตกต่างกันนี้มีการกล่าวอ้างอยู่ทั่วไปในหมู่ประชาชนทุกระดับ  เพียงแต่รายละเอียดและคำอธิบายความแตกต่างนี้ขึ้นอยู่กับความเข้าใจของ ประชาชนแต่ละคน        

สำหรับเครื่องชี้วัดง่ายๆ ต่อประเด็นดังกล่าว คือ ประชาชนมลายูมุสลิมส่วนใหญ่จะตอบว่า พวกเขาไม่ได้รับความเป็นธรรมจากรัฐ ซึ่งเป็นเสียงสะท้อนจากประชาชนระดับรากหญ้านั้น แม้เขาเคยได้รับของแจกของแถมจากรัฐผ่านโครงการใดๆก็ตาม หรือการเยียวยาด้วยตัวเงินและสิ่งของ  แต่สามัญสำนึกลึกๆของ พวกเขาก็ยังรู้สึกเหมือนเดิม

บทบาทภาคประชาสังคมกับกระบวนการสร้าง สันติภาพชายแดนใต้เริ่มมีการกล่าวถึงในช่วงกลางปี พ.ศ. 2552  โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลจากการสัมมนาในหัวข้อ ประชาสังคมกับกระบวนการสันติภาพ : การขยายพื้นที่ภาคประชาชนเพื่อแก้ไขความรุนแรงในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้[2] เมื่อวันที่ 30 กันยายน  พ.ศ.2552 ซึ่งจัดโดย ศูนย์ศึกษาความขัดแย้งและสันติภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย   สำนักงานสันติวิธีและธรรมาภิบาลสถาบันพระปกเกล้า  และ มูลนิธิเฟรดดริก   ณ โรงแรมหาดใหญ่พาราไดซ์รีสอร์ท อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาโดย  มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 153 คน จากตัวแทนองค์กรทั้งในและนอกพื้นที่ พร้อมทั้งได้สรุปผลของการสัมมนาในประเด็นสำคัญดังนี้

1. การสร้างกระบวนการสร้างสันติภาพ

2. ลักษณะและประเภทของงานที่สภาประชาสังคมจะทำได้ในกระบวนการสร้างสันติภาพ

3. ตัวอย่างงานที่ภาคประชาสังคมทำได้ในกระบวนการสันติภาพ

4. ปัญหาบางอย่างที่ภาคประชาสังคมอาจต้องเผชิญในกระบวนการสสร้างสันติภาพสิ่งที่เป็น ข้อสังเกตสำคัญจากการจุดประเด็นเรื่องนี้ในการประชุมครั้งนั้นพบว่า ไม่มีกลุ่มประสังคมใดสามารถการขับเคลื่อนในเชิงปฏิบัติ ทั้งนี้อาจจะเนื่องมาจาก สภาพการณ์ที่แท้จริงของกลุ่มหรือองค์กรในพื้นที่ไม่มีการพูดคุยทิศทางการแก้ปัญหาอย่างจริงจัง และต่างกลุ่มต่างก็ทำงานตามวัตถุประสงค์ของกลุ่มหรือองค์กรของตนเองเป็นหลัก นอกจากนั้นการจุดประเด็นบางประเด็นดังกล่าวเกิดจากกลุ่มหรือองค์กรภายนอก โดยไม่มีกลุ่มหรือองค์กรในพื้นที่สืบสานเจตนารมณ์อย่างจริงจัง

ประชุมครั้งนั้นพบว่า ไม่มีกลุ่มประสังคมใดสามารถการขับเคลื่อนในเชิงปฏิบัติ ทั้งนี้อาจจะเนื่องมาจาก สภาพการณ์ที่แท้จริงของกลุ่มหรือองค์กรในพื้นที่ไม่มีการพูดคุยทิศทางการแก้ ปัญหาอย่างจริงจัง และต่างกลุ่มต่างก็ทำงานตามวัตถุประสงค์ของกลุ่มหรือองค์กรของตนเองเป็นหลัก  นอกจากนั้น  การจุดประเด็นบางประเด็นดังกล่าวเกิดจากกลุ่มหรือองค์กรภายนอก โดยไม่มีกลุ่มหรือองค์กรในพื้นที่สืบสานเจตนารมณ์อย่างจริงจัง

การก่อตั้งสภาประชาสังคมชายแดนใต้ที่ประกอบด้วยนักเคลื่อนไหวด้านสังคมนัก พัฒนาองค์กรเอกชน  นักวิชาการ กลุ่มสตรี กลุ่มสื่อและอื่นๆ รวม 20 องค์กรในวันที่ 31 กรกฎาคม  พ.ศ. 2554 ถือเป็นปรากฏการณ์ที่สำคัญในมิติของภาคประชาชนชายแดนใต้ เพราะสภาแห่งนี้จะได้ทำหน้าที่เป็นตัวแทนดูแล ปกป้อง สิทธิต่างๆ ของประชาชนหลากหลายกลุ่มท่ามกลางสถานการณ์ความขัดแย้งที่รุนแรง ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มไทยพุทธและมุสลิม

การริเริ่มกระบวนการสันติภาพปตานี ภายใต้วาทกรรมและนวัตกรรมใหม่ “กระบวนการสร้างสันติภาพปตานีในบริบทอาเซียน”  ( Patani Peace Process in Asean context – PPP ) เมื่อวันที่ 7 กันยายน  2555  ณ  หอประชุมนานาชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หาดใหญ่ โดยสภา ฯ และพันธมิตรนั้น  ถือเป็นการริเริ่มโดยประชาชนในพื้นที่จริงๆ และยิ่งได้รับการหนุนเสริมด้านวิชาการจากนักวิชาการด้านความขัดแย้งและสันติวิธีทั้งในและต่างประเทศตลอดจนการช่วยเหลือด้านงบประมาณจากองค์กรภาคี  ก็ยิ่งทำให้ บทบาทภาคประชาสังคมในพื้นที่กับกระบวนการสันติภาพมีความชัดเจนมากขึ้น

แม้ว่า ณ เวลานี้ประชาชนในพื้นที่ยังไม่สามารถทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งต่อกระบวนการ สันติภาพก็ตาม   แต่ยุทธศาสตร์และกิจกรรมที่ดำเนินการโดยสภาอาทิ เช่น การจัดเวทีชายแดนใต้จัดการตนเอง การเยียวยา การเรียกร้องให้ทบทวนการประกาศใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน และอื่นๆ ล้วนแต่เป็นกิจกรรมที่เป็นต้นทุนเพื่อนำไปสู่กระบวนการสันติภาพทั้งสิ้น

ถึงกระนั้นก็ตาม แม้คำจำกัดความสันติภาพที่แท้จริงนั้นไม่สามารถที่กำหนดรูปแบบที่ตายตัวและ ชี้วัดด้วยเครื่องมืออย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ที่สำคัญยิ่งนั้น มันจะต้องอยู่บนพื้นฐานของสัจธรรมหรือธรรมะมิฉะนั้นแล้ว ก็จะเกิดความสับสนในการขับเคลื่อนกระบวนการนี้  ตัวอย่างสันติภาพและสันติสุขในมิติและความต้องการของรัฐคือ การยุติการใช้อาวุธหรือก่อความรุนแรงต่อประชาชนและต่อกลไกของรัฐ ส่วนในแง่มุมของประชาชนที่ได้รับผลกระทบอาจคิดว่า การที่ผู้เสียหายและญาติพี่น้องของผู้สูญเสียได้รับค่าชดเชย การเยียวยา หรือการช่วยเหลือจากรัฐและอื่นๆก็อาจจะกล่าวได้ว่า นี่คือสันติภาพก็เป็นได้  ส่วนกลุ่มที่ต่อต้านรัฐก็มีมีทัศนะอีกอย่างหนึ่ง

อย่างไรก็ตาม กระบวนการสันติภาพที่ควรต้องมีในพื้นที่ความขัดแย้งในพื้นที่จังหวัดชายแดน ภาคใต้นั้นจะต้องตั้งอยู่บนรากฐานที่จะทำให้เกิดความสันติสุข เสมอภาค เที่ยงธรรมและสัจธรรมเป็นสำคัญ

 

 



[1] โปรดดูแผ่นพับแนะนำสภาประชาสังคมชายแดนใต้  หน้า 3 และ หน้า 5 หรือ ใน http://www.southcso.com  สืบค้นเมื่อวันที่  23 ตุลาคม  พ.ศ. 2555                                

[2] ดูเอกสารสรุปการประชุม ใน  http://portal.in.th/peace-strategy/pages/5479/

สืบค้นเมื่อวันที่  23 ตุลาคม  พ.ศ. 2555